เพลงพักใจดอทเน็ต

สัพเพเหระ => รูปภาพสวยๆ แปลกๆ เอามาโชว์ครับ => ข้อความที่เริ่มโดย: วิทยา ที่ 07/ส.ค./13 12:42น.

หัวข้อ: สาร OTPPs ในชาอู่หลงเพิ่มอัตราการเผาผลาญได้ดีกว่าชาเขียวถึง 2 เท่า
เริ่มหัวข้อโดย: วิทยา ที่ 07/ส.ค./13 12:42น.

คุณประโยชน์จากชาอู่หลง
โดย วีณา นุกูลการ และ เพ็ญนภา เจริญกิจวิวัฒน์

(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2761375)

(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2761376) 
       
       ชาอู่หลง เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมาเป็นระยะเวลานาน มีจุดเด่นตรงมีกลิ่นหอมละมุนชุ่มติดคอ
รสชาติเข้มกว่าชาเขียวแต่ฝาดน้อยกว่าชาดำ ชาอู่หลงในไทยนั้นนิยมผลิตจากชากลุ่มพันธุ์จีน นำมาผ่านกระบวนการกึ่งหมัก
ทำให้มีรสชาติ สี กลิ่น แตกต่างจากชาชนิดอื่นๆ จัดเป็นเครื่องดื่มที่มีรายงานการศึกษาถึงผลดีต่อร่างกายหลายด้าน เช่น
พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของหลายโรค ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการสะสมและควบคุมปริมาณไขมันในเลือด
ต้านอาการอักเสบและบวม เป็นต้น และจากการที่กรรมวิธีการผลิตชาอู่หลงที่ผ่านกระบวนการกึ่งหมัก ทำให้เกิดสารสำคัญที่เรียกว่า
Oolong Tea polymerized-polyphenols หรือ OTPPs ซึ่งพบได้มากในชาอู่หลง นอกเหนือจากคาเฟอีน และสารกลุ่ม
คาเทชินที่พบเช่นกันในชาเขียว และชาดำ สำหรับ OTPPs เป็นกลุ่มสารโพลีฟีนอลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสารกลุ่มคาทิชินส์
อันเนื่องมาจากกระบวนการกึ่งหมักของใบชา โดยมีเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดสและความร้อนจากกระบวนการผลิตชาเป็นตัวเร่ง
ปฏิกิริยา สารกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อการลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย รวมทั้งส่งผลต่อสี กลิ่นและรสชาติเฉพาะตัวของชาอู่หลง
โดยปริมาณสารจะแตกต่างกันตามระดับของกระบวนการหมัก มักพบอยู่ในช่วง 8-85% ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ไดเมอร์ริกคาเทชินส์
เช่น Oolonghomobisflavan A และ B สารกลุ่มทีเอฟลาวิน (Theaflavins) และ ทีอะรูบิจิน (Thearubigins) ดังแสดงตามรูป
       
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000010206907.JPEG)
       โครงสร้างของสารโพลีฟีนอลที่เกิดการพอลิเมอร์ไรเซชั่น (Oolong Tea polymerized-polyphenols ,OTPP) ที่พบมากในชาอู่หลง

(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2761377)
       
       ในปัจจุบัน มีงานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ OTPPs ในด้านการควบคุมระดับไขมันในร่างกาย
พบว่า OTPPs สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปสซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการดูดซึมไขมันที่ลำไส้เล็ก
นอกจากนี้มีรายงานว่าเมื่อดื่มชาอู่หลงที่อุดมด้วยสาร OTPPs หลังรับประทานอาหารช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์
ได้อย่างมีนัยสำคัญ เพิ่มการขับไขมันออกทางอุจจาระและยังมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน
โดยมีรายงานพบว่าสามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าชาเขียวถึง 2 เท่า

(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2761378)
       
       ดังนั้น ชาอู่หลงซึ่งอุดมไปด้วยสารกลุ่ม OTPPs นั้นจึงเป็นเครื่องดื่มที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่มีไขมันสะสม
ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้
เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันในโลหิตสูง ตามมาได้อีกด้วย


(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2761379)

(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2761380)

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000097107 (http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000097107)

หัวข้อ: Re: สาร OTPPs ในชาอู่หลงเพิ่มอัตราการเผาผลาญได้ดีกว่าชาเขียวถึง 2 เท่า
เริ่มหัวข้อโดย: ศศินี ที่ 10/ส.ค./13 15:56น.
ประโยชน์ในการควบคุมระดับไขมันในร่างกาย น่าสนใจมากค่ะ