


ไพรวัลย์ ลูกเพชร (14 ธันวาคม พ.ศ. 2484 - 17 ตุลาคม พ.ศ. 2545) มีชื่อจริงว่า สมนึก นิลเขียว นักร้องเพลงลุกทุ่งชาวตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เข้าสู่วงการจาการที่พ่อแม่นำไปฝากคณะลิเกเมืองเพชร แต่ใจไม่รัก จึงไปสมัครวงดนตรีบางกอก ช่ะ ช่ะ ช่า ของครูสมพงษ์ วงศ์รักไทย และครูชุติมา สุวรรณรัตน์ เมื่อวงบางกอก ช่ะ ช่ะ ช่า ยุบวงลง ครูได้นำไปฝากกับวงดนตรีของสุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงให้ เพลงที่มีชื่อเสียงเช่น คำเตือนของพี่, ดาวบ้านนา, แม่ผักบุ้งบ้านดอน, เสียงจากไพรวัลย์, คำประณาม
เขาเป็นนักร้องที่ปอดใหญ่ ร้องเพลงคำกว้าง ร้องชัดถ้อยชัดคำ ทำให้คนฟัง ๆ แล้วประทับใจ
ในยุคที่เขาเข้าสู่วงการภาพยนตร์ เขาได้ชื่อว่าเป็น “พระเอกลูกทุ่ง” ด้วยรูปร่างหน้าตาที่
หล่อเหลา แฟนเพลงเคยได้ฟังแต่เสียง พอได้เห็นตัวจริงจากภาพยนตร์ โดยเฉพาะเรื่อง
“มนต์รักลูกทุ่ง” ต่างหลงไหลในตัวเขาไม่แพ้พระเอก “มิตร ชัยบัญชา” แม้ว่าเขาจะเสีย
ชีวิตในขณะที่อายุ 61 ปีแล้ว แต่แฟนเพลงยังสุดแสนเสียดาย ไม่อยากให้เจ้าของน้ำเสียงที่
แสนจะหวานซึ้งต้องด่วนจากไป
ส่วนสาเหตุที่ทำให้นักร้องท่านนี้กลายเป็นคนพิการก็เนื่องมาจาก
ในปี พ.ศ.2529 ชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์ของเขาต้องดับวูบลง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2529
ขณะที่เขานั่งเก๋งวอลโว่ไปทำธุระกับพนักงาน บขส.หมอชิต ถูกคนร้ายลอบยิง
ทำให้พนักงาน บขส. เสียชีวิตคาที่ ส่วนเขาบาดเจ็บสาหัส ผู้ประสบเหตุนำส่ง
โรงพยาบาลชลประทาน แพทย์นำเข้าห้อง ไอซียู แพทย์ผู้ดูแลรักษา ลงความเห็นว่า
เส้นประสาทไขสันหลังขาด เนื่องจากกระสุนเจาะเข้าต้นคอ ทำให้ร่างกายท่อนล่างพิการ
จึงทำให้ “ไพรวัลย์ ลูกเพชร” ต้องกลายเป็นคนพิการมาตั้งแต่บัดนั้น
ซึ่งกว่าที่เขาจะทำใจได้ต้องใช้เวลานานทีเดียว หลังจากเก็บตัวมา 3 ปี เขา
ตัดสินใจหวนกลับมาร้องเพลงหน้าเวทีอีกครั้งโดยการนั่งรถเข็น ประเดิมงานแรกที่ฟาร์มจระเข้
จ.สมุทรปราการ ซึ่งแฟน ๆ ต่างก็ให้กำลังใจอย่างอบอุ่น จนทำให้เขามีสภาพจิตใจที่เข็มแข็ง
กลับมาเป็นไพรวัลย์คนเดิม และร้องเพลงรับใช้พี่น้องแฟนเพลงต่อมาอีกหลายปี
แต่เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2540 เวลาประมาณ 5 ทุ่มกว่า ๆ โชคร้ายกลับมา
เยือนอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่เขานั่งอยู่บนรถเข็นข้างเวทีรอขึ้นร้องเพลง มีแฟนเพลงคนหนึ่งยื่นแก้ว
เหล้าให้ดื่ม เขาไม่กล้าขัดใจรับมาจิบไปนิดเดียวเพื่อเป็นมารยาท แต่เหตุการณ์เลวร้ายที่เขาคาด
ไม่ถึงก็เกิดขึ้น เมื่ออยู่ ๆ เกิดอาการหน้ามืด ลิ้นชา คุณพรรณีรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แพทย์
ระบุว่า “เส้นโลหิตในสมองแตก” ทำให้ชีวิตการร้องเพลงของ “ไพรวัลย์ ลูกเพชร” ต้องยุติลง
ตั้งแต่วันนั้น เขาอยู่พักรักษาตัวที่บ้านสลับกับเข้าโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง
วันที่ 12 กันยายน 2540 เข้ารักษาตัวและนอนโรงพยาบาลเนื่องจากแผล
กดทับอักเสบ นานถึง 6 เดือน จึงกลับมาพักที่บ้านได้
วันที่ 26 กันยายน 2545 เป็นวันที่เขาเข้าโรงพยาลเป็นครั้งสุดท้ายโดยไม่มี
โอกาสได้กลับมาบ้านอีก เขาพักรักษาตัวอยู่ครั้งนี้เพียง 21 วัน พอถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2545
เวลา 10.30 น. “ไพรวัลย์ ลูกเพชร” นักร้องขวัญใจของชาวไทย ก็เสียชีวิตลงอย่างสงบ ด้วย
โรค “ปอดบวม” ที่โรงพยาบาลชลประทาน หลังจากที่เขาทนทุกข์ทรมานมาถึง 17 ปี เต็ม ๆ
ไพรวัลย์ ลูกเพชร มีบุตร 3 คน เกิดจาก “วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ” 2 คน
คือ “เลิศชาย ลูกเพชร” รับราชการทหารเรือ และ “วิรัตน์ตา ลูกเพชร” และ เกิดจาก
“พรรณี ลูกเพชร” 1 คน คือ “กฤติวุฒิ ลูกเพชร”
รางวัลเกียรติยศ ที่ได้รับ
- 20 พ.ย.2514 ได้รับรางวัล “แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน” ในเพลง
“เบ้าหลอมดวงใจ” ของครูไพบูลย์
- 12 ก.ย.2532 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่นจาก “สมเด็จพระเทพรัตน-
ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ในงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย” ครั้งที่ 1 ถึง 2 เพลง
คือ เพลง “มนต์รักลูกทุ่ง” และ “ไอ้หนุ่มตังเก”
- 7 ก.ค.2534 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่นจาก “สมเด็จพระเทพรัตน-
ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย” ครังที่ 2 ในเพลง
“คำเตือนของพี่”
- ปี 2521 ได้รับรางวัล “เสาอากาศทองคำ” ในเพลง “ไอ้หนุ่มตังเก” ของครู ชลธี ธารทอง
ข้อมูลบางส่วนได้มาจากคุณ สัมพันธ์ พัทลุง :'e:94