เลี้ยง 'มดแดง' ขาย 'ไข่' อาชีพคันๆ รายได้ไม่ธรรมดา
แหล่งน้ำของมดแดงบริเวณโคนต้นมะม่วง
จากอาชีพเก็บขยะขายไปวันๆ รายได้ไม่ค่อยสมดุลกับรายจ่าย แต่ด้วยเป็นคนขยันทำมาหากิน จึงถูกรับเลือกให้
เข้าอบรมอาชีพทำเกษตรกรรมกับกรมการปกครอง ในโครงการปิดทองหลังพระตามแนวพระราชดำริ ที่เน้นนโยบายการ
สร้างชุมชนเข้มแข็ง ปัจจุบันเขามีธุรกิจที่มั่นคงด้วยการ “เลี้ยงมดแดงเพื่อขายไข่” ควบการพลิกฟื้นผืนดินทำเกษตร
ผสมผสานเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

นายบุญชู ศิดสันเทียะ เจ้าของธุรกิจไข่มดแดง
นายบุญชู ศิดสันเทียะ เจ้าของธุรกิจเลี้ยงมดแดงเพื่อขายไข่ จ.พิษณุโลก เล่าว่า เดิมตนเองมีอาชีพเก็บเศษขยะ
ที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ขายให้แก่ร้านขายของเก่ามีรายได้พอเลี้ยงชีพไปวันๆ แต่บางครั้งไม่เพียงพอเพราะต้องส่งลูก
เรียนด้วย กระทั่งมีชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงชักชวนให้เข้ามาฟังการอบรมโครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราช
ดำริ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการพระราชดำริฯ ภาครัฐ (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) ชุมชน และ
ภาคเอกชน เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งตามวิถีที่ควรจะเป็นในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นจะ การทำเกษตรแบบผสมผสาน การ
ลดใช้สารเคมีในการทำเกษตร ใช้วัตถุดิบในพื้นที่นำมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แผนที่พื้นที่การทำเกษตรผสมผสาน
หลังจากที่นายบุญชู ได้เข้าร่วมอบรม จึงเกิดความคิดที่จะพลิกฟื้นผืนดินของตนเองประมาณ 7 ไร่ ทำเกษตรแบบ
ผสมผสาน โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกรมการปกครอง หน่วยงานราชการต่างๆในพื้นที่ แนะนำ
การทำการเกษตรผสมผสาน รวมถึงได้กู้เงินทางธนาคารประมาณหนึ่งแสนบาท ใช้เป็นต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ เช่น
เมล็ดพันธุ์ข้าว ต้นกล้วย พืชผักสวนครัว พันธุ์ปลา และต้นมะม่วง

ข้าวสุก อาหารปลา อาหารอันโอชะของมดแดง
ธุรกิจเลี้ยงมดแดง ถือเป็นรายได้เสริมในการใช้พื้นที่เพราะปลูกอย่างคุ้มค่าที่สุด กอรปกับโดยส่วนตัวเขาสนใจ
ในเรื่องไข่มดแดงเป็นทุนเดิม เพราะเห็นว่าเป็นอาชีพรายได้ดี ตลาดยังมีความต้องการสูง จึงลองศึกษาหาความรู้
ก็พบว่ามดแดงจะนิยมมาสร้างรังที่ต้นมะม่วง เนื่องจากขนาดใบใหญ่ มีความเหมาะสมในการสร้างรัง ขณะที่อาหาร
มดแดง เรียกว่า หาได้ง่ายมากแทบไม่ต้องใช้ลงทุนอะไรเลย เพราะใช้เพียงเศษอาหารที่รับประทานเหลือ หรือข้าวสุก
โรยไว้บริเวณโคนต้นมะม่วง พร้อมนำขวดพลาสติดตัดปากให้เหลือเพียงครึ่งมามัดไว้บริเวณลำต้น เพื่อใส่น้ำ
เท่านั้นต้นมะม่วงก็จะกลายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของมดแดงไปโดยปริยาย

การสอยมดแดงจากต้นมะม่วง
หลังจากนั้นเพียง 2 เดือน ก็จะเก็บไข่มดแดงได้ สังเกตจากรังไข่มดแดงที่ใบมะม่วงเริ่มเหี่ยวแห้ง เป็น
สัญญาณว่ารังมดแดงนั้นสามารถสอยลงมาเพื่อนำไข่มดแดงมาจำหน่ายได้ ซึ่งขั้นตอนการสอยรังมดแดงลงมานั้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ไม่เช่นนั้น จะถูกมดแดงไต่ตามตัวไม่เป็นอันเก็บไข่เป็นแน่

