รู้จัก "ปู่ทวด" ต้นไม้เก่าแก่ร้อยปีใน กทม.
ต้นคะเคียนทองวัดเส้นรอบลำต้นเกือบ 5 เมตร
ข้อมูลจากสํานักงานสวนสาธารณะ สํานักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ในปี 2553 บอกไว้ว่า
เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่สีเขียวกับจำนวนประชากรในกรุงเทพฯ ขณะนั้นแล้วพบว่าอัตราส่วนพื้นที่สีเขียว
ต่อจํานวนประชากรในกรุงเทพฯ เท่ากับ 4.09 ตร.ม./คน ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) เสนอเกณฑ์
ด้านพื้นที่สีเขียวว่าไม่ควรตํ่ากว่า 9 ตร.ม./คน นั่นหมายถึงว่า คนกรุงเทพฯ ต้องการพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น
อีกมากกว่าเท่าตัวเลยทีเดียว นอกจากจะต้องเร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ที่สำคัญก็ยังต้องรักษาต้นไม้ที่มีอยู่
ในตอนนี้ไว้อีกด้วย เพราะถึงแม้จะมีพื้นที่สีเขียวน้อยนิด แต่ในกรุงเทพฯ ก็ยังมีต้นไม้ใหญ่หลายต้นที่เก่าแก่
อายุนับร้อยๆ ปี ที่หากเป็นคนก็ผ่านร้อนผ่านหนาวจนต้องเรียกว่าเป็น "ปู่ทวด" ต้นไม้เหล่านี้ยืนต้นผ่านวัน
เวลาและเรื่องราวต่างๆ มากมาย และบางต้นก็เติบโตมาพร้อมความ “เฮี้ยน” อีกด้วย แต่จะมีต้นไหนที่ใหญ่
และเฮี้ยนด้วย ต้องไปชมพร้อมๆ กัน
ต้นตะเคียนทองที่วัดสุวรรณคีรี
มาเริ่มกันที่ต้นไม้ใหญ่และเก่าแก่อย่าง “ต้นตะเคียนทอง” ต้นไม้ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยนมาทุกยุคทุกสมัย
ต้นตะเคียนต้นนี้อยู่ภายในวัดสุวรรณคีรี ในซอยโรงพยาบาลเจ้าพระยา เขตบางกอกน้อย ต้นตะเคียนสูงใหญ่ต้นนี้
ขึ้นอยู่ในบริเวณที่จอดรถริมคลองบางกอกน้อย ข้อมูลระบุว่า มีอายุประมาณ 250 ปี เส้นรอบวงของลำต้น 4.7 เมตร
และสูงถึง 35 เมตร แต่เดิมเป็นต้นตะเคียนคู่ เพราะขึ้นอยู่คู่กัน 2 ต้น แต่หลังจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 อีกต้นหนึ่ง
จึงตายลง ทางวัดได้โค่นลงและนำไม้บางส่วนไปสร้างกุฏิพระ อีกส่วนหนึ่งนำมาแกะเป็นรูปเจ้าแม่ตะเคียนทองและ
นำมาไว้ในศาลซึ่งสร้างไว้ใต้ต้นตะเคียนต้นที่เหลือให้ผู้ที่ศรัทธาได้กราบไหว้ขอพรจากเจ้าแม่ตะเคียนกัน
ศาลเจ้าแม่สายทอง เจ้าแม่ตะเคียน
ศาลเจ้าแม่ตะเคียนที่สร้างไว้บริเวณโคนต้นตะเคียนนั้นชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าแม่สายทอง” มีผู้คนนำพวงมาลัย
ดอกไม้มากราบไหว้เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงบายศรีดอกไม้ และมีชุดไทยที่มีผู้นำมาถวายเจ้าแม่สายทองด้วยเช่นกัน
จากการสอบถามชาวบ้านใกล้เคียงต่างบอกว่ามีผู้คนมากราบไหว้กันเป็นประจำเพราะมีความศักดิ์สิทธิ์มาก และมีเรื่อง
เล่าชวนขนหัวลุกของผู้ที่นำกิ่งต้นตะเคียนที่หักตกอยู่บนพื้นไปแกะเป็นรูปผู้หญิง และหลังจากนั้นก็เกิดเรื่องประหลาด
