เอามาทำห่อหมกอร่อยดีนะ
เป็นพืชมงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันในบ้าน ประมาณว่าจะได้มีผู้สรรเสิญเยินยอ แต่ส่วนตัวผู้โพสต์ไม่ชอบให้ใครยอนะ
ผลดิบมีคุณสมบัติรักษาโรคเหงือก น้ำคั้นบรรเทาอาการเจ็บคอ

ยอ,ลูกยอ,ใบยอ,สุขภาพ,ผักและผลไม้,อาหารพื้นเมือง,แก้คลื่นไส้คนไทยนั้นคุ้ยเคยกับพืชพันธุ์พื้นบ้านอย่าง ?ยอ? มา ช้านาน ทั้งในฐานะเป็นไม้มงคลปลูกประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบ้าน ด้วยชื่อที่มีความหมายเป็นเคล็ดว่า ปลูกแล้วจะมีคนมายกย่องสรรเสริญในสิ่งที่ดีงาม และเป็นผักพื้นบ้านที่มีกลิ่น และรสชาติเฉพาะตัวซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ไม่มีในผักชนิดอื่น ส่วนต่างๆ ของยอจึงถูกนำมาใช้ประกอบอาหารที่คนไทยล้วนรู้จักเป็นอย่างดีเช่น ห่อหมกใบยอ แกงอ่อม หรืออาหารพื้นบ้านอย่างส้มตำลูกยอนั้น คนไทยในแถบภาคอีสาน ถือเป็นอาหารสูตรโบราณประจำภาคเลยทีเดียว
ลักษณะ ของพืช ต้นยอเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ดอกเล็กสีขาวเป็นกระจุก ผลกลมยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียวสด เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก
ประโยชน์ที่ไดรับจากย่อ
ราก : ใช้เป็นยาระบาย ซึ่งในบันทึกตามประวัติการใช้งานของยอพบว่า ชาวอินเดียใช้รากของยอในการเป็นยาถ่ายโดยพบองค์ประกอบทางเคมีและกลุ่มสาร สำคัญคือ แอนทราควิโนน (Anthraquinones) ซึ่งเป็นสารสีได้แก่ มอรินโดน (Morindone) มอรีโนน (Morenone) นอร์แดมนาเซ็นทาล (Nordamnacenthal) รูเบียดิน (Rubiadin) และอนุพันธ์ (Rubiadin 1 - methylether) ในเปลือกของรากมีสารสีคือ มอรินดิน (Morindin)
ใบ : ใช้ แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้จุกเสียด ชาวฟิลิปปินส์ ใช้ใบสดรักษาแผลเปื่อย ข้ออักเสบในขณะที่ชาวอินเดียใช้เป็นยาสมานแผล และรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง โดยที่ชาวมาเลเซียใช้ใบปิ้งไฟให้ร้อนวางบนอกหรือท้อง เพื่อลดอาการไอ ตับโต คลื่นไส้และเป็นไข้ และในสมัยโบราณของไทยเองยังใช้ใบยอแก้อาการท้องร่วง แก้ปวดตามข้อของนิ้วมือ นิ้วเท้า โดยมีองค์ประกอบด้วย สารแอสเพอรูโลไซด์ (Asperuloside) เบต้า - ซิโตสเตอรอล (? - sitosterol) กรดอัวโซลิค (ursolic acid) เบต้า - คาโรทีน (? - carotene) โปรตีน นอกจากนี้ในใบยอยังมีแคลเซียมมากถึง 469 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม
ผล : แก้อาเจียน ขับลม บำรุงธาตุ โดยใช้ผลยอที่ไม่สุกหรือดิบเกินไป หั่นปิ้งไฟพอเหลืองกรอง ต้มเอาน้ำเป็นกระสาย ใช้ร่วมกับยาแก้คลื่นไส้อาเจียนที่ไม่รุนแรง หรือนำผลดิบหรือผลห่ามสดประมาณ 2 กำมือ ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบต้มหรือชงน้ำดื่ม เอาน้ำที่ได้จิบทีละน้อยและบ่อยครั้ง ชาวฟิลิปปินส์ ใช้ผลเป็นยาขับระดู
ผล ดิบมีคุณสมบัติในการรักษาโรคเหงือก น้ำคั้นจากผลบรรเทาอาการเจ็บคอ ทั้งนี้ผลของต้นยอประกอบด้วยกลุ่มสารสำคัญคือ กลุ่มโมโนเทอร์ปีน (monoterpenes) ได้แก่ แอสเพอรูโลไซด์ (asperuloside) นอกจากนี้ยังมีเบต้า - คาโรทีน (? - carotene) และนอกจากนี้ในผลสุกยังมีสารหอมระเหย ซึ่งส่วนมากเป็นกรดคาร์บอกซีลีก (carboxylic acid) ได้แก่ กรดอ๊อคทาโนอิก (octanoic acid) กรดเฮกชาโนอิก (hexanoic acid) กรดเดคาโนอิก (decanoic acid) เป็นต้น
เมล็ด : ใช้เป็นยาระบาย โดยในเมล็ดของยอนั้นจะมีน้ำมันประกอบด้วยกรดซิโนเลอิด (ricinoleic acid)
เปลือก : ชาวอินเดียวใช้เปลือกของต้นยอนำมาต้มดื่มเป็นยาฝาดสมาน ชาวมาเลเซียใช้ต้มดื่มแก้ไข้จับสั่น ประกอบด้วยกลุ่มสารสำคัญคือ สารกลุ่มควินอยด์ (quinolds) ได้แก่ อะลิซาริน (alizarin) กรดรูเบอรีทริค (ruberythric acid) และรูเบียดิน (rubiadin) การใช้ยอตามสรรพคุณยาไทย แก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นสรรพคุณของลูกยอที่รู้จักกันมากที่สุด และสามารถใช้ได้โดยไม่มีพิษภัยอะไร
คุณ ประโยชน์มากมายตั้งแต่รากจนถึงผลสุก ไม่เพียงแต่จะนำมาประกอบอาหารเท่านั้นยังสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรที่ช่วย บรรเทาโรคบางอย่างได้