ผู้เขียน หัวข้อ: จันทน์กะพ้อ - ชรินทร์  (อ่าน 1957 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Rapee

  • บุคคลทั่วไป
จันทน์กะพ้อ - ชรินทร์
« เมื่อ: 23/พ.ย./11 11:14น. »




<a href="http://www.huaydethuaydunk.com/uppic/files/d5486f0add8155b5.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.huaydethuaydunk.com/uppic/files/d5486f0add8155b5.swf</a>


    คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
    ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน


ดอกจันทน์กะพ้อร่วงพรู

เจ้ามิใช่ร่วงสู่แผ่นดินแห่งไหนโดยง่าย

ลมพาเอากลีบกระจาย ร่อนปลิวพร่างพลิ้วพราย ไม่มีที่หมายใด


ดูดังฝูงฝึ้งแตกรัง เมื่อไร้กำลัง...หล่นก็ลงฝังทั่วไป

ไร้ผู้จะเหลียวใส่ใจ ไม่มีใครที่ไหน เก็บเอาไปเพื่อไว้บูชา


บางกลีบเขาเหยียบลง แหลกเป็นผลอย่างไร้เมตตา

กลีบจมแผ่นดินสิ้นสูญราคา กลิ่นนั้นหนายังหอมเป็นค่าผูกพัน


จันทน์กะพ้อคือเหล่าสตรี มีราคีเพราะชายขยี้พรหมจรรย์

ความสาวแหลกเหลวสิ้นกัน  ไร้ค่าผูกพันเหมือนจันทน์กะพ้อร่วงพรู







จันทร์กะพ้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Vatica diospyroides    Syming.
วงศ์: DIPTEROCARPACEAE
ฤดูกาลออกดอก:ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 6 – 15 เมตร เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา แตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด

ดอก ช่อดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ยาว 10 – 30 เซนติเมตร ออกตามซอกใบและใกล้ปลายกิ่ง
มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร
ทยอยบานในเวลาใกล้เคียงกัน ดอกหอมทั้งกลางวันและกลางคืน แต่หอมมากตอนกลางคืน

แต่ละต้นมีช่วงเวลาบานของดอกเพียง 1- 2 สัปดาห์ ดอกบานวันเดียวแล้วร่วงหล่นลงโคนต้น
มีสีขาวเต็มพื้นและส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วบริเวณ ออกดอกพร้อมกันทั้งต้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

ผล
เป็นรูปเกือบกลม ขนาด 2.5 – 3 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบติดที่ขั้วผล ผลอ่อนสีเขียว
เมื่อแก่สีน้ำตาล แตกได้เป็น 3 เสี่ยง ภายในมี 1 เมล็ด

จันทร์กะพ้อออกดอกเล็ก แต่กลิ่นหอมแรงมาก หอมร้อนๆ คล้ายกับแก้วกาหลง
ชักกลีบมากลั่นเอาหัวน้ำหอมได้ดีมาก

วิธีปลูกใช้เพาะเมล็ดขึ้นในร่มๆ จะดีกว่าที่แจ้ง แต่โอกาสที่จะเพาะขึ้นเป็นต้นนั้นน้อยมาก  ไม่เกินร้อยละสิบ
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีราคาแพง และหายาก

ต้นจันทน์กะพ้อเจริญเติบโตช้า มีชื่ออื่นๆ อีก เช่น  เขี้ยวงูเขา จันทน์พ้อปลูกกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1
ระยะแรกปลูกเฉพาะในรั้วในวัง  ต่อมาจึงแพร่ออกมาสู่ภายนอก

สมัยก่อนคนโบราณใช้ดอกกลั่นทำน้ำมันใส่ผม ดอกปรุงเป็นยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ
ถึงแม้ปัจจุบันโรงงานทำน้ำหอมจะสนใจ ในการผลิตน้ำหอมจากดอกจันทน์กะพ้อ
แต่มีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยมาก ตราบใดที่ยังขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นไม่ได้

จันทน์กะพ้อเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับ เต็ง รัง และยางนา เดิมมีรายงานพบขึ้นเกือบทั่วประเทศ   
มีถิ่นกำเนินในเอเซียเขตร้อน  จันทน์กะพ้อนอกจากจะหาได้ยาก

นอกจากจะขยายพันธุ์ได้ยากแล้ว ยังต้องการ ถิ่นอาศัยในที่ๆ ลมไม่แรงนัก มีความชื้นในอากาศดี
ดินมีการระบายน้ำได้ดี และมีร่มเงาจากไม้อื่น จึงจะเจริญเติบโตได้ดี


(ข้อมูลจาก เว็บไซท์สวนไม้ดอกหอมไทย  http://www.geocities.com/moac_kan/gallery/jankapo.htm,
www.rspg.thaigov.net/ )


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3639