-
(http://upic.me/i/o8/y7801.jpg)
http://www.swfcabin.com/swf-files/1345699072.swf
เหยาจี เจ้าแม่อูซัน 巫山娘娘
มีตำนานเล่าว่า “เหยาจี” เป็นน้องสาวของเง็กเซียนฮ่องเต้ ต่อมาลงมาโลกมนุษย์ พบรักกับมนุษย์นามว่า “หยางเทียนโยว่” 杨天佑ทั้ง ๒ อยู่กินกันจนมีลูก ๓ คนๆ แรกชื่อ “หยางเจียว” 杨蛟คนรองชื่อ “หยางเจี่ยน” 杨戬 (“หยางเจี่ยน” คนนี้ก็คือ “เทพเอ้อหลางเสิน” 二郎神 ในเวลาต่อมา) คนสุดท้องเป็นหญิงชื่อ “หยางฉัน” 杨婵หลายปีต่อมาเง็กเซียนฮ่องเต้ทราบเรื่องพิโรธมาก (เวลาบนสวรรค์แค่ชั่วขณะเดียว โลกมนุษย์ก็ผ่านไปหลายปีแล้ว) รับสั่งให้แม่ทัพเทียนเผิง และวิหคทองคำ มาฆ่าล้างตระกูลหยาง และจับเหยาจีคืนสู่สวรรค์ ตระกูลหยางและเหยาจีขัดขืน หยางเทียนโยว่ (สามีของเหยาจี) และหยางเจียว (บุตรชายคนโต) จึงถูกฆ่าตาย แม่ทัพเทียนเผิงเกิดกรุณาจิตจึงปรึกษากับวิหคทองคำว่า ขอให้ไว้ชีวิตลูกอีก ๒ คนของเหยาจี จึงตัดสินใจซัดฝ่ามือใส่ลูกของเหยาจีทั้ง ๒ จนสลบ แล้วจับเหยาจีกลับสวรรค์ เมื่อพบเง็กเซียนเหยาจีโกรธมาก ต่อว่าเง็กเซียนอย่างรุนแรง เง็กเซียนก็ทรงพิโรธ รับสั่งให้นำเหยาจีไปจองจำไว้ที่ใต้ภูเขา “เถาซัน” 桃山
(http://upic.me/i/1e/cj1-1.jpg)
เมื่อลูกทั้ง ๒ ของเหยาจีฟื้นจากสลบ พบว่าบิดาและพี่ชายของตนเสียชีวิต มารดาก็ไม่รู้ว่าหายไปไหน จึงกลายเป็นเด็กเร่ร่อน ด้วยมหากรุณาธิคุณแห่ง “เจ้าแม่หนี่อฺวอ” 女娲娘娘(หรือก็คือ “เทวี ๙ ชั้นฟ้า” 九天玄女) “เทพอฺวี้ติ้งเจินหฺริน” 玉鼎真人จึงได้รับหยางเจี่ยนเป็นศิษย์ ส่วนเจ้าแม่หนี่อฺวอก็รับหยางฉันลูกสาวคนเล็กของเหยาจีไปเลี้ยง ต่อมาหยางเจี่ยนสำเร็จวิชาขวานเทวะ ใช้ขวานวิเศษทำลายเขาเถาซานช่วยแม่ออกมาได้ เง็กเซียนฮ่องเต้พิโรธมากรับสั่งให้วิหคทองคำทั้ง ๑๐ ลงสู่โลกมนุษย์เพื่อสำเร็จโทษของเหยาจี แม้ว่าจะมีจิตกรุณาแต่ไม่อาจขัดคำสั่ง วิหคทองคำจึงสังหารเหยาจีลงในที่สุด (เค้าโครงของตำนานเรื่องนี้ถูกนำไปแต่งเป็นนิยายเรื่อง “เฉินเซียงช่วยแม่” 沉香救母 หรือที่ทำเป็นภาพยนตร์ทางโทรทัศน์เรื่อง “อภินิหารโคมเป่าเหลียน” 宝莲灯ในเวลาต่อมา)
(http://upic.me/i/ks/9k1-2.jpg)
-
(http://upic.me/i/ut/02meixi.jpg)
2. พระสนมเม่ยสี่
ว่ากันจริงๆ แล้ว ก็ยังหาประวัติของนางสนมเม่ยสี่ไม่ค่อยได้ เพราะเธอเป็นสนมในกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เซี่ย นามว่า เซี่ยเจี้ย ซึ่งในประวัติศาสตร์ก็ยังไม่กล้ายืนยันอย่างหนักแน่นว่าราชวงศ์นี้ จะเป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์ชาติจีนหรือไม่ ช่วงปลายของสมัยราชวงศ์เซี่ย การเมืองมีความวุ่นวาย ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนับวันรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาพระเจ้าเซี่ยเจี๊ยะ กษัตริย์สุดท้ายของเซี่ยเมื่อขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ก็ไม่สนใจบริหารประเทศ เย่อหยิ่งฟุ่มเฟือยใช้ชีวิตเละเทะ ใช้เงินเป็นเบี้ย พระเจ้าเซี่ยเจี๊ยะเอาแต่เสวยน้ำจัณฑ์สนุกสนานกับพระสนมคนโปรดชื่อเม่ยสี ไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากลำบากของประชาชน ถ้าขุนนางผู้ใหญ่ทูลทัดทาน พระองค์ก็ประหารขุนนางผู้ใหญ่เหล่านั้นเสีย ด้วยเหตุนี้ นครรัฐต่างๆในราชวงศ์เซี่ยก็พากันเป็นกบฏ นครรัฐซังที่ขึ้นกับราชวงศ์เซี่ยก็ถือโอกาสโจมตีเซี่ยจนทำให้เซี่ยแตกพ่าย พระเจ้าเซี่ยเจี๊ยะหนีออกจากเมืองหลวงในที่สุดก็สิ้นพระชนม์ที่เมืองหนานเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงสิ้นสุดลง.[/color]
-
(http://upic.me/i/9h/03baosi.jpg)
3. เปาซื่อ..... ยิ้มนี้มีค่าควรเมือง
ราชวงศ์โจวในยุคกษัตริย์องค์ที่ 12 ทรงพระนามว่าโจวอิวหวาง ป็นกษัตริย์ที่ไม่สนใจราชการบ้านเมือง เอาแต่ดื่มเหล้าเคล้านารี อำมาตย์คนไหนทูลเตือน ก็ถูกจับขังและลงโทษ
โจวอิงหวาง 周幽王 หลงรักสาวงามคนหนึ่งซึ่งมีผู้นำมาถวาย นางมีนามว่า “เปาซื่อ” 褒姒 เปาซื่อเป็นคนสวยแบบลุ่มลึก ใบหน้านิ่งเฉยดูลึกลับ วันๆ ไม่พูดไม่จาดูเศร้าหมอง แต่ก็ดูสวย สวยมาก สวยจริงๆ
โจวอิวหวางเฝ้าเอาใจนางเปาซื่อเช้าเย็น หวังจะได้เห็นรอยยิ้มสักครั้ง แต่ก็ผิดหวังร่ำไป จึงประกาศให้รางวัลว่า “ถ้าใครทำให้นางเปาซื่อยิ้มได้ จะให้รางวัลเป็นทองพันตำลึง
อำมาตย์สอพลอผู้หนึ่ง จึงกราบทูลกับโจวอิวหวาง ให้พานางเปาซื่อไปหาความสุขบนตำหนักเขาหลีซาน พอตกดึกก็ให้จุดไฟแจ้งเหตุบนเชิงเทิน พวกเจ้าเมืองก็จะโกลาหลยกทัพมาช่วย คงวุ่นวายพิลึก พวกเจ้าเมืองหน้าแตกคงตลกน่าดู สมัยนั้นมีการตกลงกันว่า หากมีสัญญานไฟจุดขึ้นที่เชิงเทิน พวกเจ้าเมืองต่างๆ ต้องยกกองทัพมาช่วยเมืองหลวง แล้วนางเปาซื่อ ก็ยิ้มออกมาจริงๆ
เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้โจวอิวหวางไม่ต่างอะไรกับเด็กเลี้ยงแกะ ครั้นต่อมาเมื่อเจ้าเมือง “เซิน” 伸 ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงพ่อตาของโจวอิวหวาง ยกทัพมาตีเมืองโจว ราชสำนักสั่งให้จุดไฟระดมพล ปรากฏว่าครั้งนี้ พวกเจ้าเมืองไม่ยอมมาตามนัด โจวอิวหวางและพวกอำมาตย์สอพลอเลยถูกโค่นราชบังลังค์ เมื่อเหตุการณ์สงบลง พวกเจ้าเมืองทั้งหลายจึงเชิญองค์รัชทายาทอี๋จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ที่ 13 ทรงพระนามว่าโจวผิงหวาง
-
(http://upic.me/i/i2/04xisie.jpg)
4. ไซซี หรือ ซือซือ ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ ไซซี หรือซีซือ (西施) นามอี๋กวง เกิดในสมัยชุนชิว (ช่วงปี 722-481 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่มณฑลเจ้อเจียง เป็นผู้ที่มีความงดงามมาแต่กำเนิด
ในสมัยชุนชิวนี้ รัฐอู่และรัฐเยว่ทำสงครามกัน เนื่องจากรัฐอู่มีกำลังทหารที่กล้าแข็ง ในเวลาที่ไม่นานนักก็สามารถเอาชนะรัฐเยว่ได้ และนำเอาเยว่อ๋องโกวเจี้ยน (勾践) และอัครเสนาบดีนามฟ่านหลี่ (范蠡)ไปเป็นตัวประกัน เพื่อแก้แค้นที่ชาติถูกรุกราน เยว่อ๋องยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจของอู่อ๋อง และแสร้งว่ามีความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง ครั้งหนึ่งอู่อ๋องมีอาการปวดท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายที่เชิญมาต่างก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคอะไร เมื่อเยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้ทราบเรื่องนี้ จึงได้ชิมอุจจาระของอู่อ๋องต่อหน้าบรรดาขุนนางทั้งหลาย และกล่าวว่า “ท่านอ๋องไม่ได้ป่วยเป็นโรคอันใด แค่โดนความเย็นมากไปเท่านั้น เพียงดื่มเหล้าให้ร่างกายอบอุ่นก็เพียงพอแล้ว” อู่อ๋องทำตามที่โกวเจี้ยนแนะนำดื่มเหล้าเข้าไปเล็กน้อย ก็มีอาการดีขึ้นทันที อู่อ๋องเห็นว่าโกวเจี้ยนมีความจงรักภักดี จึงปล่อยตัวให้กลับรัฐเยว่
(http://upic.me/i/2n/2c4-1.jpg)
เมื่อโกวเจี้ยนกลับไปยังรัฐเยว่แล้ว ฟ่านหลี่ก็ได้เสนอแผนกู้้ชาติ 3 แผนให้แก่เยว่อ๋อง หนึ่งคือ สั่งสมกำลังทหาร ฝึกฝนการรบ สองคือพัฒนาด้านการกสิกรรม และสามคือ คัดเลือกหญิงงามเพื่อส่งให้แก่อู่อ๋อง เพื่อเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้ ในเวลานั้น มีหญิงสาวนามว่าไซซี เป็นหญิงซักผ้า มีรูปร่างหน้าตางดงามเหนือกว่าผู้อื่น เมื่อนางไปซักผ้าอยู่ริมแม่น้ำนั้น น้ำอันใสสะอาดจะสะท้อนเงาอันงดงามของนาง ทำให้ยิ่งดูงดงามมากยิ่งขึ้น เมื่อมองเห็นเงาของนางแล้ว บรรดาปลาทั้งหลายที่ว่ายน้ำอยู่ ต่างก็ลืมที่จะว่ายน้ำ และค่อยๆจมลงสู่ก้นแม่น้ำไป นับแต่นั้นมาฉายา “ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ”ของไซซี ก็เล่าลือกันไปทั่วบริเวณนั้น
(http://upic.me/i/cv/mu4-2.jpg)
หลังจากที่ไซซีถูกเลือกไปถวายแล้วนั้น เมื่ออู่อ๋องเห็นไซซีมีรูปโฉมที่งดงาม ก็เกิดความลุ่มหลงเป็นอย่างมากจนกระทั่งละเลยราชการ ไม่สนใจบ้านเมือง ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลงเรื่อยๆ เยว่อ๋องโกวเจี้ยน จึงถือโอกาสยกทัพเข้าโจมตีรัฐอู่ และสามารถกู้้ชาติได้สำเร็จ ไซซีเสียสละเพื่อบ้านเมือง แสดงให้เห็นถึงหญิงสาวคนหนึ่งที่มีความรักชาติเป็นอย่างยิ่ง
(http://upic.me/i/57/3m4-3.jpg)
ตำนานเล่าว่า หลังจากที่รัฐอู่พ่ายแพ้แล้ว ไซซีได้ออกท่องเที่ยวไปกับฟ่านหลี่ ไม่ทราบว่าสุดท้ายมีชะตากรรมอย่างไร เป็นที่ระลึกถึงของชนรุ่นหลังตลอดมา
(http://upic.me/i/qr/974-4.jpeg)
ไซซี หยางกุ้ยเฟย หวังเจาจวิน และเตียวเสี้ยนได้รับการขนานนามให้เป็นสี่ยอดหญิงงามแห่งแผ่นดินจีน ในจำนวนทั้งหมดนี้จัดให้ไซซีอยู่ในอันดับแรก และกลายเป็นสัญลักษณ์ของหญิงงามนับแต่นั้นมา
(http://upic.me/i/82/xi_shi.jpg)
-
(http://upic.me/i/q2/90486771tg8.jpg)
5. หลิ่วโฮ่วไทเฮา 吕后 นางงามอำมหิต
ในสมัยฮั่นยุคแรกหรือฮั่นตะวันตก เมื่อฮั่นเกาจู่หลิวปัง สวรรคตแล้ว ราชโอรสชื่อหลิวอิ๋ง ได้ขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่าฮุ่ยตี้
ฮุ่ยตี้เป็นกษัตริย์ที่มีนิสัยอ่อนโยน ซ้ำสุขภาพก็ไม่สู้ดี อำนาจการปกครองจึงตกอยู่ในอุ้งมือขององค์ไทเฮา หรือมเหสีหลี่ว์โฮ่ว ของฮั่นเกาจู่ พวกญาติโยมคนแซ่หลี่ว์ทั้งหลาย ก็เลยได้เป็นใหญ่
ในประวัติศาสตร์จีนอันยาวนาน หลายคนาจเคยรู้เรื่องความเก่งกาจเจ้าความคิดของพระนางบูเช็กเทียน และความเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจของพระนางซูสีไทเฮา แต่ถ้าเป็นเรื่องสุดยอดแห่งความชั่วร้ายและโหดเหี้ยมแล้ว ต้องยกให้ไทเฮาหลี่ว์โฮ่ว 吕太后
ถึงขนาดให้กษัตริย์ฮุ่ยตี้ ต้องสิ้นพระชนม์ชีพเพราะไทเฮาหลี่ว์โฮ่ว ก็น่าจะพูดได้ เนื่องจากไทเฮาใช้อำนาจมืด วางยาพิษองค์ชายหยูอี้ ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างมารดาของฮุ่ยตี้ แต่ฮุ่ยตี้ทรงรักมาก เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีใบสั่งฆ่าพระมารดาของหยูอี้ ซึ่งก็คือเจ้าจอมแซ่ชี ที่สมัยฮั่นเกาจู่ยังมีพระชนม์ชีพ ทรงโปรดเป็นพิเศษ กระทำทารุณโดยการทำให้ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ พร้อมตัดแขนขาออก เหลือแต่ตัวกลมๆ แล้วโยนทิ้งไว้ในห้องน้ำ จากนั้น ก็หลอกให้ฮุ่ยตี้ไปดู “มนุษย์หมู” พอฮุ่ยตี้ได้ดู ก็เกิดอาการช็อก ล้มป่วยทันที ปากก็พร่ำเพ้อว่า “...ทำกับมนุษย์ด้วยกันเช่นนี้ ยังจะนับเป็นคนได้อีกหรือ?” ต่อมาอีกปีเศษๆ ก็สวรรคตตามพระบิดา ปีนั้นเป็นปีที่ 188 ก่อนคริสต์กาล (188 B.C.)
