ผู้เขียน หัวข้อ: 44 สาวงามในประวัติศาสตร์จีน (กระทู้ต่อเนื่อง)  (อ่าน 5279 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทนาย

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 363
    447


<a href="http://www.swfcabin.com/swf-files/1346323637.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.swfcabin.com/swf-files/1346323637.swf</a>

14-15 สองเกี้ยวบุปผางามแห่งกังตั๋ง-ไต้เกี้ยว เสียวเกี้ยว

หญิงงามในประวัติศาสตร์จีน ต่างถูกยกย่องโดยการร่ำลือจากปากต่อปากของคนจีน ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการบันทึกทางประวัติศาสตร์อันน้อยนิด

ดั่งเช่นพระชายาของเจ้า ฉู่ป้าหวาง ยู่จี (ง่อกี)

ภรรยาของ ซุนเซ็ก ไต้เกี้ยว และภรรยาของ จิวยี่ เสี้ยวเกี้ยว หนังสือประวัติศาสตร์ต่างให้ความสำคัญน้อยยิ่ง ทั้งประวัติความเป็นมา และการบอกเล่าแตกต่างกัน

จึ่งเป็นความสงสัยของคนรุ่นหลัง ต้องทำการสืบสาวค้นคว้า แต่ก็ยังมิมีความกระจ่างพอ

เนื่องจากประวัติของนาง สองเกี้ยว มักมีที่มาจากนักกวีนักประพันธ์ ซึ่งได้ผูกโคลงกลอนให้พี่น้องสองใบเถานี้มีความสัมพันธ์กับ โจโฉ อันเป็นบทกลอนที่มีอยู่ในหนังสือ “ซานกวอหยิ่นอี้”

ก็มีบทกลอนหนึ่งกล่าวอ้างพาดพิงถึง อย่างไรก็ตาม ตามหนังสือนิยาย “ซานกว๋อหยิ่นอี้” ได้ถูกตกแต่งมาด้วยระยะกาลเวลาอันยาวนาน ชนชั้นหลังต่างเข้าใจว่าเป็นบทความที่มีร่องรอยเหลืออยู่ทางประวัติศาสตร์

ดั่งบทกลอนของ ตู้มู่ (โต่วมก) นักกวีราขวงศ์ ถัน (ทั้ง) ได้แต่งบทกวีตอน “เซ็กเพ็ก รำลึก” ว่า

“ตีเหล็กหลอมหอกอาวุธเหล็กยังมิหายร้อน, รีบด่วนลับคมมิทันกาล, ลมตะวันออกพัดมามิทันใจ โจวหลาน (จิวนึ้ง..จิวยี่), ฤดูใบไม้ผลิอภิรมย์สู่ สองเกี้ยว,”

แม้ว่าจักเป็นคำกลอนลอย ๆ มิมีประวัติที่มาที่ไป นักกวี ตู้มู่ มิได้นำนาง สองเกี้ยว มาแต่งร่วมกับ โจโฉ




ไต้เกี้ยว


มินานมานี้ ต่างมีเหล่านักศึกษานักวิจารณ์ถึงเรื่องราวของนาง สองเกี้ยว แต่ก็ยากที่จักสืบสาวราวเรื่องของนางทั้งสอง

การสืบสาวก็คือการค้นคว้าหาจากการบันทึกของหนังสือเก่า ๆ มีหนังสือหลาย ๆ เล่มกล่าวถึงประวัติของยุค สามก๊ก จำนวนมาก แต่มีจำนวนน้อยที่กล่าวถึงนาง สองเกี้ยว

แต่มี 2 - 3 ตอนที่ถูกมองข้ามไป

ก่อนอื่น ดูจาก “ซานกว๋อจี้” (บันทึกโดย เฉินโซ่ว) ตอนประวัติของ จิวยี่ กล่าวว่า

“……..เซ็ก (ซุนเซ็ก) ต้องการควบคุมดินแดน เกงจิ๋ว โดยมี จิวยี่ เป็นผู้ช่วยเหลือ ด้วยการปกครองยึดดินแดนเป็นเจ้าเมือง กังแฮ แล้วบุกโจมตี วาน (อ๊วง..หมายถึงมณฑล อันเฟย) พบกับบุตรีทั้งสองของ เกียวก๋ง มีความงดงามหาหญิงใดเทียบ เซ็ก ได้กับ ไต้เกี้ยว ส่วน ยี่ ได้กับ เสียวเกี้ยว”

นอกจากนี้ “ซานกว๋อจี้ ยังมีกล่าวพาดพิง ซุนเซ็ก, จิวยี่, และนาง สองเกี้ยว อีกว่า

“……..เซ็ก กล่าปรารภกับ ยี่ ว่า บุตรีสองนางของ เกียวก๋ง ผู้พลัดถิ่น เกียวก๋ง ได้เราทั้งสองเป็นเขย นับว่าน่ายินดียิ่ง…..” คำกล่าวนี้ เมื่อ
เปรียบเทียบกับตอนประวัติของ จิวยี่ ยิ่งกระจ่างแจ้ง ด้วยคำบันทึกว่า

“บุตรีสองนางของ เกียวก๋ง แม้นพลัดถิ่น”

นั้นแสดงถึงสถานภาพของนาง สองเกี้ยว ก่อนแต่งงานกับ ซุน, จิว, มีสถานภาพเช่นใด

แสดงว่า นาง สองเกี้ยว นี้ เป็นชาว อันเฟย แต่ขาดหลักฐานเป็นการยากพิศูจย์สืบสาวราวเรื่อง

หรือว่านางทั้งสองกำเนิดมามิใช่คน อันเฟย อาจเป็นเพราะว่าการเกิดศึกสงคราม ทำให้นางทั้งสองต้องหนีเร่ร่อนจากถิ่นกำเนิดมาถึง วาน (อันเฟย)

แต่เป็นที่แน่นอนว่า ซุนเซ็ก และ จิวยี่ ได้ตกแต่งกับนางทั้งสอง ณ ดินแดน วาน (อันเฟย) ต่อมาชนชั้นหลังต่างเข้าใจกันว่านางทั้งสองเป็นชาว วาน (อันเฟย)

ซุนเซ็ก และ จิวยี่ ต่างได้นาง สองเกี้ยว นั้นคือปีศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 3 ซุนเซ็ก และ จิวยี่ ต่างมีอายุ 24 ปีด้วยกันทั้งคู่

ก่อนหน้าของปีนั้น ซุนเซ็ก มีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง ฮุ่ยจี (ฮ่วยกี..ห้อยเข) และปีนั้น ก็ได้รับยศเป็นเจ้าเจ้า อู๋โฮ่ว (โง่วโหว) และมีตำแหน่งทางทหารเป็นแม่ทัพ เตานิเจียนจวิน (ท่อเง็กเจียงกุง..แม่ทัพต่อต้าน)

เขาทั้งสอง ได้ประสบยลพักตร์กับพี่น้องสองใบเถา เกี้ยวสี ด้วยความวุ่นวายในสนามรบ เมื่อศักราชเจี้ยนอัน ปีที่ 3 ณ ดินแดนฝั่งเหนือของแม่น้ำ ฉานเจียน (เชี่ยงกัง..แยงซีเกียง) ซึ่งปัจจุบันนี้คือใจกลางเมือง ชีจิ๋ว

มีการทำศึกสงครามมิหยุดหย่อน ลิโป้ กับ เล่าปี่ ได้รบรากัน โจโฉ ได้นำกองทัพตี ลิโป้ แตก

ถ้าหากเป็นเวลาของปีนั้น โจโฉ ก็ได้ป้วนเปี้ยนอยู่ในดินแดนแถบนี้เช่นกัน ถ้าเช่นนั้น โจโฉ ก็มีโอกาสยลโฉมประสบพักตร์ของพี่น้องสองใบเถา สองเกี้ยว ด้วยเช่นเดียวกัน

เมื่อพิจารณาดูจาก สามก๊ก ทำให้เราเชื่อได้ว่านาง สองเกี้ยว ได้พลัดพรากหลงเข้ามาในสนามรบสงคราม นางทั้งสองคงมีมนุษย์สัมพันธ์กันดียิ่ง

กอบกับความงามความเฉลียวฉลาดของทั้งสองนางและ ชื่อเสียงของ สองนางจึ่งเป็นที่ยกย่องลือกระฉ่อน

หากเป็นหญิงชาวบ้านธรรมดา คงยากที่จักมีชีวิตหนีรอดจากการสงคราม



+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=9717

ออฟไลน์ ทนาย

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 363
    447


เสี่ยวเกี้ยว

การที่สังคมกระชับความสัมพันธ์กับเหล่าขุนศึกมิว่าฝ่ายใดก็ตาม สองเกี้ยว จึ่งเป็นที่เกรงใจแก่เหล่าทหารทั่ว ๆ ไป อีกทั้งหน้าตาของ เกียวกง บิดาของทั้งสองนาง ก็ได้ประกบกับนางทั้งสอง

เมื่อ โจโฉ บุกยึดดินแดนใกล้เคียงกับ ชีจิ๋ว ก็คงได้ยินกิตติศัพท์ความงามของนาง สองเกี้ยว หรืออาจจะมีผู้แนะนำให้รู้จักกัน

โจเม่งเต็ก มีนิสัยชมชอบเรื่องโลกีย์อยู่แล้ว เมื่อเห็นนางงามสองใบเถาจักมิมีจิตพิศสวาทเชียวหรือ คงจดจำนางทั้งสองอย่างประทับใจ

แต่ภาระการศึกสงครามนั้นมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โจโฉ จึ่งจำเป็นต้องยุ่งอยู่กับภาระกิจการสงคราม มิมีเวลามาก จึ่งได้จากลาจากนาง สองเกี้ยว ด้วยความอาลัย

เพราะว่าแม้น โจโฉ จักมีใจเสเพ แต่หน้าที่การแก่งแย่งในใต้หล้านั้นสำคัญกว่า

สำหรับนาง สองเกี้ยว ก็ติดภาระเกรงกลัวภัยจากสงคราม ต่างคิดหนีเอาชีวิตรอด นางงาม คู่กับภาวะศึกสงครามอันวุ่นวาย นับว่าอันตรายยิ่ง

นางทั้งสองจึ่งต้องเร่ร่อนระหกระเหิร ประจวบมาพบกับสองผู้นำนายทัพหนุ่มแห่ง กังตั๋ง ซุนเซ็ก และ จิวยี่

วีระบุรุษคู่กับนางงามในประวัติศาสตร์จึ่งได้บังเกิด ดั่ง ซุนเซ็ก, จิวยี่, และนาง สองเกี้ยว

กล่าวถึงอายุวัยสาวของนาง สองเกี้ยว ขณะนั้นคะเนอายุคงได้ 16 - 17 ปี ส่วน ซุนเซ็ก และ จิวยี่ มีอายุเท่ากัน 24 ปี

“ซานกว๋อจี้” บันทึกบุคลิคลักษณะอุปนิสัยของ ซุนเซ็ก ว่า

“”เซ็ก รูปร่างหน้าตาสวยงามทรนงองอาจ ยิ้มง่าย ชอบรับฟัง รู้จักใช้คนเป็น ชอบคบบัณฑิต ร่วมเป็นร่วมตาย”

ขณะนั้น มีหลายคนมิอาจมิกล่าวชมเชยเขา ดั่งคำพูดของ อ้วนสุด ว่า

“หาก ซุก มีบุตรดั่ง ซุนหลาน (ซุงนึ้ง) แม้นตายข้าก็นอนตาหลับ”

ภายหลัง โจโฉ มีโอกาสพูดคุยกับ ซุนกวน ก็ได้กล่าวชมเชย ซุนเซ็ก เช่นกัน

สำหรับ จิวยี่ ก็เป็นชายหนุ่มรูปหล่อ ตามบันทึก “ซานกว๋อจี้” จิวยี่ หนุ่มน้อยหน้าตาหมดจรด มีความสามารถการฟังดนตรี แม้นดื่มสุราสมาธิยิ่งเที่ยง หากฟังดนตรีแล้วมีท่วงทีผิดทำนอง เขาต้องมีความรู้สึก

ขณะนั้น ชาวบ้านมีคำพังเพยกล่าวขวัญกันว่า

“ดนตรีผิดพลาด โจวหลาน (จิวนึ้ง) รู้สึก”

ชายรูปหล่อสองนายนี้ แต่งงานกับ สองเกี้ยว ดั่งเช่นวีระบุรุษคู่กับหญิงงามมิพลาดแล้ว



แต่ทว่า มีคำพังเพยกล่าวกันว่า “หญิงงามมักด้อยวาสนา” สองเกี้ยว ก็เฉกเช่นเดียวกัน

ไต้เกี้ยว แต่งกับ ซุนเซ็ก ได้พียง 3 ปี คือปีศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 5 ซุนเซ็ก บุกโจมตี เกงจิ๋ว ถูกลูกเกาทัณฑ์ตาย อายุที่เพิ่งย่างเข้าสู่วัยสาว ไต้เกี้ยว กลับกลายเป็นแม่ม่าย

