ผู้เขียน หัวข้อ: รัฐในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘  (อ่าน 1012 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฉิน

  • ผู้ทรงเกียรติ
  • *
  • ออฟไลน์
  • 170
    359
รัฐในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘
« เมื่อ: 08/ม.ค./12 10:26น. »


รัฐในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘

<a href="http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/8fda6e75b07bd8454c7e3e54d110151e.gif" target="_blank" class="new_win">http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/8fda6e75b07bd8454c7e3e54d110151e.gif</a>

รัฐสุพรรณภูมิ
เป็นชุมชนโบราณที่ซ้อนทับคลุมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี โดยพัฒนามาจากชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดี เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา รัฐสุพรรณภูมิมีการติดต่อสัมพันธ์กับดินแดนจีนและเมืองชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีบทบาทสำคัญในการเป็นเมืองทางการค้า และเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยอยุธยา

รัฐนครศรีธรรมราช
รัฐของกลุ่มคนไทยในภาคใต้ที่มีพัฒนาการจากการเป็นเมืองท่าทางการค้า มีเมืองบริวารที่เรียกว่า “เมืองสิบสองนักษัตร” ประกอบด้วย เมืองสายบุรี เมืองปัตตานี เมืองกลันตัน เมืองปะหัง เมืองไทรบุรี เมืองพัทลุง เมืองตรัง เมืองชุมพร เมืองบันทายสมอ เมืองสะอุเลา  เมืองตะกั่วป่า และเมืองกระบุรี รัฐนครศรีธรรมราชมีความสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการรับพุทธศาสนาจากลังกา ทั้งยังเป็นรัฐ
ที่มีการรับคติความเชื่อในศาสนาฮินดู พุทธศาสนานิกายหินยานและมหายาน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙) ได้ผนวกรัฐนครศรีธรรมราชเป็นส่วนหนึ่งของรัฐด้วย

รัฐล้านนา
กำเนิดของรัฐมีที่มาจากพญามังราย กษัตริย์เมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ทรงผนวกเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) พร้อมเมืองบริวารเข้ากับเมืองเชียงแสน เมื่อราว พ.ศ. ๑๘๓๙ รัฐล้านนามีความมั่นคงในทางการเมืองการปกครอง ภายใต้วัฒนธรรมที่มีพื้นฐานจากพุทธศาสนานิกายหินยานแบบมอญ-พม่า ทั้งยังมีการแลกรับวัฒนธรรมจากรัฐสุโขทัย ดำรงความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๕ - ๒๐๓๐) หลังจากนั้นใน พุทธศตวรรษที่ ๒๑ จึงตกเป็นประเทศราชของพม่า จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสยาม

รัฐสุโขทัย
รัฐในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นโดยพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาว มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อมาจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จึงผนวกเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอยุธยา สุโขทัยเป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนา ปรากฏงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมเนื่องด้วยพุทธศาสนาจำนวนมากกระจายอยู่ในเมืองสุโขทัยและเมืองบริวาร อาทิ ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร พิษณุโลก ทั้งยังมี
การรับอิทธิพลศิลปะอินเดีย ลังกา พม่า เขมร ศรีวิชัย และล้านนา

รัฐอยุธยา
พัฒนาขึ้นจากรัฐอโยธยาในบริเวณพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมเอื้อต่อการพัฒนาของเมืองศูนย์กลางที่มีความสำคัญในเวลาต่อมา คือ การเป็นชุมทางของแม่น้ำสายใหญ่ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน้อย ที่มีความสำคัญต่อการคมนาคมของดินแดนตอนในของแผ่นดิน ตลอดถึงดินแดนบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ลงมาและดินแดนโพ้นทะเลในภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งเป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนให้รัฐอยุธยามีความมั่นคงและมั่งคั่งทั้งในทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ดำรงความสำคัญตลอดกว่า ๔ ศตวรรษ นับแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐

http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1756

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=4969