ผู้เขียน หัวข้อ: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)  (อ่าน 10922 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน




เวลาฟังเพลง เรามักจะพบว่า ผู้ประพันธ์เพลงชอบนำสถานที่ใดที่หนึ่ง มากล่าวไว้ในบทเพลงด้วยเสมอ  สถานที่กล่าวถึงนั้นมันอยู่แห่งหนตำบลใดของประเทศไทยกันหนอ เพื่อนบางคนก็ทราบ บางคนอาจไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อมาก่อน บทเพลงที่กล่าวถึงสถานที่เกิดเหตุเหล่านั้น อาจเป็นสถานที่สำคัญ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักผ่อน ประจำจังหวัด อำเภอ ตำบล

เพื่อน ๆ คะ เรามาช่วยกันรวบรวมบทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)  ไว้ในกระทู้นี้ค่ะ

 


[ Invalid YouTube link ]


  เพลง "สะพานรักสารสิน"
          (ภูเก็ต)  


คำร้อง/ทำนอง : จำนงค์ เป็นสุข (สรวง สันติ)
ผู้ขับร้อง : สรวง สันติ



ภูเอ๋ย...ภูเก็ต  อาณาเขตที่เรารักกัน
 โธ่เอ๋ย...สะพานสารสินเป็นถิ่นรื่นรมย์
 ลาแล้ว ลาก่อน คงไม่ย้อนหวนคืนมาชม
 ลาแล้วหนอความขื่นขม ทุกข์ระทมสิ้นสุดกันที
 
เราสองรักใคร่ ไม่เคยหน่ายขอตายพร้อมกัน
 ฝากฝังสะพานสารสินช่วยเป็นสักขี
 เรารักกันมั่น ผู้ใหญ่เขากันหาว่าไม่ดี
 บุญน้อยจริง ๆ ชาตินี้ เราจึงพลีชีพตายพร้อมกัน
 
พี่เป็นโชเฟอร์ ขับสองแถวใคร ๆ ก็รู้
 แต่น้องเป็นครู แม่พิมพ์ของชาติไม่อาจผูกพัน
 รักจริงใช่เล่น ขนาดเคยเป็นของกันและกัน
 รักที่เคยหมายมั่น กลับถูกกีดกันให้หมดความหมาย
 
ภูเอ๋ย...ภูเก็ต  อาณาเขตที่เรารักกัน
 โธ่เอ๋ย...สะพานสารสินเป็นถิ่นที่ตาย
 น้ำตานองหน้า เอาผ้าขาวม้ามาผูกมัดกาย
 สองเราติดกันมั่นไว้ โดดน้ำตายที่ใต้สะพาน

 





สะพานสารสิน เป็นสะพานที่สร้างข้ามช่องปากพระเพื่อเชื่อมระหว่างเกาะภูเก็ตตรงบริเวณท่าฉัตรไชยกับท่านุ่น จังหวัดพังงา  มีความยาวทั้งหมด 660 เมตร กรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้าง เปิดใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 สิ้นงบประมาณ 28,770,000 บาท สะพานนี้ให้ชื่อตามนามสกุลของ นายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในขณะนั้น ปัจจุบันนี้ สะพานสารสินได้กำหนดให้ใช้เป็นสะพานขาออกจากจังหวัดภูเก็ต
 
         ตำนานรักสะพานสารสิน เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โศกนาฏกรรมของหนุ่มสาว 2 คนที่ตัดสินปัญหาด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกต่อกันมัดตัวเองกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2516  เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มหญิงสาวที่แตกต่างกัน ด้วยชาติตระกูลและฐานะทางสังคม

         ฝ่ายหญิงชื่อ "อิ๋ว" เป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู ส่วนฝ่ายชายชื่อ "โกไข่" เป็นเพียงคนขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง พ่อเลี้ยงอิ๋วแบบเผด็จการไม่ให้อิสระ และต้องการให้แต่งงานกับคนมีฐานะ จึงถูกขัดขวางความรักอย่างหนัก ทั้งสองคนพยายามต่อสู้ฝ่าฟันกับอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้รักของเธอและเขาสมหวัง

         ความรักที่เหมือนนิยายน้ำเน่าของหนุ่มขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง ที่มีฐานะยากจนมาก แต่กลับไปหลงรักกับหญิงสาวที่มีฐานะสูงส่งและมีพื้นฐานครอบครัวที่เผด็จการ ไม่ให้อิสระทางความคิดกับลูกสาว แม้ว่าลูกสาวโตจนมีอาชีพเป็นครูแล้วก็ยังถูกกีดขวางจากผู้เป็นพ่อ ที่พยายามจะคลุมถุงชนลูกสาวให้แต่งงานกับชายหนุ่มที่มีฐานะดี และพยายามขัดขวางทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้ลูกสาวได้คบกับโกไข่ หนุ่มขับรถสองแถว  
 
         หลังจากที่พยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จะพิสูจน์ให้ผู้เป็นพ่อได้เห็นถึงความตั้งใจและความรักที่ทั้ง 2 มีให้แก่กัน แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่เป็นผล เมื่อผู้เป็นพ่อของฝ่ายหญิงไม่ยอมเปิดใจรับ หลายครั้งที่อิ๋วฝ่ายหญิง ถูกผู้เป็นพ่อทุบตีเยี่ยงสัตว์เพราะแอบมาพบเจอกับโกไข่ หนุ่มขับรถสองแถว และผู้เป็นพ่อก็พยายามทุกวิถีทางที่จะยัดเยียดลูกสาวให้กับเศรษฐีมีเงิน

         ชาวบ้านท่าฉัตรไชย จังหวัดภูเก็ต ต่างก็ทราบดีถึงความรักที่มีอุปสรรคของหนุ่มสาวทั้งสอง หลายคนพยายามแนะนำให้โกไข่เลิกกับครูอิ๋ว เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของทั้งคู่ และผู้ใหญ่หลายคนพยายามพูดคุยกับพ่อของครูอิ๋ว เพื่อที่จะให้ยอมรับโกไข่ เป็นลูกเขย แต่ไม่ได้รับการยินยอม ไม่ว่าจะทำด้วยวิถีทางใด

         ในที่สุดเมื่อความรักถึงทางตัน 22 กุมภาพันธ์ 2516 โกไข่ นายหัวรถสองแถวและครูอิ๋ว สาวผู้สูงศักดิ์ ก็ได้ตัดสินใจเอาผ้าขาวม้าผูกมัดตัวทั้งสองติดกัน แล้วกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำ ทิ้งเรื่องราวความรักที่เป็นอมตะ ให้ผู้คนได้กล่าวขานถึงปัจจุบันนี้

        ตำนานรักสะพานสารสิน เป็นบทเรียนแห่งความรักอีกบทหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในตำนานคู่เมืองภูเก็ต แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปสักกี่ยุคกี่สมัย ตำนานเหล่านี้ก็ต้องบันทึกไว้และเป็นบทเรียน ที่ทุกคนควรศึกษาและเข้าใจความหมายของคำว่า รักที่แท้จริง เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อไป




 

 :'e:111 :'e:111 :'e:111



+1 โดย ชาตรี

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12/พ.ย./11 10:48น. โดย จรีพร »
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: บทเพลง...พาเที่ยว
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 12/พ.ย./11 03:52น. »



[ Invalid YouTube link ]


  เพลง "กว๊านพะเยา"  

คำร้อง :ชาลี อินทรวิจิตร
ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
ผู้ขับร้อง : ชรินทร์ นันทนาคร



โอ้ธารสวรรค์ กว๊านพะเยา
 ธารรักเราครวญคร่ำ
 ลมโชยพลิ้วฉ่ำในวังน้ำวน
 พร่างพรมมนต์รักมา
 ดูราวสายชลธารสวยตระการ
 อยู่ในนิทราแว่วเพลงรัก
 ของปักษาร้องอำลาคืนรัง
 
โน่นทิวทุ่งลิบ
รวงทิพย์เรืองรอง
ราวสีทองเปลวปลั่ง
 ธาราไหลหลั่ง ใสราวน้ำวัง
 ขังน้ำตาแห่งดาว

ห้วงน้ำลึกนัก
 ห้วงรักลึกกว่าหลายเท่า
 แม้นรักมิจริงกับเรา
 อายกว๊านพะเยา
 หลายเท่าเอย
 
 

 
[ Invalid YouTube link ]


  เพลง "กว๊านพะเยา"  


คำร้อง/ทำนอง : สุรพล สมบัติเจริญ
ผู้ขับร้อง : สุรพล สมบัติเจริญ



โอ โอ่โอโอ่โอ้ละเน้อ
 ทำบุญจั่งใดเล่าเออ
 ถึงได้มาเจอสาวเจ้า
 น้องอยู่ดงดอย ดินแดน
 ห้วยป่าและเขา
 ถิ่นพงไพรในป่าลำเนา
 กว๊านแห่งพะเยายังงามละเน้อ
 
โอ โอ่โอโอ่โอ้นวลน้อง
 เจ้าคงสร้างบุญด้วยทอง
 ไผมองเห็นจึงหลงเพ้อ
 ถึงอยู่พะเยา
 น้องยังสวยแจ่มเลิศเลอ
 สาวเมืองกรุงยังบ่เทียมเธอ
 ใช่ยอนะเออพี่พูดด้วยใจ
 
เจ้าแต่งตัว ยามเล่นน้ำ
 เจ้านุ่งกระโจม
 เก็บกล้วยไม้มาแซมเสียบผม
 แลสลวยสวยงามวิไล
 เห็นดอกบัวตูม
 เด่นงามท่ามกลางน้ำใส
 เจ้าผุดดำโผแหวกเวียนว่าย
 ร้องกรีดหวีดไปในเพื่อนหนุ่มสาว
 
โอ โอ่โอโอ่โอ้ละหนอ
 ทำบุญจั่งใดพี่ขอ ยกผลกุศลให้เจ้า
 ขอตักบาตรพระ
 ร่วมเรียงเคียงคู่กับสาว
 แม่ตาหวานกว๊านแห่งพะเยา
 ขอปองฮักเจ้าจนวันชีพวาย

 








กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย (รองจาก หนองหาน และ บึงบอระเพ็ด) คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง
 
ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนธาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จาดทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ





 :'e:111 :'e:111 :'e:111




+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12/พ.ย./11 11:45น. โดย จรีพร »
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: บทเพลง...พาเที่ยว
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 12/พ.ย./11 04:05น. »



<a href="https://www.youtube.com/v/Lou_I7YP2Tw?version=3&amp;amp;hl" target="_blank" class="new_win">https://www.youtube.com/v/Lou_I7YP2Tw?version=3&amp;amp;hl</a>


    เพลง "วังบัวบาน"   

คำร้อง : สนิท ศ.
ทำนอง : อรุณ หงสวีณะ
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล 



ร้อนลมหน้าแล้ง ใบไม้แห้งร่วงลอย
หล่นทะยอยเกลื่อนตา
ไหลตามกระแสน้ำพา
ลอยมาทั้งกลีบดอกไม้

จากหุบผาไหลมาสู่ในวังน้ำ
สุสานเทวีผู้มีความช้ำ เหนือใคร
ดอกไม้ใบไม้ไหลมา
คล้ายพวงหรีดร้อยมาลา
ไหลมาบูชาบัวบาน

น้ำวังนี่หนอ เป็นที่ก่อเหตุการณ์
ที่บัวบานฝังกาย
ยึดเอาเป็นหอเรือนตาย
 รองกายไว้ด้วยแผ่นน้ำ

จากหุบเขาแนวไพรสู่ในเวียงฟ้า
ฝากไว้เพียงชื่อเลื่องลือเนิ่นช้า ฝังจำ
ฝากคำสัตย์นำนึกตรอง
หลงทางสุดหวังคืนครอง
หลงตัวจำต้องลาระทม

เอาวังน้ำไหลเย็น
นี่หรือมาเป็นเมรุทอง
เอาน้ำตกก้องเป็นกลองประโคม
เอาเสียงจักจั่นลั่นร้องระงม
เป็นเสียงประโคมร้องต่างแตรสังข์
 
เพดานนั้นเอาเมฆฟ้า
ภูผานั้นต่างม่านบัง
ประทีปแสงจันทร์ใสสว่าง
อยู่เดียวท่ามกลางดงดอย

 
 

<a href="https://www.youtube.com/v/lzk0F8uh4-g?version=3&amp;amp;hl" target="_blank" class="new_win">https://www.youtube.com/v/lzk0F8uh4-g?version=3&amp;amp;hl</a>


   เพลง "วังบัวบาน"   

คำร้อง : ชาลี อินทรวิจิตร
ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
ผู้ขับร้อง : วงจันทร์ ไพโรจน์



วังเอ๋ยวังบัวบาน สุสานเทวี
ผู้มีความรัก หนือใคร
 ฝังร่างฝังรัก ฝากรอยอาลัย
เอาวังน้ำเย็นเช่นเรือนตาย
วิญญาณเวียนว่าย ในน้ำวัง

จากเขาลำเนาไพร สู่ในเวียงฟ้า
 เกิดมาไม่พ้น อนิจจัง
เพราะซื่อถือนัก ว่ารักจีรัง
ไม่มีระแวงไม่เคยระวัง
ชีพนางจึงฝังสังเวยธาร
 
เหลือเพียงชื่อไว้ เหลือเพียงดอกไม้
คล้ายหรีดมาลา ไหลมาบูชาบัวบาน
น้ำวังนี่หนอที่ก่อเหตุการณ์
 นี่แหละคือสุสาน เปรียบดังสถานโลงทอง
 
ยินเสียงน้ำตกซ่า แว่วมาน่าฟัง
เปรียบดังแตรสังข์ เสียงกลอง
เสียงหริ่งระงม ลมพลิ้วเป็นทำนอง
ดุจดังเสียงเพลงกล่อมเมรุทอง
ให้ผู้เจ้าของวังบัวบาน



 [ Invalid YouTube link ]
น้ำตกวังบัวบาน ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ สถานที่ซึ่งเป็นตำนานความรักไม่สมหวังระหว่างสาวเอื้องเหนือชื่อบัวบาน กับหนุ่มบางกอก

 








วังบัวบานคืออะไร  หลายคนอาจจะสงสัย  แต่คนเชียงใหม่รู้จักเป็นอย่างดี วังบัวบานเป็นชื่อวังน้ำที่อยู่เบื้องล่างชะง่อนผาสูงบริเวณเหนือน้ำตกห้วยแก้ว ซึ่งอยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่   เดิมเรียกว่า "วังคูลวา" หรือ "วังกุลา" ด้วยมีเรื่องเล่ามาก่อนว่ามี "คูลวา-กุลา" หมายถึงแขกคนหนึ่งพลัดตกลงไปตายในวังน้ำแห่งนี้ คำว่า "คูลวา-กุลา" ในภาษาล้านนาหมายถึงแขกหรือฝรั่งชาวต่างชาติซึ่งถือว่าไม่เป็นที่พึงต้อนรับ วังน้ำที่เกิดเหตุจึงได้ชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ นักเขียนสารคดีเชิงบันทึกเหตุการณ์กล่าวไว้ว่ามีการเปลี่ยนชื่อ เป็น "วังบัวบาน" เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๗ โดยเหตุที่มีหญิงชื่อ "บัวบาน" ตกลงไปตายในวังน้ำนี้อีก วังน้ำอาถรรพณ์นี้จึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อว่า "วังบัวบาน"




   :'e:111 :'e:111 :'e:111


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12/พ.ย./11 12:02น. โดย จรีพร »
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: บทเพลง...พาเที่ยว
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 12/พ.ย./11 04:55น. »



[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "ลำน้ำพอง"   

คำร้อง/ทำนอง : หยาดฟ้า
ผู้ขับร้อง : หยาด นภาลัย



ลำน้ำพอง ล้นนอง รินหลั่ง
 สองฝั่ง สะพรั่งด้วยมวลพฤกษา
 น้ำหลากงามยามแลเพลินตา
 เบิ่งท้องนา สาวบ้านป่างามพริ้งละออ
 