ขึ้นเมื่อมีผู้พบเห็นผู้หญิงลึกลับในชุดไทยปรากฏตัวขึ้นกลางดึกบ่อยๆ
ต้นกร่างบริเวณชุมชนศรีสุริโยทัย
มาที่ย่านเจริญกรุงกันบ้าง ที่ชุมชนศรีสุริโยทัยซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ในซอยเจริญกรุง 57
มี “ต้นกร่าง” ขนาดใหญ่ ใหญ่ขนาดที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทต้นไม้ใหญ่ที่สุด ในโครงการประกวด
ต้นไม้ใหญ่ใน กทม. ปี 2554 โดยมีเส้นรอบวงของลำต้นยาวถึง 15.67 ม. ต้นกร่างต้นนี้คล้ายมี 2 ต้น ต้นหนึ่งที่มี
ขนาดใหญ่กว่านั้นเป็นต้นแม่ที่เติบโตมาก่อน มีอายุราว 200 ปีแล้ว ส่วนอีกต้นหนึ่งที่ขนาดลำต้นเล็กกว่าเป็นต้นลูก
ที่เกิดจากรากของต้นแม่ที่ขยายออกมา แต่กิ่งก้านสาขาของทั้ง 2 ต้น แผ่ขยายให้ความร่มรื่นแก่คนในชุมชนและคน
ที่สัญจรไปมา
ภายในศาลเสด็จพ่อเทพาดำทุ่ง
ที่บริเวณโคนต้นกร่างมี “ศาลเสด็จพ่อเทพาดำทุ่ง” ศาลเล็กๆ แต่เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในชุมชนมา
โดยตลอด จากการสอบถามคนในชุมชนที่นั่งเล่นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นกร่างเล่าให้ฟังว่า คนในละแวกนี้ให้ความเคารพปู่
หรือเสด็จพ่อเทพาดำทุ่งกันทุกคน โดยจะช่วยกันดูแลทำความสะอาด จุดธูปเทียนบูชาและถวายดอกไม้เป็นประจำ
และจะมีงานไหว้ปู่กันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ส่วนเรื่องการบนบานหรือขอพรนั้นส่วนมากก็จะมาขอกันเรื่อง
การงานการเรียน ขอให้ทำการงานสำเร็จ หรือขอให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ของถวายก็เป็นดอกไม้ พวงมาลัย
หรือผ้าสามสี แต่จะไม่ถวายเนื้อหมูเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าปู่เป็นอิสลาม ในเรื่องของความเฮี้ยนนั้น เล่าสืบต่อกันมาว่า
ถ้าใครคิดจะตัดหรือทำลายต้นไม้ก็จะมีอันเป็นไปหรือเจออุปสรรคมากมาย เช่น ตอนที่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยจะสร้างรั้ว
และรั้วนั้นตามแนวเส้นตรงจะสร้างมาชนกับต้นกร่าง ในครั้งนั้นคนงานก่อสร้างเสียชีวิตไปหลายคน จนสุดท้ายทางโรงเรียน
จึงต้องสร้างรั้วหลบต้นไม้ ปล่อยให้ต้นไม้อยู่นอกกำแพงรั้ว ไม่มีใครกล้าตัดเพราะกลัวอาถรรพ์จากต้นกร่างนี้
ต้นจันบริเวณกุฏิราย วัดราชาธิวาส
ส่วนที่ “วัดราชาธิวาส” ในซอยสามเสน 9 เขตดุสิต ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อวัด “สมอราย” ตามหลักฐานปรากฏว่า
ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการบูรณะอีก
ครั้งหนึ่ง ซึ่งที่วัดแห่งนี้ได้ถือเป็นจุดกำเนิดของคณะธรรมยุติกนิกาย ที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎทรงริเริ่มขึ้น จนในสมัยรัชกาลที่ 4
ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร” สำหรับต้นไม้เก่าแก่ที่วัดราชาