สมองเสื่อมก่อนวัย...ใครว่าเป็นกับผู้สูงวัยเท่านั้น? หลายคนที่ยังนั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะทำงานอยู่ตอนนี้ อาจไม่เชื่อว่า คนวัย 35 ยังแข็งแรงดี จะมีภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไร ที่จริงแล้ว ภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย ยิ่งไปกว่านั้นสาเหตุของสมองเสื่อมไม่ได้เกิดจากความเครียดจากการทำงานเท่านั้น กลับพบว่าภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ คือ ตัวการสำคัญที่คุกคามอายุสมองคนวัยทำงานให้เสื่อมลงก่อนวัย หากเรารู้ทันภาวะสมองเสื่อมได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสที่เราจะยืดอายุสมองให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นเท่านั้น
รู้ทันสมองเสื่อมก่อนวัยจากโรคหลอดเลือดสมอง
ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนวัยทำงานยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป พักผ่อนนอนน้อย ขาดการออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้หลายคนเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง โดยระดับไขมันคอเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงผิดปกติ เป็นภาวะผิดปกติที่พบได้มากขึ้นทุกปีในสุขภาพของกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งภาวะเหล่านี้ คือ ต้นทางของโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจอุดตัน และโรคเกี่ยวกับสมองที่จะตามมา หนึ่งในนั้นก็คือ ภาวะสมองเสื่อมในคนวัยทำงาน ที่กลายเป็นภัยเงียบคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ ความสามารถในการคิด การตัดสินใจ ความจำ การเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ของเราให้แย่ลง
ขี้หลง ขี้ลืม ใครๆ ก็เป็นกันจริงหรือ?
ความน่ากลัวของภาวะสมองเสื่อมนี้ไม่ได้เฉพาะแค่อาการ แต่เพราะเป็นความผิดปกติที่ไม่ได้พบอาการได้ง่ายๆ หลายคนชะล่าใจว่าเจ้าอาการขี้หลง ขี้ลืม เพิ่งวางของไว้แต่กลับจำไม่ได้บ้าง คิดเงินไม่ถูกบ้าง ใครๆ ก็เป็นกัน แต่กว่าที่จะพบอาการเซลล์สมองของเราก็เสียหายไปมากแล้ว ความผิดปกตินี้จึงน่ากลัวกว่าที่คิด
แม้ว่าภายนอกเราแทบสังเกตไม่เห็นความผิดปกติอะไรเลย แต่ลึกลงไปในสมอง สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น คือ เซลล์สมองที่ทยอยขาดเลือด ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลงอย่างช้าๆ ซึ่งต้นตอของอาการสมองขาดเลือดนี้ สาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองที่มีหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง แต่กลับมีไขมันคอเลสเตอรอลหรือไขมันไตรกลีเซอไรด์ไปสะสมจนหลอดเลือดในสมองเกิดอุดตัน ตีบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองได้ไม่เพียงพอ เกิดความเสียหาย จนเกิดภาวะสมองเสื่อมตามมา
หากปล่อยให้ความเสียหายของเซลล์สมองลุกลามไปเรื่อยๆ ประสิทธิภาพการทำงานของสมองก็จะเสื่อมถอยมากขึ้น เริ่มหลงทางแม้เป็นเส้นทางที่คุ้นชิน จำชื่อคนที่เพิ่งเจอไม่ได้ ถามอะไรที่เพิ่งผ่านมาต้องถามย้ำ ถามซ้ำ ลืมนัด ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดเมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา คิดช้า คิดไม่ออก นึกคำพูดไม่ออก ฯลฯ
ยืดเวลา ชะลอวัยให้สมอง
ความเชื่อเดิมที่ว่า ยิ่งเราอายุมากขึ้น เซลล์สมองจะเสื่อมถอยลง ภาวะสมองเสื่อมก็จะยิ่งเกิดเร็วขึ้นเป็นเรื่องที่หลายคนจดจำมาเป็นเวลานาน แต่จากการศึกษาวิจัยใหม่ๆ ค้นพบว่า ต่อให้คนเราอายุมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ยังมีโอกาสที่มีสมองที่แข็งแรง ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้ หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ หากเราเริ่มต้นดูแลตัวเอง ดังนี้
1.ออกกำลังกาย การออกกำลังกายในแบบแอโรบิก หรือการออกกำลังกายที่อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 60-80% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เช่น เดินเร็ว วิ่งช้าๆ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง ลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดได้ ควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ ส่งผลให้การส่งเลือดไปเลี้ยงเซลล์สมอง หัวใจ และส่วนต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.ฝึกใช้สมอง การฝึกทักษะใหม่ๆ เรียนทำอาหาร เล่นกีฬาชนิดใหม่ๆ ทำงานฝีมือ เรียนวาดรูปหรือเล่นดนตรี อ่านหนังสือ ฝึกคิดเลขหรือเรียนภาษา ฝึกทักษะใหม่ๆ ช่วยกระตุ้นให้สมองได้ทำงานมากขึ้น ยิ่งเราทำกิจกรรมมากเท่าไหร่ เรียนรู้สิ่งใหม่หรือได้ใช้สมองคิดในเรื่องยากๆ มากขึ้น สมองก็จะยิ่งถูกกระตุ้นให้สร้างเซลล์สมองมากขึ้น เพื่อรับรู้และบันทึกข้อมูลไว้ใช้ในอนาคต มีส่วนช่วยให้สมองตื่นตัวและเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจทักษะใหม่ได้ดีขึ้น
3.นอนให้ได้คุณภาพ แม้ว่าการนอนพักผ่อน คือ สุดยอดการฟื้นฟูร่างกายที่แนะนำกัน แต่การนอนที่มีคุณภาพ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องนอนให้ครบวันละ 8 ชม. แต่เป็นการหลับลึกหลับสนิท มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เซลล์สมองแข็งแรง ยืดอายุ ชะลอวัยให้สมองได้ และยังช่วยให้สมองสามารถเก็บข้อมูลใหม่ๆ ไว้ในความจำได้ดีขึ้นอีกด้วย
4.ควบคุมอาหาร หันมาเน้นทานอาหารครบหมู่ เลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง เพื่อลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทานอาหารที่ให้ไขมันดี เช่น ปลาทะเลน้ำลึก ถั่ว เพิ่มกากใยอาหารด้วยการรับประทานผักใบเขียว จะช่วยลดปริมาณไขมันเข้าสู่ร่างกายได้อีกทางหนึ่ง
เสริมเกราะป้องกันหลอดเลือดสมองด้วยน้ำมันปลา
นอกจากการดูแลตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว ควรหาทางป้องกันในระยะยาว อย่างการลดความเสี่ยงหลอดเลือดสมองและหัวใจอุดตัน ตีบ จากภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ด้วยน้ำมันปลาที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ชื่อ โอเมก้า-3 ซึ่งประกอบด้วย ดีเอชเอ (DHA) และ อีพีเอ (EPA) มีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงหลอดเลือดสมองและหัวใจอุดตันจากไขมันในเลือดสูง ช่วยบำรุงสมอง และลดการอักเสบของเซลล์สมอง ที่เป็นปัจจัยหนึ่งของการเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง
ความสามารถของน้ำมันปลานี้ถูกเปิดขึ้น เมื่อนักวิจัยค้นพบความลับของน้ำมันปลาจากการรวบรวมผลวิจัยตั้งแต่ปี 1990-2006 เกี่ยวกับภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันของน้ำมันปลา พบว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลามีประสิทธิภาพในการช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้ประมาณ 20%-50% ซึ่งเทียบเท่ากับยาลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์