เพลงพักใจดอทเน็ต

สัพเพเหระ => รูปภาพสวยๆ แปลกๆ เอามาโชว์ครับ => ข้อความที่เริ่มโดย: สุวิทย์ สุข ที่ 16/มี.ค./13 16:20น.

หัวข้อ: ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช
เริ่มหัวข้อโดย: สุวิทย์ สุข ที่ 16/มี.ค./13 16:20น.
(http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=136342417320725.jpg) (http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=136342417320725.jpg)

(http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=136342300343751.jpg) (http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=136342300343751.jpg)

(http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=136342417582002.jpg) (http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=136342417582002.jpg)

(http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=136342417712431.jpg) (http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=136342417712431.jpg)

(http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=136342417938040.jpg) (http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=136342417938040.jpg)

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556
เป็นประเพณีสำคัญทางศาสนาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย

     ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ แห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การแห่ผ้าผืนยาว ไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำขึ้นห่มโอบล้อมรอบ
องค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  เป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียง
ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน

ในสมัยที่พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นกษัตริย์ครองเมืองตามพรลิงค์อยู่นั้น ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่
และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.1773 ขณะเตรียมสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น ชาวปากพนังมากราบทูลว่า คลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบยาวผืนหนึ่ง
ซึ่งมีภาพเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติมาขึ้นที่ชายหาดปากพนัง ชาวปากพนังเก็บผ้านั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระองค์รับสั่ง
ให้ซักผ้าผืนนั้นจนสะอาด เห็นภาพวาดพุทธประวัติ เรียกกันว่า "ผ้าพระบฏ" และรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธ
จากเมืองหงสากลุ่มหนึ่ง จะนำผ้าพระบฏไปบูชาพระพุทธบาตรที่ลังกา แต่ถูกพายุพัดพาขึ้นที่ชายฝั่งปากพนัง เหลือผู้รอดชีวิตสิบคน
พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงมีความเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ แม้ไม่ใช่พระพุทธบาท
ตามที่ตั้งใจ แต่ก็เป็นพระบรมสารีริกธาตุซึ่งเจ้าของผ้าพระบฏก็ยินดี การแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีขึ้นตั้งแต่ปีนั้นและดำเนินการสืบต่อมา จนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน

     นครศรีธรรมราชรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา จึงรับความเชื่อของชาวอินเดียและลังกาเข้ามาด้วย
ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่าการทำบุญและการกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริง จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์และให้ใกล้ชิดกับ
พระพุทธเจ้าให้มากที่สุดแม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วแต่ก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์อยู่ ได้แก่ พระบรมธาตุเจดีย์
พระพุทธรูป เป็นต้น การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรงเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันมาว่า
การนำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ ถือเป็นการบูชาที่ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์ ชาวพุทธในนครศรีธรรมราชจากทุกที่จึงมุ่งหมาย
มาสักการะเมื่อถึงวันดังกล่าว

     แต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมจัดปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) และ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา)
โดยนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร แต่ปัจจุบันนิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา)
ซึ่งมีประชาชนไปร่วมประเพณีกันเป็นจำนวนมาก

     การเตรียมผ้าพระบฏ ผ้าที่นำขึ้นแห่องค์พระธาตุเจดีย์ มักจะนิยมใช้สีขาว เหลือง และแดง พุทธศานิกชนคนใดต้องการห่มผ้าพระธาตุ
จะตระเตรียมผ้าขนาดความยาว ตามความศรัทธาของตน เมื่อไปถึงวัดจะนำผ้ามาผูกต่อกันเป็นขนาดยาวที่สามารถห่มพระบรมธาตุรอบองค์ได้
หากใครต้องการทำบุญร่วมด้วยก็จะบริจาคเงินสมทบในขบวนผ้าพระบฏนี้ก็ได้ บางคนประดิษฐ์ตกแต่งชายขอบผ้าประดับด้วยริบบิ้น พู่ห้อยแพรพรรณ ลวดลายดอกไม้สวยงาม แต่ผ้าห่มพระบรมธาตุเจดีย์ผืนพิเศษจะเขียนภาพพุทธประวัติทั้งผืนยาว โดยช่างผู้ชำนาญเขียนภาพแสดง
ให้เห็นถึงความตั้งใจ ความมานะพยายามในการทำผ้าพระบฏขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ แต่ในปัจจุบัน ผ้าพระบฏซึ่งมีสีขาว
สีแดง สีเหลือง ส่วนใหญ่เป็นผ้ายาวเรียบๆ ธรรมดา

การจัดขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมื่อถึงวันแห่ผ้าขึ้นธาตุ มีการจัดอาหารคาวหวาน เครื่องอุปโภคและบริโภคไปถวายพระสงฆ์ในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร โดยการหาบคอนกันไปเป็นขบวนแห่ที่สวยงามพร้อมนำผ้าพระบฏไปวัดด้วย

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมายังนครศรีธรรมราช ได้มีการจัดแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชา
และจัดให้มีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ชาวบ้านได้นำผ้าที่เตรียมมาแห่งห่มพระบรมธาตุเจดีย์ด้วย

ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบปฏิบัติไปจากเดิมบ้าง โดยได้ยกเลิกการนำภัตตาหาร เครื่องอุปโภคและบริโภคที่นำไปทำบุญ
ถวายพระ การประดับตกแต่งผ้าพระบฏก็ลดหรือตัดไปยังมีก็เฉพาะแต่ผ้าพระบฏของบางหน่วยงาน เช่น สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
และวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เป็นต้น

เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุจะนัดหมายโดยพร้อมเพรียงกันเป็นขบวนใหญ่ แต่ในปัจจุบันการเดินทางสะดวกขึ้น ผู้คนที่ศรัทธาก็มาจากหลายทิศทาง
ต่างคนต่างคณะ ต่างจึงเตรียมผ้ามาห่มพระธาตุ ใครจะตั้งขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็สุดแต่ความสะดวก ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีตลอดทั้งวันโดยไม่ขาดสาย

เดิมขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุทุกขบวน นิยมใช้ดนตรีพื้นบ้านนำหน้าขบวน ได้แก่ ดนตรีหนังตะลุง ดนตรีโนรา แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นกลองยาวบรรเลงจังหวะที่ครึกครื้น เพื่อช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจะเดินเป็นแถวเรียงเป็นริ้วยาวไปตามความยาวของผืนผ้า
ทุกคนชู (เทิน) ผ้าพระบฏไว้เหนือศีรษะ ทั้งนี้ เพราะเชื่อกันว่าผ้าพระบฏเป็นเครื่องสักการะพระพุทธเจ้าจึงควรถือไว้ในระดับสูงกว่าศีรษะ

เมื่อแห่ถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารแล้วจะทำพิธีถวายผ้าพระบฏ โดยมีหัวหน้าคณะกล่าวนำด้วยภาษาบาลีแล้วตามด้วยคำแปลซึ่งมีใจความว่า
"ข้าแต่พระผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าห่มพระธาตุนี้แก่พระพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธบูชา ข้าพเจ้าทั้งหลายขอกราบไหว้ซึ่งเจดีย์
ทั้งหลายในสถานที่นี้ ขออานิสงส์แห่งบุญกุศลของข้าพเจ้าทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าและญาติมิตรทั้งหลายเพื่อความสุขความเจริญตลอดกาล
นานเทอญ"

การนำผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุเจดีย์ หลังจากกล่าวคำถวายผ้าพระบฏเรียบร้อยแล้ว จะแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ
แล้วน้ำผ้าสู่วิหารพระทรงม้า เมื่อถึงตอนนี้ผู้ที่ร่วมในขบวนแห่จะส่งผู้แทนเพียงสามหรือสี่คนสมทบกับเจ้าหน้าที่ของวัดนำผ้าพระบฏ
ขึ้นโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ไม่สามารถขึ้นไปรอบกำแพงแก้วได้หมดทั้งขบวน เพราะลานภายในกำแพงแก้วคับแคบและเป็นเขตหวงห้าม
และเชื่อว่าที่ฐานพระบรมเจดีย์ มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ หากเดินบนลานกำแพงแก้วเป็นการไม่เคารพพระพุทธองค์

พุทธศาสนิกชนมีจิตใจที่จะบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตปีหนึ่งจะต้องมาห่มผ้าพระธาตุครั้งหนึ่งไม่ให้ขาด
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีความสำคัญดังนี้

แสดงให้เห็นถึงลักษณะสังคมของนครศรีธรรมราช ที่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ทำบุญเพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชา เพื่อประสงค์ให้ใกล้ชิดกับ
พระพุทธเจ้า

แสดงให้เห็นว่าพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจและความศรัทธา พุทธศาสนิกชนทั่วทุกทิศจึงประสงค์ห่มผ้าพระบรมธาตุเจดีย์
อย่างพร้อมเพรียงกัน


ที่มาข้อมูล : ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช


หัวข้อ: Re: ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช
เริ่มหัวข้อโดย: คนนนท์ ที่ 19/มี.ค./13 16:50น.
ดูภาพและอ่านเรื่องราวที่คุณสุวิทย์นำมาถ่ายทอดให้รับทราบแล้ว  ภูมิใจกับชาวนครฯ ที่มีประเพณีท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาและยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างไม่เสื่อมคลาย  เคยไปกราบสักการะพระบรมธาตุเจดีย์มาแล้วครั้งหนึ่ง  ถ้ามีบุญคงมีโอกาสได้ไปร่วมประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุกับชาวนครฯ สักครั้ง
หัวข้อ: Re: ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช
เริ่มหัวข้อโดย: เวียงสา980 ที่ 19/มี.ค./13 20:46น.
ดูภาพสวยงามมาก ค่ะ แต่ยังอ่านไม่จบ เอาไว้ถ้าว่าง จะเข้ามาอ่านใหม่ นะคะ ขอบคุณมาก ค่ะ คุณสุวิทย์ ที่นำรูปภาพ และ เรื่องราว ดีๆ มาให้ ได้อ่าน ค่ะ
หัวข้อ: Re: ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช
เริ่มหัวข้อโดย: ศศินี ที่ 22/มี.ค./13 11:41น.
ยิ่งใหญ่น่าศรัทธามากค่ะ อยากไปร่วมประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ สักครั้ง
หัวข้อ: Re: ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช
เริ่มหัวข้อโดย: สุวิทย์ สุข ที่ 23/มี.ค./13 15:47น.
หากจะไปจริงๆ ก็ควรจะไปช่วงประเพณีเดือน3 เดือน 6 หรือประเพณีเดือน 10 ครับ...
และจะพาไปเที่ยวที่วัดนางพญา ที่มีองค์ท้าวจตุคามรวมเทพด้วยนะครับ
ใครอยู่ทางเหนือ. อิสาน, มารวมพลที่บ้านผมก่อนก็ได้ บ้านผมผมอยู่หลังแฟชั่น...
แล้วค่อยออกเดิอนทางไปพร้อมๆ กันครับ...

(http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=136402720147431.jpg) (http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=136402720147431.jpg)


(http://www.17upload.com/plugin_form.php?mod=view2&id=136402691206320.jpg) (http://www.17upload.com/index.php?mod=r-pic2&id=136402691206320.jpg)