ผู้เขียน หัวข้อ: “ฉี่” แต่ละสีบอกอะไร?  (อ่าน 4081 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ วิทยา

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 576
    1108
“ฉี่” แต่ละสีบอกอะไร?
« เมื่อ: 28/มิ.ย./13 10:13น. »



“ฉี่” แต่ละสีบอกอะไร?

   
   
ฉีี่ในภาพไม่ได้เติมสารใดๆ ลงไป แต่ได้จากร่างกายผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพโดยตรง (ไลฟ์ไซน์/Heather West)

       เราอาจเคยทราบมาบ้างว่าสีของปัสสาวะนั้นบ่งชี้ถึงสุขภาพ แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าสีจากของเหลวที่เราขับถ่าย
ออกจากร่างกายนั้น ยังมีหลากเฉดราวกับสีรุ้งด้วย ซึ่งบ่งชี้ถึงปัญหาและวิกฤตที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเราได้เป็นอย่างดี
      
       ฮีเธอร์ เวสต์ (Heather West) นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลทาโคมา (Tacoma
General Hospital) ในวอชิงตัน สหรัฐฯ เป็นผู้หนึ่งที่ได้พบเห็นสีสันของปัสสาวะจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลอยู่เสมอ
และเธอได้บันทึกภาพตัวอย่างปัสสาวะเหล่านั้นเผยแพร่ผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งเธอบอกไลฟ์ไซน์ว่า ผู้ที่ได้เห็นไม่เชื่อว่า
นั่นคือปัสสาวะจริงๆ และเข้าใจว่าเธอกับเพื่อนร่วมงานคงเติมอะไรลงไปแน่ๆ
      
       หน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลที่ไม่ได้เห็นแค่สีสันอันน่าอัศจรรย์ของปัสสาวะ
แต่ภายในห้องปฏิบัติการปิดทึบในใต้ถุนอาคารภารกิจของเวสต์วัย 26 ปี มีบทบาทสำคัญต่อผู้ป่วยทุกคน เพราะสีสัน
ของปัสสาวะเหล่านั้นบ่งบอกถึงวิกฤตในสุขภาพผู้ป่วย
      
       คริสเตน กรีน (Kirsten Greene) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการศึกษาเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ มหาวิทยาลัย
แคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ อธิบายไลฟ์ไซน์ถึงความสำคัญของสีปัสสาวะว่า หน้าที่ของเธอไม่เพียงแค่
ดูสีสันของปัสสาวะ แต่หากปัสสาวะเหล่านั้นเป็นสีแดงหรือสีเลือดมากๆ เป็นสัญญาณชัดเจนว่ามีการติดเชื้อหรือเป็น
มะเร็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอจะวิตกเป็นอย่างมาก
      
       สำหรับสีสันของปัสสาวะหลักๆ บ่งชี้ถึงสุขภาพได้ ดังนี้
      
       สีแดง
       เลือดเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง และเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพ ซึ่งกรีนบอกว่าใน
ฐานะผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินปัสสาวะเธอจะเป็นกังวลต่อผู้ป่วยที่มีปัสสาวะเป็นสีนี้ โดยมะเร็งกระเพาะปสสาวะ
การติดเชื้อ รวมทั้งนิ่วในไต ล้วนเป็นสาเหตุให้เลือดออกและแสดงผ่านปัสสาวะ และทั้งหมดควรจะรับไปพบแพทย์
นอกจากนี้การกินหัวบีทมากๆ ก็ทำให้ปัสสาวะกลายเป็นสีชมพูได้เช่นกัน
      
       สีส้ม
       ปัสสาวะสีเข้มบ่งบอกถึงสุขภาพที่มีปัญหา โดยโรคมะเร็งตับทำให้ปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้ม เพราะมีสาร “บิลิรูบิน”
(bilirubin) มากเกินไป ซึ่งสารดังกล่าวคือเม็ดสีสีน้ำตาลที่ตับผลิตออกมา การใช้ยาแก้ปวดชื่อ “ฟีนาโซไพริดีน”
(phenazopyridine) หรือไพริเดียม (Pyridium) ก็ทำให้ปัสสาวะมีสีส้มสว่าง ยาดังกล่าวจะให้แก่ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ
ในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยาปฏิชีวนะก็เปลี่ยนสีปัสสาวะให้เป็นสีส้มได้ หรือใครที่กินแครรอทมากๆ จนผิวเปลี่ยน
สีส้มก็จะมีปัสสาวะสีส้มด้วยเช่นกัน
      
       สีเหลือง
       หลายคนแสดงอาการขาดน้ำให้เห็นในปัสสาวะ โดยให้ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม หากไม่ได้รับน้ำอบ่างเพียงพอ เม็ดสี
ที่เรีกยว่า “ยูโรโครม” (urochrome) จะมีความเข้มข้นมากในปัสสาวะ หรืออีกด้านหนึ่งผู้ป่วยที่ที่ได้รับสารเหลวผ่าน
ทางหลอดเลือดดำจะมีน้ำในร่างกายมาก จึงสร้างผัสสาวะที่ใสเหือบจะไม่มีสี ส่วนปัสสาวะสีเหลืองขุ่นๆ นั้นมีสาเหตุ
จากการติดเชื้อ
      
       สีน้ำเงิน
       สำน้ำเงิน เป็นสีปัสสาวะที่พบได้ค่อนข้างน้อย มักเกิดจาการใช้ยาหรือให้สารเคมีแก่ผู้ป่วย โดยยาที่ชื่อ “เมทิลีนบลู”
(methylene blue) ที่เคยถูกใช้เป็นยาบำบัดรักษามาลาเรียระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 คือตัวการอันดับหนึ่งที่ทำให้
ปัสสาวะมีสีนี้ ซึ่งยาดังกล่าวใช้เพื่อบำบัดอาการเป็นพิษเนื่องจากคาร์บอนมอนอไซด์ และใช้เป็นสีย้อมระหว่างผ่าตัด
โดยให้ปัสสาะเป็นได้ทั้งสีเขียวและน้ำเงิน
      
       ยังมีตัวยาอื่นๆ ที่ใช้ในทางการแพทย์แล้วให้ปัสสาวะเป็นสีน้ำเงิน เช่น ไวอากรา อินโดเมทาซิน และโพรโพฟอล
ยาระงับความรู้สึกที่มีความเชื่อมโยงต่อการเสียชีวิตของ ไมเคิล แจ็คสัน (Michael Jackson) ราชาแพลงป๊อป นอกจาก
นี้ลักษณะทางพันธุกรรมยังส่งผลต่อการแตกสลายของสารอาหารซึ่งเป็นสาเหตุให้ปัสสาวะกลายเป็นสีน้ำเงินได้ แม้กระทั่ง
สีผสมอาหารสีน้ำเงินก็ส่งผ่านไปยังปัสสาวะได้ในบางครั้ง
      
       สีเขียว
       ปัสสาวะสีเขียวเป็นกรณีของปัสสาวะสีน้ำเงินที่เจือจาง และในบางครั้งการดินเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะก็ทำให้
ปัสสาวะกลายเป็นสีเขียวด้วย
      
       สีครามและสีม่วง
       ปัสสาวะสีม่วงเข้มนั้นมาจากผู้ป่วยที่การทำงานของไตล้มเหลว ดดยเวสต์อธิบายว่าปกติไตควรจะทำหน้าที่ในการ
กรองเลือดและกำจัดของเสียในร่างกายของเราออกไป แต่เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับไตก็จะมีเลือดจำนวนมากหลุด
ออกไปพร้อมปัสสาวะ และยังมีกรณีที่ผู้ป่วยสวนสายปัสสาวะก็อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่พบไม่บ่อยที่เรียกว่า
“เพอร์เพิลยูรีนแบ็กซินโดรม” (purple urine bag syndrome) ที่ให้ปัสสาวะสีม่วง ซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อ
ระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะที่ปัสสาวะมีความเป็นด่างสูง และอาการทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “พอร์ฟีเรีย” (porphyria)
ก็กระตุ้นให้ปัสสาวะเป็นสีม่วงเช่นกัน


>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000078189



+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=16522
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28/มิ.ย./13 10:15น. โดย วิทยา »

ออนไลน์ ประสิทธิ์

  • Administrator
  • *
  • ออนไลน์
  • 6196
    9884
  • เพศ: ชาย
    • เพลงพักใจดอทเนต
Re: “ฉี่” แต่ละสีบอกอะไร?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28/มิ.ย./13 10:32น. »

ดีจังเลยกระทู้นี้ ได้ความรู้เรื่องสุขภาพด้วย

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=16522
สมาชิกใหม่..ก่อนตั้งกระทู้แนะนำตัวให้ดูตัวอย่าง.แล้วไปอ่านประกาศการใช้งานบอร์ดและห้องโหลดเพลง เมื่ออ่านเข้าใจแล้วก็ตอบรับทราบทั้ง 2 กระทู้1.ห้ามเด็ดขาดการใช้เพียงอีโมตอบกระทู้เพื่อโหลดเพลง.2.ห้ามตอบเพียงขอบคุณครับ/ค่ะ โหลดเพลง 5:1 อ่านให้เข้าใจด้วย

ออฟไลน์ ดีใจ

  • เซียน
  • ****
  • ออฟไลน์
  • 464
    46
Re: “ฉี่” แต่ละสีบอกอะไร?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 28/มิ.ย./13 11:43น. »

อาจมีบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าฉี่ของตัวมีสีอะไร เพราะไม่เคยมองเลย

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=16522