ผู้เขียน หัวข้อ: มารู้จักโรคกระดูกพรุนกัน  (อ่าน 2162 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ chomm

  • เทพ
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 1688
    729
มารู้จักโรคกระดูกพรุนกัน
« เมื่อ: 22/ก.ย./11 11:38น. »


        ภาวะกระดูกพรุน   เป็นภาวะผิดปกติของระบบโครงสร้าง  ซึ่งทำให้ความแข็งแรงของกระดูกเสียไป  ส่งผลให้คนๆนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักสูงขึ้น


โรคกระดูกพรุน Osteoporosis นี้พบมากในผู้สูงอายุโดยประมาณ 60 ปีขึ้นไปโดยจะพบปัญหาในหญิงมากกว่าชาย เพราะในหญิงจะมีการลดลงของเนื้อกระดูกเป็นอย่างมากในช่วง 5 ปี หลังวัยหมดประจำเดือน สตรีวัยหมดประจำเดือน ในอเมริกา  ประมาณ 1/3-1/2 ของสตรีกลุ่มนี้จะเป็นโรคกระดูกพรุน และเมื่อ อายุสูงขึ้นโอกาสกระดูกหักก็จะสูงเพิ่มตามไปด้วย โดยจะเป็นการทรุดหักของ กระดูกสันหลัง การหักของกระดูกสะโพก และสุดท้ายคือกระดูกต้นขาหัก  จะเห็นว่าปัญหากระดูกพรุนนี้ก่อให้เกิดการ สูญเสียต่อชีวิต คุณภาพของชีวิตและ ทรัพย์สินอย่างมาก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้  โรคกระดูกพรุนพบมากในสตรีผิวขาวโดยเฉพาะพวกที่อยู่ใกล้ขั้วโลก รองลงมา เป็นชาวผิวเหลืองในเอเซีย
และพบน้อยลงในชาวผิวดำ
     
      สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน สามารถกล่าวรวมๆของปัญหาที่มีผลทำให้การสะสมของเนื้อกระดูก ได้ไม่ดี และปัจจัยที่ทำให้มีการสูญเสียมากกว่าปกติ
     พันธุ์กรรม   จากเชื้อชาติ ผิวขาว > เอเซีย > ผิวดำ
     เพศ หญิง มากกว่า  ชาย
     โภชนาการ   บริโภคแคลเซี่ยมต่ำ  ดื่มอัลกอฮอล์มาก  ดื่มกาแฟมา บริโภคเกลือมาก บริโภคโปรตีนจากสัตว์มาก
    ชีวิตความเป็นอยู่   สูบบุหรี่มาก กิจวัตรการออกกำลังกายน้อย
   โรคที่มีผลต่อการเสียเนื้อกระดูก  รังไข่ฝ่อ (ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน   การตัดมดลูก  ต่อมทัยรอยด์ทำงานมากเกินไป
 ต่อมพาราทัยรอยด์ทำงานมากเกินไป  ไตวายเรื้อรัง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  
 ภาวะ  วัยหลังหมดประจำเดือน
 ยาที่มีผลต่อการสูญเสียเนื้อกระดูก  ยาทดแทนธัยรอยด์ ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ ชนิด "loop" ยาลดกรดที่มีฤทธิ์จับ ฟอสเฟต
 ยาเตตร้าซันคลิน  ยารักษาวัณโรค ไอโซไนเอซิค

การวินิจฉัยในปัจจุบันใช้การวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density measurement)โดยใช้เครื่อง DEXA (Dual energy x-ray absorptionmetry)โดยวัดความหนาแน่นของกระดูกที่กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นขาปลายกระดูกข้อมือ และนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าปกติในเพศและอายุช่วงเดียวกัน


การป้องกันและการรักษาการที่จะมีกระดูกที่แข็งแรงสมบูรณ์นั้น ส่วนการสร้างกระดูกและส่วนการสลายกระดูกต้องสมดุลย์กัน ในกรณีที่มีภาวะกระดูกพรุนนั้นจะพบว่ามีการ
สลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก ดังนั้นหลักการดูแลก็คือให้มีการสร้างกระดูกมากขึ้น หรือลดการสลายของ กระดูกให้ลดลง

สารที่ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกมากขึ้น
เราทราบดีว่าไวตามินดีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อขบวนการกระดูก โดย
แอกทีฟฟอร์มของไวตามินดี (1,25-dihydroxy vitamin D = calcitriol) จะช่วยเพิ่มการดูดซึมของแคลเซี่ยมจากลำไส้และเพิ่มระดับของแคลเซี่ยมในเลือดให้เพียงพอที่จะช่วยยับยั้งการหลั่งของพาราทัยรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะกระตุ้นให้มีการสลายของกระดูก วิตามินดีมีประสิทธิภาพในการช่วยพยุงเนื้อกระดูกและลดอัตรากระดูกหัก ข้อควรระวังอาจทำให้แคลเซี่ยมในเลือดสูงขึ้นจนอาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบ ทางเดินปัสสาวะได้ จึงควรมีการเฝ้าดูระดับแคลเซี่ยมในเลือดและปัสสาวะ  รวมทั้งดูการทำงานของไต

 แคลเซี่ยม การให้แคลเซี่ยมเพียงอย่างเดียวในสตรีหลังวัยหมดประจำเดือน (ในช่วง 5 ปีแรก) ไม่สามารถช่วยพยุงเนื้อกระดูกไว้ได้ แต่ถ้าให้ในกลุ่มที่หมดประจำเดือนเกินกว่า 5 ปีไปแล้วจะช่วยลดการสูญเสียกระดูกได้  อย่างไรก็ตามการบริโภคแคลเซี่ยมในระดับเพียวพอและสมำเสมอตั้งแต่ต้นจะช่วย รักษาโรคกระดูกพรุนได้ โดยช่วยให้ร่างกายเก็บสะสมเนื้อกระดูกตุนไว้ให้มากที่สุด และถ้าให้แคลเซี่ยมร่วมกับเอสโตรเจนในสตรีหลังวัยหมดประจำเดือนจะช่วย ลดขนาดของการใช้เอสโตรเจนลง

- ในช่วงเด็กต้องการแคลเซี่ยมประมาณ 1.5 กรัมต่อวัน
- ผู้ใหญ่ควรได้รับประมาณ 800-1000 มิลลิกรัม/วัน
- สตรีหลังวัยหมดประจำเดือนจนถึงวัยสูงอายุควรได้แคลเซี่ยม
  1000-1500 มิลลิกรัมต่อวัน

โดยแคลเซี่ยมจะถูกดูดซึมทางลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด โดยจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ประมาณร้อยละ 10-40 ของแคลเซี่ยมที่ทานเข้าไป
       ปัจจัยที่ทำให้การดูดซึมแคลเซี่ยมลดลงได้แก่
- ขาดวิตามินดี
- อาหารที่มีไขมันสูง
- กรดออกซาลิค / กาแฟ / อัลกอฮอล / บุหรี่
   อาหารที่ให้แคลเซี่ยมมากได้แก่นม ผลิตภัณฑ์จากนม แต่ต้องระวังเรื่องไขมัน โคเลสเตอรอลด้วย รองลงมาได้แก่ ปลา หรือสัตว์ที่กินได้ทั้งกระดูกเช่น กุ้งแห้ง ปลาป่น ปลากระป๋อง ถั่ว ลูกนัท ผักใบเขียว เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักบร็อคโคลี่ (เป็นกลุ่มผักที่มีแคลเซี่ยมสูง)

การรักษาด้วยวิธีอื่นๆจะไม่ได้ผลดีเลยถ้าในร่างกายมีระดับแคลเซี่ยมไม่มากพอ ดังนั้นไม่ว่าจะรักษาโดยวิธีใดก็ควรมีการได้รับแคลเซี่ยมเสริมด้วย

- บิสฟอสโฟเนส ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการจับกับแคลเซี่ยมแทนฟอสเฟตตัวจริง
และเมื่อเซล สลายกระดูกจะมาสลายกระดูกตรงที่มีสารตัวนี้อยู่ เซลก็จะทำงานไม่ได้
ทำให้ การสลายของกระดูกลดลง ยากลุ่มนี้เป็นทางเลือกของสตรีวัยสูงอายุที่มีภาวะ
กระดูกพรุนแล้วและไม่สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนได้
 ยากลุ่มนี้ไม่ได้มีฤทธิ์เป็นฮอร์โมน ใช้รักษาป้องกันโรคกระดูกผุและแตกในคนไข้หรือผู้สูงอายุที่มีอาการกระดูกผุหรือพรุนแล้ว (โดยมรความหนาแน่นของกระดูก < 2 เท่าของคนปกติ) ซึ่งการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนอาจช้าไปหรือคนไข้ที่ไม่สามารถใช้การรักษาโดยวิธีฮอร์โมนทดแทนได้ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ อเลนโดรเนต/Alendronate และเอทิโดรเนต /Etidronate ขนาดรักษา10 มิลลิกรัม รับประทานติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน โดยรับประทานหลังตื่นนอนในตอนเช้าพร้อมน้ำแก้วโต อาหารหรือน้ำผลไม้จะขัดขวางการดูดซึมของยา  ประโยชน์ช่วยให้กระดูกแข็งแรงมากขึ้น ไม่มีอาการข้างเคียงของฮอร์โมน
     อาการข้างเคียง อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน อาจกัดกระเพาะได้จึงควรดื่มน้ำตามและควรเดินหรือนั่งไม่ควรนอนเพื่อไม่ให้ยาหยุดนิ่งในกระเพาะ









+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=2076

ออฟไลน์ ประสิทธิ์

  • Administrator
  • *
  • ออฟไลน์
  • 6174
    9863
  • เพศ: ชาย
    • เพลงพักใจดอทเนต
Re: มารู้จักโรคกระดูกพรุนกัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22/ก.ย./11 14:06น. »

ขอบคุณครับพี่อ้อย ผมพิมพ์ไปให้แม่อ่านด้วยแล้วล่ะ เพราะหมอตรวจพบว่าแม่เป็นโรคกระดูกพรุน หมอให้ยาอะไรมาก็ไม่รู้เม็ดละ 500 กว่าบาท เพิ่งจะเริ่มกินน่ะยังไม่รู้ผล บทความของพี่คงจะเป็นประโยชน์กับผู้เป็นโรคนี้แน่นอนครับ

 :'e:82 :'e:82 :'e:82

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=2076
สมาชิกใหม่..ก่อนตั้งกระทู้แนะนำตัวให้ดูตัวอย่าง.แล้วไปอ่านประกาศการใช้งานบอร์ดและห้องโหลดเพลง เมื่ออ่านเข้าใจแล้วก็ตอบรับทราบทั้ง 2 กระทู้1.ห้ามเด็ดขาดการใช้เพียงอีโมตอบกระทู้เพื่อโหลดเพลง.2.ห้ามตอบเพียงขอบคุณครับ/ค่ะ โหลดเพลง 5:1 อ่านให้เข้าใจด้วย

ออฟไลน์ chomm

  • เทพ
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 1688
    729
Re: มารู้จักโรคกระดูกพรุนกัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22/ก.ย./11 14:13น. »

ยารักษามีราคาแพงค่ะ  ต้องเคร่งครัดในการรักษาและปฏิบัติตามที่กำหนด  เพราะยามีอาการข้างเคียงซึ่งอาจทำให้ไม่อยากกินค่ะ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=2076