โอ...สาวเอย ไผเลยงามเท่า
 ขอเว้า กับเจ้าสักคำได่บ่
 หรือ ว่านางมีชายคอยรอ
 หากสาวบ่ สิพะนอ มิสร้างราคิน
 
โอ้...น้ำพอง คลองสวรรค์
 บุพเพเสกสรรค์ บรรดาลให้มาเยือนถิ่น
 อยากอยู่ร่วมหอ ร่วมปลูกปอไถนาทำกิน
 ร่วมฝันจนวันสูญสิ้น รักยุพินจนสิ้นลมปราณ
 
อันน้ำพอง ของดินถิ่นแคว้น
 ขอนแก่น เมืองแคนแห่งแดนอิสาน
 ถึงสิไกล ดวงใจไปนาน
 ข้อยสาบาน ใจรักมั่น บ่ลืม บ่ลืม
 




   เพลง "สาวลำน้ำพองสะอื้น"   

คำร้อง/ทำนอง : หยาดฟ้า
ผู้ขับร้อง : ดาวใจ ไพจิตร



ฟังสําเนียง เสียงเพลงของชายบางกอก
เปิ้นบอก ปลายปีสิกลับมาหา
แล้วเป็นหยัง จึงลืมวาจา
บ่หวนมา สาวบ้านป่าคอยเช้าคอยเย็น

คืนและวัน ผันเวียนเลยไปทุกที
สามสี่ ห้าปีก็ยังบ่เห็น
หรืออ้ายลืม ชาวนาลําเค็ญ
หลอกล้อเล่น เห็นข้อยเป็นเหมือนบ่แม่นคน

อ้ายบ่เคยมาขอ หลอกให้รอ จนปอเฉาตายหลายต้น
ดินแตกระแหง แสงตะวันร้อนกลายเป็นเย็น
ห้วงน้ำเคยงามไหลล้น
เหลือน้ำโคลน ตมขุ่นมาแทน

ยามน้ำพอง เหลือเพียงลําคลองแห้งขอด
คิดฮอด หนุ่มไทยผู้อยู่ไกลแสน
เปิ้นอาจลืม คนเคยเป็นแฟน
ปล่อยทิ้งแดน เมืองหมอแคนขอนแก่นศร้าตรม


 

ลำน้ำพอง

ลำน้ำพอง


ลำน้ำพอง เป็นลำน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น มีต้นกำเนิดจากภูกระดึง และเทือกเขาสันปันน้ำของลุ่มน้ำป่าสักกับลุ่มน้ำชี ไหลผ่านอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย อำเภออุบลรัตน์ และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และบรรจบกับแม่น้ำชีที่บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 
 



 :'e:111 :'e:111 :'e:111



+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: บทเพลง...พาเที่ยว
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 12/พ.ย./11 05:16น. »



[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "แม่สาย"   



คำร้อง/ทำนอง : ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ
ผู้ขับร้อง :ศรีสุดา เริงใจ 



ใบไม้ร่วงควงพลิ้วปลิวผลอย
 ฝันเคลิ้มคล้อยล่องลอยตามลม
 ฝันถึงวันถึงคืนรื่นรมย์
 โอ้ละหนออารมณ์ต้องหวานอมขมกลืน 
 
โอ้อดีตหวีดวอนมา
 เรียกให้ข้าพาไปคืน
 คืนใจรักเศร้าสุดฝืน
 สะอื้นอกตรม
 
ลมหนาวเจ้ายังพัดพรายพลิ้ว
 ฝันหวานหวิวลิ่วลอยตามลม
 ลมเหมันต์นั้นมีมีดคม
 กรีดและคว้านอารมณ์
 ผ่าอกตรมล้มตาย

โอ้อนาถพลาดชีวา
 อยากบากหน้ามาเชียงราย
 คืนใจรักให้แม่สาย
 ห่มกายฝากธาร
 

 
[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "แม่สาย"   

คำร้อง/ทำนอง : คาราบาว
ผู้ขับร้อง : เทียรี่ เมฆวัฒนา



ฟากฟ้ายามเย็นเห็นแสงรำไร
 อาทิตย์จะลับโลกไป พระจันทร์จะโผล่ขึ้นมา
 หมู่มวลวิหคเหินลมอยู่กลางเวหา
 จะกลับคืนสู่ชายคา ชายป่าคือแหล่งพักพิง
 
แต่น้องนางไยไม่เห็นกลับมา
 จากไปตั้งหลายปีกว่า
 ท้องนาบ้านเราเหงาจัง
 ลมหนาวพัดโบกโยกเรือนจนคล้ายจะพัง
 ผู้เฒ่าตายายลงนั่ง เหม่อรอด้วยใจเลื่อนลอย
 
นกน้อยจากน้องนาราคาถูก
เธอเป็นลูกที่ถูกพ่อแม่ขายไป
 กตัญญูบิดามารดาปานใด
 แม่สายจากเมืองเจียงฮาย
 ต้องไปสู่สังคมทราม
 
เมื่อรู้สึกตัวก็สายเกินไป
 หมื่นพันที่เธอผ่านชาย หัวใจเธอจึงเย็นชา
 สังคมกระหน่ำ ซ้ำสองเธอต้องติดยา
 ไม่คิดหวนคืนบ้านนา ปรารถนาเพียงยาเมา
 
ผู้เฒ่าล้มป่วยคนช่วยไปบอก
 เธอจึงจากเมืองบางกอก หวังไปให้ทันเวลา..
 เอายาไปฝาก เอาหมากเอาพลู เสื้อผ้า
 แม่สายที่เธอจากมา เหมือนวาจาว่าสายเกินไป..
 
นกน้อยกลับมาแค่ทันพระสวด
 ใครเล่าเจ็บปวดรวดร้าวเท่าสาวเมืองเหนือ
 สังคมเมืองไทยใครฟังเค้าคงไม่เชื่อ
 ขายกินหมดแล้วเอื้องเหนือ ให้กับชายที่อู้บ่จ้าง
 







อำเภอแม่สาย เป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเชียงรายและเหนือสุดของประเทศไทย มีเขตแดนตอนเหนือติดกับประเทศพม่า และมีด่านชายแดนไทย-พม่า เรียกว่า "ด่านแม่สาย" สามารถผ่านด่านข้ามไปยังจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่าได้โดยมีแม่น้ำสายเป็นพรมแดนทางธรรมชาติ




 :'e:111 :'e:111 :'e:111







+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 12/พ.ย./11 13:12น. »




[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "ท่าฉลอม"   

คำร้อง : ชาลี อินทรวิจิตร
ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
ผู้ขับร้อง :ชรินทร์ นันทนาคร



พี่ อยู่ไกลถึงท่าฉลอม
แต่พี่ไม่ตรอมเพราะรักพยอมยามยาก
ออกทะเล จะหาปลามาฝาก
แม่คุณขวัญใจคนยาก รับของฝากจากพี่ได้ไหม
 
โปรด เมตตารักพี่สักนิด
พี่มอบชีวิตอุทิศให้สาว มหาชัย
แบกความรัก ข้ามทะเล มาให้
ฝ่าลมและคลื่นเท่าไหร่ รักจึงได้ว่ายน้ำข้ามมา
 
ท่าฉลอม กับมหาชัย จะคิดทำไมว่าไกล
เชื่อมความรักไว้ดีกว่า ตอบเพียงสักคำ
ว่าไม่รักจะหักใจลา ซ่อนตัวตามประสา
จะหนีซ่อนหน้า ห่างไกล
     
 เรื่องทะเลนั้นพี่พอรู้
แต่เรื่องเจ้าชู้ไม่รู้จะทำฉันใด หยั่งทะเลพอคะเนดูได้
แต่ความรักเกินครวญใคร่
ลึกเท่าไหร่ไม่รู้หยั่งถึง



[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "สาวมหาชัย"   

คำร้อง : ชาลี อินทรวิจิตร
ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
ผู้ขับร้อง : รวงทอง ทองลั่นธม



ฟังน้ำคำคนท่าฉลอม
 ว่าพี่อกตรอมเพราะถูกความรักหลอมใจ
 พี่มีปลาเหลือฝากจากใคร
 แล้วนำมาให้ คนมหาชัยใช่เขลา
 
ลอยทะเลมาบอกว่ารัก
 อยากทราบจิตนักรักแบกมาขายหรือเปล่า
 ข้ามฝั่งมาเพราะว่าอับเฉา
 โถคนบ้านเก่า เขาคงขับพี่มา
 
มหาชัย หรือจะไกลจากท่าฉลอม
 เหมือนดอกพยอมไม่สอยไม่ลอยมาหา
 แม้ตอบไม่รัก แล้วพี่จะหักใจลา
 พี่คงหนีหน้า แอบไปหาเพื่อนปลอบใจ
 
อันทะเลกว้างใหญ่ไพศาล
 พี่ว่าเชี่ยวชาญพออ่านความลึกล้ำได้
 เรื่องความรัก ลึกสักเพียงไหน
 ท้อใจไปได้ ไยไม่หยั่งให้ถึง
 


  [ Invalid YouTube link ]

   เพลง "ช้ำรักมหาชัย"   

คำร้อง/ทำนอง :
ผู้ขับร้อง : คัมภีร์  แสงทอง (ต้นฉบับ)



แบกความเจ็บช้ำ  ลงเรือข้ามฝั่งมหาชัย   
 มาคอยรถไฟมายืนร้องไห้ด้วยใจของข้ากลัดหนอง
 อกหักกลับหลังหวนคืนไปยังแม่กลอง   
น้ำตาไหลนองหาเธอเพราะเจ้าโอ้สาวมหาชัย
 
โอ้ท่าฉลอมข้ามาตรมตรอมเจียนคลั่ง 
 แว่วเสียงระฆังรถไฟกำลังจะเคลื่อนจากแล้วห่างไกล
 อนาถใจนักเมื่อต้องแบกช้ำกลับไป   
เหมือนคนใกล้ตายไปนอนร้องไห้แม่กลอง
 
รักเจ้ารวนเรดังตังเกหาฝั่งไม่เจอ   
 ดังน้ำขึ้นลงเสมอหัวใจของเธอมากเกิน 4 ห้อง
 บอกรักเปลี่ยนใจมีรักใหม่เอาไว้สำรอง   
 น้ำใจเจ้าดังน้ำในคลอง คนแม่กลองชอกช้ำหัวใจ
 
แบกความเจ็บช้ำไปโยนทิ้งลำแม่กลอง 
ให้มันไหลล่องไหลล่องไหลลงสู่ธารอันกว้างห่างไกล
 อย่ากลับมานะขอเนรเทศเจ้าไปช้ำรักมหาชัย   
 ให้ลอยพาไปกับน้ำไปตามคลื่นลม
 



<a href="http://www.4shared.com/embed/350944811/986aa281" target="_blank" class="new_win">http://www.4shared.com/embed/350944811/986aa281</a>


   เพลง "มหาชัยอาลัยท่าฉลอม"   

คำร้อง : ชาลี อินทรวิจิตร
ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
ผู้ขับร้อง : ชรินทร์ นันทนาคร +รวงทอง ทองลั่นทม



(ช) ฟังเสียงครวญของลมทะเล ใจว้าเหว่เหมือนฟังทะเลร้องไห้
   ท่าฉลอม-มหาชัย ลองคิดเปรียบไป ไกลเหลือที่จะฝัน
 
(ญ) ความรักเอย รักมาสายไป จึงหมองไหม้ หัวใจน้องพลอยไหวหวั่น
     ข้ามทะเลมาหากัน มาคิดผูกพัน ให้ฉันตรมน้ำตา


(ช) ความรักเราลับไปกับจันทร์  ฉันจึงขอลา 
    ขอลา ขอลา   ขอลา ขอลา
 
(ญ) สิ้นชาตินี้แม้นมีชาติหน้า  รักจงมาภิรมย์สมใจ

(ช) สมใจ    สมใจ     สมใจ          (ญ) ลา ขอลา

(ช) ขอลา           (ญ) ขอลา
 
(ช) รอยยิ้มปร่า          (ญ) น้ำตาฉันนองหมองไหม้
 
(ช) ท่าฉลอม          (ญ) มหาชัย
 
(พร้อม) ยิ่งคิดยิ่งไกล ไกลเหมือนมีฟ้ากั้น

 

 

ท่าฉลอม

มหาชัย

เรือข้ามฟากจากมหาชัยไปท่าฉลอม
 

 


     ท่าฉลอม
 หมู่บ้านชาวประมงท่าฉลอม เป็นตำบลใหญ่เรียกว่าท่าฉลอม เป็นเขตสุขาภิบาลแห่งแรกในประเทศไทย มีผู้ประกอบอาชีพประมงเป็นจำนวนมาก มีตลาดและกิจการต่อเรือตั้งเรียงรายอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน
 
สมุทรสาคร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  “มหาชัย” เป็นจังหวัดเล็ก ๆ  ตั้งอยู่บนปากน้ำท่าจีน ห่างจากทะเลเพียง ๒ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๖ กิโลเมตร เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อคราวพระเจ้าเสือเสด็จประพาสทางชลมารค

จังหวัดนี้เดิมเรียกว่า ”ท่าจีน” เพราะแต่เดิมเป็นตำบลใหญ่อยู่ติดอ่าวไทยมีชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวจีนนำสำเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายกันมากจึงเรียกติดปากกลายเป็นตำบล ”ท่าจีน” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๐๙๑ ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกหลายเมือง ด้วยมีพระราชประสงค์จะใช้เป็นที่ระดมพลสำหรับสู้รบกับพม่า บ้านท่าจีนจึงยกฐานะเป็นเมือง “สาครบุรี” เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันศัตรูที่จะมารุกรานทางทะเลตั้งแต่นั้นมาจนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็นเมืองสมุทรสาคร
 
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองมีการจัดระบบราชการส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่ตำบลท่าฉลอมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙

ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่ง เมืองสมุทรสาครจึงได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดสมุทรสาคร”  มาจนทุกวันนี้  ส่วนคำว่า “มหาชัย” ที่คนชอบเรียกกันนั้นเป็นชื่อของคลองที่ขุดขึ้นที่ตัดความคดเคี้ยวของคลองโคกขามอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ของพันท้ายนรสิงห์

 

 :'e:111 :'e:111 :'e:111



+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 12/พ.ย./11 13:27น. »



[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "ภูกระดึง"   

คำร้อง : แก้ว อัฉริยะกุล
ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน 
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล



เขาภูกระดึงเสน่ห์ตรึงใจจริง
 สัณฐานเหมือนดังกระดิ่งทับหล้า
 สูงล้ำดั่งค้ำนภา
 สูงลิ่วทิวทัศน์ตื่นตาสวยกว่าเทวาสรรค์สร้าง
 
หนทางขึ้นลงไม่เรียบแต่ชวนเพลิน
 เห็นเนินซ้อนเนินลดหลั่นสล้าง
 น้ำใสตกไหลเป็นทาง
 ไหลพุ่งจากสูงสุดทางไหลหลั่งพื้นล่างสุธา
 
สระอโนดาตดาษน้ำธาร
 น้ำใสตระการปานแก้วแววตา
 ริมธารละลานไปด้วยบุปผา
ดอกแดงกุหลาบพนาประดับลัดดากล้วยไม้ไพร
 
หนาวเย็นด้วยลมอากา ศชื่นชมดี
 ทุกยามนาทีลมโบกพัดให้
 เหมือนแม้นสวรรค์ชาวไทย
 ทุกสิ่งยวนเย้าหทัยโน้มจิตโน้มใจสุดฝืน
 
เสียงภูแว่วดังชวนชื่นดั่งฟังเพลง
 เหมือนลมบรรเลงเป็นเพลงรักชื่น
 หวิวหวิวพร่างพลิ้ววันคืน
 เหมือนกล่อม และย้อมจิตชื่นระรื่นด้วยลมพลิ้วพร่าง
 
สนยามต้องลมโอนอ่อนเอนลมปลิว
 สนยืนเป็นทิวแลลิ่วสล้าง
 หงส์เหินสุดเหินเนินทาง
 ทุกสิ่งดูสวยสะอางทุกแห่งทุกทางตื่นตา
 
เมื่อขึ้นสุดเหนื่อยเมื่อยล้ากาย
 ครั้นถึงก็คลายหายเหนื่อยเมื่อยล้า
 ผิวหญิงเมื่อขึ้นถึงยอดภูผา
 แก้มแดงผิวตึงซึ้งตา เนื้อเต่งโสภาผ่องโสพรรณ
 
ทุกคนได้ยลขออยู่ไปจนตาย
 เพราะความ สบายยอมตายที่นั่น
 โสฬสฟากฟ้าลาวัณย์
 สามโลกไม่แม้นเทียบทันเหมือนหนึ่งสวรรค์นั่นเอย














อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึงในจังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย ในแต่ละปีมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน. ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
 
อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร
 
ภูกระดึงมีธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวประทับใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ความสวยงามของการชมทิวทัศน์มาจากที่ราบสูง เช่น การชมพระอาทิตย์อัสดงที่ผาหล่มสัก, การสำรวจพรรณไม้นานาชนิด เช่น ไฟเดือนห้าที่แดงสด และดงป่าสนอันกว้างใหญ่, หรือธรรมชาติชนิดอื่น ๆ เช่น การชมน้ำตกที่น้ำตกขุนพอง เป็นต้น. ในช่วงวันหยุดยาว มักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงราวหนึ่งหมื่นคน โดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มจะสามารถแบ่งการเที่ยวตามเวลาที่มีได้เช่น หากมี 4 วันที่ภูกระดึง คือเดินทางขึ้น 1 วัน ท่องน้ำตก 1 วัน เลียบผา 1 วัน ลง 1 วัน หากมี 3 วันก็เดินทางขึ้น 1 วัน เที่ยว 1 วัน ลง 1 วัน โดยเลือกท่องเที่ยวได้ หากมีสุขภาพที่ดีพอก็สามารถเดินเที่ยวเส้นน้ำตกพร้อมกับเส้นหน้าผาได้ภายในวันเดียว แต่จะไม่เหมาะกับผู้มีสุขภาพไม่ดีนัก
 
 

 :'e:111 :'e:111 :'e:111



+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออนไลน์ ประสิทธิ์

  • Administrator
  • *
  • ออนไลน์
  • 6177
    9863
  • เพศ: ชาย
    • เพลงพักใจดอทเนต
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 12/พ.ย./11 13:31น. »

เป็นกระทู้ที่น่าสนใจอีกแล้วครับพี่พร เพลงน่ะผมทั้งฟังเองและเปิดให้ฟังบ่อย แต่ก็มาสะดุดเกี่ยวกับข้อมูลที่มาของชื่อจังหวัด สมุทรสาคร นี้แหละครับ ได้ความรู้เพิ่มด้วย ขอบคุณพี่พรนะครับ
:'e:92 :'e:92 :'e:92

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
สมาชิกใหม่..ก่อนตั้งกระทู้แนะนำตัวให้ดูตัวอย่าง.แล้วไปอ่านประกาศการใช้งานบอร์ดและห้องโหลดเพลง เมื่ออ่านเข้าใจแล้วก็ตอบรับทราบทั้ง 2 กระทู้1.ห้ามเด็ดขาดการใช้เพียงอีโมตอบกระทู้เพื่อโหลดเพลง.2.ห้ามตอบเพียงขอบคุณครับ/ค่ะ โหลดเพลง 5:1 อ่านให้เข้าใจด้วย

ออฟไลน์ chomm

  • เทพ
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 1688
    731
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 12/พ.ย./11 13:33น. »

ชอบสาวมหาชัยค่ะคุณพร  แต่คงเป็นร้องงานคอนเสิร์ตนะคะเสียงเลยแปลกๆไป

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 12/พ.ย./11 13:44น. »



[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "เชียงรายรำลึก"   

คำร้อง/ทำนอง : โกวิท เกิดศิริ
ผู้ขับร้อง : สุริยัน บุญยศ (ต้นฉบับ)



ณ ราตรีหนึ่ง
 ซึ่งยังฝังใจ เขียงรายฟ้าแจ่ม
 คืนนั้นวาวแวม
 ด้วยแสงจันทรา นภาสดใส 
 
ริมน้ำกกเย็น
 ด้วยลมพลิ้วผ่านซ่านซึมผิวกาย
 คืนนั้นเชียงราย
 มีเธอและฉันร่วมสัมพันธ์ไม่คลาย
 
หนาวลมเย็นยิ่ง
 เราอิงซบกัน ดวงจันทร์คล้อยต่ำ
 คืนนั้นยังจำ
 ฟากฟ้าราตรีที่มีจันทร์ฉาย
 
ไฉนมาลืม
 รักเราเคยสร้าง ริมฝั่งเชียงราย
 เมื่อคืนเดือนหงาย
 นิยายสวาทบาดหัวใจไม่ลืม











เชียงรายเป็นชื่อจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกัน ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่
 
จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญเมืองหนึ่งของประเทศไทย และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีน
 

อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอแม่จัน อำเภอเมือง อำเภอแม่สรวย และอำเภอมาลาว จังหวัดเชียงราย โดยได้รวมพื้นที่วนอุทยาน 4 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท

พื้นที่วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยมและวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท จังหวัดเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีอาณาเขตใกล้เคียงกันและมีสภาพธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์แต่การบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายรองรับ จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของชุมชน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือ




 
  :'e:111 :'e:111 :'e:111



+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 12/พ.ย./11 16:09น. »



[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "สาวอัมพวา"   

คำร้อง : ธาตรี
ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน   
ผู้ขับร้อง : นพดฬ ชาวไร่เงิน 



โออัมพวา นี่หนางามจริง
ทุกสิ่งเป็นขวัญตา
โอ้ว่าผู้หญิง ยิ่งงามโสภา
ดั่งนางฟ้าชาวไทย

เธอมีจรรยา เรียบร้อยชวนมอง
ทั้งคล่องงานเหลือใจ
ไม่ว่าทำสวน กระบวนค้าใด
ดูคล่องไปทุกทาง

ขาวนิดเหลืองหน่อย
ผิวพลอย สะอาง
แต่ไม่บอบบาง
ทุกยามงามอย่างจับตา
 
มาอัมพวา หากหานารี
 สมดั่งที่หวังมา
แม่บ้านแม่เรือน เพื่อนครองวิวาห์
 อัมพวาสมบูรณ์



อำเภออัมพวา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม 

คำขวัญจังหวัดสมุทรสงคราม: เมืองหอยหลอด  ยอดลิ้นจี่  มีอุทยาน ร 2  แม่กลองไหลผ่าน  นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม


มารู้จักกับตลาดน้ำและชุมชนอัมพวาแบบละเอียด


มารู้จัก ตลาดน้ำอัมพวา และชุมชน อัมพวา แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งที่แห่งนี้นับเป็นตัวเลือกต้น ๆ  สำหรับคนที่อยากไปเที่ยวตลาดน้ำ ความโด่งดังของอัมพวาไม่ได้หยุดอยู่แค่ในเมืองไทย  แต่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่เริ่มที่จะรู้จักอัมพวาในฐานะของชุมชนที่มีการรักษารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบโบราณของไทย  เรียกว่าหากใครอยากที่จะสัมผัสประเทศไทยอย่างจริง ๆ ไม่ใช่เที่ยวแค่ห้างในกรุงเทพ หรือพัฒพงษ์ หรือพัทยาแล้ว อัมพวาจะไม่ทำให้ผิดหวังอย่างแน่นอน





อัมพวา ตำนานแม่กลอง..เวนิสตะวันออกแห่งสุดท้าย
 
เมืองแม่กลอง หรือจังหวัดสมุทรสงครามนั้น เป็นเมืองที่มีประชากรอยู่ไม่มาก และเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดของไทย แต่สำหรับความน่าอยู่อาศัยแล้ว เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้กลับติดอันดับต้น ๆ  ของประเทศ  ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ  ทั้งสวนผลไม้อุดมสมบูรณ์  มีแม่น้ำลำคลองหลายสายและอยู่ติดชายทะเล  สภาพพื้นที่มีการทำสวนเป็นขนัด และมีลำประโดงล้อม ซึ่งก็คือ โครงข่ายลำน้ำขนาดเล็กที่ซอยย่อยเข้าไปทุกสวน  แสดงความฉลาดของบรรพบุรุษสมัยก่อนในการสร้างบ้านแปงเมือง ที่ทำให้เมืองแม่กลองถูกขนานนามว่าเป็น “เวนิสตะวันออกแห่งสุดท้าย”


มารู้จักกับ ชุมชนอัมพวา
 
ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางค่อนมาทางใต้ของ จ.สมุทรสงคราม  มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านทิศตะวันตกในแนวเหนือใต้  โดยคลองอัมพวาได้แยกจากแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านกลางชุมชน  นอกจากนี้ยังมีคลองที่แยกมาจากแม่น้ำแม่กลอง และเชื่อมกับคลองอัมพวาอีกหลายสาย  ทำให้มีความสะดวกสบายในการคมนาคมทางน้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัญจรทางเรือ
 
ตามตำนานเล่าว่า  อัมพวาเป็นชุมชนเล็ก ๆ  ตั้งอยู่ริมน้ำ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาสืบทอดกันมาช้านาน ในอดีต อัมพวาเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางน้ำที่คับคั่ง มีตลาดน้ำ เรือนแพ และบ้านเรือนปลูกขนานไปตามแนวคลอง  ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้นเรียกกันว่า “บางช้าง” เป็นชุมชนริมน้ำที่ทำสวนไม้ผลและพืชผักจนมีชื่อเสียง
 
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แขวงบางช้างเริ่มปรากฏมีสวนผลไม้และพืชผักที่อุดมสมบูรณ์มีความเจริญทางด้านเกษตรกรรมและการค้าขายจนมีตลาดเรียกว่า “ตลาดบางช้าง” เป็นตลาดน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง การแลกเปลี่ยนผลผลิตจากสวนแถบบางช้างและบริเวณใกล้เคียง  แถบบางช้างเป็นที่รู้จักในนาม “สวนนอก” และเปรียบเทียบกับ “สวนใน” โดยมีคำเรียกที่ว่า “บางช้างสวนนอกบางกอกสวนใน” หมายถึงสวนบ้านนอก คือ สวนบางช้าง ส่วนสวนที่อยู่ในเมืองใกล้รั้ววังเจ้านาย คือ สวนใน
 
ปัจจุบันวิถีชีวิตของชุมชนอัมพวาในอดีต ยังปรากฏให้เห็นและสัมผัสได้ในปัจจุบัน แม้กาลเวลาจะผ่านเลยไปแต่ภาพความทรงจำในอดีตยังคงหลงเหลือให้เห็น แม้จะลบเลือนไปบ้างตามกาลเวลาหากแต่ชุมชนแห่งนี้ก็ยังพยายามรักษาให้คงสภาพเหมือนเดิมให้ได้มากที่สุด… ภาพบ้านเรือนไม้ที่ขนานไปตามริมสองฝั่งคลอง ควบคู่ไปกับการค้าขาย และการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย พร้อม ๆ ไปกับการรักษาวัฒนธรรมรวมถึงศิลปะต่างๆ ในชุมชน ยังปรากฏให้เห็นเด่นชัด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศแวะเวียนมาเยือนอัมพวาอยู่เป็นนิจ






ย้อนเวลาเรือนห้องแถวในอัมพวา
 
ประตูบานเฟี้ยมไม้สักบานใหญ่ ที่ผ่านการลงน้ำยารักษาเนื้อไม้อวดผิวจนขึ้นเงา คือ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมเรือนห้องแถวของชุมชนอัมพวา หากเราเดินลัดเลาะเลียบไปตามริมคลองอัมพวา เริ่มต้นจากตลาดน้ำอัมพวาขึ้นไปทางวัดจุฬามณี จะเห็นห้องแถวเก่าที่ได้รับการอนุรักษ์ให้คงสภาพเดิมเอาไว้ แล้วปรับปรุงใหม่จนสวยงามจำนวนหมดทั้งสิ้น 17 ห้องด้วยกัน
 
โดยจุดแรกฝั่งซ้ายมือจะเป็นพื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา มีร้านกาแฟโบราณ “ชานชาลา” จำหน่ายเครื่องดื่มและอาหารพื้นบ้าน ที่ได้มีการหมุนเวียนอาหารที่มีรสชาติดีและเป็นฝีมือของชาวอัมพวามาจำหน่าย บรรยากาศของร้านตกแต่งให้ความรู้สึกคล้ายชานชาลา “สถานีรถไฟสายแม่กลอง” ซึ่งเป็นเส้นทางเดินรถเก่าแก่ที่ยังคงวิ่งผ่านตลาดแม่กลองจนถึงทุกวันนี้
 
ด้านหลังเป็นลานวัฒนธรรม “นาคะวะรังค์” เป็นลานอเนกประสงค์สำหรับการแสดงและกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมหมุนเวียนปีละ 3 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายน สิงหาคม และธันวาคม เพื่อเล่าเรื่องราวความเป็นมา รูปแบบ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนอัมพวา
 
กิจกรรมต่าง ๆ มีตั้งแต่การเสวนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวอัมพวาและชุมชนลุ่มแม่น้ำแม่กลอง การบรรเลงดนตรีไทย การฉายภาพยนตร์กลางคลอง และร้านค้าชุมชนจำหน่ายสินค้าท้องถิ่นของอัมพวา เป็นต้น
 
โดยกิจกรรมเหล่านี้เป็นผลมาจากการพัฒนาชุมชนของ “โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์” ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนานำที่ดินที่คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวา ได้น้อมเกล้าฯ ถวายมาดำเนินการพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอัมพวา
 
ในห้องแถวถัดมา ยังมีห้องนิทรรศการชุมชน จัดแสดงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนแม่กลองและอัมพวา, พิพิธภัณฑ์บ้านของนักดนตรีชาวแม่กลองคนสำคัญอย่าง ครูเอื้อ สุนทรสนาน ที่มีประวัติและผลงานของสุนทราภรณ์สำหรับผู้ที่สนใจเก็บเป็นที่ระลึกอีกด้วย
 
บางห้องนั้นเจ้าของใช้เป็นที่อยู่อาศัยทางด้านหลัง แต่ด้านหน้าก็เปิดค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างเป็นขนมไทยง่าย ๆ (แต่หากินยาก) ที่ทำเอง บางครั้งก็เป็นผลไม้สด ๆ จากสวนตามฤดูกาล บางบ้านก็เปิดเป็นโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวมาพัก หรือเปิดเป็นร้านขายของชำ ขายสินค้านานาชนิด ตั้งแต่น้ำมันก๊าด ถ่านหุงข่าว เตาอั้งโล่ ข้าวสารอาหารแห้ง ไปจนถึงขนมของเล่นโบราณยุคสมัยหลายสิบปีก่อน ซึ่งแทบไม่เห็นในท้องตลาดแล้ว แต่ที่นี่ยังมีขาย
 
โรงคั่วกาแฟโบราณ อย่างร้านอึ้งเซ่งฮวด และร้านสมานการค้า ยังมีร้านขนมเปี๊ยะเฮงกี่ ร้านขายขนมเปี๊ยะและจันอับเจ้าเก่าแก่ ต่างเป็นร้านที่อยู่คู่กับอัมพวามาไม่ต่ำกว่า 70 ปีทั้งสิ้น แต่หากจะเอ่ยถึงร้านที่เปิดมานานและมีอายุเก่าแก่ที่สุดของอัมพวา ต้องยกให้ “ร้านสวรรค์โอสถ” ร้านขายยาแผนโบราณทั้งไทยและจีน ที่สืบทอดมากว่า 100 ปี


 
วันวาน วันนี้ และวันพรุ่งนี้ของอัมพวา
 
“ชุมชนอัมพวาเป็นชุมชนมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งโครงสร้างชุมชนเดิมมันก็ไม่ใช่บ้านเรือน เราอยู่กันอย่างผูกแพลูกบวบ พอไม่เคลื่อนย้ายก็มีการสร้างอาคาร มีการลงหลักปักฐาน เพราะฉะนั้นเราจะเห็นกลุ่มอาคารในแต่ละยุค บางกลุ่มที่เป็นบานเฟี้ยมเรือนแถวก็อยู่เดิม บางอาคารก็อยู่ในช่วงรัชกาลที่ 6
 
ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจนอกจากอาคารก็คือชีวิตภายใน อย่างร้านสวรรค์โอสถ เขาขายกันมาสามรุ่น บางบ้านก็เป็นคล้าย ๆ เรือนแพเพียงแต่ยกเสา ไม่ได้ผูกแพลอยบนน้ำ แต่ปัจจุบันโครงข่ายอาคารสมัยใหม่ไปเกาะอยู่กับถนน ซึ่งถ้าหากเราไม่เก็บรักษา อีกหน่อยเราก็จะไม่เห็นชุมชนที่มีกิจกรรมอยู่กับน้ำกับคลอง และไม่เห็นความเป็นมาของชุมชน”
 
ร้อยโท พัชโรดม อุนสุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา เล่าย้อนอดีตอัมพวาเมื่อหลายทศวรรษก่อน พร้อมชี้แจงถึงที่มาของการพัฒนาและอนุรักษ์ชุมชนอัมพวาในปัจจุบัน
 
สืบเนื่องจากชุมชนอัมพวา เป็นชุมชนริมน้ำที่หลงเหลืออยู่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งสภาพตัวสถาปัตยกรรมริมน้ำส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงกับของเดิม เพียงแต่ชำรุดทรุดโทรม ต่อมาในปี 2546-2547 จึงดำเนินการซ่อมแซมอาคารไม้ที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมร่วมกับเจ้าของอาคารรวม 17 ราย ซึ่งเป็นพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ที่จะให้ชุมชนอัมพวาเก็บรักษาสถาปัตยกรรมเก่าแก่เหล่านี้ไว้
 
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ที่ชุมชนชาวคลองอัมพวาได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ต่อมาทางรัฐบาลเดนมาร์กได้ให้งบประมาณสนับสนุนผ่านทางสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ในโครงการ “อนุรักษ์ศิลปกรรมสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม” ซึ่งในขณะนั้นทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เลือกพื้นที่อนุรักษ์ 3 ชุมชนทั่วประเทศเข้าโครงการคือ คลองอัมพวา, คลองอ้อมนนท์ และเกาะรัตนโกสินทร์บางส่วน เพื่อเป็นโครงการสาธิตให้ชาวบ้านเก็บรักษาอาคารที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม
 
“การเก็บรักษา ณ วันนั้น ก็ถูกถามจากชาวบ้านว่า ทำอย่างไรให้การเก็บรักษานั้นมันมีคุณค่าด้วย เพราะอย่าลืมว่าบ้านที่เป็นอาคารไม้มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงมาก บางหลังซ่อมกันเกือบล้าน และถ้ามันไม่สามารถมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ การเก็บรักษาคงทำได้ยาก”
 
ทางเทศบาลอัมพวาจึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น จากอาคารว่างที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย ก็ปรับปรุงให้เป็นร้านอาหาร หรือที่พักแบบโฮมสเตย์
 
ในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีคุณค่าทางมรดกทางวัฒนธรรมของเทศบาลอัมพวานั้น นอกจากการสนับสนุนของสำนักงานนโยบายและแผนฯ ยังมีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เข้ามาศึกษาวิจัยการอนุรักษ์ และฟื้นฟูชุมชนอัมพวา ตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบันนี้
 
รศ.ดร.ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าในการศึกษารายละเอียดสถาปัตยกรรมในพื้นที่ชุมชนอัมพวานั้น พบว่าอัมพวาจะมีสิ่งปลูกสร้างทั้งในรูปแบบเรือนไทย เรือนแพ เรือนพื้นถิ่นที่มีคุณค่า ในช่วงที่มาลงพื้นที่ระยะแรกนั้น อัมพวายังเงียบเหงา บ้านเรือนก็ทรุดโทรมเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งในระยะแรก ๆ ชาวบ้านก็ยังมีความกังวลอยู่ว่า หากเข้าร่วมโครงการแล้วจะถูกเวนคืนหรือยึดกรรมสิทธิ์อาคารไปหรือไม่ แต่หลังจากมีโครงการสาธิตเบื้องต้นไป เจ้าของบ้านหรืออาคารหลาย ๆ หลังก็เริ่มมีการปรับปรุงโดยใช้เงินตัวเอง ปรับเป็นร้านค้าหรือที่พักตามบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
 
“ชาวบ้านบางคนเขาไม่รู้ว่าจะซ่อมไปทำไม เก็บเงินไว้ให้ลูกหลานหรือไว้ใช้ตอนแก่ดีกว่า ทางเราก็เข้าไปส่งเสริมแรงจูงใจให้ซ่อมแล้วเปิดเป็นโฮมสเตย์ บางบ้านก็ซ่อมเล็กซ่อมน้อยใช้เงินสามสี่หมื่น พอสักระยะก็เริ่มได้เงินคืน บางบ้านก็ตัดใจมีเงินเท่านี้ แต่ถ้าไม่ซ่อมสมบัติของพ่อแม่ก็จะหมดไป ยอมเอาทองที่เก็บหอมรอมริบมาตลอดชีวิตไปขายมาซ่อมบ้านก็มี โชคดีที่ปีนั้นมีหนังเรื่องโหมโรงซึ่งทำให้อัมพวาดังเป็นที่รู้จัก โหมโรงเป็นแบคกราวน์ทุกอย่างของอัมพวาเลย ทั้งสวน ท้องร่อง ดนตรีไทย นักท่องเที่ยวจึงเริ่มรู้จักและเข้ามามากขึ้น ทุกวันนี้หลายบ้านก็ได้เงินคืนฟื้นทุนครบหมดแล้ว”
 
ผลสำเร็จจากการโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม พื้นที่ชุมชนริมคลองอัมพวา ทำให้ชุมชนได้รับรางวัล “UNESCO Asian-Pacific for Culture Heritage Conservation” ระดับ Honorable Mention จากองค์กร UNESCO ในปีค.ศ. 2008 ซึ่งมีการจัดพิธีมอบขึ้นในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธี ยังนำมาซึ่งความปลาบปลื้มแก่ชาวอัมพวา
 
นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา เปิดเผยว่า หลักเกณฑ์รางวัลที่ทางยูเนสโกจัดขึ้นนั้น กำหนดไว้ว่าอาคารที่เข้าประกวดจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปี และหลังจากที่ปรับปรุงซ่อมแซมแล้วจะต้องมีการใช้งานไม่น้อยกว่าหนึ่งปีภายหลังจากการซ่อมแซม
 
“อาจจะพูดได้ว่าเราเป็นตัวแทนของวิถีชีวิตของคนไทยภาคกลางในอดีตที่มีโครงสร้างเหล่านี้อยู่ ผมเกิดที่นี่แต่ไม่ได้โตที่นี่ ก่อนที่จะออกจากเมืองนี้ กิจกรรมเศรษฐกิจของอัมพวาเคยรุ่งเรือง แต่มันมาล่มสลายเพราะโครงข่ายการคมนาคมทางบก คนเปลี่ยนจากเรือเป็นรถ บ้านที่เคยขายของ เรือที่ผ่านก็ไม่มีเรือผ่าน เขาก็ขายของไม่ได้ เราเป็นเทศบาลปี 2484 มีประชากรหนึ่งหมื่น ปัจจุบันเหลือห้าพัน นั่นหมายความว่าคนไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่เหมือนเดิมได้อีก ย้ายถิ่นอพยพออกเพราะไม่สามารถค้าขายได้”
 
สิ่งสำคัญที่นายกเทศมนตรีเมืองอัมพวาอยากเห็นก็คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจพื้นฐานในระดับชุมชน สร้างรายได้ให้ชาวอัมพวาเหล่านี้สามารถยืนอยู่บนฐานรากเหง้าของตัวเอง อยู่บนความเป็นตัวตนและเก็บรักษาอัตลักษณ์ของคนอัมพวาไว้
 
“ในอดีตที่นี่คึกคัก มีเรือแล่นตั้งแต่ปากคลองยันท้ายคลอง แต่กิจกรรมเหล่านั้นไม่ได้อยู่บนฐานของการท่องเที่ยว มันเป็นกิจกรรมที่ใช้อยู่ในชีวิตจริงๆ แล้วพอมีถนนสิ่งเหล่านี้มันหายไปหมดเลย เหลือแต่ห้องแถวร้าง ก่อนหน้าที่จะมีการปรับปรุง ห้องแถวห้องหนึ่งค่าเช่า 800 บาท แล้วถามว่าเจ้าของอาคารจะมีเงินซ่อมอาคารไหม เมื่อก่อนมาเดินในเมืองก่อนหน้าปี 47 วันเสาร์อาทิตย์จะไม่เจอคนเลย เมืองเงียบปิดร้าง และไม่ใช่แค่อัมพวาแต่เป็นอีกหลายเมืองโดยเฉพาะในที่ราบลุ่มภาคกลาง ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก แล้ววันหนึ่งมันล่มสลายไป ถ้าเราเก็บไว้ได้ เราจะรู้ว่ารากเหง้าของเมืองอยู่ตรงไหน”
 
ชื่อของอัมพวา ถูกขนานนามคู่กับเมืองแม่กลองมาช้านาน ในฐานะอำเภอหนึ่งที่มีชื่อเสียงทางด้านการท่องเที่ยวชมตลาดน้ำและหิ่งห้อย แต่ ณ วันนี้อีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นของอัมพวาก็คือ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าแก่ของชุมชนริมน้ำแห่งนี้ที่ได้รับรางวัลและการยอมรับในระดับโลก



ขอขอบคุณข้อมูลจากMGR Online















 :'e:111 :'e:111 :'e:111


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ ชาตรี

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 6403
    4509
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 12/พ.ย./11 22:27น. »



เพลง นิราศเวียงพิงค์
ขับร้องโดย ทูล ทองใจ
คำร้อง-ทำนอง สิทธิ์ โมระกรานต์

โอ้ เวียงพิงค์ ดังเวียงสวรรค์
สวยกว่าถ้อยคำเสกสรร ที่พรรณาเปรียบเปรย
แดนไหนอื่น หมื่นแสนบ่แม้นได้เลย
เฮานี้สุดหาถ้อยเอ่ย เปรียบเปรยงามนั้นได้นา
หากใครแม้น เที่ยวไปได้เห็นสักครา
เขาคงจะจำติดตา ตรึงอุรามิเคยเสื่อมคลาย

คู่เวียงพิงค์ คือปิงสุดงาม
สวยอยู่บ่เคยเสื่อมทราม ช่างงามซึ้งใจบ่วาย
น้ำใสเด่น มองเห็นจนพื้นหาดทราย
ปลาน้อยแปรฝูงกระจาย อยู่ในธาราน่าชม
ช่างพาฝัน งามนั้นชวนฉันชื่นชม
ฉันพลอยคลายความโศกตรม นั่งชมน้ำปิงสุขใจ

เบื่อลำน้ำ เฮาไปแอ่วดอย
ผาเงิบชวนเพลินใช่น้อย แอ่วดอยแสนเพลินกระไร
มีน้ำตก และนกบินร้องก้องไพร
ยินเสียงมันแล้วสุขใจ สุขใดบ่มีเปรียบปาน
โอ้เวียงพิงค์ แม้นฉันจากไปแสนนาน
แต่ความหมุนเวียนแห่งกาล บ่ได้ทำให้ข้าเลือน...


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171

ออฟไลน์ ชาตรี

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 6403
    4509
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 12/พ.ย./11 23:39น. »



เพลง พบรักปากน้ำโพ
นักร้อง สายัณห์ สัญญา
คำร้อง-ทำนอง ชลธี ธารทอง

พื่เป็นหนุ่มลุ่มเจ้าพระยา ล่องเรือไปขายค้า
เดินทางมา หลายร้อยกิโล
สายัณห์คล้อยต่ำ ลอยลำถึงปากน้ำโพ
หันหัวเรือล่ามโซ่ ค้างปากน้ำโพสักคืน

พี่เร่ร่อน นอนกินกับเรือ
น้องจงคิดเอื้อเฟื้อ ให้จอดเรือหน้าบ้านขวัญยืน
คืนนี้เดือนแจ่ม ขอจอดพักแรมซักคืน
พอรุ่งเช้านอนตื่น จะลาขวัญยืนล่องเรือต่อไป

***เป็นบุญตา ที่ได้มาปากน้ำโพ
พบน้องคนโก้ ผูกโบว์ใส่เสื้อสีไพร
น้ำใจเอื้อเฟื้อ หนุ่มเรือไม่อยากลาไกล
อยากขายเรือซื้อนาซื้อไร่ อยากอยู่ใกล้แม่ขนตางอน

รุ่งอรุณ แล้วเจ้าแก้วตา
ต้องถอยเรือก่อนหนา แม่ขวัญตาพี่ขอลาก่อน
ชาวเรือต้อยต่ำ ตัวดำเหมือนดินนาดอน
โบกมือลาแก้วตาขวัญอ่อน แม่ขนตางอนอย่าลืมชาวเรือ...


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 19/พ.ย./11 02:40น. »



[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "เชียงใหม่"   

คำร้อง : ไสล ไกรเลิศ
ทำนอง : มาจากเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ ม่านมุ้ยเชียงตา
ผู้ขับร้อง : นริศ อารีย์



ม่าน...ทองเยือนฟ้า
ชื่นอุราชมฟ้าชมเวียงเชียงใหม่
หมอกอ่อน อ่อน รอนแสงตะวันอำไพ
เหมือนดังเชียงใหม่วิมานสถาน
ทิวาจวนใกล้ ดอกกล้วยไม้เจ้าก็บาน
กิ่งสะท้านแลสล้าง

โน่น...ดอยเทียมฟ้า
แปลกหนักหนางามเหมือนเทวามาสร้าง
เด่นตระหง่านมองคล้ายวิมานเวทางค์
สูงลอยแลห่างเหมือนปรางค์เวหา
แสงทองเยือนหล้าส่องม่านฟ้าเวียงพิงค์เพริศพราย
กลิ่นกล้วยไม้ลอยลม

ชื่น...ชมกล้วยไม้
เด่นยั่วใจงามสวยวิไลชวนชม
ดอกเด่น เด่น ใครเห็นก็คงนิยม
เขาควรจะเด็ดไว้ชมถนอม
แม้ชมเจ้าง่ายกลิ่นกล้วยไม้เจ้าก็ตรอม
สิ้นความหอมโรยรา

 

 :'e:111 :'e:111 :'e:111


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ ชาตรี

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 6403
    4509
Re: บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 08/พ.ค./12 20:32น. »



เพลง ไทรโยคแห่งความหลัง.
นักร้อง วงจันทร์ ไพโรจน์
คำร้อง-ทำนอง นคร มงคลายน

ท่ามกลางสายลม โบยโบก
ริมน้ำธารไทรโยค ดินแดนแห่งความหลัง
ฉันยังจำได้ ใต้เงาร่มไม้บัง
ตรงที่เราเคยนั่ง อยู่กันเพียงสองคน

ได้ยินเสียงลม เบาเบา
กลางแสงนวลจันทร์เจ้า ดวงดาวเกลื่อนเวหน
สายน้ำซัดซ่า หลั่งมาจากเบื้องบน
คืนนั้นเราต่างคน อยู่ชิดกันไม่ห่างไกล

***ไทรโยคเคยเป็นเหมือนแดนสวรรค์
ที่เธอกับฉัน ร่วมกันสร้างไว้ในใจ
เดี๋ยวนี้ตรอมตรม เพราะเธอมาเปลี่ยนไป
เห็นไทรโยคทีไร ช้ำใจไม่อยากชม

ท่ามกลางสายลมไทรโยค
คงเหลือความเศร้าโศก ดวงใจสุดขื่นขม
เสียงน้ำซัดซ่า หริ่งเรไรร้องระงม
เคยเหมือนเพลงชื่นชม กลับคล้ายเพลงที่บาดใจ...
 :'e:131

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3171