ผู้เขียน หัวข้อ: มนต์รักดอกคำใต้-ไพรวัลย์ ลูกเพชร+ศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ชรินทร์+ลินจง  (อ่าน 1569 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ วิทยา

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 576
    1107





<a href="http://www.swfcabin.com/swf-files/1412242806.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.swfcabin.com/swf-files/1412242806.swf</a>
มนต์รักดอกคำใต้ - ไพรวัลย์ ลูกเพชร + ศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา


<a href="http://www.swfcabin.com/swf-files/1412242878.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.swfcabin.com/swf-files/1412242878.swf</a>
มนต์รักดอกคำใต้ - ชรินทร์ นันทนาคร + ลินจง บุนนากรินทร์

เพลง  "มนต์รักดอกคำใต้"
คำร้อง ชาลี อินทรวิจิตร  ทำนอง สง่า อารัมภีร

     พลิ้ว ลม พัด ฉ่ำ
ดอกคำใต้กรุ่น หอมละมุน โชยกลิ่นละไม
โอ้ละหนอ เจ้าดอก คำใต้
เจ้าหว่าน ดอกไว้  เหมือน คอยเตือนให้ใจฝัน
    หอม ชวน หวน ชื่น
ค่อนคืน ครั้งหนึ่ง ซึ้งใจจนสุดรำพัน
โอ้ละเหนอ เธออยู่เคียงฉัน
เกี่ยวก้อยคล้อยตามกัน สวรรค์นั่นแหละบัญชา
    *มนต์ รัก ระริน
เปรียบดังนกน้อยบิน เหิน ลอยไปสู่เวหา
ความ รัก ก็คือบุปผา
ผลิดอก ที่ตา แล้วมาบานเบ่งที่ใจ
    **สอง เรา สาว หนุ่ม
เกาะกุม แขนเกี่ยว นิดเดียวก็สุขเกินใคร
โอ้ละหนอ เจ้าดอก คำ ใต้
อย่าบอกนะใครใคร ว่ารักเราได้ สู่สวรรค์


ที่มาของเพลง

“มนต์รักดอกคำใต้” ความหมายแห่งรัก เพลงเอกจากภาพยนตร์เรื่อง "แมวไทย"

   คนรักแมวซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการเพลงและวงการบันเทิงของไทยคนหนึ่งก็คือ ศิลปินแห่งชาติ ชรินทร์ นันทนาคร นักร้องนักแสดงผู้มีสมญาว่า
"นักร้องขวัญใจประชาชน" ผู้ลงทุนไปร่วมงานประกวดแมวไทยถึงสหรัฐอเมริกาช่วงปี พ.ศ.2511 พอกลับมาถึงเมืองไทยหลังจากนั้นไม่นานก็ประกาศ
สร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง  นั่นก็คือภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แมวไทย"
    ภายหลังที่การเตรียมการสร้างพร้อมแล้ว ก็มาถึงเพลงเอกในภาพยนตร์ ซึ่งตามเนื้อหาจะต้องเป็นเรื่องราวความรักที่มีธรรมชาติเมืองเหนืออันเป็นถิ่น
กำเนิดของผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นฉากของเรื่อง โดยได้มอบหมายงานนี้ให้กับนักแต่งเพลงที่ ชรินทร์ นันทนาคร วางใจเป็นพิเศษทั้งสองคนคือ
มอบหมายให้ ครูชาลี อินทรวิจิตร แต่งคำร้อง และให้ ครูแจ๋ว สง่า อารัมภีร์ เป็นผู้แต่งทำนอง ชื่อเพลงนั้นกำหนดไว้แล้วคือ "มนต์รักดอกคำใต้"
    การแต่งเพลงได้เริ่มต้นขึ้นและดำเนินไปได้ด้วยดีในตอนต้นเพลง แต่พอมาถึงท่อนสำคัญคือท่อนแยก ผู้แต่คำร้องก็เกิดติดขัดในถ้อยคำ
ทำให้การแต่งเพลงต้องชะงักไปช่วงหนึ่ง จนในที่สุดเจ้าของโครงการคือ ชรินทร์ นันทนาคร ซึ่งร่วมวงอยู่ด้วยในขณะนั้นจึงตัดสินใจเอาบทกวี
บทหนึ่งของ โอมาร์ คัยยัม มหากวีเอกและนักปราชญ์คนสำคัญของโลกขาวเปอร์เซีย ซึ่งก็คืออิหร่านในปัจจุบัน กล่าวขึ้นมากลางวงว่า
    "ความรักก็คือดอกไม้  ผลิดอกที่ตาแล้วมาบานที่ใจ"
    จากนั้นครูแจ๋ว สง่า อารัมภีร ก็กดนิ้วลงบนคีย์เปียโนเป็นทำนองนำไป จากนั้นครูชาลีพอได้ฟังก็เปิดปากเปล่งถ้อยคำตามทำนองเพลงตามไปทันทีว่า
    "ความรักก็คือบุปผา  ผลิดอกที่ตาแล้วมาบานเบ่งที่ใจ..."
    และใช้เวลาต่อจากนั้นอีกเพียงเล็กน้อย เพลง "มนต์รักดอกคำใต้" บทเพลงซึ่งมีคำนิยามของ "ความรัก" ที่ชัดเจนที่สุดเพลงหนึ่งในวงการเพลงไทย
ก็เสร็จสมบูรณ์ ช่วงต่อมาก็คือการตัดสินใจเลือกผู้ขับร้องฝ่ายหญิง  เพื่อมาร่วมร้องคู่กับ ชรินทร์ นันทนาคร ซึ่งคุณสมบัติจะต้องเป็นนักร้องสาวที่มีระดับเสียง
เหมาะสมกันกับนักร้องชาย ในที่สุดก็ปรากฏชื่อของนักร้องสาวสวยซึ่งกำลังเป็นดาวรุ่งที่พุ่งแรงที่สุด เธอก็คือ ลินจง บุนนากรินทร์ "คีรีบูนสาว" แห่ง โลลิต้าไนต์คลับ
ต้นตำรับอาหารกลางวันเคล้าเสียงเพลงอันเลื่องชื่อย่านถนนราชดำเนินในยุคนั้นนั่นเอง
    เมื่อถึงวันที่ภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แมวไทย" เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ตั้งแต่รอบปฐมทัศน์ไปจนถึงการเดินสายในต่างจังหวัด อาจถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ไม่ประสบ
ความสำเร็จมากนักก็จริง แต่เพลงเอกในภาพยนตร์เรื่องนี้คือเพลง "มนต์รักดอกคำใต้" นั้น ประสบความสำเร็จสูงยิ่งตั้งแต่ช่วงโฆษณา ก่อนที่ภาพยนตร์จะเข้าโรงฉายเสียอีก
      "พลิ้ว ลม พัด ฉ่ำ    ดอกคำใต้กรุ่น หอมละมุน โชยกลิ่นละไม
โอ้ละหนอ เจ้าดอก คำใต้    เจ้าหว่าน ดอกไว้  เหมือน คอยเตือนให้ใจฝัน...."   
..............................
นำมาจาก
“มนต์รักดอกคำใต้” ความหมายแห่งรัก เพลงเอกจากภาพยนตร์เรื่อง "แมวไทย"

http://www.thaipost.net/tabloid/060714/92707




ดอกคำใต้ (กระถินเทศ) Cassie Flower
ชื่อไทย : กระถินเทศ
ชื่อเมือง : ดอกคำใต้
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cassie Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia farnesiana Wild.
ชื่อวงศ์ : MIMOSACEAE





ส่วนที่ใช้ / สรรพคุณ : เปลือกต้น / รสฝาด สมานแผล ห้ามเลือด แก้ท้องเสีย
ล้างแผล แก้ดากออก แก้ระดูขาว ใบ / รสฝาดเฝื่อน ตำคั้นเอาน้ำทาแก้
ปวดเอว ปวดหลัง ใบอ่อนตำพอก แก้ผลเรื้อรัง ยาง / รสฝาด แก้ไอ
ทำเยื่ออ่อนให้ชุ่มชื่น ใช้ทำกาว (กัมอะเคเซีย) ผสมยาอื่นช่วย
ให้ปั้นเม็ดแข็งดีขึ้น ยางสดใส่สมานแผล ยางจากราก /
รสฝาด ใช้อมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ราก / รสเฝื่อนฝาด แก้พิษ
สัตว์กัดต่อย เป็นยาอายุวัฒนะ แก้อักเสบ แก้ปวดข้อ แก้ฝีหนอง
ดอก / ใช้ทำน้ำหอม ชงดื่มแก้อาหารไม่ย่อย ดองเหล้ากินแก้ปวดท้อง
และเป็นยากระตุ้น ทำขี้ผึ้งทาแก้ปวดหัว ฝัก / รสฝาด ต้มเอาน้ำล้างแผล
แก้ผิวอ่อน (เช่น ตา) อักเสบ แก้บิด เนื้อหุ้มเมล็ด / รสฝาด ตำพอก
แก้ฝีหลายหัว แก้เนื้องอก
.............................................
นำมาจาก

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nulaw-08&month=06-2010&date=18&group=7&gblog=195



ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=29408

ออฟไลน์ ต้อม โฆษิต

  • ผู้ทรงเกียรติ
  • *
  • ออฟไลน์
  • 698
    1202

ขอบคุณคุณวิทยามากครับที่นำเพลงเพราะๆ พร้อมข้อมูลดีๆมาให้อ่าน  :'e:31

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=29408