ผู้เขียน หัวข้อ: ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)  (อ่าน 2274 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ chomm

  • เทพ
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 1688
    729
ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)
« เมื่อ: 16/พ.ย./11 11:18น. »


        ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)

VIRUS A โรคไวรัสตับเอกเสบ เอ คืออะไร
โรคไวรัสตับอักเสบ เอ หรือ ดีซ่านหรือโรคไวรัสลงตับ เกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ ทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือน้อยลงเป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยโรคตับอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุแต่ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเชื้อไวรัสที่พบบ่อยคือเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ และ บี อาการส่วนใหญ่ที่พบมักมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือโรคดีซ่านแบบเฉียบพลันประมาณร้อยละ 60-70% ของผู้ป่วยมักเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ


อาการของโรควัสตับอักเสบ เอโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ในเด็กมักไม่มีอาการหรือมีแต่ก็ไม่ได้รุนแรงอย่างไรก็ตามบางครั้งอาจพบอาการรุนแรงได้ เน อาการตาเหลือง ตัวเหลืองเป็นเวลานาน ตับอักเสบอย่างรุนแรงจนตับวาย อาจเป็นผลทำให้เสียชีวิตได้ อาการจะรุนแรงมากขึ้นตามอายุ ในผู้ใหญ่ถ้าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ส่วนใหญ่มีอาการรุนแรงมากกว่า อาการมักจะเริ่มต้นด้วยมีไข้ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัวอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนหลังจากนั้นประมาณ 3-5 วัน จะเริ่มปัสสาวะสีเข้ม และมีไข้ตาเหลือง ตัวเหลืองปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา การดำเนินโรคส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ โรคไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นโรคที่ไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ และการพักผ่อน
โรคไวรัสตับเอกเสบ เอ ติดต่อกันได้อย่างไร
เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ดังนั้นจึงพบการระบาดของโรคนี้ได้ในโรงเรียน, มหาวิทยาลัย และชุมชน บ่อยครั้งพบว่าเด็กเป็นตัวแพร่เชื้อไปสู่ผู้ใหญ่ในครอบครัวเดียวกัน ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ เอ สามารถแพร่เชื้อได้โดยพบเชื้อนี้ปนเปื้อนในอุจจาระประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน และหลังแสดงอาการ ดังนั้นผู้ป่วยจึงสามารถแพร่เชื้อไปได้ก่อนที่จะทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ เอ นอกจากนี้เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ยังอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายสัปดาห์
 เราจะป้องกันในครอบครัวจากโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ได้อย่างไร
ในอดีตคนไทยส่วนใหญ่มักมีภูมิคุ้มกันโรคตับอักเสบ เอ แล้วเพราะได้รับการติดเชื้อตั้งแต่เด็ก อย่างไรก็ตามการสาธารณะสุข และการสุขาภิบาลของประเทศไทยในปัจจุบันดีขึ้นอย่างมาก จึงทำให้การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ในเด็ก และวัยรุ่นได้ลดลงอย่างมาก ทุกวันนี้เด็กไทยจำนวนมากที่ไม่เคยติดเชื้อนี้มาก่อนจึงไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ และเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ เอมากขึ้น (รวมทั้งอาการที่พบในวัยหนุ่มสาว และผู้ใหญ่มักจะรุนแรง)
โรคไวรัสตับอักเสบ เอ สามารถป้องกันได้
ดูแลสุขภาพอนามัยของต้นและชุมชนให้ถูกต้อง
รับทานอาหารและน้ำที่สะอาด
ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและควรใช้ช้อนกลาง
ขับถ่ายในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
กำจัดขยะ และสิ่งปฏิกูลเพื่อมิให้ปนเปื้อนไปสู่แหล่งน้ำและอาหารของชุมชนได้

 ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ เอ
เด็กและผู้ใหญ่ในพื้นที่ที่มีโรคนี้ชุกชุม
นักศึกษาหรือนักธุรกิจ ที่ต้องเดินทางไปในบริเวณที่มีโรคนี้ชุกชุม
เด็กที่อาศัยในสถานเลี้ยงเด็กอ่อนหรือสถานเลื้อยงเด็กที่รวมกันเป็นจำนวนมาก, สถานดูแลเด็กวัยรุ่น, เด็กพิการ และคนชรา
ผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่น
ผู้ประกอบอาหาร
พนักงานที่ดูแลสถานพยาบาล ดูแลเด็กอ่อน, เด็กวัยรุ่น, เด็กพิการ และคนชรา
ผู้ที่มีหน้าที่กำจัดสิ่งปฏิกูล และการบำบัดน้ำเสีย
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง
ผู้ป่วยโรคฮีโมพิเรีย, ผู้ได้รับเลือดบ่อย ๆ
ผู้ติดยาเสพติดที่ฉีดเข้าเส้น , บุคคลรักร่วมเพศ


เมื่อไหร่ควรฉีดวัคซีนป้องกันการฉีดวัคซีนป้องกัน ควรฉีดในเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบเป็นต้นไป ก่อนเข้าอนุบาลหรือโรงเรียนประถมศึกษานอกจากนี้ในกรณีทีท่านต้องเดินทางไปในพื้นที่ ๆ มีโรคนี้ชุกชุมโดยปกติภายหลังการฉีดวัคซีนร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิคุ้มกันจนสามารถป้องกันได้

การฉีดวัคซีนจะฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน (ฉีดวันนี้และอีกครั้งตอน 6-12 เดือนข้างหน้า) โดยครั้งที่ 2 ต้องการให้ภูมิต้านทานอยู่นาน
โดยวัคซีนชนิดใหม่ ๆ นี้สามารถฉีดป้องกันโรคได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในขนาดเดียวกันจึงประหยัดกว่าวัคซีนชนิดเดิม

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3349

ออฟไลน์ เฒ่าแก่

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 777
    238
  • เพศ: ชาย
  • ขอพักใจด้วยครับ
Re: ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 21/พ.ย./11 11:58น. »

ผมเคยถูกต้องสงสัยเป็นไวรัสตับ บี ด้วยนะครับ

ต้องงดบริจาคเลือดไปโดยปริยาย

กว่า 10 ปีผ่านไป ถึงได้รู้ตัวว่าไม่ได้เป็น

ขอบคุณครับคุณชม

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=3349