
จำผักชนิดนี้ได้ไหม ถ้าคนที่อยู่ต่างจังหวัดส่วนมากมักจะคุ้นเคยและรู้จักเป็นอย่างดี ผักชนิดนี้ค่อนข้างหารับประทานยากในกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ ไม่ค่อยมีหนอง คลอง บึง ที่สะอาดหรือมีระบบนิเวศน์ที่ดีพอที่จะมีผักแว่นขึ้นได้ และผักแว่นยังเป็นผักสามัญที่คนต่างจังหวัดจะมีรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก
ผักแว่นเป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง มีอายุหลายปี พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะเป็นเหง้าเถาเลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำหรือโคลนเลน พบเห็นได้ทั่วไปตามริมน้ำหรือพื้นดินที่มีน้ำขังแฉะ สามารถนำมากินเป็นผักสด มีคุณค่าทางอาหาร และยังมีสรรพคุณทางยา ทานได้ทั้งสดและลวก จิ้มกับน้ำพริก(โดยเฉพาะน้ำพริกปลาร้า)จะอร่อยเป็นพิเศษ
ประโยชน์
-ใช้เป็นยาภายนอก รักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผล สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, Asiatic acid และ Asiaticoside acid ซึ่งช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ
-น้ำต้มใบสด : รสจืดเย็นฝาดหวานเล็กน้อย สมานแผลในปากและลำคอ ดื่มระงับอาการร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย
-ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน ผักแว่นมักนำมากินเป็นผักสดกับน้ำพริก หรือเป็นเครื่องเคียงกับอาหารชนิดต่าง ๆ โดยสามารถนำมากินสดได้ทั้ง ใบอ่อน ก้านใบ และยอดอ่อน หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรูปแบบอื่น ๆ เช่น แกงผักแว่น ผัดเผ็ดหมูผักแว่น
-ในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในเมืองสุราบายา มักนำผักแว่นเสิร์ฟพร้อมกับมันเทศและเพเซล (Pecel) ซึ่งเป็นซอสเผ็ดทำจากถั่วลิสงของอินโดนีเซีย
-ชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) ใช้ผักแว่นทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม เพื่อแก้เจ็บคอ แก้เสียงแหบ
ที่มา : wikiapedia+สาระแห่งสุขภาพ — กับ Wowjeep Titi, Panoi Ka และ วีระณา สุวิริยะไพศาล