มาดูแลสุขภาพกัน > สมุนไพรพืชอันทรงคุณประโยชน์

ใบย่านาง

(1/5) > >>

chomm:
                ใบย่านาง


ย่านาง
วงศ์ MENISPERMACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์   Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
ชื่อพื้นเมือง
ภาคกลาง        เถาย่านาง, เถาหญ้านาง, เถาวัลย์เขียว, หญ้าภคินี
เชียงใหม่        จ้อยนาง, จอยนาง, ผักจอยนาง
ภาคใต้            ย่านนาง, ยานนาง, ขันยอ
สุราษฎร์ธานี   ยาดนาง, วันยอ
ภาคอีสาน       ย่านาง
ไม่ระบุถิ่น        เครือย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, เถาเขียว, เครือเขางาม
ประโยชน์ทางยา
สารเคมีที่สำคัญ
ราก ย่านางมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxde และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondendrine (isberberine)
การทดลองทางห้องปฏิบัติการ
จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิด ฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง
ใบ รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา
ราก  รสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ รับประทานแก้พิษเมาเบื่อแก้เมสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก่ไม่ผูก ไม่ถ่าย แก้กำเดา แก้ลม
ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
        1.   แก้ไข้
ใช้รากย่านางแห้ง 1 กำมือ ประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 แก้วครึ่ง เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว ให้ดื่มครั้งละ ½ แก้ว ก่อนอาหาร 3 เวลา
        2.   แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง)
ใช้รากย่านางแดงและรากมะปรางหวาน ฝนกับน้ำอุ่น แต่ไม่ถึงกับข้น ดื่มครั้งละ ½-1 แก้วต่อครั้ง วันละ 3-4 ครั้ง หรือทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้าไม่มีรากมะปรางหวาน ก็ใช้รากย่านางแดงอย่างเดียวก็ได้ หรือถ้าให้ดียิ่งขึ้น ใช้รากมะขามฝนรวมด้วย
        3.   ถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย ใช้รากย่านางต้นและใบ 1 กำมือ  ตำผสมกับข้าวสารเจ้า 1 หยิบมือ เติมน้ำคั้นให้ได้ 1 แก้ว กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่เกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่ายให้หมดทั้งแก้ว ทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยให้ดีขึ้น
        4.   ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
ใช้หัวย่านางเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วนดื่มครั้งละ ½ แก้ว
การใช้เป็นยาพื้นบ้านในภาคอีสาน
1.   ใช้ราก ต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น
2.   ใช้รากย่านางผสมรากหมาน้อย ต้มแก้ไข้มาลาเรีย
3.   ใช้ราก ต้มขับพิษต่างๆ
รสและคุณค่าทางโภชนาการ
ใบย่านางรสจืด
คุณค่าทางโภชนาการ ข้อมูลจากหนังสือ  Thai Food Composition Institute of Nutrition, Mahidol University (สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) พบว่า ปริมาณสารสำคัญที่มีมากและโดดเด่นในใบย่านาง คือ ไฟเบอร์ แคลเซี่ยม เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ

ใบย่านาง 100 กรัม ให้คุณค่าโภชนาการดังนี้
     พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่
     เส้นใย 7.9 กรัม
     แคลเซี่นม 155 มิลลิกรัม
     ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
     เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม
     วิตามินเอ 30625 IU
     วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม
     วิตามินบีสอง 0.36 มิลลิกรัม
     ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม
     วิตามินซี 141 มิลลิกรัม
     หรือโปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์
     ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์
     โพแทสเซี่ยม 1.29 เปอร์เซนต์
     แคลเซี่ยม 1.42 เปอร์เซนต์
     ADF 33.7 เปอร์เซนต์
     NDF 46.8 เปอร์เซนต์
     DMD 62.0 เปอร์เซนต์
     แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

น้องดา:
อ่านดูแล้วสรรพคุณมากมายเลยค่ะพี่ชม ส่วนมากคนอิสานก็ไม่ค่อยขาดอยู่แล้วค่ะเพราะกินแกงหน่อไม้เป็นประจำ ขอบคุณนะคะพี่ชม ที่นำสาระดีๆมาฝากค่ะ :'e:95

เฒ่าแก่:
ย่านางนี่นะ  เมื่อก่อนเวลาเราจะใช้ต้องเข้าไปหาตามป่ามาคั้นๆเอาแต่น้ำ

เดี๋ยวนี้สบายขึ้นเยอะครับ  มีน้ำย่านางคั้นสดมาขายเป็นถุงๆในตลาดเลย

ส่วนสาเหคุที่หน่อไม้ต้องใส่ย่านางเนี้ย ทราบกันไหมครับว่าเพราอะไร

ข้อ 3 ที่คุณชมโพสต์ไว้เลยครับ  จริงๆในหน่อได้เขาจะมีพิษอยู่ในตัว จึงต้องใช้ย่านางในการกำจัดพิษนั้นครับ

แต่ผลที่ได้ตามมาคือหน่อไม้จะหวานครับ

pattra:
ขอบคุณในบทความที่มีประโยชน์มากมายค่ะ :'e:95

ท่านขุน:
น้ำย่านางที่ขายตามตลาดสดจะสู้เราซื้อมาคั้นเองไม่นะครับเฒ่าแก่ ข้อสำคัญอย่านำไปปั่นในเครื่องปั่นเด็ดขาดเพราะเครื่องทำให้เกิดความร้อนตัวอย่างบางตัวหายไป ถ้าจะให้ดีและได้สรรพคุณทางยาครบต้องใช้มือขยี้อย่างเดียว ถ้าเหม็นเขียวกินลำบากจะผสมน้ำใบเตยลงไปนิดแล้วแช่ตู้เย็นไว้ จะทำให้ทานง่ายขึ้นเยอะครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version