ลมพิษ (Urticaria)
“ลมพิษ” ทุกคนก็มักจะรู้จักกันดี เพราะเป็นโรคที่พบได้เสมอและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ก็เคยเป็นลมพิษมาบ้างแล้ว มีคนเคยกล่าวว่าทุกคนที่เกิดมามักจะต้องเป็นลมพิษในช่วงชีวิตหนึ่ง ลมพิษนี้ก็เป็นปฏิกิริยาของเส้นเลือดในผิวหนังนั่นเองที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้มีลักษณะเฉพาะคือ มีผื่นแดง นูน ขอบชัดเจน ขอบอาจจะหยักนูนและมีอาการคันมาก บางคนขึ้นแต่เพียงบางแห่งของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่มักขึ้นทั้งตัว บางคนเป็นช่วงระยะสั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือเพียงเป็นวัน แต่บางคนลมพิษก็อาจจะขึ้นทุกวันเวลานานเป็นปี ๆ ก็ได้ซึ่งเรียกว่า “ลมพิษชนิดเรื้อรัง” ลมพิษมิได้จะเกิดแต่ในผู้ใหญ่เท่านั้น แม้แต่เด็กเล็ก ๆ ก็อาจเกิดลมพิเษได้เช่นเดียวกัน
สาเหตุของลมพิษมีมากมาย อาจเกิดจากการแพ้สารบางชนิดจากการรับประทาน จากการสัมผัส จากการสูดหรือจากการถูกฉีดเข้าไปก็ได้ ลมพิษบางชนิดก็ไม่ได้เกิดจากการแพ้แต่อาจเกิดร่วมกับโรคบางชนิดได้ เป็นต้น สาเหตุที่สำคัญของลมพิษแบ่งได้คืออาหาร การแพ้อาหารเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยที่สุด อาหารที่เป็นสาเหตุมักเป็นอาหารพวกโปรตีน โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู ปลา หอย นอกจากนั้น ไข่ ถั่ว นม หรือแม้แต่ผลไม้ก็อาจก่อให้เกิดลมพิษได้ ผู้ป่วยบางรายอาจสังเกตพบสาเหตุได้ง่าย เช่นในการรับประทานกุ้งแล้วเกิดลมพิษ แต่ในบางครั้งผู้ป่วยไม่ได้สังเกตถึงรายละเอียดของอาหารเป็นต้น หรือในเด็กที่แพ้นมแล้วเกิดลมพิษ อาจเกิดอาการเมื่อเด็กรับประทานไอครีม หรือขนมเป็นต้น
นอกจากอาหารต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว สารปรุงแต่งอาหาร หรือขนม เช่น สีต่าง ๆ โดยเฉพาะสีเหลืองหรือสีเขียวมักใช้สีประเภท Taartrazine ซึ่งพบได้ในพวกสลิ่ม ขนมด้วง ข้าวพอง ฟักเชื่อม ชาจีน ขนมชั้น ถั่วกวน วุ้นหวานกรอบ ครองแครง อมยิ้ม ฝอยทองกรอบ สารที่เป็นสีตัวนี้คนแพ้ได้ง่าย และอาจเป็นสาเหตุของลมพิษได้ จึงควรให้ความสนใจ และสังเกตให้ละเอียด
ผักและผลไม้บางอย่างมีสารประเภท Salicylate ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดลมพิษได้ เช่น พบในแอปเปิ้ล แตงกวา มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะนาว พริกไทย ส้มโอ องุ่น เป็นต้น นอกจากนั้นอาหารและเครื่องเดื่มที่มียีสต์ เช่น ขนมปัง เหล้า เบียร์ ก็เป็นสาเหตุที่สำคัญ
จะเห็นว่ามีอาหารมากมายหลายชนิดที่อาจก่อให้เกิดลมพิษได้ จึงควรให้ข้อสังเกตในการหาสาเหตุในอาหารดังกล่าวด้วย ส่วนอาหารที่ควรงดได้แก่ อาหารทะเล เนื้อวัว ไข่ขาว ของหมักดอง เช่น กะปิ ปลาร้า ตั้งฉ่าย แหนม เหล้า เบียร์ ฯลฯ นมสด, อาหารกระป๋อง ขนม และ อาหารที่ใส่สี เช่น ขนมชั้น ขนมปัง ไข่ขาว ฯลฯ
ยา เป็นสาเหตุทีสำคัญอีกชนิดหนึ่งของลมพิษ ลมพิษอาจเกิดทันทีทันใด ภายหลังได้รับยาชนิดนั้น เช่น การฉีด หรือรับประทานซึ่งจะสังเกตได้ง่าย แต่บางรายอาจกินเวลานาน 7-10 วัน ซึ่งอาจทำให้สังเกตได้ยากยาที่สำคัญได้แต่ ยาประเภทปฏิชีวนะ โดยเฉพาะพวกเพนิซิลิน ซัลฟา นอกจากนั้นยาแก้ปวด ยานอนหลับสารทึบแสงที่ใช้ในการตรวจทางเอ็กซเรีย์ หรือแม้กระทั่งวิตามิน ก็อาจก่อให้เกิดลมพิษได้
