ผู้เขียน หัวข้อ: เที่ยวเมืองนครศรีธรรมราช ชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ สำคัญๆ  (อ่าน 2344 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ สุวิทย์ สุข

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 110
    69
  • เพศ: ชาย


เที่ยวเมืองนครศรีธรรมราช ชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ สำคัญๆ





พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช 
เป็นพระพุทธรูปที่มีพระรูป และสัดส่วนที่งดงามมาก
* ในประเทศไทย มีพระพุทธสิหิงค์อยู่  3 องค์ คือ 
* ที่หอพระพุทธสิหิงค์นครศรีธรรมราช 
* ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
* ที่วัดพระสิงห์เชียงใหม่
.....ตามประวัติกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ สร้างที่ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ.๗๐๐
ด้วยกิตติศัพท์เลื่องลือ ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงาม
พ่อขุนรามคำแหง จึงทรงขอให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชจัดส่งราชฑูตไปลังกา
ขอพระพุทธรูปองค์นี้มาบูชา ซึ่งก็ได้มาตามราชประสงค์ ได้อัญเชิญมา
ประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช จัดงานพิธีสมโภชใหญ่โต เป็นเวลา ๗ วัน
พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ให้ช่างท้องถิ่น จำลองไว้บูชา ๑ องค์
แล้วได้อัญเชิญไปไว้ ณ กรุงสุโขทัย
      พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่นครศรีธรรมราชนี้
มีลักษณะ ตามแบบสกุลช่างท้องถิ่น เรียกว่า แบบขนมต้ม
คือ มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน ประทับนั่ง
ในท่าขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาติสั้นระดับพระถัน

CR : http://home.nakhon.net/bunying/boran.htm




พระเจดีย์ยักษ์

...เป็นเจดีย์โบราณทรงลังกา ก่อด้วยอิฐขนาดสูงใหญ่ เป็นรองจาก
องค์พระบรมธาตุเจดีย์ แต่เดิมนั้นอยู่ในวัดพระเงิน  ซึ่งปัจจุบัน
อยู่ในเขต ต. คลัง อ. เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ติดกับ
สำนักงานเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช

...มีผู้สันนิษฐานว่า สร้างในระหว่าง พุทธศัตวรรตที่ ๑๘ - ๑๙
ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และได้สร้างวิหารหน้าพระเจดีย์
ประดิษฐานหลวงพ่อเงิน พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ฝีมือช่างอยุธยา
เป็นที่สักการะบูชาของชาวนคร และชาวพุทธทั่วไป

...ตามตำนานของพระเจดีย์ยักษ์กล่าวว่า ในขณะกำลังทรงสร้าง
พระบรมธาตุอยู่นั้น ปรากฎว่ามียักษ์ตนหนึ่งเข้ามายังเมืองนครศรีธรรมราช
ต้องการจับคนในเมืองกินเป็นอาหาร ระหว่างนั้นทางชาวเมืองกำลังก่อสร้าง
เจดีย์พระธาตุอยู่ ชาวบ้านจึงขอร้องยักษ์ตนนั้นว่าอยากสร้างเจดีย์พระธาตุ
ให้เสร็จก่อนแล้วจะยอมให้กินเป็นอาหาร ทันใดนั้นก็มีชายผู้หนึ่งนึกพิเรน
จึงท้าเจ้ายักษ์ตนนั้นว่าถ้าแน่จริงให้มาแข่งกันสร้างเจดีย์ เจ้ายักษ์ก็รับปาก
เวลาผ่านไปเจ้ายักษ์ก็เริ่มสร้างเจดีย์ ทางยักษ์ตนนั้นใช้เวลาไม่นานก็สร้าง
เจดีย์กำลังจะเสร็จแล้ว ทางชาวเมืองเห็นว่ายังไงก็คงไม่มีทางสร้างเสร็จก่อน
เจ้ายักษ์แน่ๆ จึงคิดอุบายนำผ้าสีเหลืองมาห่มเจดีย์พระธาตุ ด้วยระยะห่าง
ระหว่างพระธาตุกับเจดีย์ยักษ์ทำให้เจ้ายังมองไปเห็นเหมือนว่าชาวเมืองสร้าง
เจดีเสร็จก่อนตน จึงเกิดโมโหอย่างมาก ด้วยความโกรธจึงใช้มือทุบยอดเจดีย์
ของตนที่กำลังจะเสร็จจนยอดหัก แล้วด้วยความอับอายยักษ์ตนนั้นจึงวิ่งออกจาก
เมืองไป ชาวเมืองดีใจเป็นอย่างมากจึงเกิดประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุสืบเนื่องมา
จนถึงปัจจุบัน...






หอพระนารายณ์ ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับหอพระอิศวร คนละฟาก
ของถนนราชดำเนินในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
เป็นเทวสถานของพรามณ์ ลัทธิไวษณพนิกาย ซึ่งนับถือ
พระนารายน์เป็นเทพสูงสุด มีเทวรูปพระนารายน์ประดิษฐานอยู่
อายุประมาณ พุทธศัตวรรษที่ ๑๐-๑๑ เทวรูปองค์นี้เป็นเทวรูป
ศิลปแบบอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดที่ได้พบ ปัจจุบันได้ย้ายไปเก็บรักษา
ไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานนครศรีธรรมราช





หอพระอิศวร อยู่ในอำเภอเมือง ทางทิศใต้ของวัดเสมาเมือง
อยู่ตรงกับข้ามกับหอพระนารายน์ บูรณะใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐
เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร เป็นองค์เทพสูงสุดของศาสนาพรามณ์
ลัทธิไศวนิกาย ด้านทิศใต้ของหอพระอิศวร มีเสาชิงช้าสำหรับทำพิธีโล้ชิงช้า
ของพรามณ์เมืองนครศรีธรรมราช และได้ยกเลิกไป เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘
........ เมื่อก่อนใกล้กับเสาชิงช้ามีโบสถ์พรามณ์ แต่ได้ผุพังจนไม่เหลือซาก
แล้วภายในโบสถ์มีเทวรูปหล่อด้วยสำริด อายุระหว่าง พุทธศตรรวที่ ๑๘ - ๒๕
อาธิ พระพิฆเนศวร พระศิวะนาฏราช พระอุมา และรูปหงส์ซึ่งย้ายเข้ามาไว้
ในหอพระอิศวร แต่ทางพิพิธภัณฑสถานเกรงว่าจะสูญหาย จึงย้ายไปเก็บรักษา
ไว้ในห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานนครศรีธรรมราช และได้หล่อรูปจำลอง
ไว้แทนในหอพระอิศวร



ศาลพระเสื้อเมือง ตามคติโบราณ เมื่อใดที่มีการตั้งบ้านเมืองก็มักจะสร้างศาล
ไว้ให้เทพารักษ์ผู้รักษาบ้านเมืองด้วย

ศาลพระเสื้อเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของหอนาฬิกา
ห่างจากศาลากลางประมาณ ๑๐๐ เมตร สันนิษฐานว่าคงจะเป็นบริเวณ
กลางเมืองในอดีต เเละคงสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย
ศาลเดิมสร้างด้วยไม้ จึงไม่เหลือร่องรอย ผุพังตามกาลเวลา
หลังจากนั้นเข้าได้มีการสร้างขึ้นใหม่อีกหลายครั้ง มีผู้บันทึกว่า
เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมาเเล้วเห็นเป็นศาลไม้ หลังคามุงกระเบื้อง
หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ภายในประดิษฐานเทพารักษ์ 2 องค์
ลักษณะคล้ายกับท้าวกุเวรราชในวิหารม้า วัดพระมหาธาตุ
ต่อมามีผู้บูรณะเทวรูปทั้งสองนี้และลงรักปิดทอง
         ในระยะหลังปรากฎว่า ศาลพระเสื้อเมือง เป็นที่นับถือของ
ชาวจีนเป็นจำนวนมาก ศาลนี้จึงได้รับการตกเเต่งจนดูคล้ายศาลเจ้าของจีนไป



กุฏิท่านเจ้าคุณ "พระรัตนธัชมุนี" อยู่ที่วัดท่าโพธิ์วรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่
ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๒๗ ตรงกับรัชสมัย
ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ แห่งกรุงศรีอยุธยา
    เมื่อพ.ศ.218ในสมัยที่พระนเรศวรส่งพระรามราชท้ายน้ำมาเป็น
เจ้าเมืองนคร มีโจรสลัดจากสิงคโปร์ ยกเข้าปล้นเมืองนคร
พระรามราชท้ายน้ำส่งกำลังเข้าต่อสู้อย่างเข้มเเข็ง จนในที่สุดก็สามารถ
ตีข้าศึกพ่ายเเพ้กลับไปได้ เเต่กว่าจะได้ชัยชนะ วัดท่าโพธิ์เเละชุมชน
เเถบนั้น ก็ถูกเผาทำลายสิ้นเสียเเล้ว วัดท่าโพธิ์จึงร้างไปชั่วคราว
         มาในสมัยต้นรัตนโกสิน เจ้าอุปราชพัฒน์ได้มาตั้งวังอยู่ทางทิศเหนือ
ห่างวัดท่าโพธิ์ประมาณ 400 เมตร ครั้นสิ้นสมัย เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนเดิม
เจ้าอุปราชพัฒน์ ได้รับการเเต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองคนต่อมา จึงได้ย้ายมาอยู่
ที่วังเจ้าเมืองเดิม บริเวณที่อยู่เก่าได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2327
ให้ชื่อว่าวัดท่าโพธิ์ตามเดิม สิ่งที่ควรกล่าวไว้ ณที่นี้ด้วยว่าสมัยที่มีการเปลี่ยนเเปลง
การปกครองมาเป็นเเบบมณฑล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
พระรัตนธัชมุนี (ม่วง) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์(ดูประวัติโดยละเอียดิของท่านเจ้าคุณได้ในหน้า
"เครื่องถมนคร") ท่านเจ้าคุณมีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษาแผนใหม่
โดยได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นถึง 21 แห่งในท้องที่ต่างๆของจังหวัด ทั้งได้จัดตั้ง
โรงเรียนช่างถมขึ้นที่วัดท่าโพธิ์ด้วย  ทำให้การศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช
เจริญรุดหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
     กุฎิของท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี(ม่วง) ยังคงตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในบริเวณ





กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ริมคลอง หน้าเมือง ถนน มุมป้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

การ สร้าง ปรากฏหลักฐาน จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่ หาดทรายแก้ว แล้วจึงสร้างกำแพง เมืองเป็นกำแพงดิน มีคูล้อมรอบ สันนิษฐานว่า
มีการบูรณะกำแพง เมืองส่วนต่างๆ กันมาหลายครั้งทุกครั้ง คง พยายามรักษาแนวกำแพงเดิมไว้

      ใน พ.ศ.๑๙๕๐ สมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงศรีอยุธยาตีล้านนาไทยได้ได้กวาดต้อนผู้ คน
มาไว้ที่เมือง นครศรีธรรมราช ชาวล้านนาไทยจึงนำเอาแบบอย่างการ สร้างกำแพงเมือง
มาจากเมืองเชียงใหม่ มาซ่อมกำแพงเมืองนครศรี ธรรมราชโดยทำเป็นกำแพงแบบปักเสาพูนดิน

      ในราว พ.ศ. ๒๑๐๐ เมื่อชาวโปรตุเกสนำวิธีการสร้างแบบ ก่ออิฐและตั้งฐานปืนใหญ่เข้ามา
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ได้ถูดดัดแปลงเป็นกำแพงก่ออิฐขึ้นเพื่อให้เป็นป้อม ปราการที่แข็งแรง

       ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นายช่างวิศวกรและสถาปนิก ของฝรั่งเศสเข้ามาเมืองไทย
จึงมีการสร้างกำแพงเมืองตามแบบ ชาโต (Chateau) กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชที่ เห็นอยู่ในปัจจุบัน
จึง เป็นกำแพงเมืองที่สร้างขึ้นสมัยพระนารายณ์มหาราช

       ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งตรง กับสมัยที่พระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)
ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้มีการซ่อมกำแพงอีกครั้ง

       เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ครั้งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวง สมุหเทศาภิบาล
สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช สั่งให้รื้อกำแพง เมืองซึ่งชำรุดแต่ยังคงเห็นรูปทรง
และใบเสมาชัดเจน เอาอิฐ มาทำถนนที่เลียบริมกำแพงด้านในทุกด้าน

       ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการซ่อมกำแพงด้านทิศเหนือเพียงบาง ส่วน ใบเสมาและ
แนวป้อมจึงยังคงปรากฏให้เห็น ส่วนด้านอื่น ๆ นั้น พังทลายเห็นเพียงซากอิฐหรือดินเท่านั้น

กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ควนแข็งแกร่ง ความ เจริญรุ่งเรือง
และประวัติศาสตร์อันยาวนาน

กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืน ผ้ามีอาณาเขตดังนี้

_ด้านทิศเหนือ กว้าง 11 เส้น 10 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงด้านนี้ ทิศตะวันออก จากวัดมุมป้อม
   ทิศตะวันตกจดมุมของเรือน จำกลางนครศรีธรรมราช มีคลองหน้าเมืองเป็นคู เมือง 
_ด้านทิศใต้ กว้าง 11 เส้น 10 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมืองด้าน นี้ ทิศตะวัน ออก
   จากโรงเรียอนุบาลโสภณวิทยา โรงเรียนเทคนิคพานิชยการโสภณ  ทิศ ตะวันตกจดหัวท่า
   มีคลองป่าเหล้าเป็นคูเมือง 
_ด้านทิศตะวันออก ยาว 55 เส้น 5 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมือง ด้านนี้ ทิศ เหนือ
   จากวัดมุมป้อม ทิศใต้จดโรงเรียนอนุบาลโสภณวิทยา โรงเรียนเทคนิคพานิชยการโสภณ 
   คูเมืองด้านนี้ตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนได้สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย 
_ด้านทิศตะวันตก ยาว 55 เส้น 5 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมืองด้านนี้ ทิศ เหนือจาก
   มุมเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ทิศ ใต้จดหัวท่า มีคลองจากหัวท่า มาตามแนวกำแพง
   มาเลี้ยวขาวที่มุมเรือนจำเป็นคลองหน้าเมือง เป็นคูเมือง

ประตูกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช

๑.    ประตูชัยเหนือ เดิม ชื่อประตูชัยศักดิ์ เป็น ประตูเมือง ด้านทิศเหนือ หรือด้าน หน้าเมือง
อยู่ตรงเชิงสะพานนคร น้อยด้านใต้ในปัจจุบัน เดิมมีสะพาน หก สำหรับ เปิด ปิดได้เป็น
ประตูขนาดใหญ่ช้างม้าพาหนะทุกชนิด ผ่านเข้าออกได้ ทางด้านเหนือมีประตูเดียว

๒.    ประตูชัยใต้ เดิมชื่อประตูชัยสิทธิ์ เป็นประตูเมืองด้าน ใต้ อยู่ตรงสี่แยก ประตูชัยในปัจจุบัน
เป็นประตูที่มี ลักษณะเช่นเดียว กับ ประตูชัยเหนือ ทางด้านใต้มี ประตูเดียวเช่นกัน

๓.    ประตูลัก เป็นประตูแรกของกำแพงด้านตะวันออก นับมา ทางทิศเหนือ เป็นประตูขนาดเล็ก
เรียกว่าประตูผี เพราะเป็นทางที่เอาศพ ออกไปนอกกำแพงเมือง เพราะห้าม นำศพ ออกทางประตูชัยเหนือ
และใต้

๔.    ประตูโพธิ์ เป็นประตูที่สอง ของกำแพงด้านตะวันออก นับ มาจากทิศเหนือ

๕.    ประตูลอด เป็นประตูที่สามของกำแพงด้านตะวันออก นับ มาจากทิศเหนือ

๖.   ประตูพาน ยม (สะพานยม) เป็นประตูที่สี่ของกำแพง ด้านตะวันออก นับมา จากทิศเหนือ
      เรียกกันว่าประตูผี เช่นเดียวกับประตูลัก

๗.    ประตูท่าม้า เป็นประตูแรกของกำแพงด้านตะวันตก นับ มาจากทิศเหนืออยู่ ตรงข้ามกับประตูโพธิ์

๘.   ประตูนางงาม เป็นประตูที่สอง ของกำแพงด้าน ตะวันตก นับมาจากทิศเหนือ ตรงข้ามกับประตูลอด

 ๙.  ประตูท้ายวัง เป็นประตูที่สามของกำแพงด้านตะวันตก นับมาจากทิศเหนือ อยู่หลังศาลากลาง
      ด้านทิศใต้

๑๐.    ประตูท่าชี เป็นประตูที่ สี่ ของกำแพงด้านตะวันตก นับมาจากทิศเหนือ เป็นประตูผี
เช่นเดียวกับ ประตูลัก อยู่ตรงข้ามกับประตูพานยม

CR : http://home.nakhon.net/bunying/boran.htm

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=26610
-::-คำขวัญการท่องเที่ยว-::-
นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ
ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์
มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู