เพลงพักใจดอทเน็ต
สัพเพเหระ => รูปภาพสวยๆ แปลกๆ เอามาโชว์ครับ => ข้อความที่เริ่มโดย: วิทยา ที่ 22/พ.ค./13 13:51น.
-
บุญผ่อง วีรชนช่องเขาขาด
โดย....ธีรภาพ โลหิตกุล
(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2013/05/11/aajaj869cad9edbjabd56.jpg)
ขณะที่กระแสข่าวความแตกแยกทางการเมืองของผู้คนในสังคมไทยระลอกใหม่ กำลังก่อตัวขึ้น เรื่องราว
วีรกรรมของ คุณบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ ที่ถูกนำมาสร้างเป็นละคร "บุญผ่อง" เริ่มออกอากาศเมื่อ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ทางสถานีไทยพีบีเอส เปรียบได้ดั่งวีรบุรุษผู้ขี่ม้าขาว ลงมาช่วยกอบกู้เกียรติศักดิ์ศรี และความภูมิใจในตนเองของคนไทย
ให้กลับคืนมาอีกครั้ง ด้วยมีหลักฐานแวดล้อมหลายประการ บ่งบอกว่าคุณบุญผ่อง มีตัวตนจริงเป็นพ่อค้าระดับคหบดีแห่ง
จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งทำการค้ากับกองทัพญี่ปุ่น ที่เคลื่อนทัพผ่านไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อราว 75 ปีก่อน
ในลักษณะเป็นผู้ค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภคให้กองทัพบูชิโดแต่เพียงผู้เดียว
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/hr1667/600.jpg)
แต่เมื่อได้เห็นอาการร้อนรนที่จะสร้าง "วงศ์ไพบูลย์แห่งเอเชียบูรพา" ที่มีตนเองเป็นพี่ใหญ่ ด้วยการละเมิดกฎ
ว่าด้วยเชลยศักดิ์สากล โดยกวาดต้อนเชลยที่เป็นทหารสัมพันธมิตร และกุลีชาวเอเชียจำนวนมากมายมหาศาล
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/o3/420.jpg)
มาสร้างทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่าอย่างทารุณโหดร้ายผิดมนุษย์ คุณบุญผ่องก็กระทำการเสี่ยงชีวิต
เปรียบได้ดั่งการยื่นคอเข้าไปใกล้ดาบปลายปืนของทหารญี่ปุ่นอย่างที่สุด นั่นคือลักลอบส่งยารักษาโรคให้เชลยศึก
สัมพันธมิตร ที่ยามนั้นถูกไข้ป่ามาลาเรีย และโรคร้ายนานาชนิด รุมเร้าจนมีสภาพไม่ต่างอะไรกับโครงกระดูกเดินได้
(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2013/05/11/babijcefi8i5d9eb98ebk.)
โดยเฉพาะหน่วยที่ถูกญี่ปุ่นบีบบังคับให้เจาะภูเขาหินในเขตอำเภอไทรโยค ให้กลายเป็นช่องเขา
เพื่อให้ทางรถไฟผ่านไปชายแดนไทย-พม่า เขตอำเภอสังขละบุรี กระทั่งถูกเรียกขานว่า "ช่องเขาขาด" แต่ทว่า
ตะเกียงน้ำมันและกองไฟจากไม้ฟืน ที่ส่องสว่างให้เชลยศึกโหมกระหน่ำทำงานหนักทั้งกลางวันและกลางคืน
ไม่ต่างอะไรกับ "ไฟนรกโลกันตร์" ที่ใครตกลงไปแล้ว ไม่มีวันได้ผุดได้เกิด จนบรรดาเชลยศึกสัมพันธมิตร
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวออสเตรเลียขนานนามช่องเขานี้ว่า"ช่องไฟนรก" (Hell Fire Pass)
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/o4/420.jpg)
มีบุคคลหนึ่งที่เพียรพยายามยื้อชีวิตทหารและกุลีที่ป่วยไข้ ด้วยการทุ่มเททำงานหนักในฐานะหมอทหาร
คือ เวียรี่ ดันล็อป (Weary Dunlop) แน่นอนว่าเขาคือคนที่รับรู้วีรกรรมของคุณบุญผ่องในห้วงยามนั้นดีที่สุด
ด้วยเป็นคนรับยาที่คุณบุญผ่องลักลอบส่งมาให้กับมือ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติแล้ว ได้รับการยกย่องเป็น
ท่านเซอร์ เอ็ดเวิร์ด เวียรี่ ดันล็อป ในขณะที่คุณบุญผ่อง ได้รับการยกย่องเป็น "วีรชนของเหล่าทหารที่ตกเป็น
ทาสของญี่ปุ่น" และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ เพื่อตอบแทนที่ให้
ความช่วยเหลือเชลยศึกในระหว่างสงคราม อีกทั้งยังได้รับการประดับยศเป็น "พันโทบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์"
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/o5/420.jpg)
ต่อมาภายหลัง ได้มีการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อส่งศัลยแพทย์ไทยไปเรียนต่อออสเตรเลีย ในนาม Weary
Dunlop Boon Pong Exchange Fellowship เพื่อระลึกถึงคุณความดีของหมอเวียรี่ และคุณบุญผ่อง
โดยก่อนหน้านั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบแทนน้ำใจคุณบุญผ่อง ด้วยการมอบรถที่ยึดได้จากกองทัพญี่ปุ่นเกือบ 200 คัน
ให้ประกอบธุรกิจรถเมล์ ในนาม บริษัท บุญผ่อง จำกัด เรียกกันว่า รถเมล์สายสีน้ำเงิน คู่แข่งรถเมล์สีขาวของบริษัทนายเลิศ
ซึ่งสมัยเป็นนักเรียน ผมยังได้ใช้บริการรถเมล์บุญผ่องที่วิ่งผ่านหน้าโรงเรียนเป็นประจำ
(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2013/05/11/9a89bbbfda66i6fiiajbj.)
วีรกรรมของคุณบุญผ่องสะท้อนให้เห็นว่า แม้สงครามจะทำให้มนุษย์เผยด้านมืดอันเลวร้ายออกมาได้
อย่างเหลือเชื่อ แต่บางครั้ง สงครามก็ไม่อาจปิดกั้นคุณธรรมของคนดีได้ ละครที่สร้างจากเรื่องจริงของคุณบุญผ่อง
ซึ่งสวมบทโดย "เจมส์" เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นับเป็นละครน้ำดีอีกเรื่องหนึ่งที่คนไทยควรได้ดู เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์
ช่องเขาขาด อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ก็เป็นพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่จริง (Site Museum) ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ที่คนไทย
ควรไปดูเช่นเดียวกัน
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/o6/420.jpg)
พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด (Hellfire Pass Memorial Museum) จัดสร้างด้วยงบประมาณ
องค์การทหารผ่านศึกออสเตรเลีย นับเป็นพิพิธภัณฑ์อันทรงคุณค่าระดับโลก ทั้งในแง่ศิลปะการนำเสนอและความสำคัญ
ของสถานที่ ซึ่งเป็นสถานที่จริงในประวัติศาสตร์ ที่ผืนปฐพีทุกตารางนิ้วเคยรองรับศพของผู้พลีชีพ ไว้เป็นบทเรียนให้
มนุษยชาติรับรู้ถึงความโหดร้ายของสงคราม เส้นทางเดินเท้าแม้จะมีการปรับแต่ง แต่ก็ให้มีสภาพใกล้เคียงของเดิม
คือเป็นทางเดินโรยด้วยก้อนหิน ทำให้เกิดเสียงดังทุกย่างก้าวที่เท้าบดทับลงไป มันเป็นเสียงที่เคยบดขยี้หัวใจเชลยศึก
และกุลีแห่งช่องเขาขาด ที่มีชีวิตเหมือนตกอยู่ในนรกขุมที่ลึกที่สุด
(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2013/05/11/g695d55j7kkdj8abifhdd.)
ท่ามกลางงานขุดเจาะหินแข็งแสนสาหัส พวกเขาแออัดในกระท่อมหลังคามุงจาก มีเพียงข้าวกับปลาแห้งยาไส้
ผิวหนังอักเสบ แผลเน่าเปื่อย ติดเชื้อไข้มาลาเรีย อหิวาตกโรค แล้วยังถูกทหารญี่ปุ่นโบยตีด้วยแส้ จนมีเชลยศึกล้มตายกว่า
12,000 คน และกุลีชาวอินเดีย พม่า มลายู ตายไปถึงกว่า 70,000 คน นับเป็นความกล้าของผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/o11/420.jpg)
ที่ปรับแต่งสถานที่แต่พองาม ไม่ปรุงแต่งสีสันหรือสิ่งอำนวยความสะดวกจนเกินไป ทำให้กลิ่นอายความขลังของช่องไฟนรก
ยังอบอวลอยู่ในจินตนาการของผู้มาเยือน
(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2013/05/11/a5hcec88bea5id8a8e6ea.)
และถึงแม้จะไม่มีมัคคุเทศก์นำชม แต่เราสามารถรับรู้เรื่องราวของช่องไฟนรกโดยละเอียดได้ ด้วยอุปกรณ์หูฟัง
ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ที่ทางพิพิธภัณฑ์ให้เช่า (ซึ่งจะได้เงินคืนเมื่อส่งหูฟังคืน) เมื่อเดินถึงสถานที่สำคัญจุดไหน
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/o10/420.jpg)
ก็มีเลขกำกับให้เรากดปุ่มฟังข้อมูลได้ทันที ที่สำคัญคือไม่ใช่แค่เอาข้อมูลมาอ่านให้ฟัง ทว่าเป็นการบรรยายด้วยนักพากย์มืออาชีพ
ประกอบเสียงเอฟเฟกท์สมจริง สอดแทรกด้วยมุกตลกเรียกทั้งรอยยิ้มและความสะเทือนใจ เช่น นายทหารออสเตรเลียผู้คุมกำลัง
เชลยศึกหน่วยหนึ่ง รำพึงรำพันว่า"...ขบวนแถวของเชลยศึกที่กำลังขนหินนั้น ข้าพเจ้าดูคล้ายเป็นขบวนแห่ศพมากกว่า..."
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/o7/420.jpg)
แล้วยังมีเรื่องพลทหารออสซี่นายหนึ่ง ได้รับคำสั่งให้หามศพเพื่อนไปเก็บไว้ที่เรือนพักศพก่อนทำพิธีในวันรุ่งขึ้น
แต่พอถึงที่วางศพแล้ว พลทหารก็โกยแน่บหน้าตาตื่นออกมา บอกใครๆ ว่าเขาได้ยินเสียงศพถอนหายใจ รุ่งเช้าไปดูที่เกิดเหตุ
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/o9/420.jpg)
ปรากฏว่าฝาผนังเรือนพักศพเป็นรูเบ้อเร่อ เพราะพลทหารไม่ได้วิ่งออกมาทางประตู แต่วิ่งทะลุฝาเรือนออกมาด้วยความกลัวสุดขีด
ดังนั้น จากประสบการณ์ที่เคยไปชมพิพิธภัณฑ์ในหลายประเทศ ผมจึงยกให้ช่องเขาขาด เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ทรงคุณค่าระดับโลก
ที่ไม่ควรพลาดชมด้วยประการทั้งปวง
(http://www.thairath.co.th/media/content/2013/05/28/347547/o8/420.jpg)
หมายเหตุ : พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ตั้งอยู่ในพื้นที่กองกำลังทหารพัฒนา อ.ไทรโยค ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปตามทางหลวง
323 ราว 77 กม. เปิดให้ชมฟรีทุกวัน 09.00-16.00 น. สถานที่พักใกล้เคียง อาทิ หินตกริเวอร์แคมป์, รีโซเทล แก่งละว้า,
จังเกิลราฟท์
..............................................
(บุญผ่อง วีรชนช่องเขาขาด : คอลัมน์ท่องไปกับใจตน : โดย....ธีรภาพ โลหิตกุล)
http://www.komchadluek.net/detail/20130512/158221/บุญผ่องวีรชนช่องเขาขาด.html#.UZmuJNhXu9u (http://www.komchadluek.net/detail/20130512/158221/บุญผ่องวีรชนช่องเขาขาด.html#.UZmuJNhXu9u)