ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของเพลง...สดุดีมหาราชา  (อ่าน 6668 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
ที่มาของเพลง...สดุดีมหาราชา
« เมื่อ: 16/พ.ค./14 00:24น. »



เพลง "สดุดีมหาราชา" เป็นเพลงที่เกิดจากการประพันธ์ทำนองและคำร้­องร่วมกันโดย ชาลี อินทรวิจิตร, สมาน กาญจนะผลิน และสุรัฐ พุกกะเวส เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ลมหนาว" ของ ชรินทร์ นันทนาคร นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์ และอรัญญา นามวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2509

ปัจจุบันเพลงนี้มีการขับร้องเพื่อถวายพระพ­รพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทั้ง­สองพระองค์อยู่เสมอ โดยถือเป็นธรรมเนียมทั่วไปว่าเพลงนี้ต้องขับร้องหลังการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการจุดเทียนชัยถวายพระพร

รัฐบาลได้จัดเพลงนี้ให้เป็น 1 ใน 6 เพลงสำคัญของแผ่นดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546

<a href="https://www.youtube.com/v/RqIydLximjc?version=3&amp;amp;hl" target="_blank" class="new_win">https://www.youtube.com/v/RqIydLximjc?version=3&amp;amp;hl</a>
เครดิต : คุณnaanza2535 และ youtube

     เพลง " สดุดีมหาราชา"   

คำร้อง : ชาลี อินทรวิจิตร + สุรัฐ พุกกะเวส
ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
ผู้ขับร้อง : คนไทยทุกคน

ขอเดชะองค์พระประมุขภูมิพล
มิ่งขวัญปวงชนประชาชาติไทย
มหาราชขัตติยภูวไนย
ดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงประชา

ขอเดชะองค์สมเด็จพระราชินี
คู่บุญบารมีจักรีเกริกฟ้า
องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาราชา
ข้าพระพุทธเจ้าขอสดุดี

อ่าองค์พระสยมบรมราชันขวัญหล้า
เปล่งบุญญาสมสง่าบารมี
ผองข้าพระพุทธเจ้า
น้อมเกล้าขออัญชุลี

สดุดีมหาราชา สดุดีมหาราชินี


เพลงนี้ เป็นเพลงในภาพยนตร์ เรื่องลมหนาว ที่ชรินทร์ นันทนาคร ได้อัญเชิญชื่อ เพลงพระราชนิพนธ์ลมหนาว มาเป็นชื่อเรื่อง จากบทประพันธ์ของ สุวัฒน์ วรดิลก เมื่อ ปี พ.ศ. 2509 


     ใน หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสมาน กาญจนะผลิน บอกว่า เพลงสดุดีมหาราชา เพลงนี้ แต่งเสร็จในปี พ.ศ. 2507 และมอบให้ วงดนตรีลูกฟ้า บรรเลงเป็นครั้งแรก ที่เวทีสวนลุมพินี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2507 ใน งานแผ่นเสียงทองคำ พระราชทาน ครั้งที่ 1 

     ต่อมาครูสมาน กาญจนะผลิน ได้เรียบเรียงเสียงประสานใหม่ และบันทึกเสียงอีกครั้ง ในราวปี พ.ศ. 2514 โดยมี  สุเทพ วงศ์กำแหง  ธานินทร์ อินทรเทพ  ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา  สุวัจชัย สุทธิมา  นภา หวังในธรรม  เพ็ญศรี พุ่มชูศรี  สวลี ผกาพันธุ์  จินตนา สุขสถิตย์  ดาวใจ ไพจิตร และ พราวตา ดาราเรือง เป็นผู้ขับร้อง 

     ชรินทร์ นันทนาคร เขียนเล่าถึงเบื้องหน้า  เบื้องหลัว ความเป็นมาของเพลงนี้เอาไว้ใน เรื่อง อัจฉริยะชนคนธรรมดา  จากคอลัมน์  หกแยกบันเทิง  ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน  เมื่อ 11 ธันวาคม 2539 ไว้โดยละเอียด และน่าสนใจยิ่ง ว่า

     "...ก็ขอย้อนหลังไป เมื่อปี พศ 2507 ผมมีโอกาสขึ้นไปดูสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ที่บ้านป๋าแป๋ ที่มีน้ำพุร้อนสวยที่สุดในเชียงใหม่

     เห็นแม้วเป๊อะของเต็มกระบุง เดินขึ้นดอยมา ที่ขอบกระบุงมีธง ภ.ป.ร. ผืนน้อยเสียบอยู่ ถามดูได้ความว่า ซื้อมาจากในเมืองอันละ 8 บาท จะเอาติดบูชาที่ประตูบ้าน ในวันสำคัญของเจ้าพ่อหลวง

     ผมมองตามธงผืนนั้น ไกลออกไป ในระหว่างหุบเขา และจะด้วยอะไรก็ไม่รู้ ผมนึกชื่อขึ้นมาได้ชื่อหนึ่งว่า “สดุดีมหาราชา”

     เก็บชื่อ และคิดว่าจะทำอะไรอยู่เกือบ 2 ปี จึงได้ไปพบผู้มีพระคุณท่านหนึ่ง ซึ่งผมนับถือเสมือน  "พ่อ"  ท่านคือ พระยาศรีวิศาลวาจา กราบเรียนถามท่านว่า ถ้าเราจะแต่งเพลงรักและบูชา พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีของเรา โดยใช้ถ้อยคำธรรมดาง่าย ๆ แบบชาวบ้าน จะเป็นการมิบังควรหรือเปล่า

     ท่านบอกว่า เป็นความคิดที่ดี รีบไปทำได้เลย


     นักประพันธ์เพลงที่ฝีมือดีมีมากมายในบ้านเรา แต่ผู้ที่จะมาสร้างทำนองเพลงอันสำคัญนี้ คงเป็นใครไม่ได้ นอกจาก "น้าหมาน" หรือ คุณสมาน กาญจนะผลิน เพราะตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา เคยบันทึกเสียงเพลงมาด้วยกัน ผมทราบดีว่า คน ๆ นี้ "อัจฉริยะ"

      ปัญหาอยู่ที่เนื้อร้อง ผมตรงไปพบ คุณสุรัฐ พุกกะเวส นักประพันธ์เพลงอาวุโส และช่วงนั้น ท่านเป็นนายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงด้วย ท่านขอเวลา 2 วัน ถึงเวลาไปรับเนื้อเพลงมา ปรากฎว่ายาวมาก ถ้อยคำส่วนใหญ่จะเป็นราชาศัพท์ ไม่ตรงกับใจที่หวังไว้ ถึงอย่างไรก็ถือว่า ได้เริ่มต้นกันแล้ว

     คิดอยู่อีกนาน ว่าจะทำอย่างไร เผอิญได้พบกับ คุณชาลี อินทรวิจิตร ในร้านอาหารเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ผมระบายความในใจ และสิ่งที่อยากจะได้ให้เขาฟัง บอกชื่อเพลงเขาไปว่า "สดุดีมหาราชา"

     เขาถอนหายใจยาว ใบหน้าเริ่มแดงระเรื่อ ลึกเข้าไปในดวงตาของชาลี ผมมองเห็น เหมือนเทียนเล่มน้อยจุดประกายแวววาว

     รุ่งขึ้น รับชาลีที่บ้านหลังศาลเจ้าแซ่ซิ้ม ธนบุรี ตี 5 ครึ่ง  บึ่งไปบ้านน้าหมาน ในซอยข้างวัดเทพธิดาราม  6 โมงเช้า น้าหมานเดินโซเซลงบันได บอกเพิ่งกลับจากเล่นดนตรีที่ บาร์ลูน่าคลับ ขอผลัดไปแต่งตอนบ่าย

     ผมหรือชาลีก็ไม่ทราบ โพล่งออกไปว่า น้าหมานไม่รักในหลวงหรือ

     เท่านั้นแหละ น้าหมานรีบขึ้นบันได ไปล้างหน้าปะแป้งลงมา พร้อมกับชูกระดาษสีเหลืองเก่า ๆ ให้ผมดู

     "อย่าคิดว่า ชรินทร์ได้รับพระราชทานนามสกุลคนเดียวนา ของฉันก็มี" น้าหมานบอก

     เป็นใบพระราชทานนามสกุลจริง ๆ  จากล้นเกล้ารัชกาลท่ 6 ให้แก่ หมื่นคนธรรพ์ประสิทธิ์สาร (ชื่อเดิม แตะ) พระราชทานให้แก่ "กาญจนะผลิน" และท่านคือ บิดาของน้าหมาน

     พอเริ่มแต่งเพลง ชาลี เริ่มเกร็ง

     เนื้อร้องต้องมาก่อน เอาง่าย ๆ แบบชาวบ้าน แต่ประทับใจ  ผมบอก

     ชาลีเถียง นั่นแหละยาก  ชาลีถามผมขึ้นลอย ๆ ว่า

     "เออ ชรินทร์ ถ้าเผอิญในหลวงมาในซอยนี้ แล้วเราไปเจอพระองค์ท่าน เราจะทำอย่างไร ?"

     ผมก็บอกไปว่า  เราก็คงต้องนั่ง หรือคุกเข่าพนมมือ

     "ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า"  แล้วเรามีอะไร ก็กราบบังคมทูลพระองค์ท่าน

     ชาลีรีบเขียนในกระดาษ

     "ขอเดชะ องค์พระประมุขภูมิพล มิ่งขวัญ ปวงชน ประชาชาติไทย ....  เหมือนลมเย็นพัดมาวูบหนึ่ง แล้วก็พาความวิตกกังวล  ที่สุมอยู่บนหัวใจผมมานาน หายไปในพริบตา

     ผมดึงเนื้อเพลงบรรทัดนั้น ส่งให้น้าหมาน ท่านพรมนิ้วลงบนคีย์เปียโนไล่เสียงไม่นานเลย แล้วทำนองเพลงก็หลั่งไหลมา  ครั้งเดียวก็ดีเยี่ยม  เป็นทำนองที่เราท่านทั้งหลาย ร้อง สดุดีมหาราชา จากวันนั้น ถึงวันนี้ และ ตลอดไป


     นี่คือ  อัจฉริยะชนคนธรรมดา ที่ชื่อ  "สมาน กาญจนะผลิน"


ได้บรรทัดแรกมา เราสามคนก็หายจากอาการเกร็ง  ฟ้าดินเป็นใจเราแล้ว ก็แต่งต่อ จนจบท่อนสดุดีมหาราชินี

     แล้วชาลี ก็พูดขึ้นอีกว่า ต่อไปนี้เป็นท่อนจบ ความไพเราะทั้งหลายทั้งปวง จะต้องมารวมกันอยู่ที่ตรงนี้

     และนี่คือเนื้อเพลง ...อ่าองค์พระสยม บรมราชันต์ขวัญหล้า...อ่านบรรทัดที่หนึ่งผมก็นิ่ง

     ชาลีเขาอ่านสีหน้าผมออก ยิ่งกว่าอ่านแบบเรียนเร็ว

     ชาลีพูดเสียงดัง

     "กูตามใจมึงมา 8 บรรทัดแล้ว จะแต่งตามใจกูสักบรรทัด ไม่ได้เชียวหรือวะ ชรินทร์ ?"

     เออ ก็ต้องรีบประนีประนอม ขอฟังทำนองจากน้าหมานก่อน

     ถ้าเพราะก็คงไม่ยาก น้าหมาน อ่านเนื้อ  แล้ว ไล่คีย์เปียโน บอกว่า ทำนองจะขาดไป 2 ห้อง ต้องทำสะพานดนตรีลงมารับ กับคำร้องท่อนสุดท้าย อ่า องค์ พระสยม... แล้วท่านก็ดีดให้ฟัง

     อีกครั้ง อัจฉริยะชนคนธรรมดา สำแดงฤทธิ์ทางดนตรี ดีดทีเดียวก็ไพเราะจับใจ ท่านผู้อ่านลองร้องดูเถอะ ครับ

     ...อ่า องค์พระสยม บรมราชันย์ ขวัญหล้า เปล่งบุญญา สมสง่าบารมี

     ผองข้า พระพุทธเจ้า น้อมเกล้า ขอ อัญชุลี สดุดี มหาราชา สดุดี มหาราชินี...


     เพลงสดุดีมหาราชา เผยแพร่สู่ประชาชนครั้งแรกโดยบรรจุไว้ในภาพยนตร์ เพลงพระราชทาน ลมหนาว ที่ผมสร้าง ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง เมื่อปี 09

     เป็นตอนใกล้จบเรื่อง มีภาพนักโทษการเมืองและพระเอกของเรื่อง ได้รับพระราชทานโทษ เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา เดินออกจากคุก แล้วพร้อมใจกันก้มกราบ ระลึกถึงพระมาหากรุณาธิคุณ เพลงสดุดีมหาราชา ก็กระหึ่มขึ้น มีภาพธงชาติไทย ธง ภ.ป.ร. ประดับประดาตามบ้านเรือน

     ผู้ที่เข้ามาดูภาพยนตร์ในรอบแรก ต่างลุกขึ้นยืนถวายความเคารพจนจบเพลง  คนเฝ้าประตูใหญ่ด้านข้างของเฉลิมกรุงก็เปิดประตู ผู้คนเข้าใจว่าภาพยนตร์จบแล้ว  ต่างก็กรูกันออกมาเต็มฟุตบาทริมถนนเจริญกรุง


     ไม่นานก็ได้เรื่อง  ตำรวจพาตัวผมไปโรงพักพระราชวัง เพราะมีคนไปแจ้งความว่า ผมเอาเพลงอะไรก็ไม่รู้ มาเปิดแทนเพลงสรรเสริญบารมี อธิบายให้ตำรวจฟังยังไงก็ไม่เข้าใจ เพราะตำรวจก็คือตำรวจ ทางโรงฉายก็ไม่กล้าฉายหนัง ผมก็ต้องโทรถึงที่พึ่งของผม

     ระหว่างรอคอยท่าน ผมโทรเล่าเรื่องให้น้าหมานฟัง น้าหมานตกใจมาก บอกเดี๋ยวจะเอาโฉนดไปด้วยเผื่อเขาให้ประกัน ผมก็บอก ผมโทรไปกราบเรียนท่านแล้ว คงไม่เป็นไร

     พักใหญ่ที่พึ่งของผมท่านก็มา ตำรวจตั้งแถวกันพรึบพรับทั้งโรงพัก และทุกอย่างก็จบลงด้วยรอยยิ้มและความเข้าใจ ภาพยนตร์ก็ฉายได้ตามปกติ


     30 ปี จากวันนั้น ถึงวันนี้ เพลงสดุดีมหาราชาได้กลายเป็นเพลงของประชาชนคนไทยทั้งประเทศไปแล้ว

     ถ้าสวรรค์มีจริง อัจฉริยะชนคนธรรมดา และเป็นคนดี ที่พร้อมอย่าง น้าหมาน ท่านคงยิ้มอย่างเป็นสุขอยู่บนนั้น



     ส่วนครูชาลี อินทรวิจิตร ก็เขียนถึง เพลงสดุดีมหาราชา เอาไว้ ใน หนังสือคอนเสิร์ตเชิดชูครูเพลงครั้งที่ 2 ชาลี อินทรวิจิตร

     "...สดุดีมหาราชา เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่องลมหนาว บทประพันธ์ของ สุวัฒน์ วรดิลก ชรินทร์ สร้าง กำกับโดย พันคำ (พร้อมสิน ศรีบุญเรือง)

     จริง ๆ แล้ว เพลงนี้ ผมแต่งเนื้อร้องเพียงคนเดียว ที่อ้าง ๆ กันอีกคนสองคนนั้น ของเทียมทั้งนั้น สมาน กาญจนะผลิน ให้ทำนอง

     เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจ  ผมเคยสาบานหน้าวัดพระแก้วว่า ถ้าผมไม่ได้แต่งจริง ขอให้หายนะภายใน 3 วัน 7 วัน แต่ถ้าผมแต่งคนเดียว ขอให้เจริญยิ่งขึ้นไป

     ซึ่งก็แปลก ที่หลังจากนั้น ไม่กี่วัน ผมก็ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ..."



ขอขอบคุณ : หนังสือตำนานครูเพลง เพลงไทยสากลลูกกรุง โดย คีตา พญาไท



             

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=25442
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ ต้อม โฆษิต

  • ผู้ทรงเกียรติ
  • *
  • ออฟไลน์
  • 698
    1202
Re: ที่มาของเพลง...สดุดีมหาราชา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 16/พ.ค./14 14:07น. »

ขอบคุณพี่จรีพรมากครับ  ที่นำข้อมูลดีๆมาให้ได้อ่านกัน   :'e:31

ผมจำได้ว่าเพลงนี้เป็นเพลงบังคับที่โรงเรียนจะให้นักเรียนร้องกัน
ทุกชั้นทุกห้อง เมื่อประมาณปี 2519 ถ้าจำไม่ผิด  พร้อมๆกับเพลง
หนักแผ่นดิน

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=25442

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: ที่มาของเพลง...สดุดีมหาราชา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 16/พ.ค./14 19:16น. »


ค่ะ คุณต้อม อยากให้เพื่อน ๆ ทุกคนได้อ่านเบื้องหลังเพลงนี้ค่ะ
อาจจะยาวสักหน่อย แต่น่าสนใจมาก ใครจะนึกว่า เพลงที่ต้องการแต่งให้เป็น
บทเพลงธรรมดา ๆ เพื่อเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่ง กลับกลาย
มาเป็นเพลงที่มีความสำคัญต่อประชาชนชาวไทย ขับร้องกันได้ทุกคน
และเป็นเพลงอมตะมาจนทุกวันนี้ และตลอดไป


 

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=25442
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ อภิรักษ์ชูชัย

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • ออฟไลน์
  • 0
    1657
  • เพศ: ชาย
Re: ที่มาของเพลง...สดุดีมหาราชา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 17/พ.ค./14 21:15น. »

ขอบพระคุณมากครับ คุณจีรพร ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับที่มาของเพลงมากขึ้น บุญของพวกเราที่มีพอหลวง เป็นพ่อของพวกเรา ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=25442
มุมมองที่สำคัญของความคิดสร้างสรรค์
คือ อย่ากลัวความล้มเหลวและผิดพลาด

ออฟไลน์ จรีพร

  • Global Moderator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 5592
    6479
  • เพศ: หญิง
  • เก่าแก่มานมนาน
Re: ที่มาของเพลง...สดุดีมหาราชา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 19/พ.ค./14 13:48น. »


ขอบคุณค่ะ อยากให้ทุกคนได้ทราบเบื้องหลังของเพลงนี้ค่ะ  น้องชัย  พี่พร พิมพ์เองเลยนะ
จากหนังสือ ตำนานครูเพลง เพลงไทยสากลลูกกรุง โดย คีตา พญาไท
ที่ซื้อมาเก็บสะสม ไม่รู้จะมีความผิดหรือเปล่า แต่อยากเผยแพร่ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=25442
ระยะทางพิสูจน์ม้า  กาลเวลาพิสูจน์คน

ออฟไลน์ อภิรักษ์ชูชัย

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • ออฟไลน์
  • 0
    1657
  • เพศ: ชาย
Re: ที่มาของเพลง...สดุดีมหาราชา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 19/พ.ค./14 17:36น. »

เก่งมากๆครับพี่พร  เพิ่มความรู้ให้แก่สมาชิกทุกได้เป็นอย่างดี กราบขอบพระคุณมากครับ พี่พร :'e:92

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=25442
มุมมองที่สำคัญของความคิดสร้างสรรค์
คือ อย่ากลัวความล้มเหลวและผิดพลาด

ออนไลน์ ประสิทธิ์

  • Administrator
  • *
  • ออนไลน์
  • 6174
    9863
  • เพศ: ชาย
    • เพลงพักใจดอทเนต
Re: ที่มาของเพลง...สดุดีมหาราชา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 17/ต.ค./14 09:44น. »

สดุดีมหาราชา (แผ่นเสียงจากพี่ฉัตร)
<a href="http://www.swfcabin.com/swf-files/1381911404.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.swfcabin.com/swf-files/1381911404.swf</a>
กดปุ่มฟังเพลง

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=25442
สมาชิกใหม่..ก่อนตั้งกระทู้แนะนำตัวให้ดูตัวอย่าง.แล้วไปอ่านประกาศการใช้งานบอร์ดและห้องโหลดเพลง เมื่ออ่านเข้าใจแล้วก็ตอบรับทราบทั้ง 2 กระทู้1.ห้ามเด็ดขาดการใช้เพียงอีโมตอบกระทู้เพื่อโหลดเพลง.2.ห้ามตอบเพียงขอบคุณครับ/ค่ะ โหลดเพลง 5:1 อ่านให้เข้าใจด้วย