รังไข่มดแดงเมืื่อสอยลงมา จะต้องแยกระหว่างไข่มดแดงและแป้งข้าวเจ้า
ผู้เก็บไข่ จะต้องสวมชุดป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว รองเท้าบูต ผ้าพันบริเวณใบหน้า ขณะที่ถุงกระสอบ
เพื่อรองรับรังไข่มดแดงระหว่างการสอย ต้องใส่แป้งข้าวเจ้าไว้ก้นถุง เพื่อป้องกันไม่ให้มดแดงกัดไข่ของตัวเอง
ตามสัญชาติญาณการปกป้องไข่ของตัวเอง โดยช่วงเดือนที่ได้ปริมาณไข่ดี จะเริ่มช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
แต่สามารถเก็บไข่ได้ทั้งปี ในราคาเฉลี่ย 250-300 บาท/กิโลกรัม (หนึ่งรังจะได้ไข่มดแดงประมาณ 2 ขีด-1.5 กก.)
ส่งผลให้เขามีรายได้จากการขายไข่มดแดงประมาณ 5,000บาทต่อเดือน ซึ่งขณะนี้แค่ในหมู่บ้านยังไม่พอจำหน่าย

นอกจากรายได้จากการขายไข่มดแดงแล้ว นายบุญชู ยังทำการเกษตรอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยทำให้มีรายได้
เพิ่มมากขึ้น เช่น การขายข้าว ขายมะม่วง ปลาดุก พืชผักสวนครัว ซึ่งผลผลิตเหล่านี้ทำให้เขามีรายได้หลักหมื่น
บาท ส่งลูกเรียนได้อย่างสบาย ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีรอยยิ้มผุดบนใบหน้า มีความสุขกับอาชีพที่ทำอยู่ บนวิถี
แห่งความพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โดยเขากล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า 'เคยเหนื่อยเคยท้อกับการทำเกษตรกรรม
แต่เมื่อมองภาพในหลวงก็หายเหนื่อยเพราะท่านเหนื่อยว่าเรามากกับการคิดค้นเกษตรแบบผสมผสานที่ทำมีรายได้
เลี้ยงครอบครัวอยู่ทุกวันนี้'

