"หว้าหิน"ผลกินได้
ช่วงต้นปียันปลายเดือนมีนาคม แถวป่าพรุแถบจังหวัดภาคใต้ จะพบต้น "หว้าหิน" บางพื้นที่เรียก "ขี้กวาง" บางแห่ง เรียก ตาควม บางแห่งเรียก ลูกเลือด ผลกินได้ รสชาติหวานอมเปรี้ยวคล้ายลูกหว้า ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นต้นไม้ชนิดนี้แล้ว แต่ที่นราธิวาส ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง โดยโครงการพระราชดำริ ได้เห็นคุณค่าไม้ป่า พื้นเมืองชนิดนี้ จึงได้เพาะพันธ์ ปลูกอนุรักษ์ไว้ และแจกชาวบ้านที่สนใจ ติดต่อสอบถามขอพันธ์ได้ฟรี นะครับและเพิ่งทราบมาว่า เป็นผลไม้ที่มี วิตามิน ซี สูงมากชนิดหนึ่ง กินบ่อยๆ สามารถป้องกันหวัด และโรคลักปิดลักเปิดได้
ผลไม้ชนิดนี้เป็นอาหารกินเล่น ของเด็กบ้านนอก ที่เหน็ดเหนื่อยจากการวิ่งเล่น หรือ เมื่อยล้าจากการต้อนวัว ก็เข้าพักใต้ร่ม และขึ้นไปเก็บลูกมาแบ่งกันกิน ปัจจุบัน มีขายในราคาแพง เหมาะที่ตำพริกเกลือกิน เป็นที่น่ายินดี ที่มันไม่สูญพันธ์ไปจากท้องถิ่นอีกแล้ว... นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระเมตตาต่อมวลมนุษย์และพันธ์ไม้..ขอพระองค์ทรงพระเจริญ...
(http://image.ohozaa.com/i/e48/YrsWgL.jpg)
เป็นไม้ยืนต้น วงศ์ MYRTACEAE สูง 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม เปลือกต้นสีเทาช่วงโคนต้นมีรอยแตกเป็นแผ่น ปลายต้นหรือกิ่งผิวเรียบ
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม ทรงรี กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 10-22 เซนติเมตร โคนสอบ ปลายแหลม ผิวเรียบมัน มีเส้นแขนงใบ 12-20 คู่
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกและกิ่ง ดอกตูมเรียวยาว ป่องปลาย โคนเป็นหลอดยาวสีขาว ดอกกว้างราวครึ่งเซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร
ผล กลมรี ผลแก่สุกสีเขียวแดงพอสุกสีคล้ำหรือดำ
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ชอบดินชื้น แสงแดดปานกลาง
(http://image.ohozaa.com/i/063/t34H3f.jpg)
......ท่านใดที่อยู่ภาคใต้..มีความผูกพันธ์กับไม้ต้นนี้ มีประสพการณ์มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ เพื่อช่วยกันย้อนอดีตความทรงจำดีๆ มาถ่ายทอดสู่กันนะครับ.....