ผู้เขียน หัวข้อ: ก้อนดินสู่ก้อนบุญ โบสถ์พอเพียง สมเด็จพระสังฆราช  (อ่าน 4974 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ วิทยา

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 576
    1107



ก้อนดินสู่ก้อนบุญ โบสถ์พอเพียง สมเด็จพระสังฆราช
โดย..สุกัญญา แสงงาม


       
       เชื่อว่าหลายคนได้จะเจอประชาสัมพันธ์ใจความเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุน สร้างพระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ สร้างพระพุทธรูป
หอระฆัง กุฏิ และอื่นๆ โดยเนื้อหาใจความมักจะเน้นความวิจิตรตระการตา ยิ่งใหญ่อลังการ ผ่านสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา
ตลอดจนโซเชียลมีเดีย


     
       แน่นอนการสร้างอะไรยิ่งใหญ่ เริ่ดหรู ย่อมต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล บ้างแห่งก็ใช้เงิน10 ล้าน 100 ล้านแถมใช้ระยะเวลาในการ
ก่อสร้างยาวนาน เคยมีวัดบางแห่งมีการเปลี่ยนเจ้าอาวาสหลายองค์แล้ว ปรากฏว่าการดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จตามที่เจ้าอาวาส
องค์แรกตั้งใจสร้างจากปัญหาดังกล่าวสอนให้ตระหนักรู้ว่า การจะสร้างอะไรซักอย่างหนึ่งควรสร้างขนาดพอเหมาะ พอดี สอดรับกับความ
ต้องการของชุมชนในท้องถิ่น



       พระราชรัตนมงคล ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช บอกว่า วัดหลายแห่งมีปัญหาลักษณะข้างต้น ทางสำนักเลขานุการสมเด็จ
พระสังฆราช จึงได้มีแนวคิดสร้างอุโบสถ กุฏิ และพระเจดีย์ ให้เสร็จอย่างรวดเร็วหรือให้เสร็จภายใน 1 ปี มีความคงทนแข็งแรงมีอายุ
การใช้งานได้นับ 100 ปี ที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นต้นแบบของการสร้างวัดแบบพอเพียง “ต้องยอมรับว่าราคาวัสดุก่อสร้าง
ในปัจจุบันมีราคาสูงมาก สำนักเลขานุการฯ มองหาวัสดุทนแทนที่มีคุณภาพดี ราคาต่ำ ในช่วงนั้นโครงการบ้านดินกำลังฮิต และจากการ
ศึกษาข้อมูลพบว่า ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี สอนให้ผู้ต้องขังสร้างบ้านดิน โดยอาคารห้องสมุด
ที่พักบริเวณเรือนจำล้วนแล้วสร้างจากดิน จากนั้นได้ขออนุญาตอธิบดีกรมราชภัณฑ์เดินทางไปศึกษาขั้นตอนการทำบ้านดิน พบว่ามีสภาพ
แข็งแรงไม่แพ้วัสดุก่อสร้างที่จำหน่ายในท้องตลาด นี่คือจุดเริ่มต้นโครงการสร้างวัดแบบพอเพียง”

 
     
       พออธิบดีรู้เจตนาในการเดินไปศึกษาดูงานสร้างบ้านดิน ว่ามีโครงการสร้างอุโบสถ กุฏิ และพระเจดีย์ แบบพอเพียง ก็ขันอาสาให้
ผู้เชี่ยวชาญของกรมราชทัณฑ์ออกแบบอุโบสถ กุฏิ และพระเจดีย์ แบบประยุกต์ รวมทั้งส่งผู้ต้องขังที่มีความเชี่ยวชาญสร้างบ้านดินมา
ช่วยสร้างโบสถ์ดินด้วย โดยผู้ต้องขังทำงาน 1 วันจะได้ลดโทษ 1 วัน กรมราชทัณฑ์เขาถ่ายทอดความรู้การสร้างบ้านดินให้ผู้ต้องขัง
หวังว่าวันไหนผู้ต้องขังพ้นโทษ จะได้มีความรู้นี้ติดตัวไปประกอบอาชีพ ที่สำคัญตลาดแรงงานกำลังต้องการ เนื่องจากเจ้าของรีสอร์ต
โฮมสเตย์ กำลังฮิตสร้างบ้านดิน ชาวต่างชาตินิยมเลือกมาพัก



       พระราชรัตนมงคล เล่าว่า วัดแรกก็คือวัดป่าพุทธนิมิตสถิตสีมาราม บ้านห้วยยาง ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์การสร้างอุโบสถดินแห่งแรกของประเทศไทย
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554
เป็นโบสถ์แบบบ้านดินประยุกต์ เฉลิมพระเกียรติ ที่ทำจากดิน จ.สกลนคร และจ.เพชรบุรีทั้งหมด พร้อมกันนี้สำนักเลขานุการสมเด็จ
พระสังฆราช ได้นำดินที่สังเวชนียสถาน 4 แห่ง จากประเทศเนปาล อินเดีย และดินจากพระสถูปโบราณ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
จากเมืองตักกสิลา ประเทศปากีสถาน มาผสมเพื่อความเป็นสิริมงคลในการสร้างอุโบสถดิน เมื่อสร้างเสร็จ สมเด็จพระสังฆราช ยังได้
ประทานพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว ที่แกะสลักจากหินหยกอัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย ประดิษฐานเป็นพระประธาน


       
       อย่างไรก็ตาม อุโบสถดินแห่งนี้มีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 15 เมตร รองรับพระภิกษุได้ไม่น้อยกว่า 50 รูป วัสดุที่ใช้ประกอบด้วย
เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 32 ต้น ฐานอุโบสถเทคอนคอนเกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่อด้วยดินผสมแกลบอัดบล็อก แล้วฉาบด้วยดิน
เลือกดินสีธรรมชาติผสมน้ำมันพืช และแป้งมันสำปะหลัง กรอบและบานประตู บานหน้าต่างใช้ไม้มะค่า หลังคาโครงเหล็ก มุงด้วยแผ่นสแกนรูฟ
(Scanroof) สีทอง เพดานบุด้วยแผ่นใยไม้สีทอง ฟื้นกระเบื้องดินเผา ส่วนกุฏิดิน ฐานสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กผนังก่อด้วยก้อนดินอัดบล็อก
โดยใช้งบประมาณจัดสร้างประมาณโบสถ์ดิน และกุฏิดิน2 หลัง ใช้เงินในการก่อสร้างไม่ถึง 2 ล้านบาท เป็นไปตามพระประสงค์ของสมเด็จ
พระสังฆราช และสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 
     
       พระราชรัตนมงคล ฉายบรรยากาศการสร้างวัดแบบพอเพียง วัดป่าพุทธนิมิตสถิตสีมาราม ว่า ช่วงแรกๆ ชาวบ้านรู้ว่าผู้ต้องขังมาร่วมสร้าง
ก็มีปฏิกริยาไม่พอใจบ้าง แต่ไม่นานชาวบ้านกับผู้ต้องขังกลับผนึกกำลังสร้างโบสถ์ดินโดยไม่มีท่าทีรังเกียจเลย แถมยังหุงหาอาหารมาเลี้ยงด้วย
นอกจากนี้ ระหว่างที่ก่อสร้างมีผู้ต้องขังบางรายพ้นโทษแล้วขออยู่สร้างต่อจนเสร็จ ผู้ต้องขังบอกด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสว่า ขอซักครั้งหนึ่ง
ในชีวิตขอทำความดีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระสังฆราช



       จากนั้นได้สร้างโบสถ์ดินที่ วัดสันติวรคุณ บ้านสำนักขาม ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา นับว่าเป็นวัดแห่งที่สอง ซึ่งโบสถ์แห่งนี้
ออกแบบโดยอาจารย์จาก สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน โดยมีนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ผนึกกำลังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันสร้างจนแล้วเสร็จ
       
       พระราชรัตนมงคล บอกว่า จริงๆ ได้ดำเนินการสร้างโบสถ์ดิน กุฏิ เพื่อเป็นต้นแบบของการสร้างวัดแบบพอเพียง 9 วัด คือ 1.วัดป่า
พุทธนิมิตสถิตสีมาราม บ้านห้วยยาง ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร 2.วัดบุเจ้าคุณ ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
3.วัดสิงห์ทอง บ้านหนองแซง ต.โพนงาม อ.กุดชุม จ.ยโสธร 4.วัดสันติวรคุณ บ้านสำนักขาม ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา 5.วัดตอยาง
ต.หนองโดน อ.หนองโดน จ.สระบุรี 6.วัดพระธาตุโป่งนก ต.ด่านมะขามเตี้ย อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี 7.วัดป่านันทบุรีญาณสังวราราม
บ้านผาตูบ ต.ผาสิงฆ์ อ.เมือง จ.น่าน 8.วัดป่าห้วยปางห้วยเม็งเฉลิมพระเกียรติ ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ และ 9. วัดทับทิมสยาม
10 ต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด

       
       จากก้อนดินสู่ก้อนบุญ วันนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์ไปเพียง 2 วัด ส่วนที่เหลือ 7 วัด อยู่ระหว่างการสร้างเป็นอนุสรณ์ สมเด็จพระสังฆราช
คืบหน้า 70-90 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม จะเร่งสร้างให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อเป็นต้นแบบการสร้างวัดพอเพียง ทั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสร้าง
โบสถ์ดิน สามารถบริจาคได้ทั้งวัสดุก่อสร้าง ทุนทรัพย์ ได้ที่โครงการอุโบสถดินจตุรทิศ 4 ภาค 9 แห่ง ในพระสังฆราชูปถัมภ์ คณะเหลือง
รังษี วัดบวรนิเวศวิหาร


>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000136128


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=21377

ออฟไลน์ สิทธิชาติ เพชรบุรี

  • ปรมาจารย์
  • ***
  • ออฟไลน์
  • 305
    59
    • อีเมล์

ผมเคยผ่านไปทาง อ.สะเดา จ.สงขลา ได้มีโอกาสเข้าไปภายในโบสถ์ วัดสันติวรคุณ บ้านสำนักขาม ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา ตามรูปที่มีรูปปั้นเณรน้อยถือบาตร ยืนอยู่หน้าโบสถ์  นั่นแหละครับ รู้สึกได้เลยว่าภายในโบสถ์ เย็นสบายโดยไม่ต้องเปิดพัดลมเลย

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=21377