‘พืชสมุนไพร’ ภูมิปัญญาไทย เสริมแรง ‘ไล่ยุง’ ไร้สารเคมี

ด้วยความหลากหลายของพืชพรรณไม้ในเมืองไทย โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่แวดล้อมอยู่ใกล้ตัวเคียงคู่
กับวิถีชีวิตไทยมายาวนาน นอกเหนือจากประโยชน์ด้านอาหารแล้วยังมีสรรพคุณทางยาโดยบางชนิดช่วย
กำจัดแมลงมีฤทธิ์ “ไล่ยุง”
ถึงช่วงฤดูฝนหนึ่งในปัญหาที่มักตามมาคือ โรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค นอกจากป้องกัน
ไม่ให้ถูกยุงกัด หมั่นดูแลสุขอนามัยภายในบ้านอย่างเคร่งครัดด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงนับแต่ต้นตอ
การเกิดยุง ทั้งการคว่ำถ้วย กระถาง โอ่งใส่น้ำทั้งที่ไม่ได้ใช้และมีน้ำขัง หรือนำปลามาเลี้ยงช่วยกำจัดลูกน้ำ
เปลี่ยนน้ำในแก้ว แจกันภาชนะบรรจุต้นไม้โดยไม่ปล่อยให้กลายเป็นแหล่งกำเนิดยุงร้าย ฯลฯ ตามวิธีการต่าง ๆ
ที่มีคำแนะนำ
การป้องกันยุงด้วยพืชสมุนไพร นับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ที่
ไข้เลือดออกกำลังระบาด อาจารย์ขนิษฐา มีประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้ความรู้ว่า พืชสมุน ไพรที่มีน้ำมัน
หอมระเหยหลายชนิดสามารถนำมาใช้ไล่ยุงป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาใกล้รบกวนเราได้อย่างที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่
ตะไคร้หอม นำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่เหง้าถึงใบใช้ได้ทันที ทั้งการนำใบมาขยี้หรือทุบทั้งต้น อีกทั้งสามารถ
นำไปหมักกับเอทิลแอลกอฮอล์ทำเป็นสเปรย์ใช้ฉีดพ่นไล่ยุงได้อีกด้วย


อบเชย (cinnamon)
นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรไทยชนิดอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์ไล่ยุง อย่าง กะเพรา ไม้พุ่มเตี้ยที่คุ้นเคยกับการนำ
มาปรุงอาหาร สรรพคุณของกะเพรานอกจากช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ฆ่าเชื้อราเชื้อแบคทีเรียแล้ว ใบกะเพรา
ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยมีสารประกอบสำคัญ Methyl eugenol เมื่อนำมาบดขยี้ยังช่วยไล่ยุงได้ดี ไม่ต่างกับ
พืชตระกูลส้มทั้งส้มโอ มะกรูด ฯลฯ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จากผิว
“พืชสมุนไพรที่ใช้นอกจากเป็นสมุนไพรเดี่ยวยังสามารถนำมาผสมรวมกับสมุนไพรชนิดอื่นได้ซึ่งจะช่วย
เสริมฤทธิ์กันให้ผลดียิ่งขึ้น อย่างยาดมสมุนไพร ที่สถาบันฯ ปรุงไว้มีพืชสมุนไพรหลายชนิดเป็นส่วนผสม
ไม่ว่าจะเป็น กานพลู โกฐหัวบัว อบเชย เปลือกส้มโอ พิมเสน เมนทอล การบูร ฯลฯ จากเดิมทำขึ้นเพื่อใช้
สูดดม บรรเทาอาการวิงเวียนหน้ามืดแต่พบว่าเมื่อนำไปวางไว้ในห้องมุมต่าง ๆ สามารถไล่ยุงได้ร่วมด้วย”

ไพล

ยูคาลิปตัส
อีกทั้งในกลุ่มของ ขมิ้น ไพล จันทน์หอมและยูคาลิปตัส พืชสมุนไพรดังกล่าวสามารถนำมาใช้ฆ่าแมลง
และไล่แมลงได้เป็นอย่างดี เช่น ขมิ้น พืชล้มลุกใช้เป็นเครื่องเทศมีวิตามินสูง พืชดังกล่าวยังเป็นยาประจำบ้าน
มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้การบวมอักเสบ ใช้ประคบคลายกล้ามเนื้อ บำรุงผิว ฯลฯ อีกทั้งในขมิ้นยังมีส่วน
ประกอบสำคัญน้ำมันหอมระเหย Tumerone ส่วนยูคาลิปตัส มีส่วนประกอบสำคัญ Citronellal มีฤทธิ์ต้าน
เชื้อโรคเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคที เรียแล้วยังใช้ไล่แมลง ดับกลิ่นได้ด้วย

