ผู้เขียน หัวข้อ: “คางคก” แบบนี้มีจริงเหรอ ?  (อ่าน 1977 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ วิทยา

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 576
    1108
“คางคก” แบบนี้มีจริงเหรอ ?
« เมื่อ: 26/ก.ย./13 13:45น. »



มีจริงเหรอ “คางคก” แบบนี้?
   
   
ภาพคางคกที่โอลายาถ่ายได้ระหว่างลาดตระเวนในอุทยานแห่งชาติเปรู

       ภาพที่เห็นนี้เป็นภาพจริง ไร้การตัดต่อ ไร้โฟโตชอป และไม่ใช่คางคกพันธุ์ใหม่ แต่เป็นคางคกที่กำลังกินค้างคาว ซึ่งหน่วย
ลาดตระเวนบังเอิญบันทึกภาพไว้ได้ภายในอุทยานแห่งชาติของเปรู ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนักสำหรับการตกเป็นเหยื่อ
ของค้างคาว ยูฟานิ โอลายา (Yufani Olaya) หน่วยลาดตระเวณป่าทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเปรู บันทึกภาพขณะคางคกยักษ์
(cane toad) กำลังเคี้ยวค้างคาว ระหว่างเขาปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนภายในอุทยานแห่งชาติเซร์โรสเดอาโมทาเป (Cerros de
Amotape National Park) ของเปรู ไลฟ์ไซน์รายงานว่า โอลายาส่งภาพถ่ายให้ ฟิล ตอร์เรส (Phil Torres) นักชีววิทยาที่
ทำงานอยู่ในศูนย์วิจัยทัมโบพาตา (Tambopata Research Center) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยในลุ่มน้ำอเมซอนในเขตเปรู โดยความเห็น
จากนักชีววิทยาระบุว่า ภาพดังกล่าวอาจจะเป็นภาพแรกของคางคกยักษ์ขณะกินค้างคาวก็ได้  ค้างคาวเคราะห์ร้ายในภาพน่าจะอยู่
ในวงศ์ค้างคาวปากย่น (free-tailed bat) ซึ่งอาจจะเป็นค้างคาวปากย่นขนกำมะหยี่ (velvety free-tailed bat) หรือ มอลอสซุส
มอลอสซุส (Molossus molossus) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปทางภาคเหนือของอเมริกาใต้ และตอร์เรสยังให้ข้อมูลแก่ไลฟ์ไซน์อีกว่า
ยังมีตัวอย่างการพบคางคกชนิดอื่นกินค้างคาวปากย่นในบราซิลด้วย คางคกยักษ์ได้ชื่อว่าเป็นจอมเขมือบที่ฉวยโอกาส และเป็นที่
ทราบดีด้วยว่านักกินที่ตะกละ ซึ่งลักษณะเด่นดังกล่าวทำให้มันกลายเป็นเผ่าพันธุ์รุกรานที่มีชัยในพื้นที่อย่างออสเตรเลีย แต่ตอร์เรส
กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ค่อยพบได้บ่อยนัก ที่จะเห็นคางคกกินค้างคาว ซึ่งปกติจะบินอยู่ห่างไกลจากพื้นดินที่มีคางคกกระโดด
หากินอยู่ แต่ในกรณีนี้ค้างคาวน่าจะบินเข้าปากคางคกเอง โดยค้างคาวน่าจะบินโฉบแมลงที่ใกล้พื้นดิน และคางคกก็ได้ลาภปาก ด้าน
ราเชล เพจ (Rachel Page) นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเขตร้อนสมิทโซเนียน (Smithsonian Tropical Research Institute)
ในปานามา ซึ่งไม่มีส่วนในการสังเกตครั้งนี้ ให้ข้อมูลว่าทราบกันอยู่แล้วว่าคางคกก็กินค้างคาว แต่กรณีเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้คางคกก็ต้อง
มีโชคเข้าข้างอยู่บ้าง ซึ่งคางคกและกบบางชนิดก็ไปดักกินค้างคาวถึงปากถ้ำ โดยรอให้เหยื่อออกมาหากินตอนกลางคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่
พบได้ในออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ค้างคาวก็ไม่ใช่เหยื่อเสมอไปในโลกของ “ สัตว์กินสัตว์” โดยค้างคาวปากย่น ทราชอปส์ ซีร์โรซุส
(Trachops cirrhosus) เป็นค้างคาวสปีชีส์ที่ราบกันว่ากินคางคก ซึ่งเพจเดาว่าเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยค้างคาวจำนวนมาก
จะออกล่ากบและคางคก โดยตามเสียงกรอบแกรบของเศษใบไม้ที่กบและคางคกสัญจรผ่าน และค้างคาวบางชนิดก็ตามเสียงกบตัวผู้
ที่ส่งเสียงเรียกคู่ด้วย ทว่าเหตุการณ์ที่เปรูนั้นลงเอยด้วยดีสำหรับค้างคาว เพราะหลังจากคางคกไม่ประสบความสำเร็จในการกลืนเหยื่อ
มันก็คายออกมา ค้างคาวที่ยังมีชีวิตอยู่จึงบินจากไป


>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000121173


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=20058