ผู้เขียน หัวข้อ: “มังกรไม้เทพทาโร” 84 ตัว ครูตรังประดิษฐ์เฉลิมพระเกียรติ “ในหลวง”  (อ่าน 5203 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ วิทยา

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 576
    1107



“มังกรไม้เทพทาโร” 84 ตัว ครูตรังประดิษฐ์เฉลิมพระเกียรติ “ในหลวง”    
   

       
       ครูสอนภาษาอังกฤษโรงเรียนห้วยยอด จ.ตรัง ควักเงินกว่า 2 ล้านบาท กว้านซื้อไม้เทพทาโร พรรณไม้หอมเก่าแก่ของไทย
นำมาประดิษฐ์เป็นมังกร 84 ตัว เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้เวลานานถึง 2 ปี หวังพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้
ใช้ชื่อ “วังเทพทาโร” สร้างจุดขายดึงนักท่องเที่ยวสู่ท้องถิ่น
       
       นายจรูญ แก้วละเอียด ครูวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนห้วยยอด โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประจำอำเภอห้วยยอด ในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 13 ตรัง รวมทั้งยังเป็นศิลปินพื้นบ้านจังหวัดตรัง สาขานันทนาการ
ประจำปี 2543 เปิดเผยว่า เนื่องจากไม้เทพทาโร หรือไม้จวงหอม พรรณไม้หอมเก่าแก่ของไทย ซึ่งสามารถนำไปทำประโยชน์
ได้อย่างหลากหลายนั้น จะพบมากในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง หรือจะเรียกได้ว่ามากที่สุดของโลก
จนถือเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เนื่องจากมีการนำไปแกะสลักเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่สวยงาม จนมีชื่อเสียงไปทั่วทั้งประเทศ


       
       ที่สำคัญก็คือ เนื่องจากเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนม
พรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ดังนั้น ตนจึงได้ไปทำการกว้านซื้อรากไม้เทพทาโรตามสวนยางพาราต่างๆ เป็นระยะเวลาถึง 5 เดือน
จนได้มาจำนวน 500,000 กิโลกรัม หรือประมาณ 5 คันรถบรรทุก 6 ล้อ ด้วยมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านบาท ซึ่งใช้เงินทุนส่วนตัวทั้งสิ้น
แล้วนำรากไม้เทพทาโรเหล่านี้มากองรวมไว้ยังบริเวณบ้านของตนในเนื้อที่ 25 ไร่ ของหมู่ที่ 5 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด
ก่อนออกแบบประดิษฐ์คิดค้นเป็นมังกรในท่าทางต่างๆ จำนวน 84 ตัว โดยใช้ระยะเวลาในการทำเพียงคนเดียวนานถึง 2 ปี
       
       สำหรับมังกรตัวแรก ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านนั้น มีขนาดใหญ่ที่สุด เฉพาะส่วนหัวมีน้ำหนักมากถึง 1,500 กิโลกรัม
ส่วนสาเหตุที่เลือกประดิษฐ์คิดค้นเป็นมังกร แทนที่จะเป็นพะยูน สัตว์อนุรักษ์ชื่อดังประจำจังหวัดตรัง ก็เนื่องจากมังกรนับเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
และสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ นอกจากนั้น ในปี 2558 นี้ ประเทศไทยก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) แล้ว
จึงจำเป็นต้องสร้างอัตลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และมังกรถือว่ามีความเหมาะสมที่สุด อีกทั้งมังกรยังเป็นสัญลักษณ์ขององค์จักรพรรดิ
ด้วย จึงเป็นพลังที่ช่วยดลบันดาลให้ตนสร้างสรรค์ชิ้นงานนี้ออกมาจนสำเร็จ


       
       ทั้งนี้ นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เข้ามาเที่ยวชมมังกร 84 ตัวแล้ว ตนยังได้จัดทำสวนมังกรที่มีขนาดเล็กในลักษณะท่าทางต่างๆ
เสริมเข้าไปด้วย รวมทั้งจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ไม้เทพทาโร เพื่ออธิบายให้ความรู้ในด้านประวัติความเป็นมา ประโยชน์ในการนำไปใช้สอย
ตลอดจนจัดโชว์ผลิตภัณฑ์จากไม้เทพทาโร จากนั้นจะพานักท่องเที่ยวไปชมสวนไม้เทพทาโรซึ่งตนได้ปลูกขึ้นมา 4-5 ปีแล้ว รวมจำนวน
300 ต้น เพื่อที่จะได้ศึกษาเรียนรู้ไม้เทพทาโรจากสายพันธุ์ต่างๆ ทั่วทั้งประเทศไทย หรือหากผู้ใดอยากจะผ่อนคลายความร้อน ก็
สามารถลงไปเล่นน้ำในลำธารใสที่ไหลผ่านอยู่ข้างสวนก็ได้ ซึ่งมักจะเป็นที่นิยมของกลุ่มเด็กๆ
       
       นายจรูญ กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้ตั้งชื่อแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ว่า “วังเทพทาโร” โดยเปิดให้บริการเข้าชมฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30-17.00 น.
ซึ่งนอกจากจะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยแล้ว ยังมีชาวต่างชาติ เช่น จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องของมังกร และไม้มงคล อย่างเทพทาโร
เดินทางมาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากตนจะสามารถบรรยาย หรือให้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษได้ดี รวมทั้งยังมีการนำความรู้ทางศิลปิน
พื้นบ้าน ทั้งหนังตะลุง มโนราห์ ลิเกป่า และรองเง็ง มาผสมผสานกับภาษาอังกฤษ แล้วขับร้องให้นักท่องเที่ยวได้ฟัง ซึ่งช่วยสร้างความเพลิดเพลิน
และทำให้แหล่งเรียนรู้แห่งนี้เกิดการพัฒนาไปสู่สากล...
>>>>>>>>>>>
นำมาจาก
http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000125982



เทพทาโรเป็นชื่อของต้นไม้หอมชนิดหนึ่งสกุลเดียวกับต้นอบเชย มีต้นขนาดใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Cinnamomum porrectum Kosterm. อยู่ในวงศ์ Lauraceae และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา


ชื่อสามัญ (ไทย) จวง จวงหอม (ภาคใต้) จะไค้ต้น จะไค้หอม (ภาคเหนือ) ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เทพทาโร (ภาคกลาง จันทบุรี
สุราษฎร์ธานี) พลูต้นขาว (เชียงใหม่) มือแดกะมางิง (มาเลเซีย ปัตตานี) (บาลี) เทวทารุ นารท (อังกฤษ) Citronella laurel, True laurel.

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ เทพทาโร มีเขตการกระจายพันธุ์แถบเอเชียเขตร้อน นับตั้งแต่เทือกเขาตะนาวศรีในพม่า ไทย มลายู จนถึงแถบ
คาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา ไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นบนพื้นที่สูง มีลักษณะคล้ายกับ C. neesianum Meissn ซึ่งเป็นไม้ที่พบกระจายพันธุ์อยู่แถบ
จีนตอนใต้และตังเกี๋ย ในประเทศไทย จะพบเทพทาโรขึ้นอยู่ห่าง ๆ กันบนเขาในป่าดงดิบทั่วประเทศ แต่จะพบมากที่สุดทางภาคใต้ เทพทาโรเป็น
ไม้พื้นเมืองเก่าแก่ของไทย พบหลักฐานการอ้างถึงครั้งแรกในสมัยสุโขทัย ดังปรากฏในไตรภูมิพระร่วง เมื่อ พ.ศ. 1888 กล่าวถึงพรรณพืชหอม
ในอุตตรกุรุทวีป จะประกอบด้วย จวง จันทน์ กฤษณา คันธา เป็นต้น

ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา เทพทาโร เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลับทึบ สีเขียวเข้ม ลำต้นเรียบไม่มีพูพอน เปลือกต้น
สีเทาอมเขียวหรืออมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น เมื่อถากเปลือกออกจะมีกลิ่นหอม กิ่งมีลักษณะอ่อนเรียว เกลี้ยงและมักมีคราบขาว


เนื้อไม้ที่ส่งกลิ่นหอม คนไม่ค่อยเชื่อ จึงต้องลองจิกมาดมเช่นนี้...



ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน เป็นใบรูปรีแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบ
มีคราบขาว ปลายใบแหลม โคนใบแหลมและกลม ยาวประมาณ 7 - 20 ซม. ก้านใบเรียวเล็ก 2.5 - 3.5 ซม.



ดอก ออกเป็นช่อ สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกดอกตามปลายกิ่งเป็นกระจุกยาว 2.5 - 7.5 ซม. ก้านช่อดอกจะเรียว
ยาวและเล็กมาก



ผล มีขนาดเล็กและกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 มม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีม่วงดำ ก้านผลเรียว ยาวประมาณ 3 - 5 ซม.



ลักษณะเนื้อไม้ มีสีเทาแกมน้ำตาล มีกลุ่มหอมฉุน มีริ้วสีเขียวแกมเหลือง เนื้อไม้เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง หรือสับสน เป็นคลื่นบ้าง
เล็กน้อย เหนียว แข็งพอประมาณ เลื่อย ไส้กบ ตบแต่งง่าย

สารสำคัญในเนื้อไม้ จะพบ d - camphor ที่ใช้แทน sassafras ได้ดีให้น้ำมันที่มีสารหอม คือ safrol และ cinnamic aldehyde
และยังพบ safrol ในเปลือกต้นและใบ



การขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์ไม้เทพทาโรที่นิยมปฏิบัติกันคือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ


 
การปลูก การเจริญเติบโต และการปรับปรุงพันธุ์ ต้นเทพทาโรเป็นไม้หอมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ จึงสมควรที่จะปลูกสร้างสวนป่า
ไม้เทพทาโรขึ้นในที่ที่มีความชุ่มชื่นเพียงพอ เพราะเทพทาโรจะชอบขึ้นอยู่บนเขาในป่าดงดิบ พบมากที่สุดทางภาคใต้ อาจจะปลูกใต้ร่มไม้
อื่นหรือปลูกเป็นไม้แซมสวนป่า น่าจะเจริญเติบโตดีกว่าปลูกเป็นไม้เบิกนำในที่โล่งแจ้ง...


>>>>>>>>>>>
เนื้อหาต้นเทพทาโรนำมาจาก
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=35157.0
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโหลดได้จาก www.phangngaplantseedling.go.th/taeptaro.pdf


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=20588


ผลมันสุก น่ากิน จัง กินได้ป่าว เนี่ย

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=20588

ออฟไลน์ ภูแมว

  • MOD
  • *
  • ออฟไลน์
  • 1814
    546

ดูยากจังนะคะถ้าไม่บอกน่ะค่ะแต่มองไกลๆ มังกรพอมองออกค่ะ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=20588

ออฟไลน์ คนนนท์

  • เทพ
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 678
    271
  • เพศ: ชาย
    • อีเมล์

เพิ่งได้ยินได้รู้จักไม้เทพทาโรเมื่อไม่นานนี้  จากการไปเดินงานโอท็อปแล้วเห็นไม้แกะสลักเป็นรูปพระ เจ้าแม่กวนอิม มังกร เข้าใจว่าแกะจากไม้หอมที่เคยเห็นทั่วไป  แต่คนขายบอกว่าเป็นไม้เทพทาโร  แปลกใจว่าทำไมเมื่อก่อนไม่ค่อยสนใจกัน  เลยคิดต่อไปว่า ในเมืองไทยน่าจะมีพันธุ์ไม้ดีๆ อื่นอีกที่เรายังไม่รู้จัก 

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=20588