สัพเพเหระ > เป็นนักเลงกลอนอย่านอนเปล่า
กวีวรรค
ชบาบาน:
องค์การศึกษาและวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) เป็น
องค์กรที่เผยแพร่ส่งเสริมวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆทั่วโลก ทำหน้าที่
ยกย่องเชิดชูเกียรติ์และเผยแพร่ผลงานของบุคคล ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม
ระดับโลก ให้ปรากฎแก่เหล่าสมาชิกทั่วโลกตลอดมา
ในการนี้ยูเนสโกได้ยกย่องเชิดชูเกียรติ์ให้แก่บรมครูด้านวรรณกรรม
ของประเทศไทยคือท่าน"สุนทรภู่" มาตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2529 ท่านรองนายก
รัฐมนตรีในสมัยนั้น(ท่านเศวต เปี่ยมพงศ์สานต์)จึงได้จัดตั้งสถาบันสุนทรภู่เพื่อสนับ
สนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของท่านครูภู่ จึงเป็นที่มาของวันสุนทรภู่ตั้ง
แต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ท่านครูภู่ เป็นครูเป็นต้นแบบ ของเราเหล่าผู้รักวรรณกรรมตลอดมา เป็น
ผู้รังสรรค์วรรณกรรมดีๆไว้มากมาย เช่น
นิราศ ประมาณ 9 เรื่อง
นิทานคำกลอนหลายเรื่อง เช่น พระอภัยมณี,โคบุตรฯ
ปกิณกะสุภาษิตสอนคน เช่น สุภาษิตสอนหญิง,เพลงยาวถวายโอวาทฯ
ในแต่ละเรื่อง จะสอดแทรกประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นของโบราณไว้มาก
มายจนกลายเป็น"วรรคทอง"ฝากไว้ในบรรณพิภพจนเท่าทุกวันนี้
ในโอกาศวันสุนทรภู่ที่จะถึงในไม่กี่วันนี้ กระผมใคร่ขอกราบเรียนเชิญท่าน
ผู้มีใจรักในวรรณกรรม ช่วยกันรำลึกถึงท่านท่านครูภู่ด้วยข้อเขียน,รูปภาพหรือบทกลอน
จะลงตรงนี้ หรือเปิดกระทู้ใหม่ก็ได้ เพื่อรำลึกถึงครูภู่ เพื่อจรรโลงวรรณกรรมไว้ให้ลูกหลาน
สืบไป ขอเชื้อเชิญ ขอรับกระผม.
เวียงสา980:
อ่านยังไม่จบ ค่ะ เอาไว้ถ้าว่าง จะมาอ่านต่อ นะคะ เยอะมาก เลย
ทวีป โคราช:
นักฟังเพลงส่วนใหญ่ก็จะชอบคำประพันธ์้ด้วย เพราะเป็นของคู่กัน เพลงสมัยเก่าก็เป็นการแต่งร้อยกรอง ทำให้มีความไพเราะ คล้องจอง จำได้ขึ้นใจ เพลงวัยรุ่นสมัยนี้ผมฟังแล้วปวดหัวครับ แต่งแบบร้อยแก้ว ไม่มีสัมผัส ในโรงเรียนสมัยก่อนก็ให้มีการท่องบทอาขยาน ทำให้ฝังใจมาจนถึงปัจจุบัน แม้เวลาจะล่วงเลยมาเกือบ 50 ปี ยังจำบทอาขยานนั้นได้ แต่จะหลงลืมบ้าง ผมจำได้ว่าตอนอยู่ ป.3 (ปี 2508) เคยท่องอาขยานบทนี้ครับ เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน เหมือนอย่างนางเชิญ พระแสงสำอางข้างเคียง เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง สำเนียงน่าฟังวังเวง กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพียงเพลง ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง....
ผมประทับใจและจดจำบทประพันธ์นี้ได้ขึ้นใจ และชื่นชอบในบทประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ผมว่ามันเป็นความงดงามทางภาษาที่ควรจะมีอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
ชบาบาน:
ท่านทวีป ดูจะเข้าใจในความเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทย คอเพลงบ้านพักใจถ้าเป้นคนรุ่นเก่า ชอบเพลงที่มีสำผัสคล้องจอง
ถ้อยคำสละสลวย เพลงเก่าโดยนักแต่งเพลงเก่าๆจึงมีลมหายใจติดต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ส่วนที่ท่านเอ่ยถึงเพลงวัยรุ่น
สมัยนี้ ความรู้สึกของกระผมก็คล้ายๆความรู้สึกท่านแหละขอรับ มันมักจะเป็นร้อยแก้วแล้วใส่ทำนองเป็นเมโลตี้เข้าไป ให้ชิ้น
ดนตรีดังๆ ก็ได้กรี๊ดได้ฮือฮากันแล้ว แต่พวกเขาก็สนุกสนานกัน ปล่อยพวกเขาเถอะขอรับ นี่มันยุคของ K-POP,J-POP
ตู่ ลำพูน:
เข้ามาอ่านบทกลอนของแต่ละท่านไม่เบาเลย...ข้าน้อยต้องขอฝากตัวเป็นศิษย์ท่านอาจารย์.. :'e:92
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version