(http://upic.me/i/mf/tn5-1.jpg)
เมื่อฮุ่ยตี้สวรรคตแล้ว หลี่ว์โฮ่วอยากให้คนแซ่หลี่ว์ของพระนางเป็นใหญ่ แทนหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์แซ่หลิว แต่เวลานั้นยังมีอำมาตย์อาวุโสเช่นโจวโป๋และเฉินผิง อีกทั้งเชื้อพระวงศ์แซ่หลิวเช่นเจ้าฉีหลิวหนาง คุมเชิงอยู่ จึงจำใจต้องเอาเชื้อพระวงศ์แซ่หลิวเด็กๆ มาเป็นกษัตริย์ไปพลางๆ ก่อน เพราะไทเฮาเป็นผู้มีอำนาจจริง ส่วนกษัตริย์องค์ใหม่ ทรงพระนามซ่าวตี้ มีความหมายว่ายุวกษัตริย์ เป็นเพียงหุ่นเชิด
หลี่ว์โฮ่วเรืองอำนาจต่อได้อีกราว 8 ปี ถึงปีก่อน ค.ศ. 180 (180 B.C.) ก็หมดวาสนา ก่อนตายเป็นโรคประหลาด ร้องโวยวายตลอดเวลา ว่ามีคนจะมาทำร้าย ชะรอยวิญญาณของผู้บริสุทธิ์ ที่ถูกเข่นฆ่าอย่างทารุณ คงจะตามมาเช็คบิล ณ ป้ายสุดท้ายของชีวิต
เมื่อหลี่ว์โฮ่วตายลง เหล่าอำมาตย์อาวุโสที่ภักดีต่อเชื้อพระวงศ์แซ่หลิว ก็ทำการล้างบางคนแซ่หลี่ว์ จากนั้น ก็อัญเชิญโอรสองค์ที่ 3 ของฮั่นเกาจู่ชื่อหลิวเหิง ขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่าเหวินตี้ วันที่ล้างบางพวกคนแซ่หลี่ว์ลงเรียบร้อย พอดีตรงกับวันเพ็ญ (วันที่ 15) ของเดือนแรกของปฏิทินอย่างจีน
(http://upic.me/i/2r/6g5-2.jpg)
-
(http://upic.me/i/3b/06chenjiao.jpg)
เฉินเจียว หรือเฉินฮองเฮา ริษยาทำลายตน
ช้าก็เพราะ หาข้อมูลอยู่ เฉินฮองเฮา เป็นมเหสีในพระเจ้าฮั่นอู่ฮ่องเต้ พระนางโตมาด้วยกันกับพระเจ้าฮั่นอู่ และได้อภิเษกสมรส
แต่พระนางเป็นหมัน ไม่สามารถให้กำเนิดพระโอรสหรือพระธิดาได้ พระเจ้าฮั่นอู่จึงต้องมองหาฮองเฮาคนหม่ แล้วก็ได้พบสมใจ
กับเว่ยฮองเฮา พระนางให้กำเนิดพระโอรส และพระธิดา ซึ่งเป็นเหตุให้เฉินฮองเฮา เกิดอาการหึง แล้วพยายามใช้มนต์ดำ
ทำร้ายเว่ยฮองเฮา รวมไปถึงพระเจ้าฮั่นอู่ด้วย แต่ภายหลังถูกจับ จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งฮองเฮาในที่สุด
(http://upic.me/ts/i/3b/06chenjiao.jpg)
ไม่เห็นภาพ
-
(http://upic.me/i/0r/07.weizifu.jpg)
เว่ยจื่อฟู เว่ยฮองเฮา งามสูงศักดิ์แต่จุดจบน่าสงสาร
เว่ยจื่อฟู่ หรือ เว่ยฮองเฮา (?-91 ปีก่อนค.ศ.) เป็นฮองเฮาองค์ที่ 2 ของจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ทรงมีพระนามเดิมว่า เว่ยจื่อฟู่ (Wei Zifu) เดิมทรงเป็นนางกำนัลในตำหนักขององค์หญิงผิงหยาง พระพี่นางของฮั่นอู่ตี้ องค์หญิงผิงหยางรักนางมากเพราะนางซื่อสัตย์และจงรักภักดี นางมีนิสัยดีสุภาพอ่อนโยนชอบช่วยเหลือคนอื่นแม้แต่งานในตำหนักนางไม่ยอมให้นางกำนัลทำมาก นางต้องทำเองมากกว่านางกำนัลคนอื่น ตัวนางตายก็ยอมเพื่อให้องค์หญิงและฮั่นอู่ตี้มีชีวิต
(http://upic.me/i/9e/07.weizifu-2.jpg)
เมื่อครั้งที่ฮั่นอู่ตี้เป็นองค์รัชทายาท พระองค์หลบอยู่ในจวนพระพี่นางเพราะโต้วไทเฮาจ้องเอาชีวิต พระพี่นางให้พระองค์ไปพกที่ห้องรับรองและให้เว่ยจือฟู่ไปรับใช้ หลังจากฮั่นอู่ตี้ครองราชย์โต้วไทเฮาก็เอาเว่ยจือฟู่ไปเรียนศิลปะและส่งให้ไปอยู่กับฮั่นอู่ตี้โดยเป็นสายลับ แต่ท่านตัดสินใจผิดเพราะนางรักฮั่นอู่ตี้มาก แต่โดนเฉินอาเจียวรังแกฮั่นอู่ตี้โกรธจึงพานางไปไว้ตำหนักเย็นและแต่งตั้งเว่ยฮองเฮาเป็นฮองเฮาคู่พระองค์
ผ่านมาไม่กี่ปีเมื่อเจอกับพระสนมโจวพระองค์ก็เปลี่ยนไปคำสัญญาที่เคยให้ไว้กับเว่ยจือฟู่ก็เปลี่ยนไปด้วยเหมือนกับไม่ใช่พระองค์ ไม่ว่าพระสนมโจวพูดอะไรก็เชื่อฟังหมด จนสุดท้ายโดนพระสนมโจวประหาร เว่ยจือฟู่ยอมรับชะตาชีวิตได้เอ่ยว่า "ฝ่าบาทหม่อมฉันดีใจที่ได้รับใช้พระองค์ หม่อมฉันคงไม่ใช่คู่แท้ฝ่าบาทหม่อมฉันขอลาก่อน" เมื่อฮั่นอู่ตี้ได้ยินน้ำตาก็ใหลและนึกถึงภาพอดีต พระองค์ไม่ทันสั่งหยุดมีดก็ลงปักคอนางทำให้ฮั่นอู่ตี้โกรธแต่พระสนมโจวพูดคำเดียวพระทัยร้อนกลายเป็นเย็นเหมือนต้องมนต์
(http://upic.me/i/yd/07.weizifu-1.jpg)
เว่ยจื่อฟู ฮองเฮา ที่น่าสงสาร พระนางทรงสิ้นพระชนม์ด้วยความยากลำบากและพระศพของพระนาง ถูกขันทีน้อยไม่กี่คนนำไปฝังอย่างลวก ๆ
ต่อเมื่อถึงพระแหลนของพระนางทรงเสวยพระราชสมบัติเป็น ฮ่องเต้ คือพระเจ้า ฮั่นซวนตี้ (ฮั้งซวงตี่) ทรงโปรดให้ขุดพระศพขอพระนางขึ้นมาทำพิธีการฝังใหม่ตามโบราณราชประเพณีแบบอย่างของฮองเฮา
ทรงยกย่องถวายพระฉายานามของพระนางว่า สื่อหวางโฮ่ว (ซืออ่วงโหว) ทรงจัดให้มีผู้เฝ้าพระสุสานของพระนาง 300 ครัวเรือน
-
ไม่เคยนึกมาก่อนเรยว่า คนเมื่อ สองพันกว่าปีก่อนนั้น สวยงามอย่างนี้ แต่นั่นแหระ คนงามก็ใช่ว่าจะงามทั้งหมด ไม่อย่างนั้นมันจะไม่มีสุภาษิตที่ว่า ...สวยแต่รูปจูบไม่หอม.... ใช่ไหมท่าน.... ขอบคุณครับกับข้อมูลที่นำมาฝาก ... :'e:92
-
สวยจริงๆๆค่ะคุณทนาย ขอบคุณค่ะที่นำข้อมูลดีๆๆมาเสนอค่ะ สวยจริงๆๆค่ะสุดยอดเลยค่ะ
-
(http://upic.me/i/2q/08liuxijun.jpg)
8. Liu Xi Jun (刘细君)
(http://upic.me/i/ge/09princessliujieyou.jpg)
9. Liu Jie You
แม่นางคนที่ 9 ผมก็ยังหาประวัติให้ไม่ได้อยู่ดี ทราบมาอย่างคร่าวๆ เป็นสตรีชั้นสูงในราชสำนักฮั่นครับ รวมทั้งคนที่ 8 ที่หาข้อไม่ได้ก็ใช่
ก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยว่า ทั้ง 2 นางเป็นเจ้าหญิงในราชวงศ์ที่ถูกส่งไปอภิเษกสมรสกับกษัตริย์นอกกำแพงเมืองจีน เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี
ในยุคก่อนแม่นางหวังเจาจวิน คนหนึ่งเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย อีกนางหนึ่งเป็นมเหสีฝ่ายขวา
-
(http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/pic/3773-28008-2.jpg)
10. หวางเจาจวิน ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงนกยังต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า
ย้อนยุคไปก่อนคริสตกาล 92-49 ปี ซึ่งตรงกับยุคของซีฮั่น 西汉 (ฮั่นตะวันตก) สมัยอั่นเสวียนตี้ 漢宣帝 ขึ้นครองราชย์อันเป็นยุคที่บ้านเมืองวุ่นวาย ประชาชนอดอยากยากแค้น ฮั่นเสวียนตี้เองเนื่องจากรุ่งเรืองมาจากสามัญชนเดิม จึงเข้าใจถึงความทุกข์ยากของประชาชนพระองค์ จึงให้ความเอาใจใสในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยส่งขุนนางที่ไว้วางใจได้ลงไป ดูแล และขจัดขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง
นอกจากปัญหาภายในแล้ว ปัญหาภายนอกที่ต้องรบพุ่งกับพวกชนเผ่าเร่ร่อน“ซงนู๋” 匈奴:ซึ่งรบพุ่งกันอยู่นานจนกำลังของพวกซงนู๋เริ่มอ่อนกำลังและพ่ายแพ้ในบางจุด ทางซงนู๋จึงขอเจรจาสงบศึกและขอผูกมิตรกับฮั่นซึ่งฮั่นสุนตี้ก็ตอบรับด้วยดี พระองค์ได้เสด็จออกถึงชานเมืองฉางอันไปต้อนรับผู้นำซงนู๋ และจัดพิธีต้อนรับอย่างสมเกียรติ หลังจากผู้นำซงนู๋พักอยู่ที่ฉางอันหนึ่งเดือนถึงกลับ พระองค์ก็ได้ให้ทหารเอกสองนายส่งกลับพร้อมกับได้มอบเสบียงจำนวนมากไปด้วย เนื่องจากทราบว่าซงนู๋กำลังขาดเสบียง ข่าวการผูกมิตรของซงนู๋กับซีฮั่นได้แพร่กระจายไปทั่วดินแดนทางตะวันตก ทำให้แว่นแคว้นต่างๆ ต่างขอเจริญสัมพันธไมตรีกับซีอั่น เมื่อสิ้นยุคของฮั่นสุนตี้ โอรสนามหลิวซื่อขี้นครองราชย์สถาปนาเป็นฮั่น-หยวนตี้ 汉元帝 ซงนู๋เริ่มแข็งข้อ และไปรุกรานชนเผ่าทางดินแดนตะวันตก และฆ่าฑูตของซีฮั่นทิ้ง ฮั่นหยวนตี้จึงต้องส่งกองกำลังทหารไปกำราบซงนู๋จนอยู่หมัด
จนล่วงมาถึงปีก่อนคริสตกาล 33 ปี ผู้นำซงนู๋ขอเจราจาเจริญสัมพันธไมตรีกับซีฮั่นอีกครั้ง โดยคราวนี้ขอแต่งงานกับสาวชาวฮั่นด้วย พระเจ้าฮั่นหยวนตี้จึงประกาศให้หาสาวงามในวังเพื่อคัดไปซงนู๋ ถ้าใครได้คัดเลือกและถูกส่งไปสมรสกับผู้นำซงนู๋ จะได้รับสถาปนาบรรดาศักดิ์เทียบเท่ากับองค์หญิง แต่ในบรรดาสาวงามในวังซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกสาวชาวบ้าน เมื่อเข้าวังแล้วก็เหมือนนกน้อยในกรงทองและต่างก็เฝ้ามองหาโอกาสสู่ชีวิตอิสระแต่เมื่อรู้ว่าต้องไปต่างแดนและแต่งงานกับชาวซ่งนู๋ ต่างก็ไม่ยินยอม คงมีแต่สาวงามที่ชื่อ “หวางเฉียง” 王嫱 หรือรู้จักกันในชื่อ“จาวจวิน” เป็นคนหน้าตาดี สวยสง่า มีความรู้ สมัครใจที่จะไปสมรสกับผู้นำซงนู๋ งานสมรสได้จัดขึ้นที่เมืองซีอัน 西安 ในวันนั้นพระเจ้าอั่นหยวนตี้ได้เห็นหวางจาวจวินตัวจริงเป็นครั้งแรก พระเจ้าฮั่นหยวนตี้ถึงกับตะลึงกับความงามความน่ารักของจาวจวิน เมื่อกลับถึงวัง พระองค์รู้สึกเสียดายและหงุดหงิด จึงได้ขอภาพเขียนของสาวงามในวังทั้งหมดมาดู ส่วนภาพของจาวจวินนั้น ดูคล้ายๆ แต่ยังไงก็ไม่สวยเหมือนตัวจริง พอสืบสาวราวเรื่องแล้วถึงทราบว่า เมื่อการคัดเลือกสาวเข้าวังนั้น พระองค์ไม่เคยมีโอกาสได้เห็นหน้าตัวจริงของแต่ละคน แต่จะให้ช่างเขียนภาพ เหมาหยานโซ่ว毛延寿 วาดภาพของแต่ละคนนำไปให้พิจารณา สาวบางคนที่อยากได้รับการคัดเลือกก็ให้สินบนช่างเขียนภาพและเขียนให้สวยกว่าตัวจริง ส่วนหวางจาวจวินนั้นไม่ยอมให้สินบน ช่างเขียนภาพจึงวาดภาพให้สวยน้อยกว่าตัวจริง เมื่อพระองค์รู้ความจริงจึงสั่งประหารชีวิตเหมาหยานโซ่วเสีย
เมื่อหวางจาวจวินจากบ้านเกิดสู่แดนไกลที่หนาวเหน็บในทุ่งกว้าง เมื่ออยู่ในดินแดนซงนู๋ หวางจาวจวินได้พยายามเกลี้ยกล่อมผู้นำซงนู๋ให้เลิกล้มการรบพุ่งเพื่อสันติสุขของประชาชน และนางยังได้นำเอาความรู้ศิลปวัฒนธรรมจากตงง้วนถ่ายทอดให้กับซงนู๋ ตั้งแต่นั้นมาผ่านไป 60 กว่าปี ซ่งนู๋ กับซีฮั่นไม่เคยมีการสู้รบอีกเลย
(http://upic.me/i/55/13wx1.jpg)
-
(http://upic.me/i/9n/10wangzhoujun.jpg)
“ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงนกยังต้อง ร่วงหล่นจากท้องฟ้า”เป็นเรื่องราว ตอนที่หวังเจาจวินเดินทางออกนอกด่าน ในรัชสมัยฮั่นหยวนตี้ ทางเหนือและใต้ทำสงครามไม่หยุดหย่อน ชายแดนไม่มีความสงบสุข เพื่อที่จะทำให้เผ่าซงหนูทางชายแดนด้านเหนือสงบลง ฮั่นหยวนตี้จึงได้พระราชทางหวังเจาจวินให้สมรสกับข่านฮูหานเสีย เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสองเมือง ในวันที่ท้องฟ้าสดใส หวังเจาจวินได้จากบ้านเกิดเดินทางไปทางเหนือ ระหว่างทาง เสียงม้าและเสียงนกร้องทำให้นางโศกเศร้า ยากที่จะทำใจได้ จึงได้ดีดผีผาขึ้นเป็นทำนองที่แสดงความโศกเศร้าจากการพลัดพราก บรรดานกที่กำลังจะบินไปทางใต้ได้ยินเสียงผีผาอันไพเราะนี้ จึงมองลงไปเห็นหญิงงามที่กำลังขี่อยู่บนหลังม้า ต่างก็ลืมที่จะขยับปีก และร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน นับต่นั้นมา หวังเจาจวินจึงได้รับขนานนามว่า “ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงนกยังต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า”นั่นเอง
(http://img19.imageshack.us/img19/6086/20882369.jpg)
ในแทรคที่ 3 นี้ บทเพลงเริ่มต้นด้วยเสียงเอ้อหูอันเศร้าสร้อย บรรยายถึงคืนสุดท้ายของจาวจวินในวังของซี่ฮั่น จากนั้นหมู่ไวโอลินสอดรับเป็น
ช่วงๆ แสดงถึงการอาลัยอาวรณ์คิดถึงบ้าน การจากไปดินแดนของซงนู๋คราวนี้คงไม่ได้กลับไปเห็นบ้านเกิดอีกแล้ว ในท่อนกลางของบทเพลงดนตรีได้บรรยายถึงจิตใจที่ว้าวุ่นของจาวจวินในพิธีการอำลา ความงามของจาวจวินได้ปรากฏแก่สายตาของทุกคนซึ่งต่างก็ชื่นชม ยกเว้นแต่ฮั่วหยวนตี้ที่รู้สึกเสียพระทัยกับการจากไปของจาวจวิน เสียงดนตรีที่หนักหน่วงเร่งเร้าความรู้สึก จากนั้นเสียงดนตรีก็ลดระดับลง จังหวะดนตรีของเหล่าผู้เลี้ยงปศุสัตว์ในทุ่งกว้างเปี่ยมไปด้วยความสุข รอยยิ้มได้โปรยบน
ใบหน้าของจาวจวินบ่งบอกถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในแผ่นดินทุ่งหญ้ากว้างใหญ่แห่งนี้ การบรรเลงของวงซิมโฟนีได้ปิดท่อนท้ายของเพลงด้วยบรรยากาศที่อบอุ่นสนุกสนาน
*** จากบทความที่เขียนบรรยายบทเพลงที่แต่งบรรยาย 4 สาวงามผู้พลิกประวัติศาสตร์จีนครับ
-
(http://upic.me/i/tz/11zhaofeiyan-.jpg)
11. เจ้า เฟย เยี่ยน ฮองเฮาผู้สั่นคลอนใจฮ่องเต้
เดิมทีก็เป็นเพียงนางรำผู้มีรูปลักษณ์ที่งดงาม แต่ที่สั่นคลอนจิตใจฮ่องเต้ฮั่นเฉิงตี้ ก็เพราะพระองค์ว่ากันจริงๆ แล้วเป็นผู้ที่มั่นคงในความรักต่อฮองเฮาคนแรก
ว่ากันว่าเป็นรักแรกพบ และทั้งสองพระองค์ก็ถนอมความรักด้วยดีมาโดยตลอด แต่ก็มีปัญหาที่ว่า ฮองเฮาพระองค์นี้ ไม่มีพระราชโอรสให้ฮ่องเต้
พระองค์ก็เลยต้องหาฮองเฮาทางเลือกใหม่ เจ้าเฟยเยี่ยน มีลักษณะรูปลักษณ์ที่งดงาม มีท่วงท่าเคลื่อนไหวที่อ่อนช้อยตามแบบนางรำ
จึงเป็นที่ต้องพระทัยของฮ่องเต้ ไม่นานก็ได้รับสถาปนาเป็นฮองเฮา แต่นางก็ไม่สามารถให้กำเนิดพระโอรสได้อีกเหมือนกัน
นางเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องยุ่งๆ ในราชสำนัก ว่ากันว่า ชีวิตนางดำเนินไปเหมือนกับหยางกุ้ยเฟย ท้ายชีวิต ก็จบลงด้วยการฆ่าตัวตาย
เพราะอับอายในการกระทำของตน
(http://upic.me/i/b4/11zhaofeiyan.jpg)
-
(http://upic.me/i/x0/12zhaohede.jpg)
12. เจ้าเหอเต๋อ นางแอ่นคนน้อง แค่รอยยิ้ม ก็ทำให้ฮ่องเต้ลืมพระองค์ได้
เจ้าเฟยเยี่ยน ยังมีน้องสาวฝาแฝดอีกนางหนึ่ง นามว่า เจ้าเหอเต๋อ ถ้าจะว่าไปเเล้ว 2 อนงค์นี้ ว่ากันตามสายเลือดแล้ว มารดาของนางมีเชื่อสายเจ้าผู้ปกครองเหมือนกัน
แต่เหตุที่ว่าทั้งสองนาง เกิดขึ้นมาได้เพราะการคบชู้สู่ชายของฝ่ายมารดา เนื่องจากนางก็มีสามีอยู่แล้ว และสามีของนางก็ "บ่มีไก๊" 2 นางนี้จึงถูกนำไปทิ้งไว้ แต่ภายหลัง
เจ้าหญิงในราชวงศ์ ได้นำฝาแฝดทั้งคู่ไปเลี้ยง ในฐานะนางรำ ภายหลังเมื่อ เจ้าเฟยเยี่ยน คนพี่เป็นผู้โปรดปรานของฮ่องเต้ จึงได้ทูลขอให้นำนางเข้ามาในวังหลวงด้วย
ฮ่องเต้เมื่อได้พบเจ้าเหอเต๋อ เห็นกิริยาเอียงอาย และใบหน้าที่แดงดุจผลตำลึง ก็ถึงกับลืมพระองค์สวมกอดนางต่อหน้าธารกำนัล
แต่ 2 ศรีพี่น้องก็ร้ายไม่เบา วิธีก้าวขึ้นมาเป็นสตรีหมายเลขหนึ่งนั้น เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมอุบายที่แพรวพรายและร้ายกาจ
ในท้ายของชีวิต เมื่อหมดอำนาจ นางก็จบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายอีกเช่นกัน แต่คนน้องตายก่อนคนพี่
(http://upic.me/i/z5/12.zhaogede.jpg)
-
(http://upic.me/i/cm/13tioshan.jpg)
เตียวเสี้ยน หรือเตียวฉาน (貂婵) เป็นนางระบำของขุนนางที่ชื่อว่าอ๋องอุ้น
(王允) ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีรูปโฉมที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง และมี
ความสามารถในการฟ้อนรำเป็นเลิศ ครั้นเมื่อนางเห็นว่าราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตก
อยู่ใต้อำนาจของขุนนางทรราชตั๋งโต๊ะ (董卓) ซึ่งแอบอ้างราชโองการปกครอง
เหล่าขุนนาง ทำให้ขุนทางทั้งหลายไม่กล้าขัดขืน อีกทั้งอ๋องอุ้นกลัดกลุ้มใจ กิน
ไม่ได้นอนไม่หลับ ในคืนพระจันทร์สว่างสดใส นางได้จุดธูปอธิษฐานต่อสวรรค์
ยินดีที่จะรับภาระช่วยเหลือผู้เป็นนาย อ๋องอุ้นผ่านมาได้ยินเข้าก็รู้สึกซาบซึ้งยิ่ง
นัก จึงตรงเข้าไปพยุงนางลุกขึ้น และคำนับนาง นับจากนั้นจึงได้รับเตียวเสี้ยน
เป็นธิดาบุญธรรม
(http://upic.me/i/n6/13.taoshan.jpg)
อ๋องอุ้นเห็นว่าตั๋งโต๊ะกำลังยึดครองราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จึงได้วางแผนการอันต่อ
เนื่อง ยกเตียวเสี้ยนให้แก้ลิโป้ (吕布) ก่อนอย่างลับๆ แล้วจึงค่อยยกนางให้แก่
ตั๋งโต๊ะ ลิโป้นั้นมีความกล้าหาญอายุยังน้อย ส่วนตั๋งโต๊ะเจ้าเล่ห์เพทุบาย เพื่อที่
จะดึงลิโป้มาเป็นพวก ตั๋งโต๊ะจึงได้รับลิโป้เป็นลูกบุญธรรม ทั้งสองต่างก็ฝักใฝ่ใน
อิสตรี ดังนั้นนับจากนั้นมาเตียวเสี้ยนต้องรับมือกับบุคคลทั้งสอง ทำให้ทั้งคู่
หลงใหล หลังจากที่ตั๋งโต๊ะรับเตียวเสี้ยนไว้เป็นภรรยาน้อย ลิโป้เกิดความไม่พอ
ใจเป็นอย่างมาก
(http://upic.me/i/5u/13.taoshan-.jpg)
วันหนึ่ง ในขณะที่ตั๋งโต๊ะไปร่วมประชุมเหล่าขุนนาง ลิโป้ก็แอบเข้าไปพบกับ
เตียวเสี้ยน และนัดพบกันที่ศาลาฟ่งอี๋ เมื่อเตียวเสี้ยนไปพบลิโป้ ก็ได้แสร้ง
ร้องไห้บอกเล่าความทุกข์ที่ถูกตั๋งโต๊ะขืนใจ ลิโป้โกรธมาก ในเวลาเดียวกันนั้น
เองตั๋งโต๊ะกลับมาพบเข้า และด้วยความโกรธจึงได้แย่งเอาง้าวในมือของลิโป้
และตรงเข้าแทง แต่ลิโป้หนีไปได้ นับจากนั้นทั้งสองต่างก็เกิดความระแวงซึ่งกัน
และกัน จนท้ายที่สุดอ๋องอุ้นก็สามารถเกลี้ยกล่อมลิโป้ให้กำจัดตั๋งโต๊ะได้ในที่สุด
(http://upic.me/i/in/13.taoshan-1.jpg)
ฉายา "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้"ของเตียวเสี้ยนนั้น
มาจากเรื่องราวตอนที่นางกำลังอธิษฐานต่อดวงจันทร์อยู่ภายในสวน ทันใดนั้นมี
ลมพัดขึ้นเบา ๆ เมฆจึงลอยมาบดบังอันสว่างสดใส ขณะนั้นบังเอิญอ๋องอุ้นมาพบ
เข้า เพื่อที่จะเป็นการกล่าวชมว่าธิดาของตนนั้นมีความงามเพียงใด เมื่อพบปะผู้
คนก็มักจะกล่าวว่า บุตรีของข้าหากเทียบความงามกับดวงจันทร์แล้ว ดวงจันทร์ยัง
มิอาจเทียบได้ รีบหลบเข้าไปหลังหมู่เมฆ ดังนั้นผู้คนจึงขนานนามเตียวเสี้ยนว่า
"闭月"หรือ "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้"
-
(http://upic.me/i/dm/14-15.jpg)
http://www.swfcabin.com/swf-files/1346323637.swf
14-15 สองเกี้ยวบุปผางามแห่งกังตั๋ง-ไต้เกี้ยว เสียวเกี้ยว
หญิงงามในประวัติศาสตร์จีน ต่างถูกยกย่องโดยการร่ำลือจากปากต่อปากของคนจีน ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการบันทึกทางประวัติศาสตร์อันน้อยนิด
ดั่งเช่นพระชายาของเจ้า ฉู่ป้าหวาง ยู่จี (ง่อกี)
ภรรยาของ ซุนเซ็ก ไต้เกี้ยว และภรรยาของ จิวยี่ เสี้ยวเกี้ยว หนังสือประวัติศาสตร์ต่างให้ความสำคัญน้อยยิ่ง ทั้งประวัติความเป็นมา และการบอกเล่าแตกต่างกัน
จึ่งเป็นความสงสัยของคนรุ่นหลัง ต้องทำการสืบสาวค้นคว้า แต่ก็ยังมิมีความกระจ่างพอ
เนื่องจากประวัติของนาง สองเกี้ยว มักมีที่มาจากนักกวีนักประพันธ์ ซึ่งได้ผูกโคลงกลอนให้พี่น้องสองใบเถานี้มีความสัมพันธ์กับ โจโฉ อันเป็นบทกลอนที่มีอยู่ในหนังสือ “ซานกวอหยิ่นอี้”
ก็มีบทกลอนหนึ่งกล่าวอ้างพาดพิงถึง อย่างไรก็ตาม ตามหนังสือนิยาย “ซานกว๋อหยิ่นอี้” ได้ถูกตกแต่งมาด้วยระยะกาลเวลาอันยาวนาน ชนชั้นหลังต่างเข้าใจว่าเป็นบทความที่มีร่องรอยเหลืออยู่ทางประวัติศาสตร์
ดั่งบทกลอนของ ตู้มู่ (โต่วมก) นักกวีราขวงศ์ ถัน (ทั้ง) ได้แต่งบทกวีตอน “เซ็กเพ็ก รำลึก” ว่า
“ตีเหล็กหลอมหอกอาวุธเหล็กยังมิหายร้อน, รีบด่วนลับคมมิทันกาล, ลมตะวันออกพัดมามิทันใจ โจวหลาน (จิวนึ้ง..จิวยี่), ฤดูใบไม้ผลิอภิรมย์สู่ สองเกี้ยว,”
แม้ว่าจักเป็นคำกลอนลอย ๆ มิมีประวัติที่มาที่ไป นักกวี ตู้มู่ มิได้นำนาง สองเกี้ยว มาแต่งร่วมกับ โจโฉ
(http://upic.me/i/gm/lb914.jpg)
ไต้เกี้ยว
มินานมานี้ ต่างมีเหล่านักศึกษานักวิจารณ์ถึงเรื่องราวของนาง สองเกี้ยว แต่ก็ยากที่จักสืบสาวราวเรื่องของนางทั้งสอง
การสืบสาวก็คือการค้นคว้าหาจากการบันทึกของหนังสือเก่า ๆ มีหนังสือหลาย ๆ เล่มกล่าวถึงประวัติของยุค สามก๊ก จำนวนมาก แต่มีจำนวนน้อยที่กล่าวถึงนาง สองเกี้ยว
แต่มี 2 - 3 ตอนที่ถูกมองข้ามไป
ก่อนอื่น ดูจาก “ซานกว๋อจี้” (บันทึกโดย เฉินโซ่ว) ตอนประวัติของ จิวยี่ กล่าวว่า
“……..เซ็ก (ซุนเซ็ก) ต้องการควบคุมดินแดน เกงจิ๋ว โดยมี จิวยี่ เป็นผู้ช่วยเหลือ ด้วยการปกครองยึดดินแดนเป็นเจ้าเมือง กังแฮ แล้วบุกโจมตี วาน (อ๊วง..หมายถึงมณฑล อันเฟย) พบกับบุตรีทั้งสองของ เกียวก๋ง มีความงดงามหาหญิงใดเทียบ เซ็ก ได้กับ ไต้เกี้ยว ส่วน ยี่ ได้กับ เสียวเกี้ยว”
นอกจากนี้ “ซานกว๋อจี้ ยังมีกล่าวพาดพิง ซุนเซ็ก, จิวยี่, และนาง สองเกี้ยว อีกว่า
“……..เซ็ก กล่าปรารภกับ ยี่ ว่า บุตรีสองนางของ เกียวก๋ง ผู้พลัดถิ่น เกียวก๋ง ได้เราทั้งสองเป็นเขย นับว่าน่ายินดียิ่ง…..” คำกล่าวนี้ เมื่อ
เปรียบเทียบกับตอนประวัติของ จิวยี่ ยิ่งกระจ่างแจ้ง ด้วยคำบันทึกว่า
“บุตรีสองนางของ เกียวก๋ง แม้นพลัดถิ่น”
นั้นแสดงถึงสถานภาพของนาง สองเกี้ยว ก่อนแต่งงานกับ ซุน, จิว, มีสถานภาพเช่นใด
แสดงว่า นาง สองเกี้ยว นี้ เป็นชาว อันเฟย แต่ขาดหลักฐานเป็นการยากพิศูจย์สืบสาวราวเรื่อง
หรือว่านางทั้งสองกำเนิดมามิใช่คน อันเฟย อาจเป็นเพราะว่าการเกิดศึกสงคราม ทำให้นางทั้งสองต้องหนีเร่ร่อนจากถิ่นกำเนิดมาถึง วาน (อันเฟย)
แต่เป็นที่แน่นอนว่า ซุนเซ็ก และ จิวยี่ ได้ตกแต่งกับนางทั้งสอง ณ ดินแดน วาน (อันเฟย) ต่อมาชนชั้นหลังต่างเข้าใจกันว่านางทั้งสองเป็นชาว วาน (อันเฟย)
ซุนเซ็ก และ จิวยี่ ต่างได้นาง สองเกี้ยว นั้นคือปีศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 3 ซุนเซ็ก และ จิวยี่ ต่างมีอายุ 24 ปีด้วยกันทั้งคู่
ก่อนหน้าของปีนั้น ซุนเซ็ก มีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง ฮุ่ยจี (ฮ่วยกี..ห้อยเข) และปีนั้น ก็ได้รับยศเป็นเจ้าเจ้า อู๋โฮ่ว (โง่วโหว) และมีตำแหน่งทางทหารเป็นแม่ทัพ เตานิเจียนจวิน (ท่อเง็กเจียงกุง..แม่ทัพต่อต้าน)
เขาทั้งสอง ได้ประสบยลพักตร์กับพี่น้องสองใบเถา เกี้ยวสี ด้วยความวุ่นวายในสนามรบ เมื่อศักราชเจี้ยนอัน ปีที่ 3 ณ ดินแดนฝั่งเหนือของแม่น้ำ ฉานเจียน (เชี่ยงกัง..แยงซีเกียง) ซึ่งปัจจุบันนี้คือใจกลางเมือง ชีจิ๋ว
มีการทำศึกสงครามมิหยุดหย่อน ลิโป้ กับ เล่าปี่ ได้รบรากัน โจโฉ ได้นำกองทัพตี ลิโป้ แตก
ถ้าหากเป็นเวลาของปีนั้น โจโฉ ก็ได้ป้วนเปี้ยนอยู่ในดินแดนแถบนี้เช่นกัน ถ้าเช่นนั้น โจโฉ ก็มีโอกาสยลโฉมประสบพักตร์ของพี่น้องสองใบเถา สองเกี้ยว ด้วยเช่นเดียวกัน
เมื่อพิจารณาดูจาก สามก๊ก ทำให้เราเชื่อได้ว่านาง สองเกี้ยว ได้พลัดพรากหลงเข้ามาในสนามรบสงคราม นางทั้งสองคงมีมนุษย์สัมพันธ์กันดียิ่ง
กอบกับความงามความเฉลียวฉลาดของทั้งสองนางและ ชื่อเสียงของ สองนางจึ่งเป็นที่ยกย่องลือกระฉ่อน
หากเป็นหญิงชาวบ้านธรรมดา คงยากที่จักมีชีวิตหนีรอดจากการสงคราม
-
(http://upic.me/i/u6/16p15.jpg)
เสี่ยวเกี้ยว
การที่สังคมกระชับความสัมพันธ์กับเหล่าขุนศึกมิว่าฝ่ายใดก็ตาม สองเกี้ยว จึ่งเป็นที่เกรงใจแก่เหล่าทหารทั่ว ๆ ไป อีกทั้งหน้าตาของ เกียวกง บิดาของทั้งสองนาง ก็ได้ประกบกับนางทั้งสอง
เมื่อ โจโฉ บุกยึดดินแดนใกล้เคียงกับ ชีจิ๋ว ก็คงได้ยินกิตติศัพท์ความงามของนาง สองเกี้ยว หรืออาจจะมีผู้แนะนำให้รู้จักกัน
โจเม่งเต็ก มีนิสัยชมชอบเรื่องโลกีย์อยู่แล้ว เมื่อเห็นนางงามสองใบเถาจักมิมีจิตพิศสวาทเชียวหรือ คงจดจำนางทั้งสองอย่างประทับใจ
แต่ภาระการศึกสงครามนั้นมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โจโฉ จึ่งจำเป็นต้องยุ่งอยู่กับภาระกิจการสงคราม มิมีเวลามาก จึ่งได้จากลาจากนาง สองเกี้ยว ด้วยความอาลัย
เพราะว่าแม้น โจโฉ จักมีใจเสเพ แต่หน้าที่การแก่งแย่งในใต้หล้านั้นสำคัญกว่า
สำหรับนาง สองเกี้ยว ก็ติดภาระเกรงกลัวภัยจากสงคราม ต่างคิดหนีเอาชีวิตรอด นางงาม คู่กับภาวะศึกสงครามอันวุ่นวาย นับว่าอันตรายยิ่ง
นางทั้งสองจึ่งต้องเร่ร่อนระหกระเหิร ประจวบมาพบกับสองผู้นำนายทัพหนุ่มแห่ง กังตั๋ง ซุนเซ็ก และ จิวยี่
วีระบุรุษคู่กับนางงามในประวัติศาสตร์จึ่งได้บังเกิด ดั่ง ซุนเซ็ก, จิวยี่, และนาง สองเกี้ยว
กล่าวถึงอายุวัยสาวของนาง สองเกี้ยว ขณะนั้นคะเนอายุคงได้ 16 - 17 ปี ส่วน ซุนเซ็ก และ จิวยี่ มีอายุเท่ากัน 24 ปี
“ซานกว๋อจี้” บันทึกบุคลิคลักษณะอุปนิสัยของ ซุนเซ็ก ว่า
“”เซ็ก รูปร่างหน้าตาสวยงามทรนงองอาจ ยิ้มง่าย ชอบรับฟัง รู้จักใช้คนเป็น ชอบคบบัณฑิต ร่วมเป็นร่วมตาย”
ขณะนั้น มีหลายคนมิอาจมิกล่าวชมเชยเขา ดั่งคำพูดของ อ้วนสุด ว่า
“หาก ซุก มีบุตรดั่ง ซุนหลาน (ซุงนึ้ง) แม้นตายข้าก็นอนตาหลับ”
ภายหลัง โจโฉ มีโอกาสพูดคุยกับ ซุนกวน ก็ได้กล่าวชมเชย ซุนเซ็ก เช่นกัน
สำหรับ จิวยี่ ก็เป็นชายหนุ่มรูปหล่อ ตามบันทึก “ซานกว๋อจี้” จิวยี่ หนุ่มน้อยหน้าตาหมดจรด มีความสามารถการฟังดนตรี แม้นดื่มสุราสมาธิยิ่งเที่ยง หากฟังดนตรีแล้วมีท่วงทีผิดทำนอง เขาต้องมีความรู้สึก
ขณะนั้น ชาวบ้านมีคำพังเพยกล่าวขวัญกันว่า
“ดนตรีผิดพลาด โจวหลาน (จิวนึ้ง) รู้สึก”
ชายรูปหล่อสองนายนี้ แต่งงานกับ สองเกี้ยว ดั่งเช่นวีระบุรุษคู่กับหญิงงามมิพลาดแล้ว
(http://upic.me/i/4u/uhl14.jpg)(http://upic.me/i/4l/b5b15.jpg)
แต่ทว่า มีคำพังเพยกล่าวกันว่า “หญิงงามมักด้อยวาสนา” สองเกี้ยว ก็เฉกเช่นเดียวกัน
ไต้เกี้ยว แต่งกับ ซุนเซ็ก ได้พียง 3 ปี คือปีศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 5 ซุนเซ็ก บุกโจมตี เกงจิ๋ว ถูกลูกเกาทัณฑ์ตาย อายุที่เพิ่งย่างเข้าสู่วัยสาว ไต้เกี้ยว กลับกลายเป็นแม่ม่าย
ชีวิตการครองเรือนระหว่าง ซุนเซ็ก กับ ไต้เกี้ยว มีเวลาอันแสนสั้น เมื่อยามอยู่นั้น ซุนเซ็ก ยังคงยุ่งอยู่กับการทำศึก มิค่อยมีเวลาให้ ไต้เกี้ยว ปรนนิบัติ
ภายหลังการแต่งงานระหว่าง ศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 3 ถึงที่ 5 ซุนเซ็ก มักออกรบอยู่ในสนามรบ มิค่อยมีเวลาร่วมหลับนอนกับ ไต้เกี้ยว
ส่วนระหว่าง จิวยี่ กับ เสียวเกี้ยว ก็เฉกเช่นเดียวกัน เพียงแต่ เสียวเกี้ยว มีชีวิตการครองเรือนยืดนานกว่าพี่สาว
และเมื่อ ซุนเซ็ก ตายไปมิเกิน 3 ปี ซุนกวน โดยการช่วยเหลือของ จิวยี่ สามารถปราบดาดินแดน กังตั๋ง ได้ ดินแดน ง่อก๊ก ก็เริ่มเจริญรุ่งเรือง
ดั่งนั้น ชื่อเสียงกิตติศัพท์ของนาง สองเกี้ยว ก็ยิ่งระบือไกล
ภายหลังเมื่อดำรงตำแหน่งแม่ม่ายของ ไต้เกี้ยว ชีวิตการครองเรือนแม้นจักเงียบเหงาอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว แต่ทางด้านสังคมของคนรอบด้านคงปกติสุข
ด้วยวัยอันสาว กับฐานะอันสูงส่งทางสังคม สถานภาพขนมประเพณีของสังคมสมัยนั้นยังมิเคร่งครัดมากสำหรับหญิงและชาย บางครั้งชายหญิงร่วมกินร่วมเที่ยวด้วยกันก็คงมีบ้าง
หลิวอี้ซิ่น (เล่างี่เข่ง) นักประพันธ์ของจีนสมัยใหม่ ได้เขียนในหนังสือของเขาว่า
เมื่อภายหลังที่ ซุนเซ็ก ตายจาก ไต้เกี้ยว ได้โยกย้ายมาพำนัก ณ เจี้ยนเย่ว์ (เกี่ยงเงียบ) ปัจจุบันคือนคร นานจิน เมื่อตอนต้นปีศักราช หวงหรง (อึ่งเล้ง..ชื่อปีศักราชของ ซุนกวน)
ไต้เกี้ยว นางได้โยกย้ายมา ณ เจี้ยนเย่ว์ ภายหลัง ซุนกวน แม้นว่าพฤติกรรมของนางเป็นเรื่องภายในที่คนภายนอกยากที่จักรู้ แต่การเป็นแม่ม่ายสาวรวยเสน่ห์เช่นนาง ไต้เกี้ยว ใคร ๆ ก็ยิ่งใคร่อยากรู้เห็น
ส่วนชีวิตวัยครองเรือนสำหรับ เสียวเกี้ยว ภายหลังการแต่งงานกับ จิวยี่ นับเป็นเวลาได้ 13 ปี
จิวยี่ ถึงแก่กรรมเมื่อศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 15 ขณะนั้น จิวยี่ มีอายุได้ 36 ปี
ส่วนนาง เสียวเกี้ยว ตอนเป็นแม่ม่าย อายุยังมิถึง 30 ปี
วีระบุรุษมักมิค่อยให้ชาวโลกแลเห็นผมขาว นั่งจึ่งเป็นที่สะเทือนใจของหญิงงาม
นับตั้งแต่การตายของ ซุนเซ็ก ตลอดถึงความตายของ จิวยี่ แม้นว่ามีระยะเวลากาลนานถึง 10 ปี ในชั่วเวลา 10 ปีนี้ เสียวเกี้ยว มีเวลาอภิรมย์กับสามีวีระบุรุษ จึ่งรู้จัดรสชาดแห่งความรักใคร่ของโลกีย์วิสัย
