ผู้เขียน หัวข้อ: ***ของแถมจาก สปาปลา***(วัณโรคเทียม)  (อ่าน 1559 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ประสิทธิ์

  • Administrator
  • *
  • ออฟไลน์
  • 6186
    9873
  • เพศ: ชาย
    • เพลงพักใจดอทเนต




***ของแถมจาก สปาปลา***(วัณโรคเทียม)

วัณโรคเทียม เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่ผิวหนัง ไม่ติดต่อระหว่างคนต่อคนเหมือนกับวัณโรคปอด แต่ผู้ใช้ บริการสปาปลาอาจติดโรคนี้ได้หากผู้ใช้คนแรกเป็นโรคนี้ เชื้อโรคจะลงไปอยู่ในน้ำหรือเมื่อปลากัดกินเศษหนังบริเวณที่มีเชื้อโรค เชื้อก็จะมีโอกาสจะเข้าไปอยู่ในตัวปลาและกลายเป็นพาหะคล้ายยุง เมื่อปลาไปกัดผู้ใช้บริการรายอื่นหรือที่ผิวหนังมีแผล ก็มีโอกาสจะติดโรคนี้ได้ ปกติน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาจะไม่เปลี่ยนบ่อยเพราะเสี่ยงต่อการทำให้ปลาช็อค เชื้อโรคนี้จะทนต่อคลอรีน

โดยปกติวัณโรคเทียม เป็นโรคติดเชื้อที่พบในสัตว์กีบพวกแพะและแกะแต่ติดต่อถึงคนได้ ( zoonosis ) อาการโรคในสัตว์คือ หลังจากได้รับเชื้อแล้ว 2 – 6 เดือน จะเกิดฝีที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน ภายในก้อนฝีเป็นหนองสีเหลือง เขียวหรือขาว รอยโรคที่เกิดขึ้นมีผลต่อคุณภาพของเนื้อและหนังสัตว์ ในคนทำให้เกิดแผลบริเวณผิวหนัง ตุ่มหนอง เรื้อรังรักษาหายได้ยากและสิ้นเปลืองเงินทองในการรักษา

สาเหตุของวัณโรคเทียมเกิคจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium pseudotuberculosis มีคุณสมบัติเป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างเป็นท่อนสั้น อาศัยอยู่ในเซลล์ monocyte และ macrophage เชื้อมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน และเชื้อในร่างกายไม่ถูกทำลายด้วย phagocyte ลักษณะของโรคที่พบจะเป็นแบบเรื้อรัง สัตว์ที่เป็นโรคจะเป็นพาหะของโรคไปตลอดชีวิต เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อได้

เนื่องจากเชื้ออยู่ในก้อนฝีที่มีถุงหุ้มและยังอยู่ภายในเซลล์ จึงทำให้ยาปฎิชีวนะไม่สามารถเข้าถึงเชื้อได้ จึงไม่มีผลในการรักษา ในสัตว์จึงต้องรักษาด้วยการผ่าเอาถุงหนองออกให้หมดและเก็บไปทำลาย ในคนจะต้องใช้ยาปฎิชีวนะเช่น คลาริโทรมัยซิน ติดต่อกันเป็นเวลานานหรือใช้ร่วมกับยาปฎิชีวนะตัวอื่น วัณโรคเทียมจึงจัดเป็นเป็นโรคที่รักษายาก

นอกจากเชื้อวัณโรคเทียมแล้ว ผู้ใช้บริการสปาปลายังมีโอกาสที่จะเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากราและแบคทีเรียตัวอื่น ๆได้ จากการแช่เท้าอยู่ร่วมกันในอ่างปลา โดยมีน้ำเป็นตัวนำพา ผู้ที่ไม่ควรใช้บริการสปาปลา ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง มีบาดแผลหรือตุ่มหนอง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ


ที่มา : ภญ. รศ. ม.ล สุมาลย์ สาระยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล/by สาระแห่งสุขภาพ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=16169
สมาชิกใหม่..ก่อนตั้งกระทู้แนะนำตัวให้ดูตัวอย่าง.แล้วไปอ่านประกาศการใช้งานบอร์ดและห้องโหลดเพลง เมื่ออ่านเข้าใจแล้วก็ตอบรับทราบทั้ง 2 กระทู้1.ห้ามเด็ดขาดการใช้เพียงอีโมตอบกระทู้เพื่อโหลดเพลง.2.ห้ามตอบเพียงขอบคุณครับ/ค่ะ โหลดเพลง 5:1 อ่านให้เข้าใจด้วย