ขลุ่ยน้ำเต้า(เครดิต -muwan1234)
(ภาพและข้อมูลจากChaina ABC)
ขลุ่ยน้ำเต้าเป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องเป่าของชนชาติส่วนน้อย ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเช่นชนชาติไต่ ชนชาติอาชาง ชนชาติหว่าเป็นต้นนิยมมากที่สุดและใช้บ่อยที่สุด
ขลุ่ยน้ำเต้ามีประวัตอันยาวนาน ต้นกำเนิดสามารถย้อนกลับไปถึงสมัยราชวงศ์ฉิน(ก่อนปี221ก่อนคริสต์กาล) ขลุ่ยน้ำเต้าของปัจจุบันยังคงรักษาลักษณะพิเศษทางโครงสร้างของเครื่องดนตรีประเภทเดียวกันในสมัยโบราณ
ขลุ่ยน้ำเต้ามีลักษณะพิเศษในรูปร่างและโครงสร้าง ทำด้วยน้ำเต้าที่สมบูรณ์ใบหนึ่ง ประกอบด้วยหลอดไม้ไผ่สามหลอดและแผ่นลิ้นโลหะสามแผ่น หลอดไม้ไผ่หลอดหนึ่งเป็นปากเป่า ส่วนตัวน้ำเต้าเป็นเครื่องกำเนิดเสียง ข้างล้างของตัวน้ำเต้าปักหลอดไม้ไผ่ที่มีขนาดไม่เท่ากันสามหลอด แต่ละหลอดจะมีแผ่นลิ้นที่ทำด้วยทองแดงหรือเงินแผ่นหนึ่ง หลอดกลางกว้างที่สุด ข้างบนมีรูเสียงเจ็ดรู ซึ่งสามารถบรรเลงดนตรีได้ ส่วนหลอดที่อยู่สองข้างใช้บรรเลงเสียงประสานขลุ่ยน้ำเต้าคล้ายๆเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยอื่นๆ เสียงค่อนข้างเบา แต่หลอดหลักของขลุ่ยน้ำเต้าสามารถบรรเลงเสียงที่ไพเราะ เนื่องจากมีเสียงประสานจากหลอดที่อยู่สองข้าง ทำให้มีความรู้สึกดีมาก เนื่องจากเสียงสั่นฟังแล้วคล้ายๆเสียงสะบัดผ้าไหมที่นิ่มนวล ด้วยเหตุนี้ ผู้คนจึงเรียกขลุ่ยน้ำเต้าว่า“หูหลูซือ”
เนื่องจากความแตกต่างกันระหว่างชนชาติและภูมิภาค ขลุ่ยน้ำเต้าของชนชาติส่วนน้อยอื่นๆในมณฑลยูนนานมีความแตกต่างกันในรูปร่างและวิธีการเล่น แต่ก็มีลักษณะพิเศษที่เหมือนกัน คือ มักใช้ในการเล่นเพลงชาวเขา โดยเฉพาะเพลงที่มีดนตรีจังหวะเร็ว ในดนตรีนั้นจะเน้นเสียงยาว เสียงประสานที่สมบูรณ์ เสียงดนตรีไพเราะน่าฟัง สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกของนักดนตรีได้ดี
ระยะหนึ่ง เจ้าหน้าที่ดนตรีชนชาติของจีนได้ปรับปรุงขลุ่ยน้ำเต้า เครื่องดนตรีที่ทำขึ้นใหม่เหล่านี้ไม่เพียงแต่ได้เสริมเสียงและลักษณะพิเศษของขลุ่ยน้ำเต้าเดิม อีกทั้งยังได้เพิ่มความดังของเสียง ขยายความกว้างของเสียง ตลอดจนทำให้สีสันและลักษณะการแสดงของเสียงมีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น ทำให้ขลุ่ยน้ำเต้า ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนชาติส่วนน้อยของจีนชิ้นนี้ได้ขึ้นแสดงบนเวที และเมื่อไปเยือนต่างประเทศนักดนตรีจีนก็ใช้ ขลุ่ยน้ำเต้าขึ้นแสดงบนเวทีแห่งศิลปะของโลกด้วย