ดร.ไฉน น้อยแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
และความงามเพื่อวิสาหกิจชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สมุนไพรหลาย
ชนิดนอกจากนำมาใช้ป้องกันยุงยังรักษาอาการอักเสบแก้ผื่นคันหลังจากยุงกัด ซึ่งที่ผ่านมาได้ถ่ายทอดความรู้
การกลั่นน้ำมันหอมระเหยในพืชสมุนไพรโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ให้กับชุมชนซึ่งสมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่ยุงหลัก ๆ คือ ตะไคร้หอม ขณะที่ ขมิ้นชันช่วยในเรื่องการแพ้ผื่นคัน
และยังช่วยบำรุงผิว ฯลฯ

“การใช้พืชสมุนไพรป้องกันยุงเป็นหนึ่งในวิธีดูแลตนเองซึ่งความโดดเด่นของสมุนไพรนอกจากราคาถูก
ปลอดภัยจากสารเคมีแล้วยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และด้วยกลิ่นฉุนในพืชซึ่งเป็นสิ่งที่ยุงไม่ชอบจึงช่วยป้องกัน
และในกรณีที่ยุงกัด ขมิ้นชัน ใบพลู ตำลึง ทองพันชั่ง ฯลฯ สมุนไพรเหล่านี้ยังช่วยลดอาการอักเสบแก้แพ้ผื่นคัน”
“การใช้พืชสมุนไพรไล่ยุงนอก จากใช้การตำขยี้ได้น้ำมันหอมระเหยยังสามารถนำไปหมักกับแอลกอฮอล์
ซึ่งจะได้สารสกัดที่มีกลิ่นหอมจากนั้นนำมาฉีดทำเป็นสเปรย์ได้โดยไม่ต้องกลั่นหรืออาจใช้วิธีการต้มสมุนไพร
กับน้ำแต่ต้องต้มด้วยไฟอ่อนเพื่อรักษาคุณสมบัติในเรื่องของกลิ่นให้คงอยู่
อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้โดยง่ายคือ การปลูกพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่ยุงไว้รอบบ้านเพราะเพียงแค่เด็ดขยี้ก็จะ
ส่งกลิ่นช่วยไล่ไม่ให้ยุงมารบกวน ช่วยป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัดเป็นการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
และลดการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นอีกด้วย”
นอกจากนี้ ในองค์ความรู้ข้อมูลจากสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ยังบอกเล่าแนะนำถึงการใช้สมุนไพรเพิ่มอีกว่า เมืองไทยมี
สมุนไพรหลายชนิดที่มีประโยชน์ นำมาใช้ในการไล่ยุงให้ห่างไกลได้ โดย ข้อดีของการใช้สมุนไพรไล่ยุง
คือไม่มีปัญหาสารเคมีตกค้างและปลอดภัย

ตะไคร้หอม
พืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยนอกเหนือจากน้ำมันของพืชตระกูลส้ม น้ำมันจากตะไคร้หอม
ยูคาลิปตัส มหาหงส์ แล้วยังมี สะระแหน่ กะเพรา แมงลัก ว่านน้ำ มะกรูด ไพลเหลือง ขมิ้นชัน
ที่สามารถนำมาใช้ไล่ยุงได้เช่นกัน อย่างเช่น สะระแหน่ แมงลัก ขยี้ใบสด ทาถูที่ผิวหนังหรือวางไว้
ใกล้ตัวจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้


ว่านน้ำ
ว่านน้ำ หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆแล้วนำไปโขลกผสมกับน้ำ กรองส่วนที่เป็นน้ำใช้ทาผิวหนัง ส่วน
มะกรูด นำผิวสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ โขลกผสมกับน้ำกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ฉีด พ่น หรือทา
ตามผิวหนัง ไพลเหลือง นำหัวไพลเหลืองสดโขลกผสมกับน้ำกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง
มีข้อพึงระวังสำหรับผู้ที่แพ้น้ำมันไพลต้องเพิ่มความระมัดระวังในการนำมาใช้

