หนังกลางแปลง > ภาพยนตร์ในอดีต

เชิญชมภาพโปสเตอร์ภาพยนตร์ไทยในอดีตกันครับผม

<< < (23/31) > >>

ทนาย:



เรื่อง : อ้อมอกเจ้าพระยา (2515)

กำกับโดย : ร้อยคำ

นำแสดงโดย : ยอดชาย เมฆสุวรรณ, อรัญญา นามวงศ์, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, จีราภา ปัญศิลป์, จินฟง

เรื่องราวของ "กล้า" กัปตันเรือสินค้า พบรัก "เซาะไน" หญิงชาวจีนในฮ่องกงซึ่งเธอแอบหนีเตี่ยมาใช้ชีวิตตามลำพังเมื่อเตี่ยมาตามจึงพาเธอกลับไป โดยที่กล้าไม่รู้สาเหตุกล้าเสียใจกลับมากรุงเทพก็ลาออกจากงาน เซาะไนก็เสียใจเธอจึงหนีเตี่ยมาตามหากล้าที่เมืองไทย

ขณะเธอนำรูปถ่ายกล้าเที่ยวถามคนไปทั่วเธอก็ถูกชายคนหนึ่งหลอกไปปล้ำหมายข่มขืน แต่เคราะห์ยังดีมีคนมาช่วยให้หนีรอดมาได้ จากนั้นก็คิดฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงน้ำ "จิระพร" มาห้ามเธอไว้และได้พาเธอมาอาศัยอยู่บ้าน "เก่ง" เพื่อนชายของจิรพร เมื่อได้เห็น เซาะไน ก็คิดรักต่อมาเขารู้ความจริงว่าเซาะไนมาตามหากล้าพี่ขายของเขาเองในที่สุด เซาะไนได้พบกันกล้าอีกครั้ง เป็นครั้งที่ทั้งสองคนสมหวังที่สุดในชีวิต

ทนาย:


ยั่วรัก (2514)


กำกับการแสดง : จิตติน

นำแสดงโดย: ไชยา สุริยัน, เพชรา เชาวราษฎร์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, เมตตา รุ่งรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์

ทนาย:


เลือดสุพรรณ (2524)

ผู้กำกับ - เชิด ทรงศรี

นำแสดงโดย - ไพโรจน์ สังวริบุุตร,  ลลนา สุลาวัณย์, ส อาสนะจินดา

ภูฤดู ปักซัว:
ภาพสวยๆ ชัดๆ มาอีกแล้ว

ขอบคุณกันอีกครั้งครับ

ชอบครับ ชอบ

ทนาย:


สันติ-วีณา (2497)

กำกับการแสดงโดย : มารุต

นำแสดงโดย : พูนพันธ์  รังควร,  เรวดี  ศิริวิไล

สันติ-วีณา เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2497 ระบบ 35 ม.ม. ไวด์สกรีน สีอีสต์แมน เสียง(จริงขณะถ่ายทำ) ผลงานชิ้นแรกของบริษัท หนุมานภาพยนตร์ โดย รัตน์ เปสตันยี ซึ่งเป็นทั้งผู้อำนวยการ ถ่ายภาพ และ ลำดับภาพ สร้างเพื่อส่งประกวด ในงานภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 1 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2497 บทประพันธ์โดย โรเบิร์ด จี นอร์ท เขียนบทโดย คุณาวุฒิ กำกับโดย มารุต และบันทึกเสียงโดย ปง อัศวินิกุล

จุดเด่นนอกจากเรื่องราวของความรักแล้ว การถ่ายภาพเพื่อแสดงวิถีชีวิตในชนบทไทยยังงดงามตื่นตา สะท้อนความเชื่อทางสังคม ขนบประเพณีและศาสนา เคยฉายทางโทรทัศน์ปลายยุคทีวีขาวดำ และทางช่อง 7 สี ช่วงแรกของสถานี ต่อมาฟิล์มต้นฉบับเรื่องนี้หายสาบสูญไป

บทความในนิตยสาร investor ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 กล่าวว่าอาจจะเป็นภาพยนตร์ไทยที่ดีที่สุดที่มีการสร้างมา สิ่งที่เกิดเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น

สร้างใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2519 กำกับโดย มารุต เช่นเดิม นำแสดงโดย นาท ภูวนัย, นัยนา ชีวานันท์, สมภพ เบญจาธิกุล และ พูนพันธ์ รังควร รับบทเป็นพ่อ

        สันติ-วีณา เป็นเสมือนทูตทางวัฒนธรรม เพื่อผูกมิตรกับประเทศสังคมนิยมในขณะนั้น ในช่วงเวลานั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีนโยบายที่จะถ่วงดุลทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา ที่พยายามเข้ามาแผ่อำนาจเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ แม้ทางไทยจะต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากอเมริกา แต่ก็พยายามที่จะเป็นมิตรกับประเทศในภูมิภาคอย่างโซเวียตด้วย เมื่องทางสถานทูตรัสเซียขอซื้อภาพยนตร์ สันติ-วีณาไปฉาย เนื่องจากมีรางวัลที่ญี่ปุ่นการันตี ทางรัฐบาลไทยก็ยินดี และข่าวที่เผยแพร่ออกมาเป็นรูปแบบของการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม และเป็นไปในรูปของเอกชน

หลังจาก สันติ-วีณา ไปฉายในต่างประเทศแล้ว วงการภาพยนตร์ไทยก็มีแนวโน้มถ่ายทำในระบบ 35 มม. มากขึ้น เพื่อสะดวกในการนำไปฉายในต่างประเทศ ต่อมารัสเซียติดต่อซื้อภาพยนตร์ 16 มม. เช่น สาวเครือฟ้า ศรีปราชญ์ (เนื่องจากช่วงนั้นส่วนใหญ่ยังนิยมถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม.)

         ภาพยนตร์ได้รับรางวัลจากการประกวดที่ประเทศญี่ปุ่น 3 รางวัล คือ ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี) กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (อุไร ศิริสมบัติ) และรางวัลพิเศษเป็นกล้องถ่ายภาพยนตร์ จากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกา สำหรับภาพยนตร์ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรมดีเด่น และได้ไปฉายประกวดในงานชุมนุมสัปดาห์ภาพยนตร์เอเชีย (Asian Film Week) ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2500

ภายหลังการประกวด รัตน์นำฟิล์มต้นฉบับของภาพยนตร์กลับประเทศไทย แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าฟิล์มภาพยนตร์ จึงจำเป็นต้องทิ้งฟิล์มเนกาทีฟไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อที่จะส่งกลับไปเก็บรักษาที่ห้องแล็บของบริษัทแรงค์ แลบอราทอรี่ส์ ประเทศอังกฤษ แต่ก็เกิดอุบัติเหตุ ฟิล์มภาพยนตร์ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่งทางเรือ ทำให้ฟิล์มภาพยนตร์เรื่อง “สันติ-วีณา” ไม่มีฟิล์มเนกาทีฟหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย แต่มีหลักฐานว่าเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทาง สหภาพโซเวียต และ สาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนจีน ได้ซื้อก๊อปปี้ไปฉาย จึงอาจจะยังหลงเหลือฟิล์มภาพยนตร์เหลืออยู่ในโลกก็เป็นได้

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version