ชีวิตการครองเรือนระหว่าง ซุนเซ็ก กับ ไต้เกี้ยว มีเวลาอันแสนสั้น เมื่อยามอยู่นั้น ซุนเซ็ก ยังคงยุ่งอยู่กับการทำศึก มิค่อยมีเวลาให้ ไต้เกี้ยว ปรนนิบัติ

ภายหลังการแต่งงานระหว่าง ศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 3 ถึงที่ 5 ซุนเซ็ก มักออกรบอยู่ในสนามรบ มิค่อยมีเวลาร่วมหลับนอนกับ ไต้เกี้ยว

ส่วนระหว่าง จิวยี่ กับ เสียวเกี้ยว ก็เฉกเช่นเดียวกัน เพียงแต่ เสียวเกี้ยว มีชีวิตการครองเรือนยืดนานกว่าพี่สาว

และเมื่อ ซุนเซ็ก ตายไปมิเกิน 3 ปี ซุนกวน โดยการช่วยเหลือของ จิวยี่ สามารถปราบดาดินแดน กังตั๋ง ได้ ดินแดน ง่อก๊ก ก็เริ่มเจริญรุ่งเรือง

ดั่งนั้น ชื่อเสียงกิตติศัพท์ของนาง สองเกี้ยว ก็ยิ่งระบือไกล

ภายหลังเมื่อดำรงตำแหน่งแม่ม่ายของ ไต้เกี้ยว ชีวิตการครองเรือนแม้นจักเงียบเหงาอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว แต่ทางด้านสังคมของคนรอบด้านคงปกติสุข

ด้วยวัยอันสาว กับฐานะอันสูงส่งทางสังคม สถานภาพขนมประเพณีของสังคมสมัยนั้นยังมิเคร่งครัดมากสำหรับหญิงและชาย บางครั้งชายหญิงร่วมกินร่วมเที่ยวด้วยกันก็คงมีบ้าง

หลิวอี้ซิ่น (เล่างี่เข่ง) นักประพันธ์ของจีนสมัยใหม่ ได้เขียนในหนังสือของเขาว่า

เมื่อภายหลังที่ ซุนเซ็ก ตายจาก ไต้เกี้ยว ได้โยกย้ายมาพำนัก ณ เจี้ยนเย่ว์ (เกี่ยงเงียบ) ปัจจุบันคือนคร นานจิน เมื่อตอนต้นปีศักราช หวงหรง (อึ่งเล้ง..ชื่อปีศักราชของ ซุนกวน)

ไต้เกี้ยว นางได้โยกย้ายมา ณ เจี้ยนเย่ว์ ภายหลัง ซุนกวน แม้นว่าพฤติกรรมของนางเป็นเรื่องภายในที่คนภายนอกยากที่จักรู้ แต่การเป็นแม่ม่ายสาวรวยเสน่ห์เช่นนาง ไต้เกี้ยว ใคร ๆ ก็ยิ่งใคร่อยากรู้เห็น

ส่วนชีวิตวัยครองเรือนสำหรับ เสียวเกี้ยว ภายหลังการแต่งงานกับ จิวยี่ นับเป็นเวลาได้ 13 ปี

จิวยี่ ถึงแก่กรรมเมื่อศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 15 ขณะนั้น จิวยี่ มีอายุได้ 36 ปี

ส่วนนาง เสียวเกี้ยว ตอนเป็นแม่ม่าย อายุยังมิถึง 30 ปี

วีระบุรุษมักมิค่อยให้ชาวโลกแลเห็นผมขาว นั่งจึ่งเป็นที่สะเทือนใจของหญิงงาม

นับตั้งแต่การตายของ ซุนเซ็ก ตลอดถึงความตายของ จิวยี่ แม้นว่ามีระยะเวลากาลนานถึง 10 ปี ในชั่วเวลา 10 ปีนี้ เสียวเกี้ยว มีเวลาอภิรมย์กับสามีวีระบุรุษ จึ่งรู้จัดรสชาดแห่งความรักใคร่ของโลกีย์วิสัย