ขมิ้นชัน


นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จากส่วนเหง้าของ ขมิ้นชัน ยังพบว่ามีประสิทธิภาพ
ในการป้องกันการกัดของยุงได้นาน ขณะเดียวกันสามารถกำจัดลูกน้ำยุง ป้องกันยุงวางไข่
ลดอัตราการฟักของไข่ยุงได้ อีกทั้งวิธีไล่ยุงด้วย การสุมหรือเผาเพื่อให้เกิดควัน ยังเป็นอีกวิธีหนึ่ง
ในการไล่ยุงได้โดยพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ คือ เปลือกของพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน
มะกรูด มะนาว ตากแดดให้แห้งแล้วนำมาจุดไฟ น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเปลือกจะช่วยออกฤทธิ์ไ
ล่ยุงไม่ให้มารบกวนได้อีกทางหนึ่ง.
‘ยุงลาย’ พาหะนำโรคไข้เลือดออก

ประเทศไทยมียุงลายมากกว่าร้อยชนิด แต่ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกมีอยู่ 2 ชนิด คือ ยุงลาย
เป็นพาหะหลัก และ ยุงลายสวน เป็นพาหะรอง ในวงจรชีวิตของยุงลายประกอบด้วย ระยะไข่, ระยะตัวอ่อน
(ลูกน้ำ) ระยะดักแด้หรือตัวกลางวัย (ตัวโม่ง), และระยะตัวเต็มวัย (ตัวยุง)

โรคไข้เลือดออก ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญติดต่อโดยยุงตัวเมีย
ซึ่งกัดเวลากลางวันและดูดเลือดคนเป็นอาหาร ไปกัดดูดเลือดผู้ป่วยซึ่งในระยะไข้สูงจะเป็นระยะที่มีไวรัส
อยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง เข้าไปอยู่ในเซลล์ที่ผนังกระเพาะ เพิ่มจำนวนมากขึ้นแล้ว
ออกมาจากเซลล์ผนังกระเพาะ เดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายพร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดในครั้งต่อไป
ซึ่งระยะฟักตัวในยุง ประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงไปกัดคนอื่นอีก ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัว ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.dailynews.co.th/article/224/218021

ด้วยความหลากหลายของพืชพรรณไม้ในเมืองไทย โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่แวดล้อมอยู่ใกล้ตัวเคียงคู่
กับวิถีชีวิตไทยมายาวนาน นอกเหนือจากประโยชน์ด้านอาหารแล้วยังมีสรรพคุณทางยาโดยบางชนิดช่วย
กำจัดแมลงมีฤทธิ์ “ไล่ยุง”
ถึงช่วงฤดูฝนหนึ่งในปัญหาที่มักตามมาคือ โรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค นอกจากป้องกัน
ไม่ให้ถูกยุงกัด หมั่นดูแลสุขอนามัยภายในบ้านอย่างเคร่งครัดด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงนับแต่ต้นตอ
การเกิดยุง ทั้งการคว่ำถ้วย กระถาง โอ่งใส่น้ำทั้งที่ไม่ได้ใช้และมีน้ำขัง หรือนำปลามาเลี้ยงช่วยกำจัดลูกน้ำ
เปลี่ยนน้ำในแก้ว แจกันภาชนะบรรจุต้นไม้โดยไม่ปล่อยให้กลายเป็นแหล่งกำเนิดยุงร้าย ฯลฯ ตามวิธีการต่าง ๆ
ที่มีคำแนะนำ
การป้องกันยุงด้วยพืชสมุนไพร นับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ที่
ไข้เลือดออกกำลังระบาด อาจารย์ขนิษฐา มีประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้ความรู้ว่า พืชสมุน ไพรที่มีน้ำมัน
หอมระเหยหลายชนิดสามารถนำมาใช้ไล่ยุงป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาใกล้รบกวนเราได้อย่างที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่
ตะไคร้หอม นำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่เหง้าถึงใบใช้ได้ทันที ทั้งการนำใบมาขยี้หรือทุบทั้งต้น อีกทั้งสามารถ
นำไปหมักกับเอทิลแอลกอฮอล์ทำเป็นสเปรย์ใช้ฉีดพ่นไล่ยุงได้อีกด้วย


