เพลงพักใจดอทเน็ต

สัพเพเหระ => แวดวงนักร้องนักดนตรี => ข้อความที่เริ่มโดย: ภูฤดู ปักซัว ที่ 29/ส.ค./14 05:53น.

หัวข้อ: "ไพบูลย์ บุตรขัน" เสียชีวิต เมื่อ 29 สิงหาคม 2515
เริ่มหัวข้อโดย: ภูฤดู ปักซัว ที่ 29/ส.ค./14 05:53น.
(http://picdb.thaimisc.com/u/usedlism/555.jpg)
ขอบคุณข้อมูลจาก  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C_%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99

ไพบูลย์ บุตรขัน
ชื่อเกิด   ไพบูลย์ ประณีต
เกิด   4 กันยายน พ.ศ. 2461
ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

เสียชีวิต   29 สิงหาคม พ.ศ. 2515 (อายุ 54 ปี)
โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพ

คู่สมรส   ดวงเดือน บุตรขัน (พ.ศ. 2511 - 2515)
อาชีพ   นักแต่งเพลง, นักเขียนบทละคร
ปีที่แสดง   พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2515
เครื่องดนตรี   แอคคอร์เดียน

แนวเพลง   ลูกทุ่ง

ไพบูลย์ บุตรขัน (4 กันยายน พ.ศ. 2461 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515) นักแต่งเพลง และนักเขียนบทละคร
ที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามให้เป็น "อัจฉริยะนักแต่งเพลงอันดับหนึ่งของไทย"


ครูไพบูลย์ บุตรขัน เดิมชื่อ ไพบูลย์ ประณีต เกิดที่บ้านท้องคุ้ง ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายบุตร และนางพร้อม ประณีต ครอบครัวมีอาชีพทำนา มีฐานะยากจน มีพี่น้อง 3 คน เมื่ออายุได้ 6 ปี บิดาเสียชีวิต จึงได้รับการเลี้ยงดูโดยนายเจน บุตรขัน ผู้เป็นอา นำไปอยู่ที่อำเภอปทุมวัน กรุงเทพ และได้เปลี่ยนนามสกุลจากประณีต มาเป็นบุตรขัน

ไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มศึกษาชั้นประถมต้นที่จังหวัดปทุมธานี ประถมปลายที่โรงเรียนสตรีปทุมวัน และศึกษาจนจบมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวัสดิ์อำนวยเวทย์ กรุงเทพ และศึกษาดนตรีเพิ่มเติมจากครูพิณ โปร่งแก้วงาม ราวปี พ.ศ. 2476-2478 และเรียนวิชาดนตรีและโน้ตเพลงสากลเพิ่มเติมที่สมาคมวายเอ็มซีเอ แถบถนนวรจักร และได้ใช้โน้ตดนตรีประกอบการแต่งเพลงทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา

หลังจากเรียนจบ ไพบูลย์ บุตรขัน ได้ทำงานเป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนกว๋องสิว แล้วลาออกไปทำงานเป็นช่างไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าสามเสน แล้วลาออกไปทำงานกับคณะละคร คณะแม่แก้ว และคณะจันทโรภาส ของพรานบูรพ์ ทำหน้าที่เขียนบทละครวิทยุ และแต่งเพลง

งานเพลงของไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มบันทึกแผ่นเสียงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 จากการชักนำของ สวัสดิภาพ บุนนาค ซึ่งเป็นเพื่อนและน้องเขย เพลงในยุคแรกได้แก่เพลง "มนต์เมืองเหนือ" "คนจนคนจร" "ดอกไม้หน้าพระ" "ดอกไม้หน้าฝน" และ "ค่าน้ำนม" และได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีคุณค่า และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เช่น "โลกนี้คือละคร" (ขับร้องโดย ปรีชา บุณยะเกียรติ) "เบ้าหลอมดวงใจ" และ "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล)

"กลิ่นโคลนสาปควาย" (แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ขับร้องโดยชาญ เย็นแข) เป็นอีกผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของของไพบูลย์ บุตรขัน ที่ทางราชการไทยเคยประกาศห้ามเปิดในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ แม้จะมีการห้ามจากทางการแต่ยิ่งห้ามก็มีผู้ฟังซื้อแผ่นเสียงไปฟังเป็นจำนวนมาก เพลงนี้ยังได้รับยกย่องให้เป็นรากฐานของเพลงลูกทุ่งอีกด้วยเพราะในอดีตก่อน พ.ศ. 2500 นั้นเพลงในประเทศไทยยังมิได้แบ่งแยก ยุคสมัยที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งออกจากกันอย่างชัดเจน

หลังจากเสียชีวิตไปแล้วหลายปี ในปี พ.ศ. 2532 เพลงของครูไพบูลย์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกไทย ถึง 10 เพลง ได้แก่ "ชายสามโบสถ์" (ขับร้องโดย คำรณ สัมบุญณานนท์) "น้ำตาเทียน" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "บ้านไร่น่ารัก" และ "เพชรร่วงในสลัม" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "ฝนซาฟ้าใส" (ขับร้องโดย ยุพิน แพรทอง) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "บุปเพสันนิวาส" และ "มนต์รักแม่กลอง" (ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ) "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) และ "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลจากเพลง "หนุ่มเรือนแพ" (ขับร้องโดย กาเหว่า เสียงทอง)

ชีวิตส่วนตัว
ตั้งแต่วัยหนุ่ม ครูไพบูลย์ บุตรขัน ป่วยเป็นโรคเรื้อนและไม่มีเงินรักษาอย่างจริงจัง  ครูไพบูลย์เก็บตัวเงียบไม่ออกสังคม โดยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนางพร้อม ประณีต ผู้เป็นมารดาจนนางพร้อมเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2508  แต่ได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูง พาไปรักษาจนหายดี แต่ก็ยังมีร่างกายพิการ ต่อมาได้กลับมาเป็นโรคร้ายอีกครั้ง และใช้ยาเสพติดเพื่อบรรเทาอาการ และเข้าบำบัดที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกจนหายขาดในปี พ.ศ. 2502

ครูไพบูลย์ บุตรขัน สมรสกับ ดวงเดือน บุตรขัน นักแต่งเพลงลูกศิษย์ครูไสล ไกรเลิศ ที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่ร่วมงานกันและแต่งงานกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 แต่ครูไพบูลย์ได้ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้ อาเจียนเป็นเลือด หลังจากนั้นไม่นาน จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515 (อายุ 54 ปี) ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2516
หัวข้อ: Re: "ไพบูลย์ บุตรขัน" เสียชีวิต เมื่อ 29 สิงหาคม 2515
เริ่มหัวข้อโดย: ภูฤดู ปักซัว ที่ 29/ส.ค./14 05:57น.
(http://picdb.thaimisc.com/u/usedlism/555-2.jpg)

เพลงที่ครูไพบูลย์ บุตรขัน แต่งและความเป็นมาของเพลง
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณ Corei99   http://forum.02dual.com/index.php?topic=550.0

เพลง มนต์เมืองเหนือ ขับร้องโดย ทูล ทองใจ
เพลงนี้เป็นเพลงแรกที่ครูไพบูลย์แต่งและบันทึกเสียง ครั้งแรก “สมยศ ทัศนพันธ์” เป็นผู้ขับร้อง ภายหลัง “ทูล ทองใจ” นำมาขับร้องใหม่ โดยเปลี่ยนเนื้อเล็กน้อยจากเดิมที่ว่า “แอ่วเว้าเจ้าวอน” มาเป็น “แอ่วสาวเจ้าวอน”

เพลง ค่าน้ำนม ขับร้องโดย ชาญ เย็นแข
 
เพลง นี้เดิมทีครูไพบูลย์แต่งเพื่อให้ บุญช่วย กมลวาทิน เป็นคนร้อง แต่ในวันอัดเสียงที่ห้องบันทึกเสียง ดี คูสเปอร์ จอห์นสตัน บุญช่วยเกิดไม่มา ชาญ เย็นแข ซึ่งตามไปดูการบันทึกเสียงจึงได้ร้องแทน และเพลงนี้มียอดจำหน่ายสูงสุดถึง 5,000 แผ่น ซึ่งสูงมากในสมัยนั้น
เพลง กลิ่นโคลนสาบควาย ขับร้องโดย ชาญ เย็นแข
- เพลงนี้เป็นเพลงแรกของครูไพบูลย์ที่โดนห้ามออกอากาศทางสถานีวิทยุในสมัย จอมพลป. พิบูลสงคราม ด้วยข้อหายุยงชาวนา แต่ด้วยความไพเราะกินใจ ทำให้แผ่นเสียงเพลงนี้ขายดีจนสื่อมวลชนยกให้เป็น “เพลงประวัติการณ์”
เพลง น้ำค้างเดือนหก ขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ
เพลงนี้ครูไพบูลย์แต่ง แต่ใช้นามปากกาว่า “สาโรช ศรีสำแล” เนื่องจากในช่วงนั้นดวงตกเขียนเพลงไหนก็ไม่ดัง และเพื่อรักษาเครดิตของชื่อ “ไพบูลย์ บุตรขัน” เอาไว้ จึงเปลี่ยนนามปากกาเขียนเพลงนี้ให้ สุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งเป็นนักร้องที่ดังมากเป็นผู้ขับร้อง

. เพลง ชายสามโบสถ์ ขับร้องโดย คำรณ สัมบุณนานนท์
- เพลงนี้เป็นเพลงนำของภาพยนตร์เรื่อง ชายสามโบสถ์ เมื่อภาพยนตร์ไปฉายต่าง
จังหวัดคำรณซึ่งแสดงเป็นพระเอกต้องไปร้องเพลงโชว์ด้วย ส่งผลให้เพลงนี้และ
นักดนตรีอย่าง ใหญ่นภายน และ ป.ชื่นประโยชน์ ดังไปด้วย

. เพลง ตาสีกำสรวล ขับร้องโดย คำรณ สัมบุณนานนท์
- เป็นอีกเพลงหนึ่งซึ่งถือเป็นเพลงต้องห้ามทางสถานีวิทยุในสมัย จอมพล ป.พิบูล
สงครามเป็นผลงานเพลงเสียดสีสังคมระดับคลาสสิคที่ส่งให้คำรณโด่งดัง เนื่องจาก
ท่วงทำนองเพลงลำตัดมาผสมผสานกับทำนองสากล เสียดสีสังคมไทยในยุคจอมพล ป.

. เพลง ยมบาลเจ้าขา ขับร้องโดย บุปผา สายชล
- เพลงนี้แต่งในยุค 2512-2513 โดยแผงเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองไว้อย่าง
แนบเนียนรุนแรงในจังหวะโซลสนุกๆ จนทำให้ บุปผา สายชล ได้รับแผ่นเสียงทอง
คำพระราชทานจากการขับร้องเพลงนี้ในปี 2514

