เจอแล้ว! ตัวสังหารกวางน้อย
ภาพไม่กี่ภาพจากไม่กี่วินาทีขณะอินทรีทองโฉบลูกกวาง (Linda Kerley, Zoological Society of London: ZSL)
เมื่อเกือบ 2 ปีที่แล้ว ทีมนักวิจัยเจอกวางน้อยในป่ารัสเซียตายปริศนา พวกเขาไม่พบร่องรอยสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่บนพื้นหิมะ
มีเพียงร่องรอยของกวางวิ่งแล้วหยุด และตาย กระทั่งพวกเขากลับไปยังแคมป์ แล้วได้เห็นภาพจากกล้องดักถ่าย เมื่อประติดประต่อ
เหตุการณ์ทั้งหมด พวกเขาแทบไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ร่างของลูกกวางจีน (sika deer) เมื่อเดือน ธ.ค.2011 ระหว่างติดตั้งกล้องดักถ่าย
ไว้ในเขตสงวนธรรมธาติรัฐลาโซฟสกี (Lazovsky State Nature Reserve) ในตะวันออกไกลของรัสเซีย เพื่อบันทึกภาพถิ่นอาศัย
และการเคลื่อนย้ายของเสือไซบีเรียที่ใกล้สูญพันธุ์ ลินดา เคอร์ลีย์ (Linda Kerley) นักอนุรักษ์จากสมาคมสัตววิทยาลอนดอน (Zoo
logical Society of London: ZSL) ย้อนเหตุการณ์ในอดีตให้ไลฟ์ไซน์ฟังว่า เมื่อไปเจอซากกวงก็รู้สึกได้ทันทีว่า มีบางอย่างผิดปกติ
"ตอนนั้นไม่มีร่องรอยของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ในพื้นหิมะเลย และดูเหมือนว่า กวางตัวนั้นวิ่งมาเรื่อยๆ แล้วก็หยุดและตาย หลังจากที่เรา
กลับไปแคมป์ที่ฉันได้ตรวจดูภาพจากกล้องและประติดประต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน ฉันแทบไม่เชื่อในสิ่งที่ฉันเห็น” เคอร์ลีย์ ซึ่งดำเนิน
โครงการติดตั้งดักถ่ายของสมาคมสัตววิทยากล่าว
ภาพจากกล้องดักถ่ายเผยให้เห็นเหตุการณ์เพียง 2 วินาทีของการจู่โจมด้วยภาพถ่ายเพียง 3 ใบ แต่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
อินทรีทองที่โตเต็มที่โฉบหลังกวางน้อย “ฉันทำหน้าที่ประเมินสาเหตุการตายของกวางในรัสเซียมา 18 ปี นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันได้เห็นอะไร
แบบนี้” เคอร์ลีย์กล่าว ข้อมุลจากไลฟ์ไซน์ระบุว่า อินทรีทองเมื่อโตเต็มที่จะหนักได้ถึง 5.4 กิโลกรัม และมีปีกที่กว้างประมาณ 2.3 เมตร
แม้ว่าโดยปกติพวกมันจะไม่ล่ากวางแต่นกนักล่านี้ก็มีความทะเยอทะยานในการจู่โจมสัตว์ใหญ่ แต่ไม่มีข้อมูลว่านกชนิดนี้จู่โจมมนุษย์ด้วย
แม้จะมีคลิปวิดีโอลวงออกมาอยู่เนืองๆ “รายงานทางวิทยาศาสตร์เต็มไปด้วยข้อมูลอ้างอิงว่าอินทรีทองจู่โจมสัตว์หลายชนิดจากทั่วโลก
ตั้งแต่กระต่ายซึ่งเป็นเหยื่อปกติของนกชนิดนี้ ไปจนถึงหมาป่าโคโยตีและกวาง และแม้กระทั่งลูกหมีสีน้ำตาลซึ่งมีรายงานว่าอินทรีโฉบเอา
หมีดังกล่าวเมื่อปี 2004” โจนาธาน สลัฟท์ (Jonathan Slaght) จากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society:
WCS) ร่วมให้ข้อมูล “ในกรณีนี้ผมว่าลินดามีโชคจริงๆ และสามารถบันทึกเหตุการณ์ล่าเหยื่อที่ไม่พบได้บ่อยนัก” สลัฟท์กล่าว โดยเขา
และเคอร์ลีย์ได้ร่วมกันเขียนรายงานถึงเหตุการณ์ดังกล่าวลงในวารสารเจอร์นัลออฟแรพเตอร์รีเสิรช (Journal of Raptor Research)
ฉบับประจำเดือน ก.ย.นี้
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000121468
