รูปภาพเกี่ยวข้องกับบทเพลง > มาต่อเพลงกันเถอะ

บทเพลง...พาเที่ยว (สถานที่เกิดเหตุ)

<< < (3/5) > >>

จรีพร:


[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "สาวอัมพวา"   

คำร้อง : ธาตรี
ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน   
ผู้ขับร้อง : นพดฬ ชาวไร่เงิน 


โออัมพวา นี่หนางามจริง
ทุกสิ่งเป็นขวัญตา
โอ้ว่าผู้หญิง ยิ่งงามโสภา
ดั่งนางฟ้าชาวไทย

เธอมีจรรยา เรียบร้อยชวนมอง
ทั้งคล่องงานเหลือใจ
ไม่ว่าทำสวน กระบวนค้าใด
ดูคล่องไปทุกทาง

ขาวนิดเหลืองหน่อย
ผิวพลอย สะอาง
แต่ไม่บอบบาง
ทุกยามงามอย่างจับตา
 
มาอัมพวา หากหานารี
 สมดั่งที่หวังมา
แม่บ้านแม่เรือน เพื่อนครองวิวาห์
 อัมพวาสมบูรณ์



อำเภออัมพวา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม 

คำขวัญจังหวัดสมุทรสงคราม: เมืองหอยหลอด  ยอดลิ้นจี่  มีอุทยาน ร 2  แม่กลองไหลผ่าน  นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม


มารู้จักกับตลาดน้ำและชุมชนอัมพวาแบบละเอียด

มารู้จัก ตลาดน้ำอัมพวา และชุมชน อัมพวา แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งที่แห่งนี้นับเป็นตัวเลือกต้น ๆ  สำหรับคนที่อยากไปเที่ยวตลาดน้ำ ความโด่งดังของอัมพวาไม่ได้หยุดอยู่แค่ในเมืองไทย  แต่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่เริ่มที่จะรู้จักอัมพวาในฐานะของชุมชนที่มีการรักษารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบโบราณของไทย  เรียกว่าหากใครอยากที่จะสัมผัสประเทศไทยอย่างจริง ๆ ไม่ใช่เที่ยวแค่ห้างในกรุงเทพ หรือพัฒพงษ์ หรือพัทยาแล้ว อัมพวาจะไม่ทำให้ผิดหวังอย่างแน่นอน





อัมพวา ตำนานแม่กลอง..เวนิสตะวันออกแห่งสุดท้าย
 
เมืองแม่กลอง หรือจังหวัดสมุทรสงครามนั้น เป็นเมืองที่มีประชากรอยู่ไม่มาก และเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดของไทย แต่สำหรับความน่าอยู่อาศัยแล้ว เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้กลับติดอันดับต้น ๆ  ของประเทศ  ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ  ทั้งสวนผลไม้อุดมสมบูรณ์  มีแม่น้ำลำคลองหลายสายและอยู่ติดชายทะเล  สภาพพื้นที่มีการทำสวนเป็นขนัด และมีลำประโดงล้อม ซึ่งก็คือ โครงข่ายลำน้ำขนาดเล็กที่ซอยย่อยเข้าไปทุกสวน  แสดงความฉลาดของบรรพบุรุษสมัยก่อนในการสร้างบ้านแปงเมือง ที่ทำให้เมืองแม่กลองถูกขนานนามว่าเป็น “เวนิสตะวันออกแห่งสุดท้าย”


มารู้จักกับ ชุมชนอัมพวา
 
ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางค่อนมาทางใต้ของ จ.สมุทรสงคราม  มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านทิศตะวันตกในแนวเหนือใต้  โดยคลองอัมพวาได้แยกจากแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านกลางชุมชน  นอกจากนี้ยังมีคลองที่แยกมาจากแม่น้ำแม่กลอง และเชื่อมกับคลองอัมพวาอีกหลายสาย  ทำให้มีความสะดวกสบายในการคมนาคมทางน้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัญจรทางเรือ
 
ตามตำนานเล่าว่า  อัมพวาเป็นชุมชนเล็ก ๆ  ตั้งอยู่ริมน้ำ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาสืบทอดกันมาช้านาน ในอดีต อัมพวาเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางน้ำที่คับคั่ง มีตลาดน้ำ เรือนแพ และบ้านเรือนปลูกขนานไปตามแนวคลอง  ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้นเรียกกันว่า “บางช้าง” เป็นชุมชนริมน้ำที่ทำสวนไม้ผลและพืชผักจนมีชื่อเสียง
 
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แขวงบางช้างเริ่มปรากฏมีสวนผลไม้และพืชผักที่อุดมสมบูรณ์มีความเจริญทางด้านเกษตรกรรมและการค้าขายจนมีตลาดเรียกว่า “ตลาดบางช้าง” เป็นตลาดน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง การแลกเปลี่ยนผลผลิตจากสวนแถบบางช้างและบริเวณใกล้เคียง  แถบบางช้างเป็นที่รู้จักในนาม “สวนนอก” และเปรียบเทียบกับ “สวนใน” โดยมีคำเรียกที่ว่า “บางช้างสวนนอกบางกอกสวนใน” หมายถึงสวนบ้านนอก คือ สวนบางช้าง ส่วนสวนที่อยู่ในเมืองใกล้รั้ววังเจ้านาย คือ สวนใน
 
ปัจจุบันวิถีชีวิตของชุมชนอัมพวาในอดีต ยังปรากฏให้เห็นและสัมผัสได้ในปัจจุบัน แม้กาลเวลาจะผ่านเลยไปแต่ภาพความทรงจำในอดีตยังคงหลงเหลือให้เห็น แม้จะลบเลือนไปบ้างตามกาลเวลาหากแต่ชุมชนแห่งนี้ก็ยังพยายามรักษาให้คงสภาพเหมือนเดิมให้ได้มากที่สุด… ภาพบ้านเรือนไม้ที่ขนานไปตามริมสองฝั่งคลอง ควบคู่ไปกับการค้าขาย และการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย พร้อม ๆ ไปกับการรักษาวัฒนธรรมรวมถึงศิลปะต่างๆ ในชุมชน ยังปรากฏให้เห็นเด่นชัด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศแวะเวียนมาเยือนอัมพวาอยู่เป็นนิจ





ย้อนเวลาเรือนห้องแถวในอัมพวา
 
ประตูบานเฟี้ยมไม้สักบานใหญ่ ที่ผ่านการลงน้ำยารักษาเนื้อไม้อวดผิวจนขึ้นเงา คือ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมเรือนห้องแถวของชุมชนอัมพวา หากเราเดินลัดเลาะเลียบไปตามริมคลองอัมพวา เริ่มต้นจากตลาดน้ำอัมพวาขึ้นไปทางวัดจุฬามณี จะเห็นห้องแถวเก่าที่ได้รับการอนุรักษ์ให้คงสภาพเดิมเอาไว้ แล้วปรับปรุงใหม่จนสวยงามจำนวนหมดทั้งสิ้น 17 ห้องด้วยกัน
 
โดยจุดแรกฝั่งซ้ายมือจะเป็นพื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา มีร้านกาแฟโบราณ “ชานชาลา” จำหน่ายเครื่องดื่มและอาหารพื้นบ้าน ที่ได้มีการหมุนเวียนอาหารที่มีรสชาติดีและเป็นฝีมือของชาวอัมพวามาจำหน่าย บรรยากาศของร้านตกแต่งให้ความรู้สึกคล้ายชานชาลา “สถานีรถไฟสายแม่กลอง” ซึ่งเป็นเส้นทางเดินรถเก่าแก่ที่ยังคงวิ่งผ่านตลาดแม่กลองจนถึงทุกวันนี้
 
ด้านหลังเป็นลานวัฒนธรรม “นาคะวะรังค์” เป็นลานอเนกประสงค์สำหรับการแสดงและกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมหมุนเวียนปีละ 3 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายน สิงหาคม และธันวาคม เพื่อเล่าเรื่องราวความเป็นมา รูปแบบ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนอัมพวา
 
กิจกรรมต่าง ๆ มีตั้งแต่การเสวนาเชิงวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวอัมพวาและชุมชนลุ่มแม่น้ำแม่กลอง การบรรเลงดนตรีไทย การฉายภาพยนตร์กลางคลอง และร้านค้าชุมชนจำหน่ายสินค้าท้องถิ่นของอัมพวา เป็นต้น
 
โดยกิจกรรมเหล่านี้เป็นผลมาจากการพัฒนาชุมชนของ “โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์” ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนานำที่ดินที่คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวา ได้น้อมเกล้าฯ ถวายมาดำเนินการพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอัมพวา
 
ในห้องแถวถัดมา ยังมีห้องนิทรรศการชุมชน จัดแสดงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนแม่กลองและอัมพวา, พิพิธภัณฑ์บ้านของนักดนตรีชาวแม่กลองคนสำคัญอย่าง ครูเอื้อ สุนทรสนาน ที่มีประวัติและผลงานของสุนทราภรณ์สำหรับผู้ที่สนใจเก็บเป็นที่ระลึกอีกด้วย
 
บางห้องนั้นเจ้าของใช้เป็นที่อยู่อาศัยทางด้านหลัง แต่ด้านหน้าก็เปิดค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างเป็นขนมไทยง่าย ๆ (แต่หากินยาก) ที่ทำเอง บางครั้งก็เป็นผลไม้สด ๆ จากสวนตามฤดูกาล บางบ้านก็เปิดเป็นโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวมาพัก หรือเปิดเป็นร้านขายของชำ ขายสินค้านานาชนิด ตั้งแต่น้ำมันก๊าด ถ่านหุงข่าว เตาอั้งโล่ ข้าวสารอาหารแห้ง ไปจนถึงขนมของเล่นโบราณยุคสมัยหลายสิบปีก่อน ซึ่งแทบไม่เห็นในท้องตลาดแล้ว แต่ที่นี่ยังมีขาย
 
โรงคั่วกาแฟโบราณ อย่างร้านอึ้งเซ่งฮวด และร้านสมานการค้า ยังมีร้านขนมเปี๊ยะเฮงกี่ ร้านขายขนมเปี๊ยะและจันอับเจ้าเก่าแก่ ต่างเป็นร้านที่อยู่คู่กับอัมพวามาไม่ต่ำกว่า 70 ปีทั้งสิ้น แต่หากจะเอ่ยถึงร้านที่เปิดมานานและมีอายุเก่าแก่ที่สุดของอัมพวา ต้องยกให้ “ร้านสวรรค์โอสถ” ร้านขายยาแผนโบราณทั้งไทยและจีน ที่สืบทอดมากว่า 100 ปี

 
วันวาน วันนี้ และวันพรุ่งนี้ของอัมพวา
 
“ชุมชนอัมพวาเป็นชุมชนมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งโครงสร้างชุมชนเดิมมันก็ไม่ใช่บ้านเรือน เราอยู่กันอย่างผูกแพลูกบวบ พอไม่เคลื่อนย้ายก็มีการสร้างอาคาร มีการลงหลักปักฐาน เพราะฉะนั้นเราจะเห็นกลุ่มอาคารในแต่ละยุค บางกลุ่มที่เป็นบานเฟี้ยมเรือนแถวก็อยู่เดิม บางอาคารก็อยู่ในช่วงรัชกาลที่ 6
 
ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจนอกจากอาคารก็คือชีวิตภายใน อย่างร้านสวรรค์โอสถ เขาขายกันมาสามรุ่น บางบ้านก็เป็นคล้าย ๆ เรือนแพเพียงแต่ยกเสา ไม่ได้ผูกแพลอยบนน้ำ แต่ปัจจุบันโครงข่ายอาคารสมัยใหม่ไปเกาะอยู่กับถนน ซึ่งถ้าหากเราไม่เก็บรักษา อีกหน่อยเราก็จะไม่เห็นชุมชนที่มีกิจกรรมอยู่กับน้ำกับคลอง และไม่เห็นความเป็นมาของชุมชน”
 
ร้อยโท พัชโรดม อุนสุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา เล่าย้อนอดีตอัมพวาเมื่อหลายทศวรรษก่อน พร้อมชี้แจงถึงที่มาของการพัฒนาและอนุรักษ์ชุมชนอัมพวาในปัจจุบัน
 
สืบเนื่องจากชุมชนอัมพวา เป็นชุมชนริมน้ำที่หลงเหลืออยู่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งสภาพตัวสถาปัตยกรรมริมน้ำส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงกับของเดิม เพียงแต่ชำรุดทรุดโทรม ต่อมาในปี 2546-2547 จึงดำเนินการซ่อมแซมอาคารไม้ที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมร่วมกับเจ้าของอาคารรวม 17 ราย ซึ่งเป็นพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ที่จะให้ชุมชนอัมพวาเก็บรักษาสถาปัตยกรรมเก่าแก่เหล่านี้ไว้
 
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ที่ชุมชนชาวคลองอัมพวาได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ต่อมาทางรัฐบาลเดนมาร์กได้ให้งบประมาณสนับสนุนผ่านทางสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ในโครงการ “อนุรักษ์ศิลปกรรมสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม” ซึ่งในขณะนั้นทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เลือกพื้นที่อนุรักษ์ 3 ชุมชนทั่วประเทศเข้าโครงการคือ คลองอัมพวา, คลองอ้อมนนท์ และเกาะรัตนโกสินทร์บางส่วน เพื่อเป็นโครงการสาธิตให้ชาวบ้านเก็บรักษาอาคารที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม
 
“การเก็บรักษา ณ วันนั้น ก็ถูกถามจากชาวบ้านว่า ทำอย่างไรให้การเก็บรักษานั้นมันมีคุณค่าด้วย เพราะอย่าลืมว่าบ้านที่เป็นอาคารไม้มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงมาก บางหลังซ่อมกันเกือบล้าน และถ้ามันไม่สามารถมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ การเก็บรักษาคงทำได้ยาก”
 
ทางเทศบาลอัมพวาจึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น จากอาคารว่างที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย ก็ปรับปรุงให้เป็นร้านอาหาร หรือที่พักแบบโฮมสเตย์
 
ในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีคุณค่าทางมรดกทางวัฒนธรรมของเทศบาลอัมพวานั้น นอกจากการสนับสนุนของสำนักงานนโยบายและแผนฯ ยังมีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เข้ามาศึกษาวิจัยการอนุรักษ์ และฟื้นฟูชุมชนอัมพวา ตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบันนี้
 
รศ.ดร.ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าในการศึกษารายละเอียดสถาปัตยกรรมในพื้นที่ชุมชนอัมพวานั้น พบว่าอัมพวาจะมีสิ่งปลูกสร้างทั้งในรูปแบบเรือนไทย เรือนแพ เรือนพื้นถิ่นที่มีคุณค่า ในช่วงที่มาลงพื้นที่ระยะแรกนั้น อัมพวายังเงียบเหงา บ้านเรือนก็ทรุดโทรมเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งในระยะแรก ๆ ชาวบ้านก็ยังมีความกังวลอยู่ว่า หากเข้าร่วมโครงการแล้วจะถูกเวนคืนหรือยึดกรรมสิทธิ์อาคารไปหรือไม่ แต่หลังจากมีโครงการสาธิตเบื้องต้นไป เจ้าของบ้านหรืออาคารหลาย ๆ หลังก็เริ่มมีการปรับปรุงโดยใช้เงินตัวเอง ปรับเป็นร้านค้าหรือที่พักตามบ้านที่เข้าร่วมโครงการ
 
“ชาวบ้านบางคนเขาไม่รู้ว่าจะซ่อมไปทำไม เก็บเงินไว้ให้ลูกหลานหรือไว้ใช้ตอนแก่ดีกว่า ทางเราก็เข้าไปส่งเสริมแรงจูงใจให้ซ่อมแล้วเปิดเป็นโฮมสเตย์ บางบ้านก็ซ่อมเล็กซ่อมน้อยใช้เงินสามสี่หมื่น พอสักระยะก็เริ่มได้เงินคืน บางบ้านก็ตัดใจมีเงินเท่านี้ แต่ถ้าไม่ซ่อมสมบัติของพ่อแม่ก็จะหมดไป ยอมเอาทองที่เก็บหอมรอมริบมาตลอดชีวิตไปขายมาซ่อมบ้านก็มี โชคดีที่ปีนั้นมีหนังเรื่องโหมโรงซึ่งทำให้อัมพวาดังเป็นที่รู้จัก โหมโรงเป็นแบคกราวน์ทุกอย่างของอัมพวาเลย ทั้งสวน ท้องร่อง ดนตรีไทย นักท่องเที่ยวจึงเริ่มรู้จักและเข้ามามากขึ้น ทุกวันนี้หลายบ้านก็ได้เงินคืนฟื้นทุนครบหมดแล้ว”
 
ผลสำเร็จจากการโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม พื้นที่ชุมชนริมคลองอัมพวา ทำให้ชุมชนได้รับรางวัล “UNESCO Asian-Pacific for Culture Heritage Conservation” ระดับ Honorable Mention จากองค์กร UNESCO ในปีค.ศ. 2008 ซึ่งมีการจัดพิธีมอบขึ้นในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธี ยังนำมาซึ่งความปลาบปลื้มแก่ชาวอัมพวา
 
นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา เปิดเผยว่า หลักเกณฑ์รางวัลที่ทางยูเนสโกจัดขึ้นนั้น กำหนดไว้ว่าอาคารที่เข้าประกวดจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปี และหลังจากที่ปรับปรุงซ่อมแซมแล้วจะต้องมีการใช้งานไม่น้อยกว่าหนึ่งปีภายหลังจากการซ่อมแซม
 
“อาจจะพูดได้ว่าเราเป็นตัวแทนของวิถีชีวิตของคนไทยภาคกลางในอดีตที่มีโครงสร้างเหล่านี้อยู่ ผมเกิดที่นี่แต่ไม่ได้โตที่นี่ ก่อนที่จะออกจากเมืองนี้ กิจกรรมเศรษฐกิจของอัมพวาเคยรุ่งเรือง แต่มันมาล่มสลายเพราะโครงข่ายการคมนาคมทางบก คนเปลี่ยนจากเรือเป็นรถ บ้านที่เคยขายของ เรือที่ผ่านก็ไม่มีเรือผ่าน เขาก็ขายของไม่ได้ เราเป็นเทศบาลปี 2484 มีประชากรหนึ่งหมื่น ปัจจุบันเหลือห้าพัน นั่นหมายความว่าคนไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่เหมือนเดิมได้อีก ย้ายถิ่นอพยพออกเพราะไม่สามารถค้าขายได้”
 
สิ่งสำคัญที่นายกเทศมนตรีเมืองอัมพวาอยากเห็นก็คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจพื้นฐานในระดับชุมชน สร้างรายได้ให้ชาวอัมพวาเหล่านี้สามารถยืนอยู่บนฐานรากเหง้าของตัวเอง อยู่บนความเป็นตัวตนและเก็บรักษาอัตลักษณ์ของคนอัมพวาไว้
 
“ในอดีตที่นี่คึกคัก มีเรือแล่นตั้งแต่ปากคลองยันท้ายคลอง แต่กิจกรรมเหล่านั้นไม่ได้อยู่บนฐานของการท่องเที่ยว มันเป็นกิจกรรมที่ใช้อยู่ในชีวิตจริงๆ แล้วพอมีถนนสิ่งเหล่านี้มันหายไปหมดเลย เหลือแต่ห้องแถวร้าง ก่อนหน้าที่จะมีการปรับปรุง ห้องแถวห้องหนึ่งค่าเช่า 800 บาท แล้วถามว่าเจ้าของอาคารจะมีเงินซ่อมอาคารไหม เมื่อก่อนมาเดินในเมืองก่อนหน้าปี 47 วันเสาร์อาทิตย์จะไม่เจอคนเลย เมืองเงียบปิดร้าง และไม่ใช่แค่อัมพวาแต่เป็นอีกหลายเมืองโดยเฉพาะในที่ราบลุ่มภาคกลาง ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก แล้ววันหนึ่งมันล่มสลายไป ถ้าเราเก็บไว้ได้ เราจะรู้ว่ารากเหง้าของเมืองอยู่ตรงไหน”
 
ชื่อของอัมพวา ถูกขนานนามคู่กับเมืองแม่กลองมาช้านาน ในฐานะอำเภอหนึ่งที่มีชื่อเสียงทางด้านการท่องเที่ยวชมตลาดน้ำและหิ่งห้อย แต่ ณ วันนี้อีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นของอัมพวาก็คือ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าแก่ของชุมชนริมน้ำแห่งนี้ที่ได้รับรางวัลและการยอมรับในระดับโลก


ขอขอบคุณข้อมูลจากMGR Online















 :'e:111 :'e:111 :'e:111

ชาตรี:


เพลง นิราศเวียงพิงค์
ขับร้องโดย ทูล ทองใจ
คำร้อง-ทำนอง สิทธิ์ โมระกรานต์

โอ้ เวียงพิงค์ ดังเวียงสวรรค์
สวยกว่าถ้อยคำเสกสรร ที่พรรณาเปรียบเปรย
แดนไหนอื่น หมื่นแสนบ่แม้นได้เลย
เฮานี้สุดหาถ้อยเอ่ย เปรียบเปรยงามนั้นได้นา
หากใครแม้น เที่ยวไปได้เห็นสักครา
เขาคงจะจำติดตา ตรึงอุรามิเคยเสื่อมคลาย

คู่เวียงพิงค์ คือปิงสุดงาม
สวยอยู่บ่เคยเสื่อมทราม ช่างงามซึ้งใจบ่วาย
น้ำใสเด่น มองเห็นจนพื้นหาดทราย
ปลาน้อยแปรฝูงกระจาย อยู่ในธาราน่าชม
ช่างพาฝัน งามนั้นชวนฉันชื่นชม
ฉันพลอยคลายความโศกตรม นั่งชมน้ำปิงสุขใจ

เบื่อลำน้ำ เฮาไปแอ่วดอย
ผาเงิบชวนเพลินใช่น้อย แอ่วดอยแสนเพลินกระไร
มีน้ำตก และนกบินร้องก้องไพร
ยินเสียงมันแล้วสุขใจ สุขใดบ่มีเปรียบปาน
โอ้เวียงพิงค์ แม้นฉันจากไปแสนนาน
แต่ความหมุนเวียนแห่งกาล บ่ได้ทำให้ข้าเลือน...

ชาตรี:


เพลง พบรักปากน้ำโพ
นักร้อง สายัณห์ สัญญา
คำร้อง-ทำนอง ชลธี ธารทอง

พื่เป็นหนุ่มลุ่มเจ้าพระยา ล่องเรือไปขายค้า
เดินทางมา หลายร้อยกิโล
สายัณห์คล้อยต่ำ ลอยลำถึงปากน้ำโพ
หันหัวเรือล่ามโซ่ ค้างปากน้ำโพสักคืน

พี่เร่ร่อน นอนกินกับเรือ
น้องจงคิดเอื้อเฟื้อ ให้จอดเรือหน้าบ้านขวัญยืน
คืนนี้เดือนแจ่ม ขอจอดพักแรมซักคืน
พอรุ่งเช้านอนตื่น จะลาขวัญยืนล่องเรือต่อไป

***เป็นบุญตา ที่ได้มาปากน้ำโพ
พบน้องคนโก้ ผูกโบว์ใส่เสื้อสีไพร
น้ำใจเอื้อเฟื้อ หนุ่มเรือไม่อยากลาไกล
อยากขายเรือซื้อนาซื้อไร่ อยากอยู่ใกล้แม่ขนตางอน

รุ่งอรุณ แล้วเจ้าแก้วตา
ต้องถอยเรือก่อนหนา แม่ขวัญตาพี่ขอลาก่อน
ชาวเรือต้อยต่ำ ตัวดำเหมือนดินนาดอน
โบกมือลาแก้วตาขวัญอ่อน แม่ขนตางอนอย่าลืมชาวเรือ...

จรีพร:


[ Invalid YouTube link ]


   เพลง "เชียงใหม่"   

คำร้อง : ไสล ไกรเลิศ
ทำนอง : มาจากเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ ม่านมุ้ยเชียงตา
ผู้ขับร้อง : นริศ อารีย์


ม่าน...ทองเยือนฟ้า
ชื่นอุราชมฟ้าชมเวียงเชียงใหม่
หมอกอ่อน อ่อน รอนแสงตะวันอำไพ
เหมือนดังเชียงใหม่วิมานสถาน
ทิวาจวนใกล้ ดอกกล้วยไม้เจ้าก็บาน
กิ่งสะท้านแลสล้าง

โน่น...ดอยเทียมฟ้า
แปลกหนักหนางามเหมือนเทวามาสร้าง
เด่นตระหง่านมองคล้ายวิมานเวทางค์
สูงลอยแลห่างเหมือนปรางค์เวหา
แสงทองเยือนหล้าส่องม่านฟ้าเวียงพิงค์เพริศพราย
กลิ่นกล้วยไม้ลอยลม

ชื่น...ชมกล้วยไม้
เด่นยั่วใจงามสวยวิไลชวนชม
ดอกเด่น เด่น ใครเห็นก็คงนิยม
เขาควรจะเด็ดไว้ชมถนอม
แม้ชมเจ้าง่ายกลิ่นกล้วยไม้เจ้าก็ตรอม
สิ้นความหอมโรยรา

 

 :'e:111 :'e:111 :'e:111

ชาตรี:


เพลง ไทรโยคแห่งความหลัง.
นักร้อง วงจันทร์ ไพโรจน์
คำร้อง-ทำนอง นคร มงคลายน

ท่ามกลางสายลม โบยโบก
ริมน้ำธารไทรโยค ดินแดนแห่งความหลัง
ฉันยังจำได้ ใต้เงาร่มไม้บัง
ตรงที่เราเคยนั่ง อยู่กันเพียงสองคน

ได้ยินเสียงลม เบาเบา
กลางแสงนวลจันทร์เจ้า ดวงดาวเกลื่อนเวหน
สายน้ำซัดซ่า หลั่งมาจากเบื้องบน
คืนนั้นเราต่างคน อยู่ชิดกันไม่ห่างไกล

***ไทรโยคเคยเป็นเหมือนแดนสวรรค์
ที่เธอกับฉัน ร่วมกันสร้างไว้ในใจ
เดี๋ยวนี้ตรอมตรม เพราะเธอมาเปลี่ยนไป
เห็นไทรโยคทีไร ช้ำใจไม่อยากชม

ท่ามกลางสายลมไทรโยค
คงเหลือความเศร้าโศก ดวงใจสุดขื่นขม
เสียงน้ำซัดซ่า หริ่งเรไรร้องระงม
เคยเหมือนเพลงชื่นชม กลับคล้ายเพลงที่บาดใจ...
 :'e:131

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version