เพลง ฝนเดือนหก ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์
- เพลงนี้ครูไพบูลย์แต่งให้ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ขับร้องโดยเฉพาะ เนื่องจากครูไป
ได้ยินรุ่งเพชรร้องเพลง “น้ำใจทหารอาสา” แล้วรู้สึกชอบ จึงให้คนไปตามรุ่งเพชรมา
ร้องเพลงให้ฟัง ตอนแรกรุ่งเพชรไม่มา แต่ในที่สุดก็มาและร้องเพลงให้ครูฟังทั้งวัน
พอครูจับทางได้จึงบอกว่า ถ้าครูเขียนเพลงภายใน 3 เพลง ให้รุ่งเพชรดังไม่ได้
ครูจะหักปากกาทิ้ง และเพลงแรกที่ครูเขียนให้คือเพลง ไอดินกลิ่นสาว ส่วนเพลง
ฝนเดือนหก เป็นเพลงที่ 2 โดยเขียนเน้นให้ออกเป็นเพลงที่ออกเสียงเหน่อตามบุคลิก
ของรุ่งเพชร โดยการเล่นคำ เช่นคำว่า “ฝนก็ตก” ก็เป็น ฝนก็ต๊ก” และในที่สุดเพลง
นี้ก็ทำให้รุ่งเพชรดังทะลุฟ้า และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพะราชทานรางวัล
ทำนองชนะเลิศ ในปี2514 รวมทั้งทำให้รุ่งเพชรอัดเพลงของครูไพบูลย์อีกหลาย
เพลง และที่สำคัญทำให้ครูได้เขียนงานเพลงอีกต่อไป

เพลง ขี้เหร่ก็รัก ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ
- ครูไพบูลย์แต่งเพลงนี้แทนตัวเอง ด้วยอารมณ์ของหนุ่มใหญ่วัยห้าสิบที่ตอนนั้นคร
ูมีโรคร้ายเรื้อรัง แต่การที่ชีวิตมีผู้หญิงมองข้ามข้อนี้ และยินดีเป็นคู่ชีวิต ทำให้ครู
ูเขียนเพลงนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นความอบอุ่นในช่วงเวลาสั้นๆสามปีสุดท้ายของชีวิต

. เพลง น้ำท่วม ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ
- เป็นเพลงแรกที่ครูไพบูลย์แต่งให้ ศรคีรี ศรีประจวบ ร้องหลังจากที่ ศรคีรีมีวง
ดนตรีและร้องเพลงในแนวรำวง โดยไม่มีเพลงของตนเอง ครูไพบูลย์ได้เปลี่ยนแนว
ให้ศรคีรีมาร้องเพลงในแนวหวานและแต่งเพลงนี้ให้เป็นเพลงแรก ผลปรากฏว่าดัง
มากๆ และส่งผลให้ศรคีรีเป็นศิษย์เอกของครู

เพลง บุพเพสันนิวาส ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ
- เป็นเพลงแรกๆที่ครูแต่งให้ศรคีรีขับร้อง ซึ่งเพลงที่ครูแต่งในช่วงนี้จะสังเกต
ได้ว่า ครูผ่านชีวิตกว่า 50 ปี ผ่านความเคร่งเครียดมาจนสุกงอม ทำให้มองโลก
แบบผ่อนคลาย อ่อนหวานขึ้น ซึ่งศรคีรี คือศิษย์เอกคนสุดท้ายของครู และขับขาน
บทเพลงในยุคสุดท้ายของครูอย่างเป็นชิ้นเป็นอันที่สุด

เพลง มนต์รักลูกทุ่ง ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร
- เพลงนี้ครูประพันธ์เมื่อปี 2513 เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง
และประสบความสำเร็จสูงสุด รวมทั้งได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
รางวัลเนื้อร้องและทำนองชนะเลิศ ในปี 2514 -หนังเรื่องนี้ทำรายได้ถึงหกล้านบาท
และฉายอยู่ที่โรงภาพยนตร์โคลีเซียมยาวนานถึง 6 เดือนทีเดียว จนทำให้ครูกลาย
เป็นราชาเพลงประกอบภาพยนตร์เพราะหลังจากนั้นได้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์
อีกมากมาย และพลอยทำให้ ไพรวัลย์ ลูกเพชร ได้เป็นนักร้องเพลงนำภาพยนตร์อีก
หลายเรื่องทีเดียว

เพลง น้ำลงนกร้อง ขับร้องโดย พรไพร เพชรดำเนิน
- เพลงนี้เป็นเพลงหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง โดยตอนแรก จะให้
บรรจบ เจริญพร ที่ร่วมแสดงในเรื่องเป็นผู้ร้อง แต่เนื่องจาก บรรจบร้องหลายเพลง
จึงเปลี่ยนมาให้ พรไพร เพชรดำเนิน เป็นผู้ร้อง

