ผู้เขียน หัวข้อ: 'ผ้าย้อมครามสกลนคร' แฟชั่นโดนใจแถมได้ช่วยโลก  (อ่าน 2901 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ วิทยา

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 576
    1107



ผ้าย้อมครามสกลนคร แฟชั่นโดนใจแถมได้ช่วยโลก

   
       “ผ้าย้อมคราม” เป็นที่รู้จักและยอมรับถึงคุณสมบัติสวยงาม สวมใส่สบาย จึงได้รับความนิยมจากลูกค้า
อย่างสูง อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวบ้านผู้ผลิตแล้ว กลับไม่ได้ผลประโยชน์เรื่องรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
เนื่องจากขาดความพร้อมด้านแปรรูป ทำให้เสียโอกาสเพิ่มมูลค่าสินค้าไปอย่างน่าเสียดาย

       
       ประเด็นดังกล่าว สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. เห็นความสำคัญเข้า
มาช่วยต่อยอดผ้าย้อมคราม ทั้งพัฒนาการผลิต เติมดีไซน์สมัยใหม่ และการตลาด ที่สำคัญเชื่อมโยงเป็นสินค้ารักษ์โลก
ผู้สวมใส่ภาคภูมิใจได้ว่า นอกจากจะได้เสื้อผ้าสวยงามแล้ว ยังมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อมด้วย


ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สพภ.

       ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สพภ. เล่าว่า หน้าที่ของ สพภ. มุ่งสร้างความเข้มแข็งชุมชน โดยส่งเสริมธุรกิจ
จากฐานชีวภาพ ควบคู่กับอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดประโยชน์พร้อมกันทั้งชุมชนและทรัพยากร ดังนั้น สพภ. เข้าไป
พัฒนาวิสาหกิจชุมชนหลายกลุ่มทั่วประเทศ หนึ่งในนั้น คือ วิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามผ้าไหมบ้านกุดแฮด ต.กุดบาก
อ.กุดบาก จ.สกลนคร       
       “เหตุที่เลือกชุมชนแห่งนี้ เพราะบ้านกุดแฮดมีภูมิปัญญาท้องถิ่นล้ำค่า ชาวชุมชนตั้งใจจริงอยากจะพัฒนาสินค้า
และที่สำคัญกระบวนการทำผ้าทอย้อมครามของที่นี้ยังทำแบบโบราณแท้ๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ผอ.สพภ.เสริมและเล่าต่อว่า



       การส่งเสริมจะทำครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กล่าวคือ ต้นน้ำร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
เฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร เข้ามาให้ความรู้แก่ชาวบ้าน พัฒนาเทคนิคการผลิตและควบคุมคุณภาพ ออกแบบลายผ้า
พัฒนาดีไซน์ ให้มีเอกลักษณ์ของตัวเอง และตรงกับความต้องการตลาดสมัยใหม่ พร้อมสร้างศูนย์เรียนรู้ ดึงคนรุ่นใหม่มา
ประกอบอาชีพนี้ ส่วนกลางน้ำประสานผู้ประกอบการการ์เมนท์ระดับเอสเอ็มอี ใน จ.สกลนคร รับช่วงซื้อวัตถุดิบผ้าย้อมคราม
คุณภาพจากชาวบ้าน นำไปแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆ พร้อมสร้างแบรนด์ “ครามสกล” (KramSakon) และปลายน้ำ ส่งเสริม
การตลาดถึงผู้บริโภค ด้วยการหาช่องทางขายต่างๆ เช่น ผ่านสื่อออนไลน์ และกำลังประสานขายผ่านห้างสรรพสินค้า
และโมเดิร์นเทรดต่างๆ



       ดร.วีระพงศ์ ระบุแผนการตลาด เบื้องต้นมุ่งนำเสนอเสน่ห์ของผ้าย้อมครามให้คนทั่วไปรับรู้ ในด้านเป็นผ้าที่สามารถป้องกันยูวี
มีกลิ่นครามหอมอ่อนๆ ป้องกันยุงได้ อีกทั้ง มีคุณสมบัติเด่นที่เนื้อผ้านุ่ม ใส่สบาย ยามอากาศหนาวใส่แล้วอุ่น แต่เมื่ออากาศร้อนใส่แล้วเย็น       
       นอกจากนั้น เตรียมจะออกเครื่องหมายรับประกันว่าเป็น “สินค้ารักษ์โลก” ซึ่งสินค้าที่ได้รับเครื่องหมายนี้ ผ่านการตรวจแล้วว่า
ผลิตโดยกระบวนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรายได้ส่วนหนึ่งจากการขาย จะถูกนำกลับไปใช้ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของแหล่งผลิต       
       "เครื่องหมายนี้ จะสร้างแรงจูงใจทั้งชุมชนผู้ผลิต และผู้ซื้อ กล่าวคือ หากชุมชนที่ทำสินค้าได้เครื่องหมายนี้ จะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ
เช่น เงินทุนสนับสนุน สินเชื่อพิเศษ และพาออกงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นต้น ส่วนผู้ซื้อก็จะเกิดความภาคภูมิใจว่า ได้เป็นส่วนหนึ่งใน
การสนับสนุนสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ" ดร.วีระพงศ์ กล่าว และเผยต่อว่า       
       ปัจจุบัน สพภ. ช่วยสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ประมาณ 20 กว่ากลุ่ม ในหลายประเภทสินค้า ตั้งเป้าว่า ภายในปีนี้
(2556) จะมีสินค้าที่ผ่านกระบวนการพัฒนาออกสู่ตลาด ไม่ต่ำกว่า 5 กลุ่ม ขณะเดียวกัน สพภ.จะเข้าไปช่วยพัฒนากลุ่มวิสาหกิจ
ชุมชนอื่นๆ ต่อไป


เกยูร ไชยะวงศ์ ประธานวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามผ้าไหมบ้านกุดแฮง ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร

       ด้านเกยูร ไชยะวงศ์ ประธานวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามผ้าไหมบ้านกุดแฮง ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร เล่าว่า
ชุมชนแถบนี้เป็นพื้นที่อาศัยของชาวไทยกะเลิง ถ่ายทอดภูมิปัญญาทอผ้าและย้อมครามกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น ในอดีตจะทอ
เป็นผ้านุ่น สวมใส่ในชีวิต แต่เมื่อความนิยมผ้าทอย้อมครามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีบุคคลภายนอก ทั้งนักท่องเที่ยว รวมถึง
มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อผ้าย้อมครามถึงในชุมชน ทำให้ชาวบ้านเริ่มรวมกลุ่มตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามขาย หาราย
ได้เสริมจากอาชีพหลักการทำนา


ทำเป็นศูนย์เรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากอดีตสู่คนรุ่นใหม่

       จุดเด่นของผ้าย้อมครามบ้านกุดแฮง ทำมาจากฝ้ายแท้ ย้อมครามแบบธรรมชาติ โดยเส้นใยธรรมชาติจะมีความหนา
เมื่อนำมาทอผ้าจะทำให้เนื้อนุ่น ระบายอากาศได้ดี โดยส่วนใหญ่จะทอขายเป็นผืนๆ ราคาเฉลี่ยที่เมตรละ 200-300 บาท
แต่ละคนจะทอผ้าได้สูงสุด 2-3 เมตรต่อวัน ส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างจากการทำนา โดยเฉลี่ยมีรายได้จากการทำผ้าย้อมคราม
ประมาณ 15,000 บาทต่อคนต่อปี


ลายสากลที่ สพภ. เข้ามาช่วยเติมความรู้แก่ชาวบ้าน

       อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภูมิปัญญานี้ ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำได้จะเป็นผู้สูงอายุ ส่วนหนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ไม่นิยมมาสานต่อมากนัก
เนื่องจากเห็นว่า รายได้น้อย ไม่คุ้มกับขั้นตอนทำยุ่งยากเสียเวลา จนปัจจุบัน เหลือคนทำน้อยลงไปทุกที แต่เมื่อ สพภ.เข้ามา
สนับสนุนทำให้เห็นช่องทางที่จะพัฒนาทำสินค้าให้ขายได้ราคาดีขึ้น ในอนาคตอาจจะกลายเป็นรายได้หลักทดแทนการทำนา
ทำให้สมาชิกกลุ่มเกิดการตื่นตัวค่อนข้างสูง แม้ในวันนี้จะยังไม่ไปถึงจุดนั้น แต่สิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องกันคือ ภูมิปัญญาบรรพบุรุษ
จะถูกรวบรวมถ่ายทอดสู่ลูกหลาน และเชื่อว่า จะช่วยให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนมีรายได้ ไม่ต้องเดินทางออกไปทำงานในเมือง


สนธยา ผาลลาพัง รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร

       ด้านสนธยา ผาลลาพัง รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
จ.สกลนคร ในฐานะสถาบันการศึกษาที่เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดงานผ้าย้อมคราม ระบุว่า ปัจจุบัน ตลาดให้การตอบรับผ้าย้อมคราม
ดีมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้รายได้สูง ทำให้มีคำสั่งซื้อรอจำนวนมาก แต่จุดอ่อนของวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามผ้าไหมบ้านกุดแฮง
คือ ขาดความรู้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า ที่ผ่านมา ชาวบ้านจะทอผ้าเฉพาะลายโบราณ และขายเป็นผืนๆ เท่านั้น ทำให้ขายได้ใน
ราคาไม่สูงนัก ผลประโยชน์จริงๆ มักตกไปอยู่กับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อผ้าทอ แล้วไปส่งเข้าโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า แปรรูป
เป็นเครื่องแต่งกายราคาสูง ตัวอย่างเสื้อเชิ้ตเริ่มต้นที่หลักพันบาท กระเป๋าใบละ 3 พันบาท เป็นต้น


ผ้าที่ย้อมคราม มีคุณสมบัติสีไม่ตก

       อย่างไรก็ตาม ในการสนับสนุนกลุ่มชาวบ้านนั้น สิ่งสำคัญจำเป็นต้องเข้าใจวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นด้วย เพราะชาวบ้าน
ไม่มีชำนาญในการแปรรูปสินค้า ส่วนใหญ่อยากทำแค่ขั้นตอนทอผ้าและย้อมครามขายเป็นผืนเท่านั้น ดังนั้น ในการส่งเสริม
จะเน้นให้ชาวบ้านคงวิธีการปลูกฝ้าย ทอผ้า และย้อมครามแบบธรรมชาติดั้งเดิมไว้ ซึ่งเข้ากับกระแสรักษ์โลกและรักสุขภาพ
ควบคู่การช่วยชาวบ้านออกแบบลายผ้าให้เหมาะจะนำไปแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆ หลังจากนั้น มีการสร้างเครือข่ายคลัสเตอร์
ผ้าคราม โดยส่งผ้าทอย้อมครามไปยังโรงงานการ์เมนท์ระดับเอสเอ็มอี ใน จ.สกลนคร ซึ่งเป็นเครือข่ายระหว่างกัน โดยราคา
ที่โรงงานรับซื้อ จะสูงกว่าขายให้พ่อค้าคนกลาง


ชาวบ้านแสดงวิธีการย้อมผ้าคราม

       นอกจากนั้น ภายในชุมชนจัดตั้งให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นโบราณสู่คนรุ่นใหม่ อีกทั้ง
ยังเกิดประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว จูงใจให้คนภายนอกทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เข้ามาเยี่ยมชม และเรียนรู้จากทำผ้า
ย้อมครามแบบต้นตำรับแท้ๆ


