รูปภาพเกี่ยวข้องกับบทเพลง > มาต่อเพลงกันเถอะ
บทเพลง...และเรื่องราวของ...สวลี ผกาพันธุ์
จรีพร:
กระทู้นี้ขอเสนอบทเพลง...และเรื่องราวของ...สวลี ผกาพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ
จรีพร:
สารบัญเพลงอมตะ สวลี ผกาพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ
เรียงชื่อเพลงตามตัวอักษร และลำดับที่วางเนื้อเพลง
ลำดับที่ หน้า ชื่อเพลง
024 2 กระแสสวาท
027 2 กฎแห่งกรรม
036 3 กลัวรัก
071 5 กรรมเก่า
097 7 เก็บรัก
128 9 ใกล้เกลือกินด่าง
154 11 เกลียดหัวใจ
158 11 กรุณารัก
089 6 ขวัญใจนักเรียน
092 7 ขวัญเรียม
007 1 คนใจดำ
034 3 คิดจะปลูกต้นรักอีกกอ
044 3 ใครหนอ
066 5 ครวญ
084 6 คนหลายใจ
086 6 คุณเจ้าขา
087 6 คงมีวัน
097 7 ความรักของฉัน
118 8 คอยเขา
155 11 ความรักเรียกหา
039 3 ฆ่าฉันให้ตายดีกว่า
015 2 เงาไม้
004 1 จำเลยรัก
077 6 ใจหวนครวญรำพัน
116 8 จากเจ้าพระยาถึงฝั่งโขง
117 8 ใจสนองใจ
030 3 ฉงน
157 11 ฉันเป็นของเธอไม่ได้
008 1 ชายเดียวในดวงใจ
129 9 ชีวิตที่ถูกสาป
073 5 ซากรักบนรอยทราย
006 1 ได้โปรดเถิดที่รัก
045 4 เดือนเตือนใจ
046 4 ดวงใจ
056 4 ดวงใจในฝัน
072 5 เดี๋ยวนี้ฉันมีคนรักใหม่แล้ว
090 7 เดือนดารา
093 7 ดาราอาลัย
099 7 เดือนครึ่งดวง
107 8 เดือนเอ๋ย
111 8 แด่ ตชด.
152 11 ใต้ร่มเชอรี่
029 2 ถ้าวันนี้ยังมีเขาอยู่
032 3 ถ้าฉันจะรัก
063 5 ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
119 8 เทพบุตรของหญิง
143 10 ที่รักอย่าร้องไห้
160 11 โทรจิตพิศวาส
052 4 โธ่เอ๋ยกรรมของคุณแท้ ๆ
053 4 เธอเป็นหัวใจของฉัน
037 3 นกขมิ้น
048 4 นานเกินรอ
076 6 เนตรเสน่ห์
124 9 น้ำตาซื้อน้ำตา
142 10 น้ำตาในสายฝน
153 11 เนื้อสาว
159 11 นิจจา
162 11 นรกคนเป็น
010 1 บาป
016 2 บัวขาว
021 2 บ้านทรายทอง(ที่มาของเพลง)
049 4 บัญชารัก
061 5 บ้านของเรา
083 6 บ้านนา
131 9 บัวแดง
022 2 ปล่อยฉันไป
067 5 ป่านฉะนี้
078 6 ปิ่นทอง
094 7 เปลี่ยวใจ
135 10 ปรัศนีย์หัวใจ
146 10 ปากหวาน
148 10 ผู้ชาย
058 4 ฝากดิน
065 5 ฝนรักฝนเศร้า
070 5 ฝันฝัน
020 2 พรุ่งนี้ฉันจะรักเธอจนตาย
047 4 พรุ่งนี้
054 4 เพลินชมผกางาม
082 6 พันธะหัวใจ
123 9 พยาบาลรัก
133 9 พิษผู้ชาย
139 10 พรุ่งนี้ไม่มีไมตรีจากฉัน
144 10 พายุอารมณ์
017 2 ฟ้ามิอาจกั้น
031 3 ภาษาใจ
011 1 มารหัวใจ
040 3 ไม่อยากให้โลกนี้มีความรัก
043 3 เมื่อวานนี้
088 6 ไมมีวัน
102 7 มารักกันใหม่
145 10 ไม่มีคำว่าที่รัก
140 10 ยอดสวาท
018 2 รักเธอเสมอ
038 3 รักเอ๋ยรักข้า
055 4 รักข้ามขอบฟ้า
057 4 รักเอย
060 5 รอยกิ่วบนนิ้วนาง
068 5 แรมพิศวาส
079 6 รักในใจ
080 6 รักเธอไม่ถึงบาท
085 6 รักจริงหรือเปล่า
091 7 รักไม่รุ้ดับ
096 7 รักของแม่
106 8 รักลอยลม
109 8 ร้อยลิ้นพันคำ
132 9 ระฆังทอง
134 9 รอยสัญญา
149 10 ระแวงสวาท
013 1 แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร
019 2 ลมหวล
104 7 ลืมเสียเถิด
112 8 ลูกแมวร้องไห้
138 10 ล้ำเขตรัก
151 11 ลืมมันเสียดีกว่า
103 7 วิหคเหิรลม
105 8 วันนั้นกับวันนี้
141 10 วอนมัจจุราช
028 2 เศษเนื้อข้างเขียง
005 1 สุดปรารถนา
009 1 สัญญาของใคร
012 1 สายสวาทยังไม่สิ้น
022 2 สิ้นสวาท
025 2 สอนรัก (สอนน้อง)
050 4 สุดใจรัก
059 4 สนามอารมณ์
108 8 สิ้นหัวใจรัก
115 8 สิ้นหวานแล้ว
121 9 สุขสันต์วันชุมนุม
137 10 สวรรค์เพ้อ
002 1 หนึ่งในร้อย
003 1 หากรู้สักนิด
014 1 หลงเงา
026 2 ให้
033 3 หนีรัก
062 5 หยาดน้ำฝนหยดน้ำตา
064 5 หากฉันขาดเธอ
069 5 ห้วงรักเหวลึก
075 6 หลงเงา*****************
110 8 หัวหินสิ้นอาถรรพณ์
114 8 เห็นใจฉันบ้าง
147 10 เหมือนตายจากกัน
051 4 อย่าทรมานอีกเลย
100 7 อย่าคิด อย่าคิด
113 8 อย่า
122 9 อยากกลั้นใจตาย
125 9 เอาความทุกข์ไปทิ้งทะเล
156 11 อย่าใจน้อย
035 3 ฤทธิ์กามเทพ
จรีพร:
https://www.youtube.com/v/AQnlPA-1tcs?version=3&hl
เครดิต : คุณJirawan Buajeeb และ youtube
เพลง "หนึ่งในร้อย"
คำร้อง : แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง : สง่า อารัมภีร
ผู้ขับร้อง : สวลี ผกาพันธุ์
พราวแพรว อันดวงแก้วแวววาม
สดสีงาม สวยหลากมากนาม นิยม
นิลกาฬ มุกดา บุษราคัมคม
น่าชม ว่างามเหมาะสมดี
เพชรน้ำหนึ่ง งามซึ้ง อันเป็นยอดมณี
ผ่อง แผ้วสดสี เพชรดี มีหนึ่งในร้อยดวง
ความดี คนเรานี่ ดีใด
ดี น้ำใจ ที่ให้แก่คน ทั้งปวง
อภัย รู้แต่ให้ไปไม่หวง
เจ็บทรวง หน่วงใจให้รู้ทน
รู้ กลืนกล้ำ เลิศล้ำ ความเป็นยอดคน
ชื่นชอบตอบผล ล้ำคน เป็นหนึ่งในร้อยเอย
ความดี คนเรานี่ ดีใด
ดี น้ำใจ ที่ให้แก่คน ทั้งปวง
อภัย รู้แต่ให้ไปไม่หวง
เจ็บทรวง หน่วงใจให้รู้ทน
รู้ กลืนกล้ำ เลิศล้ำ ความเป็นยอดคน
ชื่นชอบตอบผล ร้อยคน มีหนึ่งเท่านั้นเอย
ที่มาของเพลง..."หนึ่งในร้อย"
เพลงนี้สมจิต ตัดจินดา เป็นผู้ขับร้อง บันทึกเสียงไว้เมื่อปี 2494
บูรพา อารัมภีร เขียนเล่าเรื่องเบื้องหลังของเพลงนี้เอาไว้ในหนังสือ "เบื้อหลังเพลงรัก สง่า อารัมภีร" ว่า..."พ่อเล่าว่าสมัยโน้นที่ยุคละครเวทีเฟื่องฟูเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป ตอนนั้นเป็นหน้าร้อน เดือนเมษายน อาสุพรรณ บูรณพิมพ์ได้โปรแกรมแสดงละครเวทีที่ศาลาเฉลิมไทย อาสุพรรณขึ้นป้ายโฆษณาริมถนนราชดำเนินว่า "ละครเวทีคณะสุพรรณ จะแสดงเรื่อง "หนึ่งในร้อย" ของ ดอกไม้สด"
พ่อเล่าว่าดอกไม้สด ขอค่าลิขสิทธิ์นำเรื่องไปแสดงเป็นเงินประมาณ 8,000 กว่าบาท ในสมัย พ.ศ.2497 นั้น มากทีเดียว...
ต่อจากนั้นอาสุพรรณมอบหมายให้ลุงแก้วช่วยทำบทละครเวที และให้พ่อช่วยแต่งเพลง "หนึ่งในร้อย" แล้วไปโฆษณาทางวิทยุให้ด้วย...เย็นวันนั้นพ่อกับลุงแก้วก็ไปหาอาหารรับประทานกันที่ท้องสนามหลวง ไปที่ร้านของครูบุญช่วย กมลวาทิน สั่งแม่โขงพร้อมกับแกล้ม นั่งละเมียดกันไปสองคน
ตอนนั้นเป็นหน้าว่าว ท้องสนามหลวงมีการแข่งว่าวจุฬา ปักเป้า นั่งดูว่าวเพลิน ๆ ลุงแก้ว คว้ากระดาษออกมาว่า "เอ้า...แจ๋ว ขึ้นทำนองมา..." พ่อก็ฮัมเพลงเบา ๆ "ลา...ลา...ลา" ลุงแก้วขึ้นเนื้อร้องว่า "ความดี คนเรานี้ดีใด ดีน้ำใจที่ให้แก่คนทั้งปวง" ว่าเรื่อยไปจนจบท่อน แล้วก็ขึ้นท่อนหนึ่งว่า "พราวแพรว อันดวงแก้วแวววาม สดสีงามหลายหลากมากนามนิยม" จนจบท่อนแรก พ่อเล่าว่ายังไม่ทันพลบค่ำ เพลงหนึ่งในร้อยก็เสร็จ
ครูสง่า อารัมภีร เขียนเล่าถึงการหานักร้องมาร้องเพลงนี้เอาไว้ใน "3 อดีตกาล..ใครร้องเพลง หนึ่งในร้อย เป็นคนแรก" ว่า..."ยังไม่ทันพลบค่ำเพลงก็เสร็จ นัดพบกัน 10.00 น. ที่กรมโฆษณาการ ด้านหลังซึ่งมีร้านเหล้าริมสะพานเสี้ยวโก้อยู่ ขึ้นไปพบครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูเอื้อบอกว่าให้นักร้องของกรมไปร้องไม่ได้หรอก ผู้อนุญาตได้มี พล.ท.ขาบ กุญชร คนเดียวเท่านั้น และนักร้องของกรมก็มีสัญญาอยู่กับนายเตียง โอศิริ แผ่นเสียงตราหมาแดง หมาเขียว และตราโคลัมเบีย แห่งห้างกมลสุโกศล ต้องขออนุญาตเขาก่อน มิฉะนั้นเขาฟ้องศาลจะต้องเสียเงินมาก
ครูแก้ว ยกจอกเหล้าขึ้นดื่มโดยมิได้คาราวะอะไรเลยบอกกับแจ๋วว่า..."ไปโว้ย ไปหานักร้องทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ มีไหมเล่า" เราสองคนขึ้นรถรางสายรอบเมืองแล้วตรงไปศาลาเฉลิมบุรี วงดนตรีเนียน วิชิตนันท์ สลับหนังไทยอยู่ พอดีหมดการแสดง สมจิต ตัดจินดา เดินออกมา ครูแก้วเอ่ยขึ้น.."นี่สมจิต ร้องเพลงละครใหม่ ๆ ที่ฉันแต่งกับแจ๋วได้ไหม..." "เพลงอะไร ครู" สมจิตถาม "เพลงหนึ่งในร้อย ร้องแผ่นดิบเอาไปโฆษณาในโรงละคร และโฆษณาที่วิทยุรักษาดินแดน"
"ไม่มีตราหนูร้องได้ หากมีตราหนูไม่กล้าร้อง เพราะหนูมีสัญญากับตรากระต่าย ของนาย ต.เง็กชวน บางลำพู" "โธ่ ไอ่พ่อค้าแผ่นเสียงพวกนี้มันยังไงกันวะ เชิดชูแต่นักร้อง นักแต่งเพลงไม่กินเหล้า กินข้าวหรือยังไง" ครูแก้ว หัวเสียจนกลายเป็นครูถ้วย แล้วเราก็พบกันเพลวันรุ่งขึ้นที่ห้างดีคูเปอร์ยอนสตัน ใกล้ ๆ อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ราชดำเนิน ผมเอาทำนองให้สุทิน เทศารักษ์ ไปแยกเสียงจัดวงดนตรี
11.00 น. เริ่มบันทึกเสียง ยังไม่ถึงเที่ยงสมจิตก็ร้องเสร็จ จ่ายค่าร้องไป 200 บาท สมัยโน้นทองรูปพรรณบาทละ 150 เท่านั้น ต่อมาให้ครูสวลี ผกาพันธุ์ ค่าร้อง 500 บาท ทองหนักบาทละ 500 เท่านั้น สุดท้ายแจ้ดนุพล แก้วกาญจน์ นำไปร้อง เขาจ่ายมาหนึ่งหมื่นบาท ซื้อทองได้หนัก 2 บาทเท่านั้น ครูแก้วไปอยู่โลกอื่น จึงได้นำเงินไปแบ่งให้เจ๊ประภาศรี คนละครึ่ง
แปลกแต่จริง...จากปี 2493 มาจน 2538 เป็นเวลา 45 ปีกว่า ๆ เพลงก็ยังอยู่ ไม่มีใครมาเอาคอร์ดแปลก ๆ มาใส่ เพลงก็หวานไปเหมือนแม่น้ำเจ้าพระยา คงเป็นหนึ่งในร้อยตราบไปชั่วนิรันดร์ หากไม่เปลี่ยนจังหวะใหม่ ใส่คอร์ดแปลก ๆ เข้าไปคงกลายเป็นเพลงของคนเผ่าอื่น มิใช่เผ่าไทยเป็นแน่แท้" ครูแจ๋วตอดเอาไว้ทิ้งท้ายอย่างสะใจนักแต่งเพลงและนักดนตรีรุ่นใหม่ได้ไม่เลวเลย
เครดิต : หนังสือ "ตำนานครูเพลง เพลงไทยสากล ลูกกรุง" โดย คีตา พญาไท
:'e:135 :'e:135 :'e:135
จรีพร:
https://www.youtube.com/v/dolwIcHS4jE?version=3&hl
เครดิต : คุณJumb Jbl และ youtube
https://www.youtube.com/v/XbAqJp3Q1ZI?version=3&hl
เครดิต : คุณoxygenthailand และ youtube
เพลง "หากรู้สักนิด"
คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
ทำนอง : หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์
ผู้ขับร้อง : สวลี ผกาพันธุ์
หากฉันรู้ สักนิดว่าเธอรักฉัน
บอกกันวันนั้น ว่ารักสักหน่อย
ว่าดวงใจ ที่ฉันเฝ้าคอย
ยังไม่เลื่อนลอย เป็นของใคร
หากฉันรู้ สักนิดว่าเธอรักฉัน
บอกกันวันนั้นให้รู้สักหน่อย
ยอดดวงใจ ที่ฉัน เฝ้าคอย
คงไม่ เลื่อน ลอย เป็นของ ใคร
เพียงแต่กระซิบ ว่าสุดที่รัก
ฉันก็จะมิอาจจากไป
ใจเราสอง ชอกช้ำระกำใน
คงไม่สลาย มลาย ลงพลัน
หากฉันรู้ สักนิดว่าเธอรักฉัน
บอกกันวันนั้นให้รู้สักหน่อย
ยอดดวงใจ ที่ฉัน เฝ้าคอย
คงไม่ เลื่อน ลอย จากสุดที่รักเอย
เพียงแต่กระซิบ ว่าสุดที่รัก
ฉันก็จะมิอาจจากไป
ใจเราสอง ชอกช้ำระกำใน
คงไม่สลาย มลาย ลงพลัน
หากฉันรู้ สักนิดว่าเธอรักฉัน
บอกกันวันนั้นให้รู้สักหน่อย
ยอดดวงใจ ที่ฉันเฝ้าคอย
คงไม่เลื่อนลอย จากสุดที่รักเอย
https://www.youtube.com/v/q6-AUkoitxM?version=3&hl
เครดิต : คุณJirawan Buajeeb และ youtube
เพลง "หากรู้สักนิด"
คำร้อง/ทำนอง : สง่า อารัมภีร
ผู้ขับร้อง : สวลี ผกาพันธุ์
หากฉันรู้ สักนิดว่าเธอรักฉัน
หากจะบอกกันสักนิดสักหน่อย
จิตใจฉันที่เคยเลื่อนลอย
ความโศกเศร้าสร้อยคงคลายจากไป
หากฉันรู้ สักนิดว่าเมตตาฉัน
แต่แรกเจอะกันคงพ้นหมองไหม้
สุขสนองด้วยรักครองหทัย
ชื่นจิตชื่นใจรักร้อยเรียงวิญญาณ
ฉันไม่กล้าบอกเธอก่อน
ความอายสะท้อนอุรา
จะรักก็บอกก่อนเถอะหนา
กระซิบเบา ๆ ก็จะเป็นพระคุณ
หากฉันรู้ สักนิดว่าเธอรักฉัน
ก็คงสุขสันต์ไม่ว้าไม่วุ่น
ดุจมวลไม้ได้ละอองแห่งพิรุณ
เพิ่งจะมีบุญเพราะกระซิบรักจากเธอ
:'e:135 :'e:135 :'e:135
จรีพร:
https://www.youtube.com/v/zbobDHHkriQ?version=3&hl
เครดิต :คุณAphirakchuchai 78# l และ youtube
เพลง "จำเลยรัก"
คำร้อง : ชาลี อินทรวิจิตร
ทำนอง : สมาน กาญจนะผลิน
ผู้ขับร้อง : สวลี ผกาพันธุ์
เจ็บแค้นเคืองโกรธ โทษฉันไย
ฉันทำอะไร ให้เธอเคืองขุ่น
ปรักปรำ ฉันเป็นจำเลยของคุณ
นี่หรือพ่อนักบุญ แท้จริงคุณคือคนป่า
ไม่ขอคุกเข่า เฝ้าง้องอน
แม้นใจขาดรอน ขอตายดีกว่า
ไม่ขอ ร้องใครให้กรุณา
ไม่ขอเศร้าโศกา หรือบีบน้ำตา อ้อนวอนใคร ๆ
เชิญคุณ ลงทัณฑ์บัญชา
จนสมอุรา จนสาแก่ใจ
ไม่มีวัน ที่ฉันจะร้องไห้
ร่ำไร เพราะฉันมิใช่ หญิงเจ้าน้ำตา
กักขังฉันเถิด กักขังไป
ขังตัว อย่าขังหัวใจดีกว่า
อย่าขังหัวใจ ให้ทรมา
ให้ฉันเศร้าโศกา เหมือนว่าฉันเป็น เช่นดังจำเลย
:'e:135 :'e:135 :'e:135
ที่มาของเพลง "จำเลยรัก"
เพลงนี้ บันทึกแผ่นเสียง โดย สวลี ผกาพันธุ์ เมื่อ ปี พ.ศ.2512 และถือได้ว่าเป็นเพลงฮิตอีกเพลงหนึ่งของศิลปินแห่งชาติผู้นี้
ครูชาลี อินทรวิจิตร เขียนเล่าเอาไว้ ใน หนังสือ บันเทิง บางที ชาลี อินทรวิจิตร ถึงความเป็นมาเป็นไปของ เพลงจำเลยรักไว้อย่างน่าติดตาม ว่า...
“..วงดนตรีประสานมิตร ในความควบคุมของ คุณพิบูล ทองธัช ทำให้ผมได้สัมผัสชีวิตกับ
สมาน กาญจนะผลิน ชาลี อินทรวิจิตร
ชาลี อินทรวิจิตร ประสิทธิ์ พยอมยงค์,
สง่า อารัมภีร ชาลี อินทรวิจิตร
เป็นเรื่องน่าคิด ที่ชื่อมาคล้องจองกันโดยบังเอิญ ผมร่วมแต่งเพลงกับท่านทั้ง 3 นี้ เป็นส่วนมาก โดยเฉพาะ คุณสมาน แต่งเพลงด้วยกันมากที่สุด ได้รับรางวัลร่วมกันมากมาย สุดยอดที่เป็นเพลงประจำชาติ ประจำแผ่นดิน ก็คือ เพลงสดุดีมหาราชา ในภาพยนตร์ เรื่อง ลมหนาว ของ ชรินทร์ นันทนาคร
วิธีการแต่งเพลงของผมกับน้าหมาน ค่อนข้างจะไม่เหมือนใคร
สมัยนั้น ประมาณ พ.ศ. 2503 มีห้องอัดเสียงอยู่ 3 แห่ง กมลสุโกศล ยีน ซีมอน และ อัศวินการละครและภาพยนตร์
บังเอิญเพลงภาพยนตร์ต้องรีบอัดก่อน เพราะหนังกำลังใกล้จะฉายแล้ว
ผมไปขอร้อง ผู้ที่เช่าห้องอัดเสียงในวันนั้น คือ คุณปรีชา เมตไตรย์ หัวหน้าวงดนตรีทหารอากาศว่าผมขอแทรก เพลงจำเลยรัก 1 เพลง เขาบอกว่า อาจจะได้ตอนช่วงบ่ายคล้อยเย็น เพราะ สวลี ต้องร้องอัดถึง 10 เพลง
10.00 น. เพลงแรกของเขาเริ่มอัดแล้ว ระหว่างรอ ทีมงานกับผมก็เล่นรัมมี่กัน เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ซีเรียส
น้าหมานมา เอาเนื้อเพลงท่อนแรกจากผม น้าหมานถนัดเอาเนื้อเพลงไปยัดใส่ทำนอง ไม่ใช่เอาทำนองไปใส่เนื้อ ผมเขียนเพลงท่อนแรกว่า “เจ็บแค้นเคืองโกรธ โทษฉันไย ฉันทำอะไร ให้เธอเคืองขุ่น ปรักปรำฉัน เป็นจำเลยของคุณ นี่หรือพ่อนักบุญ แท้จริงคุณคือคนป่า”
20 นาทีต่อมา น้าหมานเอาแอกคอเดียน มาดีดทำนองที่แต่งแล้ว 1 ท่อน ให้ฟัง ผมขนลุกซู่ด้วยความไพเราะ ครึ่งชั่วโมงต่อมา เนื้อเพลงท่อนสองเสร็จเรียบร้อย...“ไม่ขอคุกเข่า เฝ้าง้องอน แม้ใจ ขาดรอน ขอตายดีกว่า ไม่ขอร้องใคร ให้กรุณา ไม่ขอเศร้าโศกา หรือบีบน้ำตา อ้อนวอนใครๆ”
ถึงตรงนี้ ผมบอกน้าหมาน ว่า ให้ น้าหมาน แต่งทำนองมาก่อนดีกว่า ถ้าเพราะ ผมจะใส่เนื้อตาม น้าหมาน หายไปชั่วครู่ ก็กลับมาดีดทำนองท่อนแยกให้ฟัง ผมไม่ชอบ เพราะมันคล้ายกับท่อนหนึ่งและท่อนสอง ผมบอกว่าไม่เพราะเลย แกเถียงว่า เพลงไมเนอร์ ทำนองท่อนแยกควรจะเป็นไมเนอร์
ผมเถียงว่า เปลี่ยนเป็นเมเจอร์มั่งไม่ได้เชียวหรือ ผิดกฎหมาย ถูกตัวหัวคั่งแห้งหรือเปล่า
“มันต้องทำสะพานทั้งเข้าทั้งออก ไม่งั้นคนร้องจะล่ม” แกบอก
“ถ้างั้น น้าหมาน ไปสร้างสะพานเพชร สะพานทอง สะพานไม้ได้เลย ผมต้องการท่อนแยกเป็นเมเจอร์”
ครึ่งชั่วโมงต่อมา ทำนองท่อนแยกก็พลิ้วหวานในคอร์ดเมเจอร์ ดังกระหึ่มจากแอกคอเดียน ผมเขียนเนื้อตาม ด้วยความประทับใจ
“เชิญคุณลงทัณฑ์ บัญชา จนสมอุรา จนสาแก่ใจ ไม่มีวัน ที่ฉันจะร้องไห้ ร่ำไร เพราะฉันมิใช่ หญิงเจ้าน้ำตา”
ผมกระซิบกับ น้าหมาน ว่า
“เพลงนี้จะดังที่สุด ถ้าไม่ดัง ผมเลิกแต่งเพลงเลย”
“แล้วท่อนสุดท้าย เมื่อไหร่จะเสร็จ ล่ะ” เขาถาม
ผมหลิ่วตากับเขา อย่างกระหยิ่มใจ แทนคำตอบ เพราะผมคั่วสเปโตอยู่ ใครทิ้งสเปโต ผมน็อกมืด แต่แล้วเกมนั้น ผมกลับถูกลบมืด เพราะมือเหนือ เขากักสเปโต
ฉับไว เนื้อเพลงท่อนสุดท้าย ก็วาบขึ้นในสมองทันที
“กักขังฉันเถิด กักขังไป ขังตัว อย่าขังหัวใจดีกว่า
อย่าขัง หัวใจให้ทรมา ให้ฉันเศร้าโศกา เหมือนว่า ฉันเป็นเช่นดังจำเลย” เพลงจบ ผมลบมืด จริงๆ นะ จะบอกให้
เครดิต :หนังสือตำนานครูเพลง เพลงไทยสากลลูกกรุง โดย คีตา พญาไท
:'e:135 :'e:135 :'e:135
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version