อคติ ความลำเอียงมี ๔ คือ....
คำว่า "อคติ" แปลว่า ทางที่ไม่ควรดำเนินไป, ไม่ใช่ทางที่จะเดินต่อไป หรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติ.คำว่า อคติ ในภาษาไทยหมายถึง ความลำเอียง, ความไม่เที่ยงธรรม, ความไม่ยุติธรรม ฯลฯ
"อคติ"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีกิเลส ซึ่งจะต้องมีอยู่ด้วยกันทุกคน เพราะปกติคนเราจะทำอะไรก็ตาม มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเอง ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้องก่อนเสมอ ซึ่งการกระทำในลักษณะเช่นนี้ เป็นสาเหตุให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง ความผิดอยู่เหนือความถูก หรือผิดเป็นชอบ
"อคติ" มี 4 คือ....
1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะความพอใจ
2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธหรือเกลียด
3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูก,อะไรผิด,อะไรควร,หรืออะไรไม่ควร
4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ
ความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างมาก ทุกยุคทุกสมัยที่บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปกครองบังคับบัญชาบุคคลอื่นด้วยแล้ว มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้เกิดความสูญเสียความยุติธรรม
โดยปกติคนเราชอบความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และเกลียดความลำเอียง การที่เราจะสร้างความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และหลีกเลี่ยงความลำเอียงได้นั้น ค่อนข้างยาก วิธีเดียวที่ทำได้ คือ ฝึกฝนจิตใจ โดยถือหลัก เอาใจเขามาใส่ใจเรา เราเกลียดความอยุติธรรม ความไม่ชอบธรรมอย่างไร คนอื่นก็เช่นเดียวกับเรา เกลียดความลำเอียงรักความยุติธรรมเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อเรายังเป็นปุถุชนอยู่ ก็ย่อมมีความลำเอียงอยู่เป็นธรรมดาไม่มากก็น้อย แต่เราก็ควรพยายามสร้างความยุติธรรมให้มากด้วยการพยายามละความลำเอียงลง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี
ผู้ที่จะละอคติทั้ง ๔ ได้อย่างเด็ดขาดคือ พระสกทาคามิผล ขึ้นไปเท่านั้น[/size][/color]
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/pierra/2012/08/31/entry-1