ทุ่งนาผืนเล็ก แต่มีรายได้พอเลี้ยงชีพ

บ่อเลี้ยงปลาดุกรายได้งาม

พื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว
>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000113363
แหล่งน้ำของมดแดงบริเวณโคนต้นมะม่วง
จากอาชีพเก็บขยะขายไปวันๆ รายได้ไม่ค่อยสมดุลกับรายจ่าย แต่ด้วยเป็นคนขยันทำมาหากิน จึงถูกรับเลือกให้
เข้าอบรมอาชีพทำเกษตรกรรมกับกรมการปกครอง ในโครงการปิดทองหลังพระตามแนวพระราชดำริ ที่เน้นนโยบายการ
สร้างชุมชนเข้มแข็ง ปัจจุบันเขามีธุรกิจที่มั่นคงด้วยการ “เลี้ยงมดแดงเพื่อขายไข่” ควบการพลิกฟื้นผืนดินทำเกษตร
ผสมผสานเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง
นายบุญชู ศิดสันเทียะ เจ้าของธุรกิจไข่มดแดง
นายบุญชู ศิดสันเทียะ เจ้าของธุรกิจเลี้ยงมดแดงเพื่อขายไข่ จ.พิษณุโลก เล่าว่า เดิมตนเองมีอาชีพเก็บเศษขยะ
ที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ขายให้แก่ร้านขายของเก่ามีรายได้พอเลี้ยงชีพไปวันๆ แต่บางครั้งไม่เพียงพอเพราะต้องส่งลูก
เรียนด้วย กระทั่งมีชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงชักชวนให้เข้ามาฟังการอบรมโครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราช
ดำริ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการพระราชดำริฯ ภาครัฐ (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) ชุมชน และ
ภาคเอกชน เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งตามวิถีที่ควรจะเป็นในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นจะ การทำเกษตรแบบผสมผสาน การ
ลดใช้สารเคมีในการทำเกษตร ใช้วัตถุดิบในพื้นที่นำมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แผนที่พื้นที่การทำเกษตรผสมผสาน
หลังจากที่นายบุญชู ได้เข้าร่วมอบรม จึงเกิดความคิดที่จะพลิกฟื้นผืนดินของตนเองประมาณ 7 ไร่ ทำเกษตรแบบ
ผสมผสาน โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกรมการปกครอง หน่วยงานราชการต่างๆในพื้นที่ แนะนำ
การทำการเกษตรผสมผสาน รวมถึงได้กู้เงินทางธนาคารประมาณหนึ่งแสนบาท ใช้เป็นต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ เช่น
เมล็ดพันธุ์ข้าว ต้นกล้วย พืชผักสวนครัว พันธุ์ปลา และต้นมะม่วง
ข้าวสุก อาหารปลา อาหารอันโอชะของมดแดง
ธุรกิจเลี้ยงมดแดง ถือเป็นรายได้เสริมในการใช้พื้นที่เพราะปลูกอย่างคุ้มค่าที่สุด กอรปกับโดยส่วนตัวเขาสนใจ
ในเรื่องไข่มดแดงเป็นทุนเดิม เพราะเห็นว่าเป็นอาชีพรายได้ดี ตลาดยังมีความต้องการสูง จึงลองศึกษาหาความรู้
ก็พบว่ามดแดงจะนิยมมาสร้างรังที่ต้นมะม่วง เนื่องจากขนาดใบใหญ่ มีความเหมาะสมในการสร้างรัง ขณะที่อาหาร
มดแดง เรียกว่า หาได้ง่ายมากแทบไม่ต้องใช้ลงทุนอะไรเลย เพราะใช้เพียงเศษอาหารที่รับประทานเหลือ หรือข้าวสุก
โรยไว้บริเวณโคนต้นมะม่วง พร้อมนำขวดพลาสติดตัดปากให้เหลือเพียงครึ่งมามัดไว้บริเวณลำต้น เพื่อใส่น้ำ
เท่านั้นต้นมะม่วงก็จะกลายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของมดแดงไปโดยปริยาย
การสอยมดแดงจากต้นมะม่วง
หลังจากนั้นเพียง 2 เดือน ก็จะเก็บไข่มดแดงได้ สังเกตจากรังไข่มดแดงที่ใบมะม่วงเริ่มเหี่ยวแห้ง เป็น
สัญญาณว่ารังมดแดงนั้นสามารถสอยลงมาเพื่อนำไข่มดแดงมาจำหน่ายได้ ซึ่งขั้นตอนการสอยรังมดแดงลงมานั้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ไม่เช่นนั้น จะถูกมดแดงไต่ตามตัวไม่เป็นอันเก็บไข่เป็นแน่
รังไข่มดแดงเมืื่อสอยลงมา จะต้องแยกระหว่างไข่มดแดงและแป้งข้าวเจ้า
ผู้เก็บไข่ จะต้องสวมชุดป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว รองเท้าบูต ผ้าพันบริเวณใบหน้า ขณะที่ถุงกระสอบ
เพื่อรองรับรังไข่มดแดงระหว่างการสอย ต้องใส่แป้งข้าวเจ้าไว้ก้นถุง เพื่อป้องกันไม่ให้มดแดงกัดไข่ของตัวเอง
ตามสัญชาติญาณการปกป้องไข่ของตัวเอง โดยช่วงเดือนที่ได้ปริมาณไข่ดี จะเริ่มช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
แต่สามารถเก็บไข่ได้ทั้งปี ในราคาเฉลี่ย 250-300 บาท/กิโลกรัม (หนึ่งรังจะได้ไข่มดแดงประมาณ 2 ขีด-1.5 กก.)
ส่งผลให้เขามีรายได้จากการขายไข่มดแดงประมาณ 5,000บาทต่อเดือน ซึ่งขณะนี้แค่ในหมู่บ้านยังไม่พอจำหน่าย
นอกจากรายได้จากการขายไข่มดแดงแล้ว นายบุญชู ยังทำการเกษตรอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยทำให้มีรายได้
เพิ่มมากขึ้น เช่น การขายข้าว ขายมะม่วง ปลาดุก พืชผักสวนครัว ซึ่งผลผลิตเหล่านี้ทำให้เขามีรายได้หลักหมื่น
บาท ส่งลูกเรียนได้อย่างสบาย ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีรอยยิ้มผุดบนใบหน้า มีความสุขกับอาชีพที่ทำอยู่ บนวิถี
แห่งความพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โดยเขากล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า 'เคยเหนื่อยเคยท้อกับการทำเกษตรกรรม
แต่เมื่อมองภาพในหลวงก็หายเหนื่อยเพราะท่านเหนื่อยว่าเรามากกับการคิดค้นเกษตรแบบผสมผสานที่ทำมีรายได้
เลี้ยงครอบครัวอยู่ทุกวันนี้'
ทุ่งนาผืนเล็ก แต่มีรายได้พอเลี้ยงชีพ
บ่อเลี้ยงปลาดุกรายได้งาม
พื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว
>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000113363