ตัดต้นครามเพื่อนำมาย้อมผ้า

       ด้านสกุณา สาระนันท์ บริษัท ภูมิ-ภาคย์อุตสาหกรรม จำกัด เจ้าของธุรกิจโรงงานการ์เมนท์ จ.สกลนคร ในฐานะ
ที่เป็นโรงงานระดับเอสเอ็มอีที่เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายคลัสเตอร์ผ้าคราม เผยว่า พื้นฐานบริษัททำธุรกิจการ์เมนท์อยู่แล้ว
เช่น เสื้อยืดและเสื้อเชิ้ตต่างๆ โดยเมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ได้เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายคลัสเตอร์ โดยรับซื้อผ้าย้อมคราม
จากกลุ่มชาวบ้าน ในราคาเมตรละ 350 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ชาวบ้านกำหนดเอง หลังจากนั้น ทางโรงงานได้ว่าจ้างดีไซน์เนอร์
มืออาชีพมาออกแบบ แปรรูปผ้าย้อมครามเป็นสินค้าต่างๆ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องประดับ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ
ภายใต้แบรนด์ “ครามสกล” (KramSakon) โดยมีโชว์รูมขายสินค้าที่ จ.สกลนคร อีกทั้ง ขายผ่านการออกงานแสดงสินค้า
และทางอินเตอร์เน็ต ส่วนอนาคตเตรียมส่งออกต่างประเทศ


สกุณา สาระนันท์ บริษัท ภูมิ-ภาคย์อุตสาหกรรม จำกัด เจ้าของธุรกิจโรงงานการ์เมนท์ จ.สกลนคร
       ย้อนกลับมาที่สนธยา ระบุเสริมว่า แบรนด์ “ครามสกล” จะถูกใช้เป็นแบรนด์กลางสำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มเครือข่าย
คลัสเตอร์ผ้าคราม จ.สกลนคร โดยสมาชิกแต่ละรายสามารถนำแบรนด์นี้ไปใช้ผลิตสินค้าออกสู่ตลาดได้ ภายใต้เงื่อนไขว่า
ต้องทำผ้าย้อมครามได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งด้านเส้นใย การทอ และการย้อม เป็นต้น


ผ้าทอย้อมครามที่ผ่านกระบวนแปรรูปเพิ่มมูลค่า “ครามสกล” (KramSakon)

       รอง ผอ. สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.เกษตรศาสตร์ ฯ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน ใน จ.สกลนคร มีกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม
นับร้อยกลุ่ม ทว่า ส่วนใหญ่ยังทำโดยขายจุดเด่นเฉพาะตัว เน้นขายถูกเป็นผืนๆ แต่จากความร่วมมือดังกล่าว ที่ทำตั้งแต่ต้นน้ำ
คือ กลุ่มชาวบ้าน กลางน้ำ คือ โรงงานการ์เมนท์ระดับเอสเอ็มอี และปลายน้ำ ในการส่งเสริมตลาดถึงผู้บริโภค จะช่วยให้เกิด
ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ตั้งแต่ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นแบบค่อนข้างแน่นอน โรงงานเอสเอ็มอี มีสินค้าใหม่ มูลค่าสูงป้อนสู่ตลาด
ขณะที่ผู้ซื้อได้สินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ถูกลงกว่า 30% เพราะตัดกระบวนการพ่อค้าคนกลางออกไป ในอนาคต สินค้าจาก
ผู้ผลิตจะไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ทำให้งานผ้าครามเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างกว่าที่ผ่านๆ มา


ออกแบบให้สามารถใส่ในชีวิตประจำวันได้
       

ทำเป็นกระเป๋าจากผ้าย้อมคราม


   
   
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก
http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000110728


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=19783

ออฟไลน์ จงรักษ์

  • ปรมาจารย์
  • ***
  • ออฟไลน์
  • 329
    65
  • เพศ: ชาย
    • อีเมล์

ครับปม..สนับสนุนผ้าไทยเราครับ..เรามีของดีควรที่จะนำออกมาใช่เนาะครับ... :'e:132

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=19783


สวย มาก ค่ะ ผ้าย้อมคราม ต้นคราม แถวๆบ้านยังมีเหลือให้เห็น อยู่บ้างเหมือนกัน ค่ะ สมัยก่อนรุ่นยายและรุ่นแม่  ก็ใช้คราม นี่แหละ ย้อมผ้า ผ้าก็ทอมือเอง ด้วย เสียดาย ไม่มี คนสืบสาน การย้อมผ้า เอาไว้ แต่การทอผ้า ยังมีอยู่ จนถึงเดี๋ยวนี้ ก็ยังทออยู่

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=19783