นิ้วเทียม...ยากูซ่า

นิ้วมือที่ถูกตัดบางส่วนหายไปของชายชาวญี่ปุ่น ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มีที่มาจากการเกิดอุบัติเหตุ และ
เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกให้รับรู้ได้ว่าเขาผู้นั้นคือหนึ่งในสมาชิกของแก๊งยากูซ่า แต่วันนี้พวกเขามีนิ้วเทียมที่ดู
เหมือนจริงราวกับเป็นเนื้อเดียวกัน มาแทนที่ข้อนิ้วที่ถูกตัดหายไป เพียงแค่ยอมจ่ายเงินหลักพันดอลลาร์

“คุณลองดูสิมันดูเหมือนนิ้วจริง ๆ เลยใช่ไหม มีแค่ครั้งเดียวที่คนอื่นจะรู้ว่ามันเป็นของปลอม เธอคือ
หญิงชราอายุประมาณ 70 กว่า ผมก็เลยบอกกับเธอว่าได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงาน” โทรุ วัย
53 ปี ถอดนิ้วเทียมโชว์ให้ดูเปรียบเทียบกับนิ้วนางที่สวมแหวนอยู่ ขณะที่นิ้วก้อยของเขาเหลืออยู่แค่โคน

ยากูซ่าของญี่ปุ่นก็ไม่ต่างอะไรกับมาเฟียของอิตาลี หรือแก๊งอิทธิพลของจีน พวกเขามีธุรกิจบ่อนการ
พนัน ค้ายาเสพติดทุกชนิด ทำธุรกิจผิดกฎหมายอื่น ๆ รวมไปถึงการก่ออาชญากรรม โดยในญี่ปุ่นพบว่ามี
สมาชิกแก๊งยากูซ่าอยู่ถึง 63,200 คน การสืบทอดที่มีมายาวนานทำให้มีรูปแบบองค์กรที่ชัดเจน เป็นหนึ่ง
ในวัฒนธรรมที่ฝังรากลึก และโลดแล่นอยู่ในหนังสือการ์ตูนและภาพยนตร์อยู่เสมอ
ว่ากันว่า ยากูซ่าเกิดขึ้นหลังจากสงครามของซามูไรจบลงในช่วงราวศตวรรษที่ 17-18 และเริ่มขยาย
อิทธิพลใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จากจุดเริ่มที่เพียงเป็นการก่ออาชญากรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
สังคมญี่ปุ่น
ชื่อของโทรุเองก็ไม่ใช่ชื่อที่แท้จริงของเขาซึ่งเป็นการอำพรางเพื่อป้องกันตัวจากการดูแลบาร์และคลับ
ในย่านคาบูกิโจ ถิ่นโคมแดงของโตเกียวซึ่งเขาประสบความสำเร็จในการควบคุมพื้นที่ และสร้างรายได้
งดงามให้กับเขาในฐานะพี่ใหญ่ แต่อีกคนในแก๊งที่นับถือกันเป็นพี่น้องนั้นกลับข้องเกี่ยวแต่เฉพาะธุรกิจ
สกปรกทั้งลักพาตัวและติดยาเสพติด
เมื่อพี่ใหญ่ของพวกเขาเกิดมีน้ำโหขึ้นมาการแสดงความสำนึกผิดของพวกเขาก็คือ การตัดนิ้ว และ
โทรุเองก็ตัดนิ้วก้อยออกไปข้อหนึ่ง ก่อนที่จะตัดอีกข้อเมื่อลูกสมุนเกิดทำอะไรผิดพลาดขึ้นมาอีก

“ตอนที่ตัดส่วนแรกนั้นมันดูง่าย แต่เมื่อมาถึงช่วงกลางมันค่อนข้างยากกว่า คุณจะต้องทิ้งน้ำหนัก
ทั้งหมดไปที่มีดทำครัวเล่มนั้น”
การสูญเสียบางส่วนของนิ้วไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตมากมายนัก หากสมาชิกยากูซ่าไม่คิด
จะมีครอบครัว การตัดนิ้วครั้งที่ 4 ของเขาทำให้ชีวิตของโทรุต้องเปลี่ยนไป
“ผมพบกับภรรยาของผม และต้องการแต่งงานกับเธอ แต่เธอกลับบอกว่าไม่ต้องการแต่งงานกับยากูซ่า
ผมเลยต้องยอมจากมา”
แน่นอนว่าคุณไม่สามารถลาออกจากการเป็นยากูซ่าได้ ข้อนิ้วที่หายไปก็เหมือนกับเครื่องหมายแห่ง
เกียรติยศ สำหรับโทรุมันเหมือนกับการแสดงความภักดีต่อแก๊ง
เพื่อจะได้ใช้ชีวิตเหมือนกับคนธรรมดาด้วย พวกเขาจึงต้องนำนิ้วกลับมา และนั่นทำให้ ชินทาโร่ ฮายาชิ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอวัยวะเทียมต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ นิ้วมือที่ดูสมบูรณ์แบบมีข้อนิ้วและรอยย่นอยู่ครบ พร้อม
กับไรขนที่เอามาจากส่วนอื่นของร่างกาย คือผลงานชิ้นโบแดง
“ผมไม่ต้องรู้ว่าคน ๆ นั้นเป็นใคร เพียงแต่เขาส่งภาพถ่ายของมือมาผมก็สามารถทำนิ้วใหม่ที่เข้ากันกับมือ
ของคน ๆ นั้นได้แล้ว”

ปกติงานของฮายาชิก็คือ การทำแขน ขา หรือหูเทียมให้กับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจนสูญเสียอวัยวะ หรือเกิด
มาแบบไม่ครบถ้วนแต่ร้อยละ 5 ของลูกค้าก็คือยากูซ่า โดยมีค่าใช้จ่ายแสนแพงสำหรับนิ้วใหม่อยู่ที่ 300,000 เยน
หรือเกือบแสนบาท แต่หากไม่อยากจ่ายแพงพวกเขาก็เลือกที่จะใช้วัสดุที่ด้อยกว่าใช้งานง่ายและเปลี่ยนเมื่อมันดูเก่า

“สำหรับผมนี่เป็นหนึ่งในความสิ้นเปลืองของชีวิต ผมจะต้องเปลี่ยนมันใหม่ทุก ๆ 3 เดือน” โทรุ ระบุ
แม้จะต้องเปลี่ยนบ่อยแต่เมื่อเทียบกับเงินรายได้ถึง 300 ล้านเยนต่อปีแล้ว นี่เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของเงิน
มหาศาลนั้น และทำให้ยากูซ่าดูไม่แตกต่างจากผู้คนทั่วไป.
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.dailynews.co.th/article/4588/213840

นิ้วมือที่ถูกตัดบางส่วนหายไปของชายชาวญี่ปุ่น ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มีที่มาจากการเกิดอุบัติเหตุ และ
เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกให้รับรู้ได้ว่าเขาผู้นั้นคือหนึ่งในสมาชิกของแก๊งยากูซ่า แต่วันนี้พวกเขามีนิ้วเทียมที่ดู
เหมือนจริงราวกับเป็นเนื้อเดียวกัน มาแทนที่ข้อนิ้วที่ถูกตัดหายไป เพียงแค่ยอมจ่ายเงินหลักพันดอลลาร์

“คุณลองดูสิมันดูเหมือนนิ้วจริง ๆ เลยใช่ไหม มีแค่ครั้งเดียวที่คนอื่นจะรู้ว่ามันเป็นของปลอม เธอคือ
หญิงชราอายุประมาณ 70 กว่า ผมก็เลยบอกกับเธอว่าได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงาน” โทรุ วัย
53 ปี ถอดนิ้วเทียมโชว์ให้ดูเปรียบเทียบกับนิ้วนางที่สวมแหวนอยู่ ขณะที่นิ้วก้อยของเขาเหลืออยู่แค่โคน

ยากูซ่าของญี่ปุ่นก็ไม่ต่างอะไรกับมาเฟียของอิตาลี หรือแก๊งอิทธิพลของจีน พวกเขามีธุรกิจบ่อนการ
พนัน ค้ายาเสพติดทุกชนิด ทำธุรกิจผิดกฎหมายอื่น ๆ รวมไปถึงการก่ออาชญากรรม โดยในญี่ปุ่นพบว่ามี
สมาชิกแก๊งยากูซ่าอยู่ถึง 63,200 คน การสืบทอดที่มีมายาวนานทำให้มีรูปแบบองค์กรที่ชัดเจน เป็นหนึ่ง
ในวัฒนธรรมที่ฝังรากลึก และโลดแล่นอยู่ในหนังสือการ์ตูนและภาพยนตร์อยู่เสมอ
ว่ากันว่า ยากูซ่าเกิดขึ้นหลังจากสงครามของซามูไรจบลงในช่วงราวศตวรรษที่ 17-18 และเริ่มขยาย
อิทธิพลใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จากจุดเริ่มที่เพียงเป็นการก่ออาชญากรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
สังคมญี่ปุ่น
ชื่อของโทรุเองก็ไม่ใช่ชื่อที่แท้จริงของเขาซึ่งเป็นการอำพรางเพื่อป้องกันตัวจากการดูแลบาร์และคลับ
ในย่านคาบูกิโจ ถิ่นโคมแดงของโตเกียวซึ่งเขาประสบความสำเร็จในการควบคุมพื้นที่ และสร้างรายได้
งดงามให้กับเขาในฐานะพี่ใหญ่ แต่อีกคนในแก๊งที่นับถือกันเป็นพี่น้องนั้นกลับข้องเกี่ยวแต่เฉพาะธุรกิจ
สกปรกทั้งลักพาตัวและติดยาเสพติด
เมื่อพี่ใหญ่ของพวกเขาเกิดมีน้ำโหขึ้นมาการแสดงความสำนึกผิดของพวกเขาก็คือ การตัดนิ้ว และ
โทรุเองก็ตัดนิ้วก้อยออกไปข้อหนึ่ง ก่อนที่จะตัดอีกข้อเมื่อลูกสมุนเกิดทำอะไรผิดพลาดขึ้นมาอีก

“ตอนที่ตัดส่วนแรกนั้นมันดูง่าย แต่เมื่อมาถึงช่วงกลางมันค่อนข้างยากกว่า คุณจะต้องทิ้งน้ำหนัก
ทั้งหมดไปที่มีดทำครัวเล่มนั้น”
การสูญเสียบางส่วนของนิ้วไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตมากมายนัก หากสมาชิกยากูซ่าไม่คิด
จะมีครอบครัว การตัดนิ้วครั้งที่ 4 ของเขาทำให้ชีวิตของโทรุต้องเปลี่ยนไป
“ผมพบกับภรรยาของผม และต้องการแต่งงานกับเธอ แต่เธอกลับบอกว่าไม่ต้องการแต่งงานกับยากูซ่า
ผมเลยต้องยอมจากมา”
แน่นอนว่าคุณไม่สามารถลาออกจากการเป็นยากูซ่าได้ ข้อนิ้วที่หายไปก็เหมือนกับเครื่องหมายแห่ง
เกียรติยศ สำหรับโทรุมันเหมือนกับการแสดงความภักดีต่อแก๊ง
เพื่อจะได้ใช้ชีวิตเหมือนกับคนธรรมดาด้วย พวกเขาจึงต้องนำนิ้วกลับมา และนั่นทำให้ ชินทาโร่ ฮายาชิ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอวัยวะเทียมต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ นิ้วมือที่ดูสมบูรณ์แบบมีข้อนิ้วและรอยย่นอยู่ครบ พร้อม
กับไรขนที่เอามาจากส่วนอื่นของร่างกาย คือผลงานชิ้นโบแดง
“ผมไม่ต้องรู้ว่าคน ๆ นั้นเป็นใคร เพียงแต่เขาส่งภาพถ่ายของมือมาผมก็สามารถทำนิ้วใหม่ที่เข้ากันกับมือ
ของคน ๆ นั้นได้แล้ว”

ปกติงานของฮายาชิก็คือ การทำแขน ขา หรือหูเทียมให้กับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจนสูญเสียอวัยวะ หรือเกิด
มาแบบไม่ครบถ้วนแต่ร้อยละ 5 ของลูกค้าก็คือยากูซ่า โดยมีค่าใช้จ่ายแสนแพงสำหรับนิ้วใหม่อยู่ที่ 300,000 เยน
หรือเกือบแสนบาท แต่หากไม่อยากจ่ายแพงพวกเขาก็เลือกที่จะใช้วัสดุที่ด้อยกว่าใช้งานง่ายและเปลี่ยนเมื่อมันดูเก่า

“สำหรับผมนี่เป็นหนึ่งในความสิ้นเปลืองของชีวิต ผมจะต้องเปลี่ยนมันใหม่ทุก ๆ 3 เดือน” โทรุ ระบุ
แม้จะต้องเปลี่ยนบ่อยแต่เมื่อเทียบกับเงินรายได้ถึง 300 ล้านเยนต่อปีแล้ว นี่เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของเงิน
มหาศาลนั้น และทำให้ยากูซ่าดูไม่แตกต่างจากผู้คนทั่วไป.
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.dailynews.co.th/article/4588/213840