ผู้เขียน หัวข้อ: ดินแดนสุวรรณภูมิ และการก่อเกิดรัฐโบราณในประเทศไทย  (อ่าน 1148 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฉิน

  • ผู้ทรงเกียรติ
  • *
  • ออฟไลน์
  • 170
    359


ดินแดนสุวรรณภูมิ และการก่อเกิดรัฐโบราณในประเทศไทย
   


     ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย  เมื่อประมาณ 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว ชุมชนโบราณเริ่มมีการถลุงสินแร่โลหะ การใช้เครื่องมือใช้โลหะ การแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างชุมชนโบราณ อาทิ แหล่งเกลือธรรมชาติ  แหล่งแร่ทองแดง ฯลฯอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการแลกรับวัฒนธรรมจากภายนอก  และส่งผลให้เกิดพัฒนาการภายในกลุ่มชนยุคก่อนประวัติศาสตร์  ก่อให้เกิดชุมชนกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณลุ่มน้ำต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากการพบหลักฐานทางโบราณคดีที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 1-9 เป็นจำนวนมาก อันแสดงถึงการติดต่อแลกรับวัฒนธรรมกับดินแดนอื่น ๆ  เช่น กลองมโหระทึกสำริด  ตะเกียงโรมันสำริด  จี้รูปสิงโตทำจากหินกึ่งมีค่า  ตุ้มหูรูปกลมมีปุ่มยื่น (ตุ้มหูลิงลิงโอ) ลูกปัดแก้วมีตา ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ผลิตใน จีน อินเดีย ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

    นอกจากนี้มีวรรณกรรมทางศาสนา  ตำนานบันทึกของนักเดินเรือจากต่างประเทศ ฯลฯ ที่กล่าวอ้างว่าเขียนขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน  ระบุถึงดินแดนชื่อ "สุวรรณภูมิ" ซึ่งในเอกสารชาวฮั่นหรือจีนโบราณเรียกว่า "จินหลิน" หรือ "กิมหลิน" ซึ่งมีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เช่นกัน  หลักฐานเหล่านี้นำไปสู่การตีความของนักวิชาการสาขาต่าง ๆ ว่า สุวรรณภูมิก็คือดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

     ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ และความสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลานั้นที่มีการก่อเกิดชุมชนขนาดใหญ่แบบสังคมเมือง ซึ่งมีรูปแบบการปกครอง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ เป็นแบบแผนเฉพาะ  อาทิ  ชุมชนชายฝั่งทะเลเดิม  ได้แก่  นครปฐม  คูบัว (ราชบุรี)  ลพบุรี  ตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช)  ฯลฯ ชุมชนในดินแดนตอนในของผืนแผ่นดิน  ได้แก่  หริภุญไชย (ลำพูน)  ศรีเทพ (เพชรบูรณ์) ฯลฯ

http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1744

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=4970