ผู้เขียน หัวข้อ: มาดูต้นไม้กินสัตว์กันเร็วๆ เดี๋ยวอดเห&#  (อ่าน 4194 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ สุบิน

  • เทพ
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 2334
    646
    • อีเมล์




สกุลหยาดน้ำค้าง



บางส่วนของใบ D. filiformis var. tracyi ซึ่งจับแมลงได้




ใบและหนวดที่เคลื่อนไหวได้ของ D. capensis


 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หยาดน้ำค้างเป็นพืชหลายปี (มีไม่กี่ชนิดที่เป็นพืชปีเดียว) โตชั่วฤดู มีรูปแบบเป็นใบกระจุกทอดนอนไปกับพื้นหรือแตกกิ่งก้านตั้งตรงกับพื้นดิน มีขนาดความสูง 1 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ขึ้นอยู่กับชนิด ในชนิดที่มีรูปแบบลำต้นเลื้อยไต่สามารถยาวได้ถึง 3 เมตร เช่น ชนิด D. erythrogyne[2] หยาดน้ำค้างสามารถมีช่วงชีวิตได้ถึง 50 ปี[3] พืชสกุลนี้มีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้เพราะหยาดน้ำค้างขนาดเล็กจะไม่มีเอนไซม์ (โดยเฉพาะไนเตรทรีดักเตส[4]) ที่ต้นไม้ทั่วไปใช้ดูดซึมสารประกอบไนโตรเจนในดิน
[แก้] ลักษณะวิสัย
หัวใต้ดินของ D. zonaria, หยาดน้ำค้างชนิดที่มีหัว จะเริ่มต้นเติบโตในฤดูหนาว

สกุลสามารถแบ่งได้ตามรูปแบบการเจริญเติบโต:

    หยาดน้ำค้างเขตอบอุ่น (Temperate Sundews): เป็นชนิดที่เป็นกลุ่มใบคลี่ออกหนาแน่นหรือที่เรียกว่าหน่องันที่จำศลีในฤดูหนาว มีถิ่นอาศัยในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป Drosera arcturi จากออสเตรเลีย (รวมทั้งแทสมาเนีย) และนิวซีแลนด์เป็นอีกหนึ่งชนิดของหยาดน้ำค้างเขตอบอุ่นที่ตายลงกลับไปสู่หน่องันรูปเขาสัตว์
    หยาดน้ำค้างใกล้เขตร้อน (Subtropical Sundews): หยาดน้ำค้างชนิดนี้เป็นการเติบโตไม่อาศัยเพศมีวงจรการเติบโตเพียงหนึ่งรอบปีภายใต้ภูมิอากาศใกล้เขตร้อนหรือเกือบใกล้เขตร้อน
    หยาดน้ำค้างแคระ (Pygmy Sundews): มีประมาณ 40 ชนิดในออสเตรเลีย มีขนาดเล็กมาก มีการสร้างหน่อ (เจมมา) สำหรับการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และมีขนหนาแน่นบริเวณกะบังรอบตรงกลาง ซึ่งขนเหล่านี้ใช้ปกป้องต้นไม้จากแสงอันร้อนแรงของพระอาทิตย์ในฤดูร้อนของทวีปออสเตรเลีย หยาดน้ำค้างแคระได้รับการจัดเป็นสกุลย่อย Bryastrum
    หยาดน้ำค้างมีหัว (Tuberous Sundews): มีเกือบ 50 ชนิดในประเทศออสเตรเลีย ที่มีหัวอยู่ใต้ดินเพื่อจะได้มีชีวิตรอดจากฤดูร้อนที่สุดโต่งในถิ่นที่อยู่อาศัย และจะแตกใบใหม่ในฤดูใบไม้ร่วง แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือลำต้นใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อนและลำต้นแบบเลื้อยไต่ หยาดน้ำค้างมีหัวได้รับการจัดเป็นสกุลย่อย Ergaleium
    หยาดน้ำค้าก้านใบเป็นปมตรงปลาย (Petiolaris Complex): กลุ่มของหยาดน้ำค้างเขตร้อนของประเทศออสเตรเลียที่ถิ่นอาศัยมีอากาศอบอุ่นคงที่แต่ปัจัยความเปียกชื้นไม่สม่ำเสมอ มีประมาณ 14 ชนิดที่วิวัฒนาการเป็นพิเศษเพื่อรับมือกับสิ่งแวดล้อมแห้งแล้งแต่ผันผวนนั้น เช่น มีขนปกคลุมก้านใบหนาแน่น ซึ่งจะรักษาความชุ่มชื้นไว้ และเพิ่มผิวสำหรับการควบแน่นน้ำค้างยามเช้า

ถึงแม้ว่าหยาดน้ำค้างเหล่านี้ไม่ได้เป็นรูปแบบการเจริญเติบโตแบบเดียวกันอย่างชัดเจน แต่มักจะรวบกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน:

    หยาดน้ำค้างควีนแลนด์ (Queensland Sundews): เป็นกลุ่มเล็กมี 3 ชนิด (D. adelae D. schizandra และ D. prolifera) ทั้งหมดเติบโตในถิ่นที่อยู่ที่มีความชื้นสูงในร่มเงาของป่าฝนประเทศออสเตรเลีย

หยาดน้ำค้างมีต่อมหนวดจับ ที่ปลายของหนวดมีสารคัดหลั่งเหนียวปกคลุมแผ่นใบ กลไกการจับและย่อยเหยื่อปกติใช้ต่อมสองชนิด ชนิดแรกคือต่อมมีก้านที่หลั่งเมือกรสหวานออกมาดึงดูดและดักจับแมลง และหลั่งเอนไซม์ออกมาเพื่อย่อยแมลงนั้น ชนิดที่สองคือต่อมไร้ก้านที่ดูดซึมสารอาหารที่ได้จากการย่อย (หยาดน้ำค้างบางชนิดไม่มีต่อมไร้ก้าน เช่น D. erythrorhiza) เหยื่อขนาดเล็กซึ่งส่วนมากจะเป็นแมลงจะถูกดึงดูดโดยสารคัดหลั่งรสหวานที่หลั่งออกมาจากต่อมมีก้าน เมื่อแมลงแตะลงบนหนวด แมลงก็จะถูกจับไว้ด้วยเมือกเหนียว และในที่สุดเหยื่อก็จะยอมจำนนต่อความตายด้วยความเหนื่อยอ่อนหรือการขาดอากาศหายใจเพราะเมือกจะห่อหุ้มตัวและอุดทางเดินหายใจของเหยื่อนั้น ซึ่งส่วนมากจะกินเวลา 15 นาที[5] ต้นไม้จะหลั่งเอนไซม์ esterase, peroxidase, phosphatase และ protease[6]ออกมา เอนไซม์เหล่านี้จะย่อยและปลดปล่อยสารอาหารออกจากแมลง สารอาหารจะถูกดูดซึมผ่านทางผิวใบเพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ต่อไป
ขนติ่งของ D. indica

หยาดน้ำค้างทุกชนิดสามารถเคลื่อนไหวหนวดของมันได้ ซึ่งการเคลื่อนไหวนั้นจะตอบสนองต่อการสัมผัสของเหยื่อ หนวดจะไวต่อการกระตุ้นอย่างมากและจะงอเข้าหากลางใบเพื่อนำเหยื่อมาสัมผัสกับต่อมมีก้านให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตามคำกล่าวของชาลส์ ดาร์วิน การสัมผัสของขาแมลงขนาดเล็กกับหนวดของหยาดน้ำค้างเพียงหนวดเดียวก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองนั้นได้[5] การตอบสนองต่อการสัมผัสเรียกว่าทิกมอทรอปิซึม (thigmotropism, การเคลื่อนไหวของพืชโดยมีสัมผัสเป็นสิ่งเร้า) และในหยาดน้ำค้างบางชนิดการตอบสนองนี้จะเกิดรวดเร็วมาก หนวดรอบนอกของ D. burmannii และ D. sessilifolia สามารถงอเข้าสู่ภายในภายในไม่กี่วินาทีเมื่อถูกสัมผัส ในขณะที่ D. glanduligera สามารถงอหนวดรัดเหยื่อได้ในสิบวินาที[7] หยาดน้ำค้างบางชนิดสามารถงอแผ่นใบได้หลายองศาเพื่อให้สัมผัสเหยื่อมากที่สุด D. capensis มีการเคลื่อนไหวที่น่าทึ่งที่สุด ใบของมันจะงอล้อมรอบตัวเหยื่อได้ใน 30 นาที และในหยาดน้ำค้างบางชนิดอย่างเช่น D. filiformis ไม่สามารถงอใบตอบสนองเหยื่อได้[8]

ในหยาดน้ำค้างในออสเตรเลียบางชนิด (D. hartmeyerorum, D. indica) มีรูปแบบขนติ่ง (แข็งมีสีแดงหรือเหลือง) เพิ่มเข้ามา ซึ่งอาจจะใช้ในการช่วยจับเหยื่อ แต่หน้าที่แท้จริงของมันนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด

รูปร่างสัณฐานของใบในสกุลหยาดน้ำค้างนั้นมีความหลากหลายแบบสุดโต่ง มีตั้งแต่ใบรูปไข่ไร้ก้านของ D. erythrorhiza จนถึงใบรูปเข็มกึ่งแบบขนนกสองชั้นของ D. binata
 
ดอกและผล
ดอกของ D. kenneallyi

ดอกของหยาดน้ำค้างคล้ายกับพืชกินสัตว์ชนิดอื่นๆที่ชูดอกอยู่เหนือใบของมันด้วยก้านดอกที่ยาว การที่ดอกและกับดักอยู่ห่างกันนั้นน่าจะเกิดจากการปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้พาหะถ่ายเรณูมาติดกับดักของมัน อย่างไรก็ตาม มีการแสดงว่าหยาดน้ำค้างดึงดูดแมลงต่างชนิดกันสำหรับพาหะถ่ายเรณูและเหยื่อซึ่งชนิดของแมลงทั้งสองประเภทนั้นคาบเกี่ยวกันเพียงเล็กน้อย[9] ความสูงของก้านดอกนั้นอาจเป็นไปได้ที่ใช้ยกดอกให้สูงขึ้นเพื่อให้พาหะถ่ายเรณูสนใจ ส่วนมากช่อดอกจะเป็นช่อเชิงลด ดอกจะบานออกโดยการตอบสนองต่อความเข้มของแสง(เปิดเฉพาะเมื่อได้รับแสงแดดโดยตรง)และดอกจะเบนตามแสงแดดโดยตอบสนองต่อพระอาทิตย์

         ดอกของหยาดน้ำค้างจะเป็นวงกลมสมมาตรกัน มีห้ากลีบ (ยกเว้นในบางชนิดที่มีสี่กลีบดอก; D. pygmaea และแปดถึงสิบสองกลีบดอก; D. heterophylla) โดยมากมีดอกขนาดเล็ก (<1.5 ซม. หรือ 0.6 นิ้ว) อย่างไรก็ตาม มีหยาดน้ำค้างสองสามชนิด เช่น D. regia และ D. cistiflora ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 4 ซม. (1.5 นิ้ว) หรือมากกว่า[8] ทั่วไปแล้วดอกมีสีขาวหรือชมพู แต่ชนิดที่ขึ้นในประเทศออสเตรเลียกลับมีสีที่หลากหลาย เช่น สีส้ม (D. callistos), สีแดง (D. adelae), สีเหลือง (D. zigzagia) หรือสีม่วง (D. microphylla)

หยาดน้ำค้างมีรังไข่เป็นรังไข่แบบสูงกว่าและพัฒนามาเป็นผลแห้งแตกที่ภายใบบรรจุไปด้วยเมล็ดเล็กๆมากมาย

 ราก

Drosera anglica กับเหยื่อ

      ระบบรากของหยาดน้ำค้างเกือบทุกชนิดจะมีการวิวัฒนาการน้อยมาก เพราะหน้าที่หลักของมันมีแค่ดูดซับน้ำและยึดต้นไม้กับกับพื้น หยาดน้ำค้างแอฟริกาสองสามชนิดใช้รากเป็นที่เก็บสะสมน้ำและอาหาร บางชนิดมีระบบรากจริงที่เหลืออยู่ระหว่างฤดูหนาวถ้าลำต้นตายลง บางชนิด เช่น Drosera adelae และ Drosera hamiltonii ใช้รากของมันสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยแตกหน่อจากรากของมัน หยาดน้ำค้างในออสเตรเลียบางชนิดมีหัวใต้ดินเพื่อให้ต้นไม้รอดตายในฤดูร้อนที่แห้งแล้ง รากของหยาดน้ำค้างแคระบ่อยครั้งที่มันมีรากที่ยาวมากเมื่อเทียบสัดส่วนกับขนาดของต้น 1 ซม.มีรากยาวมากกว่า 15 ซม.จากผิวดิน หยาดน้ำค้างแคระบางชนิด เช่น D. lasiantha และ D. scorpioides มีระบบรากวิสามัญ หยาดน้ำค้างชนิด Drosera intermedia และ D. rotundifolia มีรายงานว่าพบรูปแบบอาบัสคูลาไมคอไรซาแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อของพืช

 การสืบพันธุ์

            หยาดน้ำค้างหลายชนิดสืบพันธุ์ได้ด้วยตนเอง (ผสมในต้นเดียว) และบ่อยครั้งที่มีการผสมเรณูในดอกเดียวกัน[8] ทำให้มีเมล็ดมากมาย เมล็ดสีดำเล็กๆจะเริ่มงอกเมื่อได้รับแสงและความชื้น ขณะที่เมล็ดของชนิดที่อยู่ในเขตอบอุ่นต้องการความเย็น, อากาศชื้น, เป็นตัวกระตุ้นในการงอก เมล็ดของหยาดน้ำค้างที่มีหัวต้องการความร้อน, ฤดูร้อนที่แห้ง ตามด้วยความเย็น, ฤดูหนาวที่เปียกชื้น สำหรับกระตุ้นให้เมล็ดงอก

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเกิดขึ้นตามธรรมชาติในหยาดน้ำค้างบางชนิดที่สร้างไหลหรือเมื่อรากอยู่ใกล้กับผิวดิน ใบแก่ที่สัมผัสกับดินอาจแตกหน่อเป็นต้นเล็กๆได้ หยาดน้ำค้างแคระจะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเช่นกัน โดยใช้ใบที่คล้ายเกล็ดที่เรียกว่าเจมมา หยาดน้ำค้างที่มีหัวสามารถสร้างตะเกียงจากหัวของมันได้

บ่อยครั้งการกระจายพันธุ์ของหยาดน้ำค้างเกิดจากใบ, หัว หรือราก เท่าๆกับที่เกิดจากเมล็ด
   
การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของหยาดน้ำค้าง แสดงด้วยสีเขียว

             การกระจายพันธุ์ของพืชสุกลหยาดน้ำค้างนั้นแพร่กระจายจากรัฐอะแลสกาในทางตอนเหนือจนถึงประเทศนิวซีแลนด์ในทางตอนใต้ โดยมีศูนย์กลางความหลากหลายอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย (ประมาณ 50% ของชนิดที่ค้นพบ), ทวีปอเมริกาใต้ (20+ ชนิด) และทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา (20+ ชนิด) มีหยาดน้ำค้างสองสามชนิดที่พบได้ในทวีปยูเรเชียและทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งบริเวณเหล่านี้ถือเป็นรอบนอกของการกระจายพันธุ์ของสกุลซึ่งโดยทั่วไปการกระจายพันธุ์ของหยาดน้ำค้างจะไม่เข้าใกล้บริเวณเขตอบอุ่นหรือขั้วโลกเหนือ มีการคาดคิดที่ต่างออกไปว่าการวิวัฒนาการของพืชสกุลนี้เกิดขึ้นในช่วงการแตกออกของทวีปกอนด์วานา เนื่องจากการเลื่อนไหลของทวีป และการวิวัฒนาการที่เกิดการกระจายตัวที่กว้างขวางในปัจจุบันเกิดจากผลนั้น[11] ต้นกำเนิดของสกุลคาดว่าอยู่ในทวีปแอฟริกาหรือประเทศออสเตรเลีย

             ในยุโรปพบหยาดน้ำค้างเพียงสามชนิดเท่านั้น คือ: D. intermedia, D. anglica, และ D. rotundifolia ซึ่งสองชนิดหลังมีการกระจายพันธุ์ที่ซ้อนทับกัน ทำให้เกิดลูกผสมที่เป็นหมันอย่าง D. × obovata ในอเมริกาเหนือนอกจากจะมีหยาดน้ำค้างสามชนิดรวมทั้งลูกผสมเหมือนกับในยุโรปแล้วยังมีหยาดน้ำค้างอีกสี่ชนิด D. brevifolia เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่พบในรัฐที่ใกล้ชายฝั่ง จากรัฐเทกซัสถึงรัฐเวอร์จิเนีย ในขณะที่ D. capillaris นั้นพบได้ในแถบเดียวกันและยังพบในแถบแคริบเบียนอีกด้วย ชนิดที่สาม D. linearis พบทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาและทางตอนใต้ของประเทศแคนาดา D. filiformis มีสองชนิดย่อยพบตามรัฐทางชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เช่น แหลมฟลอริดา เป็นต้น

             พืชในสกุลนี้บ่อยครั้งถูกระบุบว่าพบได้ทั่วโลกซึ่งหมายความว่ามีการกระจายพันธุ์ทั่วโลก ลุดวิจ ดีลส์ (Ludwig Diels) นักพฤกษศาสตร์ ผู้เขียนเอกสารเกี่ยวสกุลนี้ เรียกสิ่งนี้ว่า "การตัดสินใจที่ผิดอย่างที่สุดในสกุลนี้ การกระจายพันธุ์นั้นผิดปกติอย่างมาก" („arge Verkennung ihrer höchst eigentümlichen Verbreitungsverhältnisse“) ในขณะที่ยอมรับว่าหยาดน้ำค้าง "อาศัยอยู่ในส่วนที่พิเศษของผิวโลก" („einen beträchtlichen Teil der Erdoberfläche besetzt“)[12] เขาชี้ว่าไม่พบหยาดน้ำค้างจากในบริเวณเกือบจะทั้งหมดของพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง ป่าดิบชื้น ชายฝั่งแปซิฟิกของอเมริกา โพลีนีเซีย บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และ แอฟริกาเหนือ และพบหนาแน่นน้อยในแถบอบอุ่น เช่น ยุโรป และอเมริกาเหนือ[12]
   
 ถิ่นอาศัย

หยาดน้ำค้างใบกลม (D. rotundifolia) เติบโตในสแฟกนั่ม มอสส์ร่วมกับกกและหญ้าถอดปล้อง

โดยทั่วไปแล้วหยาดน้ำค้างจะเติบโตในฤดูที่มีความชุ่มชื้นหรือถิ่นอาศัยที่เปียกชื้นตลอดปีที่มีดินมีสภาพเป็นกรดและได้รับแสงในปริมาณที่สูง ถิ่นอาศัยโดยปกติจะเป็นหนองน้ำ, พื้นที่ลุ่ม, ที่ลุ่มหนอง, ที่ลุ่มมีน้ำขัง,ภูเขาหัวตัดของประเทศเวเนซุเอลา, วอล์ลัมของชายฝั่งออสเตรเลีย, ฟินบอสของประเทศแอฟริกาใต้, และลำห้วยที่ชุ่มชื้น หยาดน้ำค้างหลายชนิดเติบโตในกลุ่มสแฟกนั่ม มอสส์ซึ่งดูดซับสารอาหารจำนวนมากจากดินและเปลี่ยนดินให้มีสภาพเป็นกรด ทำให้ดินมีสารอาหารไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของพืช ซึ่งหยาดน้ำค้างเหล่านั้นที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสารอาหารเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตปกคุลมได้บนพื้นที่เหล่านี้

            จากที่กล่าวมาข้างต้น หยาดน้ำค้างมีความหลากหลายในถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้หยาดน้ำค้างแต่ละชนิดต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย อย่างในป่าฝน, ทะเลทราย (เช่น D. burmannii และ D. indica) และสิ่งแวดล้อมที่เกือบไม่ได้รับแสงเลย (หยาดน้ำค้างควีนแลนด์) หยาดน้ำค้างชนิดในเขตอบอุ่นจะจำศีลในฤดูหนาว ซึ่งเป็นตัวอย่างการปรับตัวให้เข้ากับถิ่นอาศัย ทั่วไปแล้วหยาดน้ำค้างชอบสภาพอากาศอบอุ่นแต่ก็ทนต่อความหนาวเย็นได้พอสมควร
   
การอนุรักษ์

ใบของ Drosera rotundifolia

แม้ว่าไม่มีหยาดน้ำค้างชนิดใดในสหรัฐอเมริกาจะได้รับการปกป้องจากรัฐบาลกลาง แต่ทุกชนิดกลับถูกบรรจุอยู่ในบัญชีพืชที่ถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ในบางรัฐ[13] นอกจากนี้ ประชากรส่วนมากที่เหลืออยู่จะพบในพื้นที่ที่ได้รับการปกป้อง เช่น อุทยานแห่งชาติ หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พืชในสกุลหยาดน้ำค้างได้รับการปกป้องโดยกฎหมายจากหลายประเทศในยุโรป เช่น ประเทศเยอรมนี[14] ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ฟินแลนด์[14] ฮังการี[14] ฝรั่งเศส[14] และบัลแกเรีย[14] ปัจจุบัน การคุกคามร้ายแรงในยุโรปและอเมริกาเหนือคือการสูญเสียถิ่นอาศัยจากการพัฒนา เช่น การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อการเกษตร และการเก็บเกี่ยวพีท (peat) บางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายพื้นที่ของการกระจายพันธุ์ การนำพืชกลับเข้ามาสู่ถิ่นอาศัยเป็นการยากมากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะความต้องการทางระบบนิเวศวิทยาของประชากรพืชนั้นๆ ต้องใกล้เคียงกับบริเวณภูมิศาสตร์ที่อาศัยเดิมของมัน เนื่องจากความคุ้มครองทางกฎหมายในหนองน้ำและทุ่งหญ้าที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับผลของความพยายามอันเข้มข้นที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของถิ่นอาศัยดังกล่าว ภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของของหยาดน้ำค้างอาจจะจำกัดขอบเขตได้ แม้ว่าหยาดน้ำค้างหลายชนิดส่วนมากจะถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ ด้วยความที่หยาดน้ำค้างมีขนาดเล็ก โตช้า ทำให้ยากต่อการปกป้อง ในการที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิประเทศ หยาดน้ำค้างมักถูกมองข้ามหรือไม่เป็นที่จดจำ


[แก้] ประโยชน์
หน้าหนึ่งในข้อเขียนวอยนิชที่แสดงภาพวาดเก่าแก่ที่อาจจะเป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุลหยาดน้ำค้าง
[แก้] ประโยชน์ทางการแพทย์

หยาดน้ำค้างถูกให้ในทางการแพทย์มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่12 เมื่อแพทย์ชาวอิตาลีจากโรงเรียนแห่งซาแลร์โน (Salerno) ที่ชื่อมัตตาเออุส ปลาเตอารีอุส (Matthaeus Platearius) บรรยายถึงพืชสกุลนี้ว่าเป็นยาสมุนไพรรักษาอาการไอภายใต้ชื่อ "herba sole" มีการใช้กันทั่วไปในประเทศเยอรมนีและทุกๆที่ในทวีปยุโรป ชาที่ทำจากหยาดน้ำค้างถูกแนะนำจากนักสมุนไพรว่าสามารถเป็นรักษาอาการไอแห้งๆ, โรคหลอดลมอักเสบ, โรคไอกรน, โรคหืด และ "อาการหายใจลำบากที่มีสาเหตุจากหลอดลม"[15] จากการศึกษาในปัจจุบันระบุบว่าพืชสกุลหยาดน้ำค้างมีคุณสมบัติบรรเทาอาการไอ[16]

Materia Medica ของคูลเบร์ท (Culbreth) ในปี ค.ศ. 1927 แสดงรายการว่า D, rotundifolia, D. anglica และ D.linearis ใช้เป็นยากระตุ้น และ รักษา หลอดลมอักเสบ, ไอกรน, และ วัณโรค[17] หยาดน้ำค้างถูกใช้เป็นสารกระตุ้นกำหนัดและกระตุ้นหัวใจด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังใช้รักษาการไหม้จากแดดเผา ปวดฟัน[18] และป้องกันเป็นกระ ยาเหล่านี้ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน มีประมาณ 200-300 ชนิดที่ขึ้นทะเบียน ปกติจะใช้ร่วมกับส่วนผสมอื่น ปัจจุบัน หยาดน้ำค้างยังคงใช้ในการรักษาอาการป่วยอย่างเช่น ไอ การติดเชื้อที่ปอด และ แผลในกระเพาะ

ยาแต่เดิมนั้นทำมาจาก ราก ดอก และผล[19] ตั้งแต่หยาดน้ำค้างมีการอนุรักษ์ในหลายๆส่วนของยุโรปและอเมริกาเหนือ การสกัดยานั้นต้องใช้หยาดน้ำค้างที่โตเร็วและได้จากการปลูกเลี้ยง (โดยเฉพาะ D. rotundifolia, D. intermedia, D. anglica, D. ramentacea และ D. madagascariensis) หรือหยาดน้ำค้างที่นำเข้ามาจาก มาดากัสการ์, สเปน, ฝรั่งเศส, ฟินแลนด์ และ ประเทศกลุ่มทะเลบอลติก[14]
[แก้] ไม้ประดับ

เพราะด้วยความที่มันเป็นพืชกินสัตว์และมีกับดักที่สวยงามแพรวพราว หยาดน้ำค้างจึงเป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตามความต้องการในสิ่งแวดล้อมของหยาดน้ำค้างหลายๆชนิดค่อนข้างจะเข้มงวดทำให้ยากต่อการปลูกเลี้ยง เป็นผลให้หยาดน้ำค้างหลายๆชนิดไม่มีการปลูกเลี้ยงทางการค้ากัน แต่ก็ยังมีอีกสองสามชนิดที่ถูกเลี้ยงทางการค้าอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และมักจะพบมันวางขายอยู่ใกล้ๆกับกาบหอยแครง ซึ่งก็มี D. capensis, D. aliciae, และ D. spatulata[20]

ในหยาดน้ำค้างหลายๆชนิด โดยทั่วไปแล้ว ต้องการสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ปกติจะอยู่ในรูปแบบของเครื่องปลูกที่เปียกหรือชื้นอย่างสม่ำเสมอ หลายชนิดต้องการน้ำบริสุทธิ์ สารอาหาร เกลือ หรือแร่ธาตุในดิน สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตหรือทำให้มันตายได้ ปกติจะใช้เครื่องปลูกเป็นสแฟกนัมมอสส์ที่ยังสดผสมกับที่แห้งแล้ว, สแฟกนัมพีชมอสส์, ทราย, และ/หรือ เพอร์ไลต์ และรดน้ำด้วยน้ำกลั่น, น้ำที่ผ่านกระบวนการออสโมซิสผันกลับ หรือน้ำฝน

หัวของหยาดน้ำค้างชนิดที่มีหัวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลียเป็นอาหารของชนเผ่าอะบอริจิน ชนพื้นเมืองในทวีปออสเตรเลีย[21] หัวบางชนิดก็ถูกนำมาทำเป็นสีย้อมผ้า[22] ขณะที่สีม่วงและสีเหลืองที่ย้อมอยู่บนเสื้อผ้าของชาวสก็อตตามภูเขาสูงได้จาก D. rotundifolia[23] เหล้าที่ทำจากพืชสกุลหยาดน้ำค้าง ปัจจุบันยังคงยังมีการผลิตอยู่ ซึ่งใช้สูตรจากสมัยคริสต์ศวรรษที่ 14 โดยทำมากจากใบสดๆของ D. capensis, D. spatulata, และ D. rotundifolia[22]

   ขอบคุณข้อมูลอินเตอร์เนต

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6626
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/พ.ค./12 10:00น. โดย เฒ่าแก่ »


สวยจังเลยค่ะ

นี่รึเปล่า ที่เขาเรียกสวยประหาร  psi107

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6626

ออฟไลน์ ตุ๊กตา

  • มือสมัครเล่น
  • **
  • ออฟไลน์
  • 20
    8
  • เพศ: หญิง

ต้นอะไรไม่รู้ กินหนอน ได้ด้วย ขอบคุณค่ะ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6626

ออฟไลน์ น้องดา

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 2123
    211
  • เพศ: หญิง
  • -
    • -
    • อีเมล์

แปลกดีค่ะพี่สุบินดูแล้วคล้ายๆๆดอกดวงอาทิตย์นะคะ แต่กินคนได้เหรอน่าแปลกค่ะ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6626
-

ออฟไลน์ เฒ่าแก่

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 777
    238
  • เพศ: ชาย
  • ขอพักใจด้วยครับ

สวยงามดีนะครับท่านลุง

แต่แฝงอันตรายเน้อะ

จะเหมือนสาวๆสวยๆหรือเปล่าหนอ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6626

ออฟไลน์ คนนนท์

  • เทพ
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 678
    271
  • เพศ: ชาย
    • อีเมล์
Re: มาดูต้นไม้กินสัตว์กันเร็วๆ เดี๋ยวอดเห&#
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 14/มิ.ย./12 19:20น. »

เคยรู้จักแต่ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง  ได้มารู้จักต้นไม้กินแมลงอีกชนิดหนึ่ง  ธรรมชาติยังมีอะไรที่เราไม่รู้อีกเยอะเลยนะ ขอบคุณครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6626

Re: มาดูต้นไม้กินสัตว์กันเร็วๆ เดี๋ยวอดเห&#
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 15/มิ.ย./12 21:43น. »

หยาดน้ำค้าง ชื่อเพราะและก็สวยด้วย มีการเคลื่อนไหวที่น่าทึ่ง และจับเหยื่อได้อีต่างหาก ขอบคุณมากนะคะ ที่นำสิ่งสวยๆแปลกๆมาให้ดู

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6626