ผู้เขียน หัวข้อ: หนึ่งในร้อย(ล้าน) - สมจิต ตัดจินดา(แผ่นดิบ2494)  (อ่าน 2795 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้



<a href="http://moradokplangthai.com/demo/data/flash/mqqkgx-a3f41c.swf" target="_blank" class="new_win">http://moradokplangthai.com/demo/data/flash/mqqkgx-a3f41c.swf</a>

สวลี ผกาพันธุ์

<a href="http://moradokplangthai.com/demo/data/flash/mqqkzl-a6080a.swf" target="_blank" class="new_win">http://moradokplangthai.com/demo/data/flash/mqqkzl-a6080a.swf</a>

*คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนองสง่า อารัมภีร สมจิต ตัดจินดา/สวลี ผกาพันธุ์
        พราวแพรวอันดวงแก้วแวววาม สดสีงามหลายหลากมากนามนิยม
        นิลกาฬมุกดาบุษราคำคม น่าชมว่างามเหมาะสมดี
        เพชรน้ำหนึ่ง งามซึ้งพึงเป็นยอดมณี
        ผ่องแผ้วสดสี เพชรดีมีหนึ่งในร้อยดวง
        *ความดีคนเรานี่ดีใด ดีน้ำใจที่ให้แก่คนทั้งปวง
        อภัยรู้แต่ให้ไปไม่ห่วง เจ็บทรวงหนักหน่วงใจให้รู้ทน
        รู้กลืนกล้ำ เลิศล้ำความเป็นยอดคน
        ชื่นชอบตอบผล ล้ำคนเป็นหนึ่งในร้อยเอย
        (ท่อนแยกสุดท้าย "ร้อยคนมีหนึ่งเท่านั้นเอง")
      

เพลงนี้สมจิต ตัดจินดา เป็นผู้ขับร้อง บันทึกเสียงไว้เมื่อปี ๒๔๙๔      
        บูรพา อารัมภีร เขียนเล่าเรื่องเบื้องหลังของเพลงนี้เอาไว้ในหนังสือเบื้อหลังเพลงรัก สง่า อารัมภีร ว่า..."พ่อเล่าว่าสมัยโน้นที่ยุคละครเวทีเฟื่องฟูเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป ตอนนั้นเป็นหน้าร้อน เดือนเมษายน อาสุพรรณ บูรณพิมพ์ได้โปรแกรมแสดงละครเวทีที่ศาลาเฉลิมไทย อาสุพรรณขึ้นป้ายโฆษณาริมถนนราชดำเนินว่า "ละครเวทีคณะสุพรรณ จะแสดงเรื่อง หนึ่งในร้อย ของ ดอกไม้สด"      
        พ่อเล่าว่าดอกไม้สดขอค่าลิขสิทธิ์นำเรื่องไปแสดงเป็นเงินประมาณ ๘,๐๐๐ กว่าบาท ในสมัย พ.ศ. ๒๔๙๔ นั้น มากทีเดียว...ต่อจากนั้นอาสุพรรณมอบหมายให้ลุงแก้วช่วยทำบทละครเวทีและให้พ่อช่วยแต่งเพลง " หนึ่งในร้อย" แล้วไปโฆษณาทางวิทยุให้ด้วย...เย็นวันนั้นพ่อกับลุงแก้วก็ไปหาอาหารรับประทานกันที่ท้องสนามหลวง ไปที่ร้านของครูบุญช่วย กมลวาทิน สั่งแม่โขงพร้อมกับแกล้ม นั่งละเมียดกันไปสองคน
        ตอนนั้นเป็นหน้าว่าว ท้องสนามหลวงมีการแข่งว่าวจุฬา ปักเป้า นั่งดูว่าวเพลินๆ ลุงแก้ว คว้ากระดาษออกมาว่า "เอ้า...แจ๋ว ขึ้นทำนองมา..." พ่อก็ฮัมเพลงเบาๆ "ลา...ลา...ลา" ลุงแก้วขึ้นเนื้อร้องว่า "ความดี คนเรานี้ดีใด ดีน้ำใจที่ให้แก่คนทั้งปวง" ว่าเรื่อยไปจนจบท่อน แล้วก็ขึ้นท่อนหนึ่งว่า "พราวแพรว อันดวงแก้วแวววาม สดสีงามหลายหลากมากนามนิยม" จนจบท่อนแรก พ่อเล่าว่ายังไม่ทันพลบค่ำ เพลงหนึ่งในร้อยก็เสร็จ

ครูสง่า อารัมภีร เขียนเล่าถึงการหานักร้องมาร้องเพลงนี้เอาไว้ใน "๓ อดีตกาล..ใครร้องเพลง หนึ่งในร้อย เป็นคนแรก" ว่า..."ยังไม่ทันพลบค่ำเพลงก็เสร็จ นัดพบกัน ๑๐.๐๐ น. ที่กรมโฆษณาการด้านหลังซึ่งมีร้านเหล้าริมสะพานเสี้ยวโก้อยู่ ขึ้นไปพบครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูเอื้อบอกว่าให้นักร้องของกรมไปร้องไม่ได้หรอก ผู้อนุญาตได้มี พล.ท.ขาบ กุญชร คนเดียวเท่านั้นและนักร้องของกรมก็มีสัญญาอยู่กับนายเตียง โอศิริ แผ่นเสียงตราหมาแดง หมาเขียว และตราโคลัมเบีย แห่งห้างกมลสุโกศล ต้องขออนุญาตเขาก่อน มิฉะนั้นเขาฟ้องศาลจะต้องเสียเงินมาก

ครูแก้ว ยกจอกเหล้าขึ้นดื่มโดยมิได้คาราวะอะไรเลยบอกกับแจ๋วว่า..."ไปโว้ย ไปหานักร้องทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ มีไหมเล่า" เราสองคนขึ้นรถรางสายรอบเมืองแล้วตรงไปศาลาเฉลิมบุรี วงดนตรีเนียน วิชิตนันท์ สลับหนังไทยอยู่ พอดีหมดการแสดง สมจิต ตัดจินดา เดินออกมา ครูแก้วเอ่ยขึ้น.."นี่สมจิต ร้องเพลงละครใหม่ๆ ที่ฉันแต่งกับแจ๋วได้ไหม..." " เพลงอะไร ครู" สมจิตถาม "เพลงหนึ่งในร้อย ร้องแผ่นดิบเอาไปโฆษณาในโรงละคร และโฆษณาที่วิทยุรักษาดินแดน"

" ไม่มีตราหนูร้องได้ หากมีตราหนูไม่กล้าร้อง เพราะหนูมีสัญญากับตากระต่าย ของนาย ต.เง็กชวน บางลำพู" " โธ่ ไอ้พ่อค้าแผ่นเสียงพวกนี้มันยังไงกันวะ เชิดชูแต่นักร้อง นักแต่งเพลงไม่กินเหล้า กินข้าวหรือยังไง" ครูแก้ว หัวเสียจนกลายเป็นครูถ้วย แล้วเราก็พบกันเพลวันรุ่งขึ้นที่ห้างดีคูเปอร์ยอนสตัน ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ราชดำเนิน ผมเอาทำนองให้สุทิน เทศารักษ์ ไปแยกเสียงจัดวงดนตรี

๑๑.๐๐ น. เริ่มบันทึกเสียง ยังไม่ถึงเที่ยงสมจิตก็ร้องเสร็จ จ่ายค่าร้องไป ๒๐๐ บาท สมัยโน้นทองรูปพรรณบาทละ ๑๕๐ เท่านั้น ต่อมาให้ครูสวลี ผกาพันธุ์ ค่าร้อง ๕๐๐ บาท ทองหนักบาทละ ๕๐๐ เท่านั้น สุดท้ายแจ้ดนุพล แก้วกาญจน์ นำไปร้อง เขาจ่ายมาหนึ่งหมื่นบาท ซื้อทองได้หนัก ๒ บาทเท่านั้น ครูแก้วไปอยู่โลกอื่น จึงได้นำเงินไปแบ่งให้เจ๊ประภาศรี คนละครึ่ง        
        แปลกแต่จริง...จากปี ๒๔๙๓ มาจน ๒๕๓๘ เป็นเวลา ๔๕ ปีกว่าๆ เพลงก็ยังอยู่ ไม่มีใครมาเอาคอร์ดแปลกๆ มาใส่ เพลงก็หวานไปเหมือนแม่น้ำเจ้าพระยา คงเป็นหนึ่งในร้อยตราบไปชั่วนิรันดร์ หากไม่เปลี่ยนจังหวะใหม่ ใส่คอร์ดแปลกๆ เข้าไปคงกลายเป็นเพลงของคนเผ่าอื่น มิใช่เผ่าไทยเป็นแน่แท้" ครูแจ๋วตอดเอาไว้ทิ้งท้ายอย่างสะใจนักแต่งเพลงและนักดนตรีรุ่นใหม่ได้ไม่เลวเลย.

เวป http://baannapleangthai.com

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=17609
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22/ธ.ค./13 19:39น. โดย คำสร้อย »

ออฟไลน์ ฉัตรเจริญ

  • MOD
  • *
  • ออฟไลน์
  • 2921
    13462
  • เพศ: ชาย
    • อีเมล์
Re: หนึ่งในร้อย - สมจิต ตัดจินดา(แผ่นดิบ2494)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22/ส.ค./13 21:16น. »

คุ้มค่าเกินกว่าจะบรรยาย
              ขอบคุณในความพยายามที่นำทั้งเสียงเพลงไพเราะและเกร็ดความรู้มาฝาก.....แทบจะทุกเพลงครับที่มีความหลังอันน่าศึกษา  ใคร่ขอวอนนักฟังทุกท่านได้นำเรื่องราวของบทเพลงอันทรงคุณค่ามาให้ได้ทราบกันบ้าง  อย่านิ่งฟังหรือมุ่งแต่จะโหลดเพลงเท่านั้น
              ผมฟังรายการของคุณ"จารุริน  มุสิกพงษ์"(ขออภัยที่เอ่ยนามท่าน) ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันจันทร์ถึงศุกร์ สี่ทุ่มครึ่งถึงเที่ยงคืน เกือบทุกวัน  เธอนำบทเพลงเก่าบางครั้งเป็นบทเพลงที่ไม่ได้บันทึกลงแผ่นมาให้ฟัง   มีเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของบทเพลง  ผู้ให้คำร้อง และทำนอง....น่าประทับใจ  และมีคุณค่าสำหรับผู้ฟังมากมายครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=17609

ออฟไลน์ ภูแมว

  • MOD
  • *
  • ออฟไลน์
  • 1814
    546
Re: หนึ่งในร้อย - สมจิต ตัดจินดา(แผ่นดิบ2494)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 23/ส.ค./13 05:24น. »

รายละเอียดเยอะและยิบจริงๆ ค่ะลุงคำสร้อย ขอบคุณค่ะ  :'e:92 เพิ่งเคยฟังเพลงหนึงในร้อยเสียงเก่าๆ แบบนี้ค่ะ 

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=17609


หนึ่งในล้าน

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=17609