เพลง นกร้องน้องช้ำ ขับร้องโดย บุปผา สายชล
- เป็นเพลงแก้ของเพลงน้ำลงนกร้อง ใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง
เช่นกัน

เพลง โลกบ้าๆบอๆ ขับร้องโดย กังวานไพร ลูกเพชร
- เพลงนี้มีที่มาจากภาพยนตร์เรื่อง ฝนใต้ ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร ซึ่งกังวานไพร
ลูกเพชร ร่วมแสดงด้วย และเรื่องนี้ครูไพบูลย์ได้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ให้
กังวานไพร เป็นคนร้องชื่อเพลงว่า “กังวานไพร” ซึ่งเมื่อครูได้ฟังแล้วจึงชอบใจเสียง
ของกังวานไพรมาก จึงแต่งเพลงให้อีก 3 เพลง นั่นก็คือ เพลงโลกบ้าๆบอๆ , หมด
ลมหมดเรื่อง , เหม็นเบื่อ

. เพลง เบ้าหลอมดวงใจ ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร
- เป็นเพลงที่ครูแต่งขึ้นเพื่อเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้รับราง
วัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานประเภทเนื้อร้องชนะเลิศเพลงลูกทุ่ง ประเภท ก.
ในปี 2514

. เพลง แว่วเสียงซึง ขับร้องโดย เรียม ดาราน้อย

เพลง หนุ่มเรือนแพ ขับร้องโดย กาเหว่า เสียงทอง
- เพลงนี้มีที่มาจากการที่เพลิน พรหมแดน มาขอให้ครูไพบูลย์แต่งเพลงให้
ครูไพบูลย์จึงเขียนเพลงนี้ขึ้นมา ซึ่งออกเป็นโทนเพลงแหล่ ซึ่งทางด้านเพลิน
เห็นว่าคนละแนว จึงนำเพลงให้คนในวง คือ กาเหว่า เสียงทอง เป็นคนร้อง
และบันทึกแผ่นเสียงให้ ผลปรากฏว่า เพลงนี้ดังทั่วบ้านทั่วเมือง และทำให้เกิด
กาเหว่า เสียงทอง ขึ้นในวงการเพลง

เพลง มะนาวไม่มีน้ำ ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร วิภารัตน์ เปรื่องสุวรรณ
- เพลงนี้มีที่มาจาก การที่ ไพรวัลย์ วิภารัตน์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ในวงของครูสุรพล
ได้ออกจากวง จึงไม่มีเพลงของตัวเองร้อง ครูไพบูลย์จึงแต่งเพลงให้เป็นเพลงคู่
ซึ่งแต่ละเพลงล้วนแต่ดังทั้งสิ้น

. เพลง ฝนตกบ้านน้อง นกร้องบ้านพี่ ขับร้องโดย ชาย เมืองสิงห์
- เพลงนี้ครูไพบูลย์ใช้ภูมิลำเนา คือ บ้านท้องคุ้ง ต.เชียงรากใหญ่ อ.สามโคก
จ.ปทุมธานีเป็นฉาก โดยอาศัยการมองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่กว้างใหญ่ แล้ว
เขียนเป็นเพลง สำหรับ ชาย เมืองสิงห์ ปกติจะแต่งเองร้องเอง เขาได้มีโอกาส
ร้องเพลงของครูไพบูลย์ ในยุคที่ครูดวงตก และประจำการเป็นนักแต่งเพลง
ประจำทีมวงจุฬารัตน์ที่มีชาย เมืองสิงห์เป็นนักร้องอันดับ 1 จึงได้ร้องเพลงของ
ครูไพบูลย์รวม 7 เพลง เช่น ฝนตกบ้านน้อง นกร้องบ้านพี่ , แม่ผิวพม่านัยน์ตาแขก ฯ

