เตือน “ไข่มุก" ในชานมไข่มุกพาเสี่ยงมะเร็ง
(http://www.thairath.co.th/media/content/2012/09/03/288325/hr1667/630.jpg)
เวลากระหายคงอยากได้เครื่องดื่มเย็นๆ ดับร้อนสักแก้ว โดยเฉพาะเหล่าชานมไข่มุกที่ยั่วยวนให้เข้าไป
ซื้อดื่มกิน เพราะนอกจากดื่มให้ชุ่มคอแล้ว ยังมีเม็ดไข่มุกให้บริหารฟันกันหนุบหนับอีกด้วย ซึ่งก็ไม่ใช่มีแต่เฉพาะ
ชาเย็น เพราะมีเครื่องดื่มอีกหลากหลายให้เลือกไม่ว่าจะเป็น ชาเขียว โกโก้ นมเย็น หนุ่มๆ สาวๆ สมัยนี้เลยติดดื่มชา
ไข่มุกกันงอมแงม เพราะนอกจากความอร่อยแล้ว ยังมีให้เลือกซื้อกันแทบทุกที่ ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าไปจนถึงรถเข็น
กันเลยทีเดียว
(http://th.openrice.com/UserPhoto/Article/0/O/0004SWBF0876DC9D15A0CDj.jpg)
ออกตัวมาขนาดนี้ เพราะอยากจะเตือนว่าการดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้ ไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายของเราสักเท่าไหร่นัก
ข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยในงานประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 6 โดย ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาโภชนาวิทยา
คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และเลขาธิการสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้เครื่องดื่ม
ประเภทชาไข่มุกกำลังได้รับความนิยมในยุโรปรวมทั้งเยอรมนี องค์การด้านสุขภาพและนักวิจัยเยอรมนีจึงได้ออกคำเตือน
การบริโภคเครื่องดื่มประเภทชาไข่มุก เพราะอาจมีกรณีสำลักเม็ดไข่มุก และตรวจพบสารก่อมะเร็งปนเปื้อน
(http://www.matichon.co.th/online/2012/09/13483664881348366593l.jpg)
ก่อนหน้านั้น ผลงานวิจัยจากประเทศเยอรมนี เปิดเผยว่า หลังการสุ่มตรวจเม็ดไข่มุกในเครื่องดื่มประเภทชาไข่มุก
พบว่ามีสารก่อมะเร็งเจือปนในเม็ดไข่มุก โดยองค์การด้านสุขภาพและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโรงพยาบาลอาร์คอน
(University Hospital Aachen) ของเยอรมนี ได้ออกโรงเตือนถึงการบริโภคเครื่องดื่มประเภทชาไข่มุก ซึ่งกำลังเริ่ม
ได้รับความนิยมในประเทศแถบยุโรปรวมทั้งเยอรมนีว่า นอกจากเครื่องดื่มเหล่านี้จะเสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายจากการสำลัก
เม็ดไข่มุกแล้ว ยังตรวจพบว่าเม็ดไข่มุกเคี้ยวหนึบดังกล่าวยังมีสารเคมีประเภทโพลีคลอริเนต ไบฟีนิล หรือ PCBs
(Polychlorinated Biphenyls หรือ PCBs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเจือปนอยู่ด้วย
(https://sphotos-b.xx.fbcdn.net/hphotos-ash3/p480x480/733892_435784379830685_112143956_n.jpg)
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยาระบุว่า สารเคมีประเภทโพลีคลอริเนต ไบฟีนิล เป็นสารที่ละลายน้ำได้น้อย
แต่ละลายในไขมันได้ดี และสลายตัวได้ยากในสิ่งมีชีวิต เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้วจะถูกขับออกได้บ้างทางอุจจาระ
และปัสสาวะ ที่เหลือจะสะสมในร่างกายทีละน้อย จนเริ่มแสดงอาการของพิษ เริ่มตั้งแต่คลื่นไส้ เหนื่อย เบื่ออาหาร
เกิดตุ่มฝีที่ผิวหนัง เล็บคล้ำ ฯลฯ ไปจนถึงอาการขั้นร้ายแรง คือทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน
และอาจทำให้เป็นมะเร็ง
(http://f.ptcdn.info/947/005/000/1370590433-1370575248-o.jpg)
นอกจากนั้น ผศ.ดร.เรวดี ยังเป็นห่วงว่า สีสวยๆ ของเครื่องดื่มนั้น ไม่ว่าจะเป็น ชาเย็น นมเย็น ชาเขียวฯ
ก็อาจมีความเสี่ยงในเรื่องของการเจือปนสีผสมอาหาร ซึ่งถ้ามีสีผสมอาหารมาก ดื่มมากก็ไม่ปลอดภัยเพราะเป็น
สีสังเคราะห์ แต่ขณะนี้ยังไม่พบและส่วนมากเครื่องดื่มจากชามักจะผสมสมุนไพรที่เป็นสีจากธรรมชาติมากกว่า
(http://www.talad2you.com/gallery/70395_3.jpg)
ส่วนด้านอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องการเจือปนของสารเคมีในเครื่องดื่มประเภทพวกชานมไข่มุกแล้วนั่นคือเรื่อง
ของความหวาน ที่อาจส่งผลให้ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เสี่ยงมีภาวะน้ำหนักเกินและเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
โดย ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ แนะว่าให้ลดปริมาณการบริโภคให้น้อยลง ควรดื่มนานๆ ครั้ง ไม่ต้องซื้อกินทุกวัน
วันละหลายๆ แก้ว เพราะชาไข่มุกมีรสหวานมาก รวมถึงการดูดผ่านหลอดขนาดใหญ่ หรือหลอดจัมโบ้ อาจทำอันตราย
ได้เช่นกัน เมื่อดูดเข้าไปแล้วกลืนลงทันที อาจจะเกิดปัญหาไข่มุกติดค้างในระบบทางเดินหายใจได้
(http://www.ideajobmoney.com/wp-content/uploads/2012/08/kin-cha-01.jpg)
ส่วนต้นกำเนิดของชานมไข่มุกนั้นมาจากประเทศไต้หวัน ชื่อภาษาจีนว่า “จูเจินหน่ายฉา”
(珍珠奶茶zhēnzhū nǎichá) แปลตามตัวว่าชานมไข่มุกนั่นเอง แต่เดิมพ่อค้าแม่ขายในตลาดสดในไต้หวัน
ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาทำให้ชื้น แล้วนำตะแกรงมาล่อน จนกลายเป็นเม็ดสาคูสีดำขึ้นมา แล้วก็ลองนำมาต้มสุก
เพื่อใส่ไว้ในชานม พอถึงฤดูร้อนก็ทำชานมเย็น แล้วก็ใส่เม็ดสาคูนี้ลงไป จึงทำให้เกิดที่มาของเครื่องดื่มยอดฮิต
(http://www.idealinthai.com/storage/32000/63/1b23270b08d2260e8d23438239f67544.jpg)
ชานมไข่มุกในปัจจุบัน ในไต้หวันจะมีผู้ทำเม็ดสาคูนี้เป็นแทบทุกบ้าน ต่อมาลูกหลานของพ่อค้าแม่ขายในตลาด
จึงนำสาคูนี้มาทำเป็นอุตสาหกรรมส่งออกขนาดเป็นธุรกิจพันล้านไปแล้ว ส่วนคนไทยเริ่มรู้จักชานมไข่มุกหรือชาไข่มุก
อย่างแพร่หลายเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ต่อมาชานมไข่มุกเริ่มนำมาใส่ในเครื่องดื่มชนิดอื่น แทนชา เช่น นม
โกโก้ กาแฟ หรือใส่เยลลี่เพิ่มเติมลงไปในเครื่องดื่มต่างๆ
(http://www.thaigoodview.com/files/u77258/BubbleTea.jpg)
>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077854 (http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077854)