ผู้เขียน หัวข้อ: ความดันโลหิตสูง (Hypertension)  (อ่าน 1715 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงพล ลำพูน

  • เซียน
  • ****
  • ออฟไลน์
  • 507
    469
  • เพศ: ชาย
    • @pump_upp - best crypto pumps on telegram !
ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
« เมื่อ: 04/ก.ค./17 17:48น. »


    ความดันโลหิตสูงเป็นมหันตภัยเงียบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยขึ้น เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่ไม่ค่อยมีอาการ จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ทำให้ไม่ได้รับการวินิจฉัยในระยะเริ่มแรก หรือไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง จนเกิดอาการรุนแรงขึ้น เช่น อัมพฤกษ์, อัมพาต, หัวใจวายเฉียบพลัน, ไตวาย เป็นต้น
   ความดันโลหิตสูงมักจะเกิดร่วมกับภาวะโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน, โรคไต, โรคหัวใจ, กลุ่มอาการอ้วนลงพุง ทำให้การดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูงต้องได้รับการดูแลรักษาในลักษณะองค์รวม รวมถึงการเลือกใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสมกับโรคต่าง ๆ ที่เป็นร่วม
       
       สาเหตุความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 2 ชนิด
       
       1.   ไม่ทราบสาเหตุ พบได้ 90% ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเป็นสาเหตุ ได้แก่ กรรมพันธุ์ เชื้อชาติ ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ความอ้วน สูบบุหรี่ การดื่มสุรา
       2.   ทราบสาเหตุ พบได้ 10% ได้แก่ โรคไตเสื่อม, ไตวาย เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต มีพยาธิสภาพในสมอง ภาวะตั้งครรภ์เป็นพิษ ยาบางชนิด เป็นต้น
ความดันโลหิตสูงมีอันตรายอย่างไร
       
       ถ้าปล่อยให้ความดันโลหิตสูงเป็นอยู่นาน โดยไม่ได้รับการรักษาจะทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมสภาพ แข็งตัว, ตีบตัน หรือแตก ทำให้เกิดโรคกับอวัยวะต่างๆ เช่น
       
       •   หัวใจ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว หัวใจโตขึ้น, เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, ภาวะ   หัวใจล้มเหลว
       •   สมอง   เกิดหลอดเลือดในสมองแตก, เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิต
       •   ไต   เกิดภาวะไตวาย
       •   ตา   ทำให้หลอดเลือดตาตีบ, แตก เกิดเลือดออกในตา ทำให้ตามัว ตามองไม่เห็นทั้งชั่วคราวและถาวรได้
 ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง และไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจาก
       
       1.   หัวใจวาย 60-70%
       2.   เส้นเลือดในสมองอุดตันหรือแตก 20-30%
       3.   เสียชีวิตจากไตวาย 5-10%
       
       การรักษา
       
       1.   ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การลดอาหารรสเค็ม ลดน้ำหนักตัว, งดสูบบุหรี่, หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายให้มากขึ้น, ลดความเครียด, นอนพักผ่อนให้พอเพียง
       2.   การใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย ซึ่งอาจมีความดันเริ่มแรกแตกต่างกันมีโรคร่วมหรือปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน การใช้ยาจึงต้องเลือกให้เหมาะสมสำหรับแต่ละคน และในบางรายอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยามากกว่า 1 ชนิด เพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ


ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=37869