เพลง โลกนี้คือละคร ขับร้องโดย ปรีชา บุณยเกียรติ
- เป็นเพลงยอดนิยมต่อเนื่องหลังยุค 2492 -ครูไพบูลย์แต่งเพลงนี้เมื่ออายุได้ 30 ปี
เท่านั้นแต่การถ่ายทอดเหมือนกับผู้ที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามาก จึงทำให้เพลงนี้ได้
้รับความนิยมอย่างสูง และได้รับรางวีลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานรางวัลเนื้อร้อง
เพลงไทยสากล ประเภท ข. ในปี 2514-ปรีชา บุณยเกียรติ ได้ขับร้องเพลงของ
ไพบูลย์ บุตรขัน เพราะเป็นนักร้องประจำโรงละคร ส่วนครูไพบูลย์ระยะหนึ่งเคย
แต่งเพลงประกอบละคร และถึงแม้จะเก็บตัวด้วยโรคภัยกำเริบก็ยังแต่งเพลงป้อน
นักร้องสลับฉากโรงละครอยู่ และเมื่อปรีชาได้ร้องเพลงนี้ จึงต้องไปต่อเพลงบ่อยๆ
ทำให้ถูกอัธยาศัยกัน และได้เพลงดีๆจากครูอีกหลายเพลง โดยเฉพาะเพลง ลิเกชีวิต
เพลงดังแห่งยุค 2497-2498

เพลง เสียงดุเหว่าแว่ว ขับร้องโดย ทูล ทองใจ
- เพลงนี้เป็นเพลงโปรดของครูไพบูลย์ ที่มักจะร้องเล่นเวลาอารมณ์ดี เป็นจินตนาการ
แห่งความสุขและความฝัน ซึ่งทูล ทองใจ เป็นผู้ถ่ายทอด - ทูล ทองใจนั้น เป็นผู้ได้ร้อง
เพลงอ่อนหวานลึกซึ้งของครูไพบูลย์ เป็นจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับงาน
เพลงที่ครูไพบูลย์ป้อนให้คำรณขับร้องแต่ทูล ทองใจโด่งดังมาก่อนที่จะได้ร้องเพลง
ของครูไพบูลย์ เพราะทูลโด่งดังมาจากเพลง โปรดเถิดดวงใจ ที่ครูเบญจมินทร์เป็น
ผู้แต่งให้ และจากการที่ครูไพบูลย์และครูเบญจมินทร์ต่างนับถือกัน ผลงานของทูล ทองใจจึงมีส่วนผสานกันระหว่างครูเพลง 2 ท่านนี้

เพลง น้องนางบ้านนา ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์

เพลง แม่แตงร่มใบ ขับร้องโดย ชัยชนะ บุณนะโชติ
- ครูไพบูลย์เป็นคนวางแนวให้ชัยชนะ บุณนะโชติ ร้องเพลงแนวแหล่ และเพลง
แหล่ เพลงแรกคือ ดอกดินถวิลฟ้า ซึ่งเป็นเพลงแหล่เพลงแรกของวงการด้วย
หลังจากนั้นชัยชนะก็ได้ขับร้องเพลงของครูไพบูลย์อีกหลายเพลง นอกจากเพลง
แหล่ และก็มีเพลงเหน่อ อย่าง แม่แตงร่มใบ ซึ่งโงดังงสุดขีด, สาวสุพรรณ ช่วง
ที่ครูไพบูลย์แต่งเพลงให้ชัยชนะ บุณนะโชติ เป็นช่วงท้ายๆที่ครูดวงตก พอหลัง
จากนั้นครูก็ดังใหญ่ เพราะเข้ายุค รุ่งเพชร , บุปผา , ศรคีรี และหนังเรื่องมนต์รัก
หัวข้อ: Re: "ไพบูลย์ บุตรขัน" เสียชีวิต เมื่อ 29 สิงหาคม 2515
เริ่มหัวข้อโดย: ประสิทธิ์ ที่ 29/ส.ค./14 07:14น.
ชอบเพลงที่ท่านแต่งมากกว่าที่ท่านร้องเอง
ได้บรรยากาศบ้านทุ่งจริงๆ แต่ละเพลงบรรยายวิถีชีวิตชนบทได้อย่างยอดเยี่ยมครับ
ขอบคุณลุงหมอครับที่นำรายละเอียดมาบอกว่า วันนี้วันคล้ายวันเสียชีวิตของครู
หัวข้อ: Re: "ไพบูลย์ บุตรขัน" เสียชีวิต เมื่อ 29 สิงหาคม 2515
เริ่มหัวข้อโดย: เวียงสา980 ที่ 29/ส.ค./14 09:48น.
ชอบเพลงที่ท่านแต่ง มากเลย ค่ะ ขอบคุณมากมาย ค่ะ คุณหมอภู ข้อมูลดีๆ มาฝาก
หัวข้อ: Re: "ไพบูลย์ บุตรขัน" เสียชีวิต เมื่อ 29 สิงหาคม 2515
เริ่มหัวข้อโดย: ต้อม โฆษิต ที่ 29/ส.ค./14 14:04น.
ขอบคุณหมอภูที่นำข้อมูลดีๆ มาให้อ่านครับ
ครูไพบูลย์คือสุดยอดนักประพันธ์เพลงในเมืองไทยแล้วครับ

แต่อ่านแล้วมีข้อสงสัยอยู่  ตรงเพลงแรกที่ท่านแต่งให้ศรคีรีร้อง
คือเพลงอะไรครับ  น้ำท่วม หรือบุพเพสันนิวาส กันแน่
หัวข้อ: Re: "ไพบูลย์ บุตรขัน" เสียชีวิต เมื่อ 29 สิงหาคม 2515
เริ่มหัวข้อโดย: คนนนท์ ที่ 29/ส.ค./14 18:06น.
ชื่นชอบผลงานเพลงของครูไพบูลย์มากเลยครับ  ได้มาอ่านเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเพลงดังๆ หลายเพลงซึ่งไม่เคยทราบมาก่อน  เสียดายที่ครูไพบูลย์เสียชีวิตเมื่ออายุ 54 ปี ไม่เช่นนั้นเราคงได้ฟังเพลงดีมีคุณภาพจากท่านอีกมากมายแน่นอน
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดีๆ ที่นำมาฝากกัน
หัวข้อ: Re: "ไพบูลย์ บุตรขัน" เสียชีวิต เมื่อ 29 สิงหาคม 2515
เริ่มหัวข้อโดย: ชัยยุทธ ที่ 29/ส.ค./14 19:30น.
ดีมากเลยครับที่นำประวัติและเรื่องราวของครูเพลงที่ยิ่งใหญ่มาเผยแพร่ครับ ผมขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อระลึกถึงท่านนะครับ
หัวข้อ: Re: "ไพบูลย์ บุตรขัน" เสียชีวิต เมื่อ 29 สิงหาคม 2515
เริ่มหัวข้อโดย: ปรางมล ที่ 30/ส.ค./14 14:01น.
ขอบคุณข้อมูลดีดีทำให้รู้ความเป็นมา
หัวข้อ: Re: "ไพบูลย์ บุตรขัน" เสียชีวิต เมื่อ 29 สิงหาคม 2515
เริ่มหัวข้อโดย: ณ.พุฒิพงศ์ ที่ 04/ก.ย./14 18:48น.
     

    ประวัติขอมูลอ่านเต็มอิ่ม  ชอบเพลงที่ท่านแต่งมากเลยครับ สมคำว่านาม อัจฉริยะนักแต่งเพลงอันดับหนึ่งของไทย   :'e:94 ท่านภูฤดู นำประวัติขอมูลที่น่าสนใจยิ่งครับ