ส่วน ไต้เกี้ยว นั้น นางได้แต่ใช้เวลาท่องเที่ยว ออกสังคมปลดความว้าเหว่
โจโฉ ซึ่งอยู่ ณ ฮูโต๋ คงได้ยินกิตติศัพท์ จึ่งมีความหวังในตัวนาง สองเกี้ยว ก็ด้วยช่วงเวลานี้
ซี่โซ่วลู่ (ซิบขักโล่ว) คนสมัยยุคราชวงศ์ จิ้น (จิ่ง) ก็มองสภาพของนาง สองเกี้ยว กับสามี ซุน, จิว, เป็นความรู้สึกเช่นปุถุชน มิเห็นแปลก
(http://upic.me/i/6y/n14-1.jpg)(http://upic.me/i/0t/y15-1.jpg)
ในนิยาย “ซานกว๋อหยิ่นอี้” ผู้แต่งได้เขียนถึง จูกัดเหลียง เมื่อยามไปเยือน ตังง่อ ได้อ้างบทกวีของ โจสิน แต่งขึ้นตอนฉลองปราสาทหอนกยูงของ โจโฉ มาเป็นการแทงใจดำต่อ จิวยี่
นี่เป็นเรื่องน่าขบขันยิ่ง “กลอนของ โจสิด กล่าวพาดพิงนาง สองเกี้ยว ว่า
“อันนาง สองเกี้ยว นี้, ดุจสายรุ้งบนฟากฟ้า”
แต่ใน “ซานกว๋อหยิ่นอี้” แก้เป็นว่า
“อันนาง สองเกี้ยว นี้, ร่วงสังสรรค์ยามเช้าค่ำ”
ตามระยะกาลเวลา และบทกวี ล้วนแล้วแต่ผิดกาลเทศะ เมื่อตอนที่ โจโฉ ยกทัพลงใต้พิชิตตะวันออกนั้น โจโฉ ได้พ่ายแพ้การศึกยุทธนาวี เซ็กเพ็ก เมื่อปีศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 13
และเมื่อ โจโฉ สร้างปราสาทหอนกยูง โจสิด แต่งบทกวีสรรเสริญนั้น อยู่ในปีศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 15
แต่เมื่อตอนที่ ขงเบ้ง กล่าวคำกลอนเพื่อแทงใจดำ จิวยี่ นั้น เป็นคำกลอนที่ โจสิด แต่งขึ้นหลังจากนั้น 2 ปี
เป็นไปได้ไหมว่า ข่าวการตายของ ซุนเซ็ก ซึ่งทิ้ง ฮูหยิน นาง ไต้เกี้ยว อันสวยสดงดงาม ถูกระบือไปถึงหูของ โจโฉ
โจโฉ จึ่งได้ระบายความในใจเมื่อครั้งยลประสบพักตร์ของนาง สองเกี้ยว
และถูกผู้ได้ฟังถ่ายทอดออกไปอีกที
ยังมีปัญหาต่อไปอีกในเหล่านักศึกษาว่า ที่แท้แล้ว ระหว่างนาง ไต้เกี้ยว และนาง เสียวเกี้ยว ผู้ใดมีความสวยสดงดงามกว่าใคร
คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ไต้เกี้ยว ย่อมงดงามกว่า เสียวเกี้ยว ด้วยเหตุผลที่ว่า ซุนเซ็ก นั้นเป็นผู้นำ จึ่งมีสิทธิ์เป็นผู้เลือกสาวงามก่อน จึ่งได้เลือกนาง ไต้เกี้ยว
แต่ทว่าคนอย่าง จิวยี่ นั้น เป็นผู้มิยอมตามหลังใครง่าย ๆ กล่าวอีกที ผู้นำใจเด็ดเดี่ยว ย่อมมุ่งความสำเร็จในการใหญ่เป็นสำคัญ ความงามของหญิงเป็นเรื่องรอง
หากคนทั้งสองต่างฝ่ายต่างเลือกนาง สองเกี้ยว ก็คงเกี่ยวกับความรักและอุปนิสันอันต้องกันและกันมากกว่า
ตามบทกวีของ ซูจงโป (โซวตงปอ) เกี่ยวกับการเลือกหญิงงามว่า
“หวนคะนึงกลับถึง กงกึ้ง (จิวยี่) ปีนั้น เพิ่งได้แต่งนวลเสน่ห์ เสียวเกี้ยว วีระบุรุษได้การปรนนิบัติ ขนนกพัดวีชโลมผ้าเย็น เสียงหัวร่อต่อกระซิก กำแพงมีปีกก็พลอยมีสุข”
ด้วยคำกลอนมิกี่คำนี้ เพิ่มเติมความมีเสน่ห์สวยงามให้แก่ เสียวเกี้ยว เป็นความประทับใจ จิวยี่ มีคุณนายสาวประดับบารมีวีระบุรุษ ก็ย่อมสุขกายสบายใจ
กล่าวโดยสรุป นาง สองเกี้ยว นี้ต่างมีความสวยงามและรวยเสน่ห์ จนกระทั่ง โจโฉ ยังอดอิจฉามิได้
แต่ทว่ากับความรู้สึกต่อนาง สองเกี้ยว นี้ ยังมิมีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ นางงามดังคับฟ้า ไฉนจึ่งมิมีการบันทึก
ปัจจุบัน ณ เมืองอู่จิ้น (บู่จิ่ง) ในมณฑล กันซู มีสุสานของนาง เสียวเกี้ยว แต่คนทั่วไปต่างสงสัยกันว่า เป็นที่ฝังศพของนาง เสียวเกี้ยว จริงหรือ หรือว่าฝังเพียงแต่เสื้อผ้าเครื่องใช้สอยของนางเท่านั้น ด้วยผ่านกาลเวลามานานแสนนาน จึ่งยากแก่การคาดคะเนคาดเดา
แม้นว่า ทางใต้ของมณฑล กันซู ตลอดถึงดินแดน อี้ซิ่น (งี่เฮง) มีสุสานจำนวนมากมาย
แต่นาง เสียวเกี้ยว ก็ได้อยู่อาศัยเป็นคน ง่อ ศพถูกฝัง ณ ที่นี้ ก็อาจเป็นไปได้
นอกจากนี้ ณ เย่ว์หยาน (งักเอี้ยง) ในมณฑล หูหนาน ก็มีหลุมฝังศพสุสานของนาง สองเกี้ยว มิทราบว่าเป็นเพียงสุสานของนาง ไต้เกี้ยว หรือนาง เสียวเกี้ยว หรือว่านางทั้ง สองเกี้ยว ถูกฝังอยู่เคียงคู่กัน
เมือง เย่ว์หยาน ในมณฑล หูหนาน ก็อยู่แนวทางเดียวกับเมือง ฉานซา (เชี่ยงซัว..เตียงสา) ซึ่งสมัยนั้น ก็เป็นเขตแดนของดินแดน ง่อ แต่การสันนิษฐานว่าสุสาน ณ เย่ว์หยาน นั้น เทียบเคียงกับสุสาน ณ อู่จิ้น มีความเป็นไปได้น้อยกว่า
เกี่ยวกับอุปนิสัยและคุณสมบัติของนาง สองเกี้ยว ยิ่งยากลำบากแก่การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์
แต่ทว่าก่อนรัชสมัยของราชวงศ์ ซ่ง (ซ้อง) เรื่องราวของนาง สองเกี้ยว นี้ถูกร่ำลือกันมิใช่น้อย หรือว่า คนสมัยนั้น นำเรื่องราวของนาง สองเกี้ยว มาพูดคุยกันอย่างคะนองปากเอง
มีการบันทึกของในยุคสมัยราชวงศ์ ถัน (ทั้ง) แต่เป็นเรื่องราวที่มิค่อยน่าเชื่อถือ เพราะมีบันทึกว่า
บัณฑิต ผู้หนึ่ง ได้สนทนากับปีศาจ มีการกล่าวพาดพิงถึงนาง สองเกี้ยว และความสัมพันธ์กับ โจโฉ
จากการบันทึกนี้ ทำให้นึกถึงบทกวีของ ตู้มู่ กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ โจโฉ ที่มีต่อนาง สองเกี้ยว จึ่งเป็นอันเชื่อได้ว่าวัตถุดิบเรื่องราวของนาง สองเกี้ยว มีมาตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ ถัน
ต่อมาภายหลัง คำร่ำลือถึงนาง สองเกี้ยว ก็จืดจางลง จึ่งเหลือเป็นความสงสัยมาตราบเท่าปัจจุบัน
** ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ ไทยสามก๊ก **
-
สวยงามมากครับ เป็นภาพวาดที่ดูแล้วสบายตา