ภาพไม่กี่ภาพจากไม่กี่วินาทีขณะอินทรีทองโฉบลูกกวาง (Linda Kerley, Zoological Society of London: ZSL)
เมื่อเกือบ 2 ปีที่แล้ว ทีมนักวิจัยเจอกวางน้อยในป่ารัสเซียตายปริศนา พวกเขาไม่พบร่องรอยสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่บนพื้นหิมะ
มีเพียงร่องรอยของกวางวิ่งแล้วหยุด และตาย กระทั่งพวกเขากลับไปยังแคมป์ แล้วได้เห็นภาพจากกล้องดักถ่าย เมื่อประติดประต่อ
เหตุการณ์ทั้งหมด พวกเขาแทบไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ร่างของลูกกวางจีน (sika deer) เมื่อเดือน ธ.ค.2011 ระหว่างติดตั้งกล้องดักถ่าย
ไว้ในเขตสงวนธรรมธาติรัฐลาโซฟสกี (Lazovsky State Nature Reserve) ในตะวันออกไกลของรัสเซีย เพื่อบันทึกภาพถิ่นอาศัย
และการเคลื่อนย้ายของเสือไซบีเรียที่ใกล้สูญพันธุ์ ลินดา เคอร์ลีย์ (Linda Kerley) นักอนุรักษ์จากสมาคมสัตววิทยาลอนดอน (Zoo
logical Society of London: ZSL) ย้อนเหตุการณ์ในอดีตให้ไลฟ์ไซน์ฟังว่า เมื่อไปเจอซากกวงก็รู้สึกได้ทันทีว่า มีบางอย่างผิดปกติ
"ตอนนั้นไม่มีร่องรอยของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ในพื้นหิมะเลย และดูเหมือนว่า กวางตัวนั้นวิ่งมาเรื่อยๆ แล้วก็หยุดและตาย หลังจากที่เรา
กลับไปแคมป์ที่ฉันได้ตรวจดูภาพจากกล้องและประติดประต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน ฉันแทบไม่เชื่อในสิ่งที่ฉันเห็น” เคอร์ลีย์ ซึ่งดำเนิน
โครงการติดตั้งดักถ่ายของสมาคมสัตววิทยากล่าว
ภาพจากกล้องดักถ่ายเผยให้เห็นเหตุการณ์เพียง 2 วินาทีของการจู่โจมด้วยภาพถ่ายเพียง 3 ใบ แต่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
อินทรีทองที่โตเต็มที่โฉบหลังกวางน้อย “ฉันทำหน้าที่ประเมินสาเหตุการตายของกวางในรัสเซียมา 18 ปี นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันได้เห็นอะไร
แบบนี้” เคอร์ลีย์กล่าว ข้อมุลจากไลฟ์ไซน์ระบุว่า อินทรีทองเมื่อโตเต็มที่จะหนักได้ถึง 5.4 กิโลกรัม และมีปีกที่กว้างประมาณ 2.3 เมตร
แม้ว่าโดยปกติพวกมันจะไม่ล่ากวางแต่นกนักล่านี้ก็มีความทะเยอทะยานในการจู่โจมสัตว์ใหญ่ แต่ไม่มีข้อมูลว่านกชนิดนี้จู่โจมมนุษย์ด้วย
แม้จะมีคลิปวิดีโอลวงออกมาอยู่เนืองๆ “รายงานทางวิทยาศาสตร์เต็มไปด้วยข้อมูลอ้างอิงว่าอินทรีทองจู่โจมสัตว์หลายชนิดจากทั่วโลก
ตั้งแต่กระต่ายซึ่งเป็นเหยื่อปกติของนกชนิดนี้ ไปจนถึงหมาป่าโคโยตีและกวาง และแม้กระทั่งลูกหมีสีน้ำตาลซึ่งมีรายงานว่าอินทรีโฉบเอา
หมีดังกล่าวเมื่อปี 2004” โจนาธาน สลัฟท์ (Jonathan Slaght) จากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society:
WCS) ร่วมให้ข้อมูล “ในกรณีนี้ผมว่าลินดามีโชคจริงๆ และสามารถบันทึกเหตุการณ์ล่าเหยื่อที่ไม่พบได้บ่อยนัก” สลัฟท์กล่าว โดยเขา
และเคอร์ลีย์ได้ร่วมกันเขียนรายงานถึงเหตุการณ์ดังกล่าวลงในวารสารเจอร์นัลออฟแรพเตอร์รีเสิรช (Journal of Raptor Research)
ฉบับประจำเดือน ก.ย.นี้
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000121468