
14-15 สองเกี้ยวบุปผางามแห่งกังตั๋ง-ไต้เกี้ยว เสียวเกี้ยว
หญิงงามในประวัติศาสตร์จีน ต่างถูกยกย่องโดยการร่ำลือจากปากต่อปากของคนจีน ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการบันทึกทางประวัติศาสตร์อันน้อยนิด
ดั่งเช่นพระชายาของเจ้า ฉู่ป้าหวาง ยู่จี (ง่อกี)
ภรรยาของ ซุนเซ็ก ไต้เกี้ยว และภรรยาของ จิวยี่ เสี้ยวเกี้ยว หนังสือประวัติศาสตร์ต่างให้ความสำคัญน้อยยิ่ง ทั้งประวัติความเป็นมา และการบอกเล่าแตกต่างกัน
จึ่งเป็นความสงสัยของคนรุ่นหลัง ต้องทำการสืบสาวค้นคว้า แต่ก็ยังมิมีความกระจ่างพอ
เนื่องจากประวัติของนาง สองเกี้ยว มักมีที่มาจากนักกวีนักประพันธ์ ซึ่งได้ผูกโคลงกลอนให้พี่น้องสองใบเถานี้มีความสัมพันธ์กับ โจโฉ อันเป็นบทกลอนที่มีอยู่ในหนังสือ “ซานกวอหยิ่นอี้”
ก็มีบทกลอนหนึ่งกล่าวอ้างพาดพิงถึง อย่างไรก็ตาม ตามหนังสือนิยาย “ซานกว๋อหยิ่นอี้” ได้ถูกตกแต่งมาด้วยระยะกาลเวลาอันยาวนาน ชนชั้นหลังต่างเข้าใจว่าเป็นบทความที่มีร่องรอยเหลืออยู่ทางประวัติศาสตร์
ดั่งบทกลอนของ ตู้มู่ (โต่วมก) นักกวีราขวงศ์ ถัน (ทั้ง) ได้แต่งบทกวีตอน “เซ็กเพ็ก รำลึก” ว่า
“ตีเหล็กหลอมหอกอาวุธเหล็กยังมิหายร้อน, รีบด่วนลับคมมิทันกาล, ลมตะวันออกพัดมามิทันใจ โจวหลาน (จิวนึ้ง..จิวยี่), ฤดูใบไม้ผลิอภิรมย์สู่ สองเกี้ยว,”
แม้ว่าจักเป็นคำกลอนลอย ๆ มิมีประวัติที่มาที่ไป นักกวี ตู้มู่ มิได้นำนาง สองเกี้ยว มาแต่งร่วมกับ โจโฉ

ไต้เกี้ยว
มินานมานี้ ต่างมีเหล่านักศึกษานักวิจารณ์ถึงเรื่องราวของนาง สองเกี้ยว แต่ก็ยากที่จักสืบสาวราวเรื่องของนางทั้งสอง
การสืบสาวก็คือการค้นคว้าหาจากการบันทึกของหนังสือเก่า ๆ มีหนังสือหลาย ๆ เล่มกล่าวถึงประวัติของยุค สามก๊ก จำนวนมาก แต่มีจำนวนน้อยที่กล่าวถึงนาง สองเกี้ยว
แต่มี 2 - 3 ตอนที่ถูกมองข้ามไป
ก่อนอื่น ดูจาก “ซานกว๋อจี้” (บันทึกโดย เฉินโซ่ว) ตอนประวัติของ จิวยี่ กล่าวว่า
“……..เซ็ก (ซุนเซ็ก) ต้องการควบคุมดินแดน เกงจิ๋ว โดยมี จิวยี่ เป็นผู้ช่วยเหลือ ด้วยการปกครองยึดดินแดนเป็นเจ้าเมือง กังแฮ แล้วบุกโจมตี วาน (อ๊วง..หมายถึงมณฑล อันเฟย) พบกับบุตรีทั้งสองของ เกียวก๋ง มีความงดงามหาหญิงใดเทียบ เซ็ก ได้กับ ไต้เกี้ยว ส่วน ยี่ ได้กับ เสียวเกี้ยว”
นอกจากนี้ “ซานกว๋อจี้ ยังมีกล่าวพาดพิง ซุนเซ็ก, จิวยี่, และนาง สองเกี้ยว อีกว่า
“……..เซ็ก กล่าปรารภกับ ยี่ ว่า บุตรีสองนางของ เกียวก๋ง ผู้พลัดถิ่น เกียวก๋ง ได้เราทั้งสองเป็นเขย นับว่าน่ายินดียิ่ง…..” คำกล่าวนี้ เมื่อ
เปรียบเทียบกับตอนประวัติของ จิวยี่ ยิ่งกระจ่างแจ้ง ด้วยคำบันทึกว่า
“บุตรีสองนางของ เกียวก๋ง แม้นพลัดถิ่น”
นั้นแสดงถึงสถานภาพของนาง สองเกี้ยว ก่อนแต่งงานกับ ซุน, จิว, มีสถานภาพเช่นใด
แสดงว่า นาง สองเกี้ยว นี้ เป็นชาว อันเฟย แต่ขาดหลักฐานเป็นการยากพิศูจย์สืบสาวราวเรื่อง
หรือว่านางทั้งสองกำเนิดมามิใช่คน อันเฟย อาจเป็นเพราะว่าการเกิดศึกสงคราม ทำให้นางทั้งสองต้องหนีเร่ร่อนจากถิ่นกำเนิดมาถึง วาน (อันเฟย)
แต่เป็นที่แน่นอนว่า ซุนเซ็ก และ จิวยี่ ได้ตกแต่งกับนางทั้งสอง ณ ดินแดน วาน (อันเฟย) ต่อมาชนชั้นหลังต่างเข้าใจกันว่านางทั้งสองเป็นชาว วาน (อันเฟย)
ซุนเซ็ก และ จิวยี่ ต่างได้นาง สองเกี้ยว นั้นคือปีศักราช เจี้ยนอัน ปีที่ 3 ซุนเซ็ก และ จิวยี่ ต่างมีอายุ 24 ปีด้วยกันทั้งคู่
ก่อนหน้าของปีนั้น ซุนเซ็ก มีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง ฮุ่ยจี (ฮ่วยกี..ห้อยเข) และปีนั้น ก็ได้รับยศเป็นเจ้าเจ้า อู๋โฮ่ว (โง่วโหว) และมีตำแหน่งทางทหารเป็นแม่ทัพ เตานิเจียนจวิน (ท่อเง็กเจียงกุง..แม่ทัพต่อต้าน)
เขาทั้งสอง ได้ประสบยลพักตร์กับพี่น้องสองใบเถา เกี้ยวสี ด้วยความวุ่นวายในสนามรบ เมื่อศักราชเจี้ยนอัน ปีที่ 3 ณ ดินแดนฝั่งเหนือของแม่น้ำ ฉานเจียน (เชี่ยงกัง..แยงซีเกียง) ซึ่งปัจจุบันนี้คือใจกลางเมือง ชีจิ๋ว
มีการทำศึกสงครามมิหยุดหย่อน ลิโป้ กับ เล่าปี่ ได้รบรากัน โจโฉ ได้นำกองทัพตี ลิโป้ แตก
ถ้าหากเป็นเวลาของปีนั้น โจโฉ ก็ได้ป้วนเปี้ยนอยู่ในดินแดนแถบนี้เช่นกัน ถ้าเช่นนั้น โจโฉ ก็มีโอกาสยลโฉมประสบพักตร์ของพี่น้องสองใบเถา สองเกี้ยว ด้วยเช่นเดียวกัน
เมื่อพิจารณาดูจาก สามก๊ก ทำให้เราเชื่อได้ว่านาง สองเกี้ยว ได้พลัดพรากหลงเข้ามาในสนามรบสงคราม นางทั้งสองคงมีมนุษย์สัมพันธ์กันดียิ่ง
กอบกับความงามความเฉลียวฉลาดของทั้งสองนางและ ชื่อเสียงของ สองนางจึ่งเป็นที่ยกย่องลือกระฉ่อน
หากเป็นหญิงชาวบ้านธรรมดา คงยากที่จักมีชีวิตหนีรอดจากการสงคราม