มาดูแลสุขภาพกัน > บอกเล่าเก้าสิบหยิบยกเรื่องสุขภาพ
ผงชูรส กับ ผลกระทบต่อดวงตา
(1/1)
สุขใจ:
ทราบกันไหมคะว่า อาหารที่คุณทานกันเป็นประจำนั้น ส่วนใหญ่แล้วมีการผสมผงชูรสอยู่ในแทบทุกจานอาหาร มากบ้างน้อยบ้าง
ซึ่งถ้าหากคุณไม่แพ้ผงชูรสนั้นคุณอาจจะไม่มีอาการอะไรที่บ่งบอก
แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ไวต่อผงชูรสหรือแพ้ผงชูรสนั้น จะรู้ได้ทันทีว่าอาหารจานนั้นมีผงชูรสอยู่มาก
ซึ่งในทางการแพทย์แล้วผงชูรสนั้นไม่ได้มีประโยชน์ต่อร่างกาย หนำซ้ำยังอาจก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายหากรับประทานมากเกินพอดีอีกด้วย
นอกจากนี้นักวิทยาศาตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮิโรซากิ ประเทศญี่ปุ่น ยังได้ทดลองนำเอาสารโซเดียมกลูตาเมท ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกับผงชูรสลองให้สัตว์ทดลองได้ทาน
พบว่าประสิทธิภาพในการมองเห็นนั้นลดลง เนื่องจากชั้นเรติน่าในดวงตาถูกทำลาย และกิจกรรมส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าในสมองลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดได้ในมนุษย์ทุกคน
และอีกหนึ่งการสังเกตุจากทีมวิจัยนั่นก็คือ
อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยเป็นโรคต้อหินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะมาจากผลของการทานอาหารที่ผสมไว้ด้วยสารโมโนโซเดียมกลูตาเมทนั่นเอง
และแม้จะยังไม่ได้มีการรับรองหรือยืนยันจากผลการวิจัยนี้ไว้ 100 % แต่เราก็อยากจะให้คุณลองลดหรืองดเว้นจากการทานผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมทในปริมาณเกินพอดี
นั่นก็คือไม่ควรเกิน 2 ช้อนชาต่อวัน เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งสุขภาพตาและสุขภาพกายและจะได้หาซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสวยๆใส่ได้นะคะ
TIP : นอกจากการส่งผลกระทบต่อดวงตาแล้ว ที่เราเคยได้ยินกันมาบ่อยๆ ว่าทานผงชูรสมากๆ แล้วผมร่วงนั้น
อาการผมร่วงน่าจะมาจากสาเหตุทางพันธุกรรมมากกว่า เพราะผงชูรสไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการผมร่วงแต่อย่างใด แถมผงชูรสยังไม่ได้มีผลต่อรสชาติของอาหารด้วยค่ะ
หากแต่ผงชูรสนั้น เป็นตัวนำสื่อประสาทที่ช่วยกระตุ้นให้ต่อมรับรสที่ลิ้นทำงานได้ไวขึ้น จึงทำให้คุณรับรสชาติของอาหารได้ชัดเจนขึ้น
จึงเป็นสาเหตุที่ใครต่อใครเข้าใจว่า ผงชูรสทำให้อาหารอร่อยยิ่งกว่าเดิมนั่นเอง
รู้แบบนี้แล้วก็ลองลด ละ หรือเลิกทานผงชูรสไปด้วยก็น่าจะให้ผลดียิ่งกว่าเดิม อย่าลืมเอาไปลองปฏิบัติตามกันดูนะคะ
อ้างอิง : http://campus.sanook.com/1375549
น้องตูน:
ขอบคุณคราบ พี่สุขใจ ที่ให้ข้อมูลดีดี :'e:72
คนชายแดน:
ลด ละ เลิกแล้วครับ sp236
บัว บุษกร:
เลิกทานมานานแล้วค่า ผงชูรส แต่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า มันเป็นเพียงตัวนำสื่อประสาท ขอบคุณมากนะคะ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
Go to full version