ผู้เขียน หัวข้อ: ความดันโลหิตสูง  (อ่าน 3636 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงพล ลำพูน

  • เซียน
  • ****
  • ออฟไลน์
  • 507
    469
  • เพศ: ชาย
    • @pump_upp - best crypto pumps on telegram !
ความดันโลหิตสูง
« เมื่อ: 04/ธ.ค./18 15:57น. »


ความดันโลหิตสูง
High Blood Pressure

.....ความดันโลหิต คือ ส่วนสำคัญที่ให้ร่างกายทำงานได้ เพราะเลือดที่มีออกซิเจน และสารอาหารสูงจะถูกสูบฉีดเพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายโดยหัวใจ ความดันโลหิตเกิดจากผลของการบีบตัวของหัวใจร่วมกับขนาด/ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดง หากผนังหลอดเลือดแดงไม่ยืดหยุ่นจะทำให้หลอดเลือดแข็งและแคบจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้ หรืออาจเกิดจากการสูบฉีดเลือดปริมาณมากเข้าสู่ระบบก็ได้ อิงข้อมูลตาม WHO พบว่า ผู้ใหญ่ทั่วโลก 1 ใน 3 มีความดันโลหิตสูง

อาการของความดันโลหิตสูง

.......ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใดๆ จึงมักพบว่ามีความดันโลหิตสูงขณะไปตรวจสุขภาพหรือไปโรงพยาบาลเท่านั้น  แต่หากมีความดันโลหิตสูงมาก หรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดอาการปวดหัว ตาพร่ามัวได้(แต่พบกรณีดังกล่าวได้น้อย)

ภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง

หากมีความดันโลหิตสูง จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรค/ภาวะต่างๆดังนี้ คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, หัวใจล้มเหลว, โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว(Atrial fibrillation), เป็นโรคไตและตาชนิดที่เกิดความดันโลหิตสูงได้

สาเหตุของความดันโลหิตสูง

สาเหตุนั้นถูกแบ่งออกเป็นที่เกิดจากความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ และความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ
- ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ: คนส่วนใหญ่เป็นความดันโลหิตสูงชนิดนี้ นั่นหมายถึงว่าไม่มีสาเหตุก่อโรคที่ชัดเจน แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหลายๆอย่างร่วมกัน ได้แก่ การสูบบุหรี่, น้ำหนักเกินเกณฑ์, ดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ปริมาณมาก, ไม่ออกกำลังกาย และอาหารรสเค็ม แต่หากมีคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูงนั่นคือ การเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ
- ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ: เป็นความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุจากโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคไต, โรคระบบ-      ต่อมไร้ท่อ(โรคเกี่ยวกับฮอร์โมน) หรือมีเส้นเลือดแดงใหญ่ตีบแคบบางส่วน(Coarctation of aorta) เป็นต้น นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้อีก เช่น การใช้ยาสเตียรอยด์, การใช้ยาคุมกำเนิด, ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์(ภาวะครรภ์เป็นพิษ)

การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง

......สามารถวินิจฉัยได้จากการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต ดังนั้นจึงควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำโดยเฉพาะในรายที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยความดันโลหิตจะถูกวัดออกมาเป็นตัวเลขสองระดับ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท เช่น 120/80 มม.ปรอท โดย “120” คือความดัน Systolic ซึ่งถูกวัดขณะหัวใจกำลังบีบตัวเพื่อนำเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นค่าความดันที่สูงที่สุดในหลอดเลือด ส่วน “80” คือความดัน Diastolic ซึ่งเป็นความดันที่ถูกวัดขณะหัวใจกำลังคลายตัวและมีเลือดกลับเข้ามายังหัวใจอีกครั้ง เป็นค่าความดันโลหิตที่ต่ำที่สุดในหลอดเลือด
การมีความดันโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ โดยแพทย์จะแนะนำให้มีความดันโลหิตสูงต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท แต่หากมีโรคประจำตัวเป็น เบาหวาน, โรคไต หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด แพทย์จะแนะนำให้ควบคุมในระดับที่ต่ำกว่าคนทั่วไป
การวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจพบความดันโลหิตสูงติดกันอย่างน้อย 2 ครั้งระยะเวลาห่างกัน 2-3สัปดาห์(ในบางรายอาจตรวจพบความดันโลหิตสูงเฉพาะเวลามาโรงพยาบาลเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า White coat hypertension ในกรณีนี้อาจให้ผู้ป่วยลองไปตรวจที่อนามัยใกล้บ้านได้ หรือซื้อที่วัดความดันโลหิตไว้ที่บ้าน) หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงจะได้รับการตรวจเพิ่มเติมว่าความดันโลหิตสูงนั้นก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆในร่างกายแล้วหรือไม่ ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ(ดูการทำลายของไต), ตรวจระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดและการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การรักษาความดันโลหิตสูง

หากแพทย์พิจารณาเริ่มการักษา นั่นหมายถึงการรักษาในระยะยาว เพราะความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่รักษาไม่หาย แต่หากกรณีความดันโลหิตสูงมากควรไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทันที

   - ดูแลตัวเองอย่างไร
หยุดสูบบุหรี่, กินอาหารไขมันต่ำ เค็มน้อย รวมไปถึงการกินผักผลไม้ร่วมด้วย, หยุดการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์, ลดการกินกาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง เช่น น้ำอัดลม, ออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมไปถึงการควบคุมอารมณ์ให้ไม่เครียดซึ่งจะช่วยลดการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตสูงในระยะสั้นได้
โดยการดูแลตัวเองเหล่านี้จะเป็นวิธีแรกที่แพทย์แนะนำให้ใช้ เพราะจะสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้โดยไม่ต้องกินยาใดๆ หรือในกรณีที่ต้องกินยาร่วมด้วยก็ควรปฏิบัติควบคู่ไปด้วยเสมอ

 - การรักษาด้วยยา
มียาที่เลือกใช้เป็นลำดับแรก ได้แก่ ACEI, ยาขับปัสสาวะ(Diuretic) และ Calcium channel blocker แต่หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาให้ยาอื่นๆเพิ่มเติม เช่น Beta-blocker และ Alpha-blocker ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาชนิดต่างในผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกันไป ขึ้นกับผลดีทีได้จากยาและผลข้างเคียงร่วมกัน
ส่วนสำคัญ คือ โรคความดันโลหิตสูงในระยะแรกมักไม่ทำให้เกิดอาการ แต่หากเป็นในระยะยาวจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆได้ ดังนั้น ควรกินยาอย่างสม่ำเสมอแม้จะไม่มีอาการ และไปพบแพทย์ตามนัด
 
ความดันโลหิตสูงในผู้หญิงตั้งครรภ์
หากพบว่าตั้งครรภ์ควรไปรับการฝากครรภ์ และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โดยจะได้รับการวัดความดันโลหิต หากมีความดันโลหิตสูง หมายถึงอาจเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ แต่หากมีความดันโลหิตสูงหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป อาจมีภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ส่วนกรณีมีความดันโลหิตสูงอยู่แล้วและมีแผนจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ เพราะ ยาที่ควบคุมความดันโลหิตที่ใช้อยู่อาจไม่เหมาะกับการตั้งครรภ์ได้


ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=38820