โรคติดเชื้อ สามารถก่อให้เกิดลมพิษได้เช่นกันโดยเฉพาะในวัยเด็ก พบพยาธิในลำไส้เป็นสาเหตุได้บ่อย เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวแบน เชื้อบิด นอกจากนี้การติดเชื้อใน่วนอื่นของร่างกาย เช่น เชื้อราในช่องคลอดสตรีพบเป็นสาเหตุลมพิษในวัยผูใหญ่ได้เสมอ ฟันผุก็เป็นสาเหตุลมพิษได้ การรักษาหรือถอนฟันผุออกทำให้อาการลมพิษหายไปในผู้ป่วยบางราย
แมลง แอาจก่อให้เกิดลมพิษได้ทั้งจากการสัมผัส การกัด เช่น ไรแมว ไรสุนัข ไรนก ริ้น ตัวผึ้ง บุ้ง หรือจากการต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ หมาร่า มดแดงไฟ มดตะนอย ซึ่งบางครั้งอาการรุนแรงมาก มีลมพิษ มีการบวมทั้งตัวหรือผู้ป่วยช็อคบางรายอาจเสียชีวิตในเวลาอันสั้นภายหลังถูกต่อย
สารในอาการ ผู้ป่วยบางรายแพ้สารในบรรากาศอาจก่อให้เกิดลมพิษได้ เช่น ฝุ่นบ้าน เชื้อราในอาการ เกสรหญ้า เกสรต้นไม้ ขนสัตว์ เมื่อสุดดมสารเหล่านี้เข้าไปมาก ๆ อาจก่อให้เกิดลมพิษได้
ความเย็น ผู้ป่วยบางรายแพ้ความเย็นจัดทำให้เกิดลมพิษ เช่น เวลาถูกอากาศเย็น อาบน้ำเย็นผู้ป่วยบางรายรับประทานน้ำแข็งเกิดอาการบวมในบริเวณคอ หายใจลำบากพวกนี้อาจเกิดเป็นกรรมพันธุ์ หรือเกิดเองโดยไม่มีสาเหตุก็ได้ หรือเกิดเป็นผลจากมีโรคในร่างกายได้ เช่น ซิฟิลิส หรือมะเร็งในน้ำเหลือง
แสงแดด ผู้ป่วยบางรายเกิดลมพิษเมื่อถูกแสงแดดบางช่วงของวัน ซึ่งมีความยาวของคลื่นแสงเฉพาะ พบในหญิงมากกว่าชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอายุ 30-40 ปี เมื่อถูกแสงแดดแล้วเกิดผื่นคันขึ้นมา อาจแก้ได้โดยการหลีกเลี่ยงไม่พบแสงแดด หรือใช้ยาทากันแดด
ลมพิษภายหลังการออกกำลังกายหรือมีเหงื่อ คนบางคนเกิดลมพิษชนิดนี้มักเป็นเม็ดเล็ก ๆ เกิดบริเวณแขนขามากว่าลำตัว
สาเหตุ
สาเหตุทางจิตใจ ผู้ป่วยบางรายเกิดลมิพษภายหลังมีอารมณ์ผิดปกติ ภายหลังมีความโกรธ ความเครียด ความกังวล มักเป็นชมพิษชนิดเรื้อรัง
สาเหตุจากแรงขูดบนผิวหนัง ผู้ป่วยบางรายมีผิวหนังไวต่อรอยขูดข่วนบนผิวหนังทำให้เกิดรอยนูน คันตามบริเวณที่ถูกรอยข่วนขูดภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที ทำให้คันและเกา ยิ่งเกาก็ยิ่งมีรอย และคันมากขึ้น
สาเหตุจากโรคอื่น ๆ โรคบางอย่างทำให้ผู้ป่วยเกิดลมพิษร่วมได้ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าลมพิษมีสาเหตุมากมาย ตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น การแพ้อาหาร ไปจนถึงอาจเป็นอาการร่วมของโรคร้ายแรงบางอย่าง โดยทั่วไปลมพิษจะไม่รุนแรง และอาจหายได้เองเมื่อสารที่ก่อให้แพ้นั้นได้ถูกกำจัดออกจากร่างกายแล้ว และอาจไม่ต้องได้รับการรักษาเป็นพิเศษ แต่อย่างใด แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังก็น่าจะได้รับการตรวจโดยละเอียดในการหาสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสมต่อไปแพทย์จะต้องซักประวัติโดยละเอียด การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ หรือตรวจสารเคมีในเลือด บางรายอาจต้องทำการทดสอบผิวหนังด้วย การรักษานั้นหากเกิดจากการแพ้สารบางสิ่งบางอย่าง การใช้ยาแก้แพ้ มักรักษาให้หายได้ง่าย ยาทา เช่น คาลาไมน์โลชั่น จะช่วยลดอาการคันลงได้ แต่หากเป็นเรื้อรังควรได้รับการตรวจจากแพทย์ให้ละเอียดต่อไป