ส่วน ไต้เกี้ยว นั้น นางได้แต่ใช้เวลาท่องเที่ยว ออกสังคมปลดความว้าเหว่

โจโฉ ซึ่งอยู่ ณ ฮูโต๋ คงได้ยินกิตติศัพท์ จึ่งมีความหวังในตัวนาง สองเกี้ยว ก็ด้วยช่วงเวลานี้

ซี่โซ่วลู่ (ซิบขักโล่ว) คนสมัยยุคราชวงศ์ จิ้น (จิ่ง) ก็มองสภาพของนาง สองเกี้ยว กับสามี ซุน, จิว, เป็นความรู้สึกเช่นปุถุชน มิเห็นแปลก



ในนิยาย “ซานกว๋อหยิ่นอี้” ผู้แต่งได้เขียนถึง จูกัดเหลียง เมื่อยามไปเยือน ตังง่อ ได้อ้างบทกวีของ โจสิน แต่งขึ้นตอนฉลองปราสาทหอนกยูงของ โจโฉ มาเป็นการแทงใจดำต่อ จิวยี่

นี่เป็นเรื่องน่าขบขันยิ่ง “กลอนของ โจสิด กล่าวพาดพิงนาง สองเกี้ยว ว่า

“อันนาง สองเกี้ยว นี้, ดุจสายรุ้งบนฟากฟ้า”

แต่ใน “ซานกว๋อหยิ่นอี้” แก้เป็นว่า

“อันนาง สองเกี้ยว นี้, ร่วงสังสรรค์ยามเช้าค่ำ”

ตามระยะกาลเวลา และบทกวี ล้วนแล้วแต่ผิดกาลเทศะ เมื่อตอนที่ โจโฉ ยกทัพลงใต้พิชิตตะวันออกนั้น โจโฉ ได้พ่ายแพ้การศึกยุทธนาวี เซ็กเพ็ก เมื่อปีศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 13

และเมื่อ โจโฉ สร้างปราสาทหอนกยูง โจสิด แต่งบทกวีสรรเสริญนั้น อยู่ในปีศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 15

แต่เมื่อตอนที่ ขงเบ้ง กล่าวคำกลอนเพื่อแทงใจดำ จิวยี่ นั้น เป็นคำกลอนที่ โจสิด แต่งขึ้นหลังจากนั้น 2 ปี

เป็นไปได้ไหมว่า ข่าวการตายของ ซุนเซ็ก ซึ่งทิ้ง ฮูหยิน นาง ไต้เกี้ยว อันสวยสดงดงาม ถูกระบือไปถึงหูของ โจโฉ

โจโฉ จึ่งได้ระบายความในใจเมื่อครั้งยลประสบพักตร์ของนาง สองเกี้ยว

และถูกผู้ได้ฟังถ่ายทอดออกไปอีกที

ยังมีปัญหาต่อไปอีกในเหล่านักศึกษาว่า ที่แท้แล้ว ระหว่างนาง ไต้เกี้ยว และนาง เสียวเกี้ยว ผู้ใดมีความสวยสดงดงามกว่าใคร

คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ไต้เกี้ยว ย่อมงดงามกว่า เสียวเกี้ยว ด้วยเหตุผลที่ว่า ซุนเซ็ก นั้นเป็นผู้นำ จึ่งมีสิทธิ์เป็นผู้เลือกสาวงามก่อน จึ่งได้เลือกนาง ไต้เกี้ยว

แต่ทว่าคนอย่าง จิวยี่ นั้น เป็นผู้มิยอมตามหลังใครง่าย ๆ กล่าวอีกที ผู้นำใจเด็ดเดี่ยว ย่อมมุ่งความสำเร็จในการใหญ่เป็นสำคัญ ความงามของหญิงเป็นเรื่องรอง

หากคนทั้งสองต่างฝ่ายต่างเลือกนาง สองเกี้ยว ก็คงเกี่ยวกับความรักและอุปนิสันอันต้องกันและกันมากกว่า

ตามบทกวีของ ซูจงโป (โซวตงปอ) เกี่ยวกับการเลือกหญิงงามว่า

“หวนคะนึงกลับถึง กงกึ้ง (จิวยี่) ปีนั้น เพิ่งได้แต่งนวลเสน่ห์ เสียวเกี้ยว วีระบุรุษได้การปรนนิบัติ ขนนกพัดวีชโลมผ้าเย็น เสียงหัวร่อต่อกระซิก กำแพงมีปีกก็พลอยมีสุข”

ด้วยคำกลอนมิกี่คำนี้ เพิ่มเติมความมีเสน่ห์สวยงามให้แก่ เสียวเกี้ยว เป็นความประทับใจ จิวยี่ มีคุณนายสาวประดับบารมีวีระบุรุษ ก็ย่อมสุขกายสบายใจ

กล่าวโดยสรุป นาง สองเกี้ยว นี้ต่างมีความสวยงามและรวยเสน่ห์ จนกระทั่ง โจโฉ ยังอดอิจฉามิได้

แต่ทว่ากับความรู้สึกต่อนาง สองเกี้ยว นี้ ยังมิมีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ นางงามดังคับฟ้า ไฉนจึ่งมิมีการบันทึก

ปัจจุบัน ณ เมืองอู่จิ้น (บู่จิ่ง) ในมณฑล กันซู มีสุสานของนาง เสียวเกี้ยว แต่คนทั่วไปต่างสงสัยกันว่า เป็นที่ฝังศพของนาง เสียวเกี้ยว จริงหรือ หรือว่าฝังเพียงแต่เสื้อผ้าเครื่องใช้สอยของนางเท่านั้น ด้วยผ่านกาลเวลามานานแสนนาน จึ่งยากแก่การคาดคะเนคาดเดา

แม้นว่า ทางใต้ของมณฑล กันซู ตลอดถึงดินแดน อี้ซิ่น (งี่เฮง) มีสุสานจำนวนมากมาย

แต่นาง เสียวเกี้ยว ก็ได้อยู่อาศัยเป็นคน ง่อ ศพถูกฝัง ณ ที่นี้ ก็อาจเป็นไปได้

นอกจากนี้ ณ เย่ว์หยาน (งักเอี้ยง) ในมณฑล หูหนาน ก็มีหลุมฝังศพสุสานของนาง สองเกี้ยว มิทราบว่าเป็นเพียงสุสานของนาง ไต้เกี้ยว หรือนาง เสียวเกี้ยว หรือว่านางทั้ง สองเกี้ยว ถูกฝังอยู่เคียงคู่กัน

เมือง เย่ว์หยาน ในมณฑล หูหนาน ก็อยู่แนวทางเดียวกับเมือง ฉานซา (เชี่ยงซัว..เตียงสา) ซึ่งสมัยนั้น ก็เป็นเขตแดนของดินแดน ง่อ แต่การสันนิษฐานว่าสุสาน ณ เย่ว์หยาน นั้น เทียบเคียงกับสุสาน ณ อู่จิ้น มีความเป็นไปได้น้อยกว่า

เกี่ยวกับอุปนิสัยและคุณสมบัติของนาง สองเกี้ยว ยิ่งยากลำบากแก่การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์

แต่ทว่าก่อนรัชสมัยของราชวงศ์ ซ่ง (ซ้อง) เรื่องราวของนาง สองเกี้ยว นี้ถูกร่ำลือกันมิใช่น้อย หรือว่า คนสมัยนั้น นำเรื่องราวของนาง สองเกี้ยว มาพูดคุยกันอย่างคะนองปากเอง

มีการบันทึกของในยุคสมัยราชวงศ์ ถัน (ทั้ง) แต่เป็นเรื่องราวที่มิค่อยน่าเชื่อถือ เพราะมีบันทึกว่า

บัณฑิต ผู้หนึ่ง ได้สนทนากับปีศาจ มีการกล่าวพาดพิงถึงนาง สองเกี้ยว และความสัมพันธ์กับ โจโฉ

จากการบันทึกนี้ ทำให้นึกถึงบทกวีของ ตู้มู่ กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ โจโฉ ที่มีต่อนาง สองเกี้ยว จึ่งเป็นอันเชื่อได้ว่าวัตถุดิบเรื่องราวของนาง สองเกี้ยว มีมาตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ ถัน

ต่อมาภายหลัง คำร่ำลือถึงนาง สองเกี้ยว ก็จืดจางลง จึ่งเหลือเป็นความสงสัยมาตราบเท่าปัจจุบัน


** ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ ไทยสามก๊ก **

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=9717

ออฟไลน์ สุพจน์ อยุธยา

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 119
    63

สวยงามมากครับ เป็นภาพวาดที่ดูแล้วสบายตา

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=9717