อบเชย (cinnamon)
นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรไทยชนิดอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์ไล่ยุง อย่าง กะเพรา ไม้พุ่มเตี้ยที่คุ้นเคยกับการนำ
มาปรุงอาหาร สรรพคุณของกะเพรานอกจากช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ฆ่าเชื้อราเชื้อแบคทีเรียแล้ว ใบกะเพรา
ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยมีสารประกอบสำคัญ Methyl eugenol เมื่อนำมาบดขยี้ยังช่วยไล่ยุงได้ดี ไม่ต่างกับ
พืชตระกูลส้มทั้งส้มโอ มะกรูด ฯลฯ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จากผิว
“พืชสมุนไพรที่ใช้นอกจากเป็นสมุนไพรเดี่ยวยังสามารถนำมาผสมรวมกับสมุนไพรชนิดอื่นได้ซึ่งจะช่วย
เสริมฤทธิ์กันให้ผลดียิ่งขึ้น อย่างยาดมสมุนไพร ที่สถาบันฯ ปรุงไว้มีพืชสมุนไพรหลายชนิดเป็นส่วนผสม
ไม่ว่าจะเป็น กานพลู โกฐหัวบัว อบเชย เปลือกส้มโอ พิมเสน เมนทอล การบูร ฯลฯ จากเดิมทำขึ้นเพื่อใช้
สูดดม บรรเทาอาการวิงเวียนหน้ามืดแต่พบว่าเมื่อนำไปวางไว้ในห้องมุมต่าง ๆ สามารถไล่ยุงได้ร่วมด้วย”

ไพล

ยูคาลิปตัส
อีกทั้งในกลุ่มของ ขมิ้น ไพล จันทน์หอมและยูคาลิปตัส พืชสมุนไพรดังกล่าวสามารถนำมาใช้ฆ่าแมลง
และไล่แมลงได้เป็นอย่างดี เช่น ขมิ้น พืชล้มลุกใช้เป็นเครื่องเทศมีวิตามินสูง พืชดังกล่าวยังเป็นยาประจำบ้าน
มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้การบวมอักเสบ ใช้ประคบคลายกล้ามเนื้อ บำรุงผิว ฯลฯ อีกทั้งในขมิ้นยังมีส่วน
ประกอบสำคัญน้ำมันหอมระเหย Tumerone ส่วนยูคาลิปตัส มีส่วนประกอบสำคัญ Citronellal มีฤทธิ์ต้าน
เชื้อโรคเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคที เรียแล้วยังใช้ไล่แมลง ดับกลิ่นได้ด้วย

ดร.ไฉน น้อยแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
และความงามเพื่อวิสาหกิจชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สมุนไพรหลาย
ชนิดนอกจากนำมาใช้ป้องกันยุงยังรักษาอาการอักเสบแก้ผื่นคันหลังจากยุงกัด ซึ่งที่ผ่านมาได้ถ่ายทอดความรู้
การกลั่นน้ำมันหอมระเหยในพืชสมุนไพรโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ให้กับชุมชนซึ่งสมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่ยุงหลัก ๆ คือ ตะไคร้หอม ขณะที่ ขมิ้นชันช่วยในเรื่องการแพ้ผื่นคัน
และยังช่วยบำรุงผิว ฯลฯ

“การใช้พืชสมุนไพรป้องกันยุงเป็นหนึ่งในวิธีดูแลตนเองซึ่งความโดดเด่นของสมุนไพรนอกจากราคาถูก
ปลอดภัยจากสารเคมีแล้วยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และด้วยกลิ่นฉุนในพืชซึ่งเป็นสิ่งที่ยุงไม่ชอบจึงช่วยป้องกัน
และในกรณีที่ยุงกัด ขมิ้นชัน ใบพลู ตำลึง ทองพันชั่ง ฯลฯ สมุนไพรเหล่านี้ยังช่วยลดอาการอักเสบแก้แพ้ผื่นคัน”
“การใช้พืชสมุนไพรไล่ยุงนอก จากใช้การตำขยี้ได้น้ำมันหอมระเหยยังสามารถนำไปหมักกับแอลกอฮอล์
ซึ่งจะได้สารสกัดที่มีกลิ่นหอมจากนั้นนำมาฉีดทำเป็นสเปรย์ได้โดยไม่ต้องกลั่นหรืออาจใช้วิธีการต้มสมุนไพร
กับน้ำแต่ต้องต้มด้วยไฟอ่อนเพื่อรักษาคุณสมบัติในเรื่องของกลิ่นให้คงอยู่
อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้โดยง่ายคือ การปลูกพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่ยุงไว้รอบบ้านเพราะเพียงแค่เด็ดขยี้ก็จะ
ส่งกลิ่นช่วยไล่ไม่ให้ยุงมารบกวน ช่วยป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัดเป็นการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
และลดการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นอีกด้วย”
นอกจากนี้ ในองค์ความรู้ข้อมูลจากสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ยังบอกเล่าแนะนำถึงการใช้สมุนไพรเพิ่มอีกว่า เมืองไทยมี
สมุนไพรหลายชนิดที่มีประโยชน์ นำมาใช้ในการไล่ยุงให้ห่างไกลได้ โดย ข้อดีของการใช้สมุนไพรไล่ยุง
คือไม่มีปัญหาสารเคมีตกค้างและปลอดภัย

ตะไคร้หอม
พืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยนอกเหนือจากน้ำมันของพืชตระกูลส้ม น้ำมันจากตะไคร้หอม
ยูคาลิปตัส มหาหงส์ แล้วยังมี สะระแหน่ กะเพรา แมงลัก ว่านน้ำ มะกรูด ไพลเหลือง ขมิ้นชัน
ที่สามารถนำมาใช้ไล่ยุงได้เช่นกัน อย่างเช่น สะระแหน่ แมงลัก ขยี้ใบสด ทาถูที่ผิวหนังหรือวางไว้
ใกล้ตัวจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้

ว่านน้ำ
ว่านน้ำ หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆแล้วนำไปโขลกผสมกับน้ำ กรองส่วนที่เป็นน้ำใช้ทาผิวหนัง ส่วน
มะกรูด นำผิวสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ โขลกผสมกับน้ำกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ฉีด พ่น หรือทา
ตามผิวหนัง ไพลเหลือง นำหัวไพลเหลืองสดโขลกผสมกับน้ำกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง
มีข้อพึงระวังสำหรับผู้ที่แพ้น้ำมันไพลต้องเพิ่มความระมัดระวังในการนำมาใช้

ขมิ้นชัน


นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จากส่วนเหง้าของ ขมิ้นชัน ยังพบว่ามีประสิทธิภาพ
ในการป้องกันการกัดของยุงได้นาน ขณะเดียวกันสามารถกำจัดลูกน้ำยุง ป้องกันยุงวางไข่
ลดอัตราการฟักของไข่ยุงได้ อีกทั้งวิธีไล่ยุงด้วย การสุมหรือเผาเพื่อให้เกิดควัน ยังเป็นอีกวิธีหนึ่ง
ในการไล่ยุงได้โดยพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ คือ เปลือกของพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน
มะกรูด มะนาว ตากแดดให้แห้งแล้วนำมาจุดไฟ น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเปลือกจะช่วยออกฤทธิ์ไ
ล่ยุงไม่ให้มารบกวนได้อีกทางหนึ่ง.
‘ยุงลาย’ พาหะนำโรคไข้เลือดออก

ประเทศไทยมียุงลายมากกว่าร้อยชนิด แต่ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกมีอยู่ 2 ชนิด คือ ยุงลาย
เป็นพาหะหลัก และ ยุงลายสวน เป็นพาหะรอง ในวงจรชีวิตของยุงลายประกอบด้วย ระยะไข่, ระยะตัวอ่อน
(ลูกน้ำ) ระยะดักแด้หรือตัวกลางวัย (ตัวโม่ง), และระยะตัวเต็มวัย (ตัวยุง)

โรคไข้เลือดออก ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญติดต่อโดยยุงตัวเมีย
ซึ่งกัดเวลากลางวันและดูดเลือดคนเป็นอาหาร ไปกัดดูดเลือดผู้ป่วยซึ่งในระยะไข้สูงจะเป็นระยะที่มีไวรัส
อยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง เข้าไปอยู่ในเซลล์ที่ผนังกระเพาะ เพิ่มจำนวนมากขึ้นแล้ว
ออกมาจากเซลล์ผนังกระเพาะ เดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายพร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดในครั้งต่อไป
ซึ่งระยะฟักตัวในยุง ประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงไปกัดคนอื่นอีก ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัว ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.dailynews.co.th/article/224/218021