ผู้เขียน หัวข้อ: Lossless และ Lossy คือ อะไร ? เกี่ยวกับเพลงที่เราฟังอย่างไร  (อ่าน 4156 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ chin khalang

  • Administrator
  • *
  • ออฟไลน์
  • 192
    322
  • ยินดียิ่งแล้วแขกแก้วมาเยือน
    • อีเมล์


Lossless คือ อะไร?

การบีบอัดข้อมูลเสียงแบบไม่สูญเสีย (Lossless data compression) เป็นรูปแบบของการบีบอัดข้อมูลดิจิตอล ซึ่งไม่มีการสูญเสียข้อมูลใดๆ เมื่อขยายข้อมูลกลับมา จะได้ข้อมูลเหมือนต้นฉบับทุกครั้ง มีความหมายตรงกันข้ามกับ การบีบอัดข้อมูลแบบสูญเสียบางส่วน (Lossy data compression)

ตัวอย่างไฟล์ประเภท Lossless : .flac , .ape , .wv , .m4a , .wav

ไฟล์ .wav ไม่ถือว่าเป็น lossless เพราะไม่มีการบีบอัดข้อมูล แต่พออนุโลมให้เข้าหมวดกับเขาได้เป็นกรณีพิเศษ


สารพันรูปแบบไฟล์เพลง ภาค Lossless พร้อมที่โหลด Encoder

การบีบอัดแบบ Lossless

ผมเขียนมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกว่าบทความนี้มันยาวจังเลย คุณผู้อ่านจะยังอยู่กับผมถึงตรงนี้รึปล่าวนะ แล้วทั่น บก. จะหั่นบทความผมไปเยอะรึปล่าวก็ไม่รู้ 555 ทำตัวไม่สนใจแล้วเล่าเรื่องต่อ เรามาถึงส่วนของ Lossless แล้วครับ เป็นส่วนของผู้รักเสียงเพลงอย่างแท้จริง ในส่วนนี้ผมจะไม่พูดถึงคุณภาพเสียงของรูปแบบต่างๆ นะครับ เพราะแบบ Lossless จะให้คุณภาพเสียงเหมือนต้นฉบับในทุกรูปแบบไฟล์ต่างๆ แต่จุดที่ทำให้แต่ละรูปแบบแตกต่างกันจะอยู่ที่ความสามารถในการบีบอัด และการรองรับจากอุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ งั้นเราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

FLAC (Free Lossless Audio Codec) (.flac)
เป็นรูปแบบของ Lossless ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดตัวหนึ่งครับ ด้วยความที่เป็นรูปแบบฟรี ไม่มีค่าใช้สิทธิ์ใดๆ แล้วยังเป็น open source อีกด้วย ในต่างประเทศ FLAC จึงได้รับความนิยมค่อนข้างสูง ข้อดีของมันนอกจากที่ฟรีแล้ว ยังทำงานได้รวดเร็ว แล้วก็มีโปรแกรมและอุปกรณ์รองรับมากมาย เช่น Winamp รุ่น 5.5 ก็สามารถเปิด FLAC และ rip เพลงเป็น FLAC ได้โดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่ม หรือ iPod ก็รองรับ แต่จะต้องใช้ fireware พิเศษที่ชื่อว่า rockbox (ตัวเดียวกับที่ทำให้รองรับ ogg Vorbis) ก็จะเล่นไฟล์ชนิดนี้ได้ แต่ข้อเสียของ FLAC ก็อยู่ที่ความสามารถในการบีบอัดเพลงน้อยกว่ารูปแบบอื่นๆ อย่าง monkey?s audio อยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก
FLAC รองรับ sample rate ตั้งแต่ 1 Hz ถึง 1048.57 kHz ครับ bit depth ก็ใช้ได้ถึง 32 bit ครับ ปัจจุบัน FLAC อยู่ที่รุ่น 1.2.1 แล้วก็ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของ xiph.org ไปแล้ว บางทีจึงอยู่ใน container OGG ได้

WavPack (.wv)
เป็นรูปแบบฟรีคล้ายๆ กับ FLAC นะครับ แต่เด่นกว่าตรงที่สามารถทำไฟล์แบบ Hybrid/lossy ได้ ก็คือมันสามารถสร้างไฟล์แบบ lossy ได้ พร้อมกับไฟล์อีก 1 ไฟล์ที่เรียกว่า correction file เราสามารถนำไฟล์แบบ lossy ที่มันสร้างไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องมี correction file แต่ก็จะได้คุณภาพเสียงแบบ lossy ถ้าเราอยากได้ระดับ lossless เราก็เอา correction file ไปใส่ไว้ในห้องของ lossy file นั้น โปรแกรมเล่นเพลงก็จะจัดการรวมกันให้เป็นแบบ lossless ครับ แต่ข้อเสียของ WavPack ก็คืออุปกรณ์ที่รองรับยังไม่มากเท่า FLAC ครับ การใช้งานจึงยังไม่กว้างเท่า FLAC
WavPack รองรับ sample rate ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 16777.216 kHz ครับ ส่วน bit rate ของ lossless จะเป็น VBR แต่ในส่วนของ lossy จะใช้ที่ 192 kbps ครับ

Apple Lossless (ALAC) (.mp4, .m4a)
Apple พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นมาเพื่อใช้กับระบบของ Apple เช่น iPod จึงมีแต่ iTunes ที่สร้างไฟล์ชนิดนี้ได้ครับ ข้อดีของ ALAC คือการที่ใช้กับ iPod ได้สมบูรณ์ครับ ความสามารถก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่ารูปแบบอื่นๆ แต่ข้อเสียคือยืดหยุ่นน้อยเพราะ Apple ไม่ปล่อยชุดของโปรแกรมถอดรหัส ALAC ให้กับผู้พัฒนา software อื่นๆ จึงโปรแกรมไม่กี่โปรแกรมที่เล่นไฟล์ชนิดนี้ได้ หลักๆ คือ iTunes ส่วนโปรแกรมอื่นๆ ที่เล่นได้อย่าง foobar2000 ก็เพราะมีคนไปวิจัยโค้ดที่ apple ใช้แล้วก็ reverse-engineered จนได้โปรแกรมถอดรหัสออกมาครับ ซึ่งก็ไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไหร่ แล้ว ALAC รองรับ sample rate แค่ 44,100 และ 48,000 Hz สรุปคือเหมาะเฉพาะผู้ใช้ iPod เท่านั้น

Windows Media Audio Lossless (.wma)
แหะๆ ขึ้นไปอ่านรายละเอียดที่ WMA lossless ในส่วนของ lossy ครับ

Monkey?s audio (.ape)
เป็นอีกรูปแบบไฟล์ที่เห็นกันบ้างบนอินเตอร์เน็ตครับ แต่ไม่นิยมเท่า FLAC ข้อดีของมันก็คือบีบอัดเสียงได้เล็กกว่ารูปแบบอื่นๆ แต่ว่าความเร็วจะไม่สูงเท่า FLAC หรือ WavPack แล้วจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับก็น้อยกว่า FLAC ครับ ซึ่งไฟล์ชนิดนี้ก็ใช้เปิดให้ใช้ได้ฟรีเช่นกันครับ เราสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของไฟล์ชนิดนี้ได้ที่นี้ครับ http://www.monkeysaudio.com/



เปรียบเทียบ Lossless

เปรียบ เทียบความสามารถของไฟล์รูปแบบต่างๆ ซึ่งเราจะเห็นว่า monkey จะให้ขนาดไฟล์ที่เล็กที่สุดครับ (ดูในช่อง Compression) ก็คือเหลือ % ของไฟล์ต้นฉบับน้อยที่สุดครับ แล้วก็สามารถเปรียบเทียบความสามารถต่างๆ เช่นการใช้ ReplayGain ว่าไฟล์ประเภทไหนที่รองรับ RG ได้ หรือความสามารถ Hybrid/Lossy ได้จากตารางนี้ครับ
สรุปการใช้ Lossless นะครับ สำหรับคนทั่วๆ ไปที่ต้องการใช้ Lossless ผมแนะนำให้ใช้ FLAC เพราะมีโปรแกรมและอุปกรณ์จำนวนมากรองรับ จนสามารถนำไฟล์นี้ไปใช้งานได้แพร่หลายที่สุดครับ ส่วนคนที่จะใช้ไฟล์กับอุปกรณ์ที่รองรับไฟล์อื่นๆ อย่าง Apple Lossless หรือ Windows media audio lossless ก็ใช้ไฟล์รูปแบบนั้นๆ ครับ

ส่วนถ้าใครยังไม่มีตัว Encoder ต่างๆ ที่ผมว่ามา ก็เข้าไปดูได้ใน www.rarewares.org ยกเว้น
WMA ที่ใช้ Windows media player ดาวน์โหลดจาก www.microsoft.com
AAC
Nero AAC ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.nero.com/ena/nero-aac-codec.html
Apple AAC ดาวน์โหลด iTunes จาก www.apple.com ครับ
Apple Lossless ก็ใช้ iTunes เช่นกันครับ
แล้ว Lossy ล่ะ คือ อะไร ?

การบีบอัดข้อมูลเสียงแบบตัดทิ้งข้อมูลออกไปบ้าง (Lossy data compression) จะตัดเยอะแค่ไหนขึ้นอยู่กับ bitrate ที่ใช้ ส่วจะตัดอย่างไรบ้างขึ้นอยู่กับโมเดลเสียงที่มนุษย์รับรู้ ที่อยู่ในโปรแกรมเข้ารหัสเสียง (psychoacoustic model)

ตัวอย่างไฟล์ประเภท Lossy : mp3 , wma , ogg , etc.



สารพันรูปแบบไฟล์เพลง ภาค Lossy แถมตั้ง mp3 ยังไงถึงจะแหล่ม
บทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยสาร PCtoday ฉบับที่ 45 เดือนมกราคม ปี 2551 ครับ แต่เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอาฉบับเต็มมาให้อ่านในนี้ด้วย


ใน เย็นวันศุกร์ หลังจากผ่านวันอันแสนวุ่นวายมาตลอดสัปดาห์ ผมตั้งใจว่าจะปล่อยใจล่องลอยให้ผ่อนคลายไปกับเสียงเพลงของวงดนตรีสุดโปรด เราเองก็จัดแจงซื้อซีดีเพลงมาเรียบร้อย ขณะกำลังเตรียมแปลงเพลงเป็น mp3 (rip) ลง notebook อยู่นั้น (เค้าเรียกว่าหวงแผ่น CD จะได้ไม่ต้องใช้แผ่นบ่อยๆ ให้เป็นรอย) ก็เกิดสงสัยว่าเราจะทำไฟล์ออกมาแบบไหนดี ตั้งค่ายังไงขนาดมันถึงจะเล็กแล้วเสียงยังดีอยู่


ผม สงสัยเรื่องนี้มานานพอสมควร เพราะมันมีรูปแบบไฟล์เยอะเหลือเกินตั้งแต่ mp3, ogg, aac, flac, wavpack แล้วรูปแบบไหนที่มันดีสำหรับเรากัน แล้วควรจะตั้งค่ามันยังไง ตั้ง kbps เท่าไหร่ เสียงถึงจะเดิ้น ด้วยความอยากรู้ผมจึงไปค้นข้อมูลมาอ่าน แล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟังครับ แหะๆ บทความนี้อาจจะซับซ้อนแล้วก็เต็มไปด้วยเรื่องทางวิทยาศาสตร์นะครับ เพราะเสียงคือวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง ผมจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายที่สุด แต่ถ้าขี้เกียจอ่านเรื่องพื้นฐานยุ่งๆ ของมัน ก็ข้ามไปอ่านสรุปของแต่ล่ะส่วน (ย่อหน้าสุดท้าย) ได้เลยครับ แต่ผมก็สนับสนุนให้รู้พื้นฐานไว้ด้วยจะดีมาก เพราะจะได้นำไปประยุกต์ใช้ได้กว้างขึ้น เอาแหละเรามาเริ่มกันที่เรื่องพื้นฐานของเสียงกันก่อนดีกว่าครับ

พื้นฐานการบีบอัดเสียง
จากความรู้วิทยาศาสตร์น่าจะสมัยม.ต้น ที่บอกว่าคนเรายินเสียงช่วงความถี่ตั้งแต่ 20 ? 20,000 Hz ครับ เจ้าเลขนี้จะบอกว่าวัตถุที่กำเนิดเสียงสั่นด้วยอัตรากี่ครั้งต่อวินาที เช่นที่ 35 Hz ลำโพงก็จะสั่น 35 ครั้งต่อวินาที เราจะได้ยินเป็นเสียงต่ำครับ ส่วนความถี่ที่สูงๆ ขึ้นอย่าง 15,000 Hz จะได้ยินเป็นเสียงสูง แต่ใช่ว่าทุกคนจะยินเสียงครบทั้งหมดแบบนี้หรอกครับ เพราะประสาทหูเราจะค่อยๆ เสื่อมลง ในวัยผู้ใหญ่จึงอาจจะรับเสียงได้แค่ช่วง 20-15,000 Hz ชัดเจนเท่านั้น ส่วนเสียงอื่นๆ ก็ยังได้ยินอยู่แต่ว่าจะได้ยินเบาลง จนบางทีก็ไม่รู้สึกว่ามีเสียงนี้อยู่
แล้ว ในเรื่องเสียงภาคดิจิตอลยังมีตัวเลขอีก 2 ตัวเข้ามาเกี่ยวข้องครับ นั้นคือ bit depth เช่นที่มักเห็นเป็น 16 bit กับ 24 bit และ sample rate อย่าง 44,100 Hz หรือ 48,000 Hz การจะเข้าใจเรื่องนี้เราต้องเข้าใจเรื่องดิจิตอลก่อนครับ อย่างที่รู้ๆ กันครับว่าดิจิตอลเก็บข้อมูลเป็น 0 กับ 1 แต่ถ้ามันเก็บได้แค่นี้ สงสัยเราคงได้ยินแต่เสียงอิ้ดๆ แน่ๆ การเก็บเสียงเสียงดิจิตอลจึงต้องใช้ชุดของข้อมูล ถึงจะเก็บข้อมูลเสียงได้ครบ


ภาพนี้เป็นเสียง 4 bit ครับ จะเห็นว่ามีค่าทั้งหมด 16 ค่า (0-15) ในแกน y

ดูในภาพนะ ครับ คลื่นเสียงที่เห็นจะมีลักษณะเส้นโค้งๆ นะครับ มีสองแกนคือแกนตั้งกับแกนนอน ซึ่ง bit depth จะเกี่ยวข้องกับแกนตั้งครับ จำนวน bit depth คือจำนวนข้อมูลที่อ้างอิงได้ในแกนตั้งครับ ถ้าเก็บ 1 bit จะอ้างอิงเสียงได้ 2 ค่า อย่าง 4 bit อ้างอิงได้ 16 ค่า แล้ว 16 bit จะอ้างอิงได้ 65,536 ค่า จะเห็นว่ายิ่งเลขมากข้อมูลที่เก็บได้ยิ่งละเอียด
ส่วน อีกค่าหนึ่งคือ sample rate ค่านี้จะแทนแกนนอน มีความหมายว่าใน 1 วินาทีจะมีการเก็บข้อมูลกี่ครั้ง อย่าง 44,100 ก็คือใน 1 วินาทีจะมีการเก็บข้อมูล 44,100 ครั้งครับ ยิ่งเลขมาก ข้อมูลที่เก็บได้ก็จะยิ่งละเอียด ค่าที่เห็นบ่อยๆ คือ 44,100 Hz เพราะเป็นความละเอียดที่ใช้บนแผ่น CD เพลง แหะๆ แอบเห็นหน้างง งั้นดูภาพครับ


ภาพนี้ใช้ bit depth ที่ 16 bit มีค่าตั้งแต่ -32,768 ถึง 32,767 และมีแท่งตั้งๆ แทนจำนวนการเก็บข้อมูล 44,100 แท่งแทน 44,100 ครั้งต่อวินาที

แล้วทำไมยิ่ง bit-depth และ sample rate สูงแล้วยิ่งเก็บข้อมูลเสียงได้ละเอียด เราลองมาดูภาพนี้กันนะครับ


เส้นสีเทาคือสัญญาณเสียงในระบบอนาล็อก หรือเสียงจากธรรมชาติครับ การจะนำมาเก็บเป็นข้อมูลดิจิตอล เส้นสีเทาจะถูกแปลงเป็นเส้นสีแดง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันไม่ทับกัน แค่ใกล้เคียงกัน เพราะสัญญาณดิจิตอลจะอ้างอิงลักษณะของคลื่นเสียงจาก sample rate (แกนนอน) และ bit-depth (แกนตั้ง) เพื่อนำมาแทนเสียง เราจะเห็นความละเอียดของทั้งสองแกนจากช่องสี่เหลี่ยมปะๆ ด้านหลังเส้นครับ เพราะฉะนั้นยิ่งมี sample rate และ bit-depth ที่สูงขึ้น ช่องสี่เหลี่ยมปะๆ ที่ใช้อ้างอิงสัญญาณดิจิตอลก็จะยิ่งถี่ขึ้น ละเอียดขึ้น สัญญาณที่สร้างจากแกนอ้างอิงนี้จึงละเอียดขึ้นด้วย จนสามารถแทนเสียงธรรมชาติได้ใกล้เคียงที่สุด
สรุปนะครับ ยิ่ง bit-depth มาก และ sample rate สูง เสียงก็จะยิ่งดี แต่มีข้อควรจำอยู่ว่า ถ้าต้นฉบับมี bit-depth และ sample rate อยู่แล้ว การไปเพิ่มให้มันสูงขึ้น ไม่ได้ทำให้เสียงดีขึ้นนะครับ เพราะคุณจะเอาข้อมูลที่ไหนไปเพิ่มให้กับเสียงที่มีข้อมูลอยู่เท่านั้น แถมยังทำให้ไฟล์ใหญ่ขึ้นโดยไม่มีประโยชน์อีกตั้งหาก เช่นแผ่น CD มี bit-depth ที่ 16 bit และ sample rate ที่ 44,100 Hz การที่เราไปสั่ง rip เพลงให้เป็น mp3 ที่มี sample rate 48,000 Hz ไม่ทำให้เสียงดีขึ้นครับ
ประเภทของการบีบอัดเสียง

การ บีบอัดเสียงมี 2 ประเภทครับ คือแบบ lossless กับ lossy ซึ่ง lossless คือการบีบอัดที่ไม่มีการเสียข้อมูลเสียงเลย ต้นฉบับเป็นอย่างไร ไฟล์ที่บีบอัดแล้ว เมื่อคลายออกมาจะเหมือนเดิมเป๊ะๆ แต่ข้อเสียของไฟล์ประเภทนี้คือขนาดที่ค่อนข้างใหญ่กว่าแบบ lossy พอสมควร
เรา จะดูจำนวนข้อมูลที่ใช้จาก bit rate ซึ่งมีหน่วยเป็น kbps ครับ มันย่อมาจาก kilo bit per second หรือจำนวนบิตที่ใช้ใน 1 วินาที ยิ่งใช้บิตต่อวินาทีมาก จะเก็บข้อมูลได้มาก แต่ขนาดไฟล์ก็จะยิ่งใหญ่ครับ
อย่างไฟล์ FLAC กับเพลงยาว 5 นาที จะใช้พื้นที่ราวๆ 30 Mb ถ้าดูที่ bit rate ก็จะใช้ราวๆ 900 kbps (เพลงในแผ่น CD จะใช้ bit rate ที่ 1411 kbps ครับ) เทียบกับ mp3 ทั่วๆ ไปที่ใช้ 128 kbps ก็จะใหญ่กว่า 8-9 เท่าเลยทีเดียว แต่แน่นอนว่าเสียงดีกว่ากันแบบเทียบกันไม่ได้เลย รูปแบบไฟล์ที่เป็นแบบ lossless ก็เช่น FLAC, WavPack, Apple Lossless, WMA Lossless ครับ ส่วน wav ไม่ถือว่าเป็น lossless นะครับ เพราะไม่ได้บีบข้อมูลอะไร
ส่วน Lossy คือการบีบอัดที่ทิ้งข้อมูลออกไปบ้าง เช่นเสียงสูงๆ เหนือกว่า 15000 Hz ก็จะถูกตัดทิ้งออกไป ส่วนจะตัดอย่างไรบ้างขึ้นอยู่กับโมเดลเสียงที่มนุษย์รับรู้ (psychoacoustic model) ที่อยู่ในโปรแกรมเข้ารหัสเสียงครับ (Encoder) แล้วจะตัดเยอะแค่ไหนขึ้นอยู่กับ bit rate ที่ใช้ ยิ่งใช้ค่าสูง ก็จะตัดข้อมูลน้อย ไฟล์ยิ่งใหญ่ เสียงยิ่งดีครับ ที่นี้จึงเป็นปัญหาของเราว่าควรจะใช้ bit rate เท่าไหร่ดี อ่านไปเรื่อยๆ ครับผมจะอธิบายให้ฟัง ส่วนรูปแบบไฟล์ที่เป็น Lossy ก็เช่น mp3, mp2, ogg, wma, aac ครับ
ข้อควรจำนะครับ ด้วยความที่ lossy มีการตัดข้อมูลออกมาบ้างระหว่างการแปลงไฟล์ เราจึงควรหลีกเลี่ยงการนำไฟล์ lossy มาแปลงไฟล์ซ้ำๆ ครับ เช่นเอา mp3 ที่ 128 kbps มาแปลงเป็น ogg ที่ 160 kbps เสียงที่ได้ก็จะแย่กว่า mp3 ด้วยซ้ำ เพราะข้อมูลเรามีอยู่เท่านี้ แต่เราไปแปลงมันอีก ให้มันตัดทอนข้อมูลลงไปอีกครับ รวมถึงการแปลงจาก lossy ไปยัง lossless ด้วยนะครับ อย่าง mp3 -> flac ขนาดไฟล์จะใหญ่ขึ้นมาก แต่คุณภาพก็เท่ากับ mp3 นั้นแหละครับ เออ การเซฟเป็นไฟล์แบบ lossy ซ้ำๆ ก็ทำให้เสียคุณภาพได้ด้วยนะครับ อย่างเราเปิดไฟล์ mp3 ขึ้นมาตัดต่อ แล้วเซฟทับลงไปในไฟล์เดิม ยิ่งเซฟทับบ่อยครั้งเท่าไหร่ คุณภาพไฟล์ก็จะเสียไปเยอะเท่านั้นครับ
สรุปนะครับ ถ้าต้องการเสียงดีๆ หรือเก็บไฟล์ระดับที่เทียบเท่าต้นฉบับ แบบว่าถ้าแผ่นต้นฉบับพังแล้วเอาไฟล์นี้ไปไรท์ใหม่ จะได้คุณภาพเท่าเดิมเลย ให้ใช้ไฟล์แบบ lossless ครับ แต่ถ้าพื้นที่น้อย แล้วลองฟังดูแล้ว แยกความแตกต่างระหว่างเสียงจาก Lossless และ Lossy ไม่ได้ ก็บีบเป็นพวก Lossy ก็ได้ครับ


ภาพจาก spectrum analyzer เพลงเดียวกันนะครับ คู่บนคือไฟล์ที่บีบด้วย FLAC ซึ่งเป็น lossless ส่วนคู่ล่างเป็นไฟล์ที่บีบเป็น mp3 ด้วย LAME ระดับ V5 (ราวๆ 130 kbps) ซึ่งเป็นแบบ lossy นะครับ สังเกตดีๆ ครับ ส่วนบนของกราฟคู่บนจะอยู่ครบ แต่ในคู่ล่างส่วนนี้จะถูกตัดออกไป เห็นเรียบเตียนไปเลย ซึ่งก็คือเสียงที่ความถี่สูงๆ ถูกตัดออกไปนั่นเองครับ

ลักษณะของการใช้ Bit-rate

จบ เรื่องประเภทไปก็มาเข้าเรื่องลักษณะของการใช้ bit rate กันต่อเลยครับ คุณผู้อ่านเคยสังเกตเห็นไฟล์ mp3 ที่เวลาเราเล่นแล้วตัวเลขตรง kbps มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมารึปล่าวครับ ไม่ได้แสดงคงที่ที่ 128 kbps ตลอดเวลา ถ้าคุณเคยเห็นก็แปลว่ากำลังเห็นผี mp3 ตามหลอกหลอนนนคุณอยู่... แหะๆ ไม่ใช่ครับมันเป็น mp3 ที่ใช้ bit rate แบบ VBR หรือ ABR ครับ
ลักษณะของการใช้ Bit rate จะมีสามแบบคือ CBR, VBR, ABR ซึ่งแตกต่างกันดังนี้
CBR (constant bitrate) เป็นการใช้ bit rate ที่พื้นฐานที่สุด ซับซ้อนน้อยที่สุด ให้คุณภาพแย่ที่สุด แต่เราเห็นใช้กันมากที่สุด CBR คือใช้ bit rate คงที่ ไม่ว่าเสียงตอนนั้นจะซับซ้อน หรือไม่มีเสียงอะไร bit rate ก็จะยังค้างอยู่ค่านั้น ไม่ยืดหยุ่นใดๆ เช่นค้างอยู่ที่ 128 kbps ตลอดเวลา ข้อดีของมันคือ เราคำนวณขนาดไฟล์ได้ก่อนที่จะแปลงไฟล์ และเหมาะสมสำหรับทำ streaming แบบที่ห้ามใช้ bit rate เกินจากที่กำหนด
ABR (average bitrate) อยู่ตรงกลางระหว่าง CBR กับ VBR ครับ ลักษณะของ ABR คือ bit rate จะขึ้นๆ ลงๆ ได้ตามความซับซ้อนของเสียงในขณะนั้น แต่จะให้ผู้ใช้ระบุค่าได้ว่าจะให้ bit rate อยู่ราวๆ ไหน เช่นป้อนไปที่ 128 kbps ระดับของ bit rate จะขึ้นๆ ลงๆ อยู่ประมาณ 128 kbps ครับ
VBR (variable bitrate) เป็นการใช้ bit rate ที่ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด เป้าหมายของ VBR จะต่างจาก ABR และ CBR ครับ คือ VBR จะพยายามคงระดับคุณภาพของเสียงให้คงที่ตลอดเพลง ด้วย bit rate ที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้คือดูจากคุณภาพเสียงเป็นหลัก เช่นช่วงที่ไม่มีเสียง มันก็ใช้ bit rate ที่ต่ำที่สุดเลยคือ 32 kbps ต่างจากอีก 2 อย่างที่เหลือที่จะพยายามคง bit rate ตามที่กำหนดเอาไว้ ส่วนคุณภาพเสียงจะแกว่งๆ ไม่เท่ากันทั้งเพลง ข้อเสียของ VBR ก็ตรงข้ามกับ CBR ครับ คือเราไม่สามารถคำนวณขนาดไฟล์ที่จะได้ เพราะ bit rate ที่ใช้มันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และเรื่อง streaming ที่เราคุม bit rate ไม่ได้ครับ
สรุปนะครับ VBR จะให้เสียงคุณภาพดีที่สุด ABR อยู่ในระดับรองลงมา แล้ว CBR อยู่ท้ายสุด เพราะฉะนั้นเวลาจะใช้ก็ใช้เป็น VBR ดีกว่าครับ

การบีบอัดเสียงประเภทต่างๆ

MP3 (MPEG Audio Layer-3)
เป็น รูปแบบไฟล์ที่พวกเรารู้จักกันดีนะครับ เพราะเกิดขึ้นมานานแล้ว (เข้าสู่มาตรฐาน ISO เมื่อปี 1991) ถือเป็นรูปแบบไฟล์แบบ lossy ตัวแรกที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง เพราะความสามารถในการบีบอัดที่สามารถลดข้อมูลได้กว่า 10 เท่า ในคุณภาพที่ยอมรับได้ ข้อดีของ mp3 คือเป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย หาเครื่องเล่นง่าย ทำให้มั่นใจว่าถ้าบีบอัดเป็น mp3 แล้วจะหาเครื่องเล่นได้แน่ๆ แต่ข้อเสียคือมีประสิทธิภาพน้อยกว่ารูปแบบไฟล์ใหม่ๆ เช่น ogg หรือ aac แล้วก็ยังไม่สามารถเก็บเสียงความละเอียดสูงเกินกว่า 48,000 Hz แถมยังใช้ Bit rate สูงสุดได้แค่ 320 kbps บางทีมันก็ไม่เพียงพอสำหรับระดับหูทองคำ เก็บเสียง multichannel ไม่ได้ แล้วยังมีปัญหาเรื่องสิทธิบัตรอันแสนจะวุ่นวายด้วยครับ
เรื่อง mp3 ที่ผมจะพูดถึงวันนี้จะอ้างอิงข้อมูลจาก LAME encoder นะครับ ซึ่ง LAME นี้ถือเป็นโปรแกรมแปลงไฟล์ MP3 ที่ดีที่สุดตัวหนึ่งในปัจจุบัน พัฒนากันมาตั้งแต่ปี 1998 จนปัจจุบันอยู่ที่รุ่น 3.97 ครับ LAME ถูกนำไปใช้ในโปรแกรมมากมาย เช่น Flash รวมถึงโปรแกรมแปลงเพลงต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่อย่าง CDex, dBPowerAmp หรือ Winamp (Mp3Dev ก็คือ LAME ครับ) ที่สำคัญมันเป็น freeware ด้วยครับ


การทดลองคุณภาพของ mp3 ที่ได้จาก encoder ตัวต่างๆ คือ LAME 3.95, FhG จาก Adobe Audition, iTune 4.2 ครับ บีบอัดที่ 128 kbps จะเห็นว่า LAME ได้คะแนนสูงที่สุดครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://eka-x-playground.blogspot.com/2008/04/mp3.htm

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=874

ออฟไลน์ เฒ่าแก่

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 777
    238
  • เพศ: ชาย
  • ขอพักใจด้วยครับ

ขอตั้งหลักก่อนนะครับ

วันนี้รับไม่ทัน อิอิ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=874

ออฟไลน์ chomm

  • เทพ
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 1688
    731

ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากเลยค่ะ  แต่ต้องค่อยๆอ่านและทำความเข้าใจไปด้วยอย่างช้าๆ(ไม่ค่อยมีหัวทางนี้ค่ะ)

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=874

ออฟไลน์ vathitrit

  • ThomasEtemeDO
  • ผู้ช่วยแอตมิน
  • *******
  • ออฟไลน์
  • 885
    1715
  • เพศ: ชาย
    • @pump_upp - best crypto pumps on telegram !

ลองหามาฟังนะครับ  แล้วคุณจะลืม mp3 ไปเลย
ลองฟังเสียงกันหน่อย
ริปไว้นานแล้วด้วย eac v 0.9 ตัวเก่า เดี๋ยวนี้ไปถึง v1.3 แล้ว

01. ลาวดวงเดือน - อ.กรมศิลปากร , นาฎศิลป์เชียงใหม่.flac
http://www.mediafire.com/?i1iljg76g8t9oi7

01. นางนาค - แตรวง.flac
http://www.mediafire.com/?6k4hikx64ik1wo8

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=874
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09/ม.ค./12 23:50น. โดย vathitrit »

ออฟไลน์ สมพร เกาะยอ

  • ผู้ทรงเกียรติ
  • *
  • ออฟไลน์
  • 1136
    937
    • อีเมล์


      ขอบคุณ อ.ชิน เขลางค์ มากๆ กับข้อมูลแบบเชิงลึกวิชาการมาก สำหรับผม อ่านแล้ว ก็ต้องอ่านอีก เพื่อความเข้าใจ บางตัวก็เคยรู้แต่บางตัวไม่รู้ อย่างที่ท่านวาทิต ว่าลืม MP3 ไปเลย ผมว่า ผมคงลืมเขาไม่ได้ เพราะข้อมูลเพลง 99.99 % ที่ผมมีเป็น MP3 ล้วนๆ  จะมาเริ่มต้นใหม่ ก็อีกหลายปี กว่าจะได้เท่านี้  เฮ่อ ความไม่พอย่อมเกิดขึ้นด้วยความไม่พอ นะท่าน น่าจะพอไว้ก่อน เอาเท่าที่ได้


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=874

ออฟไลน์ ฉัตรเจริญ

  • MOD
  • *
  • ออฟไลน์
  • 2921
    13462
  • เพศ: ชาย
    • อีเมล์

      ขอบคุณสำหรับความรู้จาก อ.ชิน เขลางค์    ซึ่งผมก็รู้แบบที่เรียกว่า "งูงู ปลาปลา" แต่ผมก็ริปเพลงจากแผ่นที่เป็นเพลงถูกใจ   กับจาก CDที่มีในบ้านเกือบจะทุกแผ่นเป็นไฟล์ .wav แสดงว่ามาถูกทาง
ขอบคุณ คุณ"vathitrit" สำหรับลิงค์ที่แนะนำ   สักครู่จะตามไป   ขอบคุณครับ


คำถาม  เผื่ออาจารย์ชินจะเข้ามาเจอ
         1. ผมริปเพลงจากแผ่นเป็นไฟล์ .wav  แต่ไม่มีโปรแกรมปรับเกณฑ์เมือน MP3 เกณฑ์  อาจารย์ชินหามาให้ทีนะ
         2. เพลงที่เราริปเป็น MP3 แล้วแปลงเป็น .wav คุณภาพเสียงจะเป็นยังไง (เอาเป็นว่าควรทำ  หรือไม่ควร ก็ได้)

           

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=874

ออฟไลน์ โชค นรา

  • ผู้ช่วยแอตมิน
  • *******
  • ออฟไลน์
  • 2174
    858

แอบก๊อปข้อมูลไว้อ่านด้วยหล่ะ แบบอ่านครั้งเดียวแล้วจำไม่หมด .. ขอบคุณครับจารย์  :'e:92

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=874

ออฟไลน์ สุ บางบัวทอง

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 100
    7

 :'e:31

สวัสดีครับ ขอบคุณทุกท่านด้านบนนนะครับ

ผมเองฟัง lossless เป็นหลักครับ พอดีเริ่มต้นสะสมจาก lossless มาก่อน

หากมีคำถามหรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับ lossless ไม่ว่า เพลง การใช้งาน อุปกรณ์ โปรแกรม ก็ถามไถ่กันได้นะครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=874
MAC Music Server, Software, USB to SPDIF Converter, ASRC DAC, Pre-Amp, Mono Block Power Amp. Acoustic Suspension Speaker

ออฟไลน์ นายน้อย

  • ผู้ช่วยแอตมิน
  • *******
  • ออฟไลน์
  • 2716
    1111
  • เพศ: ชาย
  • nainoi ied

อาจารย์ชินฯ ครับ ขออ่านสักครึ่งเดียว งงไปหมดแล้ว 555 วันหน้าจะมาอ่านเพิ่มหรือสงสัย จะกลับมาอ่านอีกตาลายอีกแระ ขอบคุณครับผม :'e:133

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=874
ขอบคุณครับที่เข้าชม