นำเสนออาหารการกินอีกแระ ถ้าจะแนะนำแต่สมุนไพรก็คงจะเบื่อๆกัน เลยหาสมุนไพรที่กินกับอาหารมาฝาก
555 ผมอยู่ใกล้คนกินเก่งก็อย่างงี้หละครับ ปลาร้าสับเนี้ย บางคนจะไม่ชอบกินดิบ ก็เอามาผัดได้นะครับ
ปลาร้าสับ จะต้องกินกับผักสดเยอะๆ หลายคัวเป็นสมุนไพรนะครับ อร่อย ผมเพิ่งทานมาเมือสักพักนี่เอง

ปลาร้าสับต้องกินกับผักดิบ ทั้งมะแว้ง แตงกวา แตงไทยอ่อน ยอดกระถิน ใบบัวบก หัวปลี มะเขือกรอบหลากหลายพันธุ์
ยอดมะกอกกับผักเม็กจะมีกลิ่นหอม และรสชาติอมเปรี้ยวนิดๆ
มะกอก

ชื่อ 'มะกอก"
วงศ์ "ANACARDLACEAE"
ชื่อวิทยาศาสตร์ "Spondias pinnata Kurz,
Syn. S. magifera Willd"
ชื่อพื้นเมือง "มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก
กอกหมอง (เหนือ) กอกเขา (ใต้นครศรีธรรมราช)
กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ มะกอกฝรั่ง หมากกอก
(อุดร-อีสาน) กระไพ้ย ไพ้ย(กระเหรี่ยง-กาญจนบุรี)"
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะกอกเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูกประมาณ 10-40 เมตร ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
โปร่ง ๆ เปลือกสีเทาเรียบ กิ่งอ่อนจะมีรอยแผล เนื่องจากการหลุดร่วงของใบปรากฎอยู่และมีต่อมระบาย
อากาศมากใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเป็นช่อชั้นเดียวใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยรูปไข่
กลับหรือขอบขนาน 4-6 คู่ ขนาดใบกว้าง 3-4 ซม. ยาว7-12 ซม. โคนเบี้ยว ปลายใบมีใบยอด 1 ใบ ใบ
อ่อนสีน้ำตาลอมแดงเรื่อๆ ใบแกสีเขียวเนื้อใบค่อนข้างหนาเกลี้ยงและเป็นมันดอกเป็นดอกช่อ สีขาว ออกตาม
ซอกใบหรือเหนือรอยแผลใบตอนปลายๆ กิ่งกลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ผลรูปไข่ขนาด
กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว3.5-4.5 ซม. ลูกอ่อนสีเขียว และเมื่อแก่เป็นเหลืองอมเขียว และเหลืองจัดในที่สุด
เนื่อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่แข็งมากและมีเสี้ยน ขุรขระ
การปลูก
มะกอกเป็นไม้ที่พบขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าทุ่ง สูงจากระดับน้ำทะเล 50-500 เมตร ชาวบ้าน
นิยมนำมาปลูกตามสวนหรือในบริเวณบ้านขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่ขึ้นกลาง
แจ้งและทนต่อแสงแดดได้ดี
ประโยชน์ทางยา
ผล เปลือก ใบ ยาง เนื้อผลมะกอก รสเปรี้ยว ฝาด หวาน สรรพคุณแก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ แก้
บิด ใบ น้ำคั้นจากใบมะกอกใช้หยอด หู แก้อาการปวดหู ผล แก้โรีเลือดออกตามไรฟัน ผลสุกทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ เปลือก ฝาด เย็น เปรี้ยว สรรพคุณดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน แก้ท้องเดิน ใวดมวนท้อง แก้สะอึก
เมล็ด นำเมล็ดมะกอกสุมไฟให้เป็นถ่านและแช่น้ำ เอาน้ำรับประทาน แก้ร้อนแก้หอบ แก้สะอึกได้ดี
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลยอดอ่อนใบอ่อนและผลสุกยอดอ่อนและใบอ่อนออกในฤดูฝนและออกเรื่อยๆตลอดปีส่วน
ผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด
ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อน ใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปลาร้า เต้าเจียวหลน ชาวอีสานรับประทาน
ร่วมกับลาบ ก้อย แจ่วป่น สำหรับผลสุกของมะกอกน้ำไปปรุงเป็นเครื่องปรุงรสโดยฝานเป็นชื้นรวมกับ
ส้มตำมะละกอหรือพล่ากุ้งช่วยให้รสอร่อยขึ้น
รสประโยชน์ต่อสุขภาพ
ยอดอ่อน ใบอ่อน รสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย สรรพคุณแก้โีรธาตุพิการแก้บิด ผลสุก รสเปรี้ยว เย็น หวาน
ฝาดทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน ยอดอ่อนของมะกอก 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่าง
กาย 46 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 16.7 กรัม แคลเซียม 49 มก. ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก
9.9 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 2017 ไมโีรกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล วิตามินบีหนึ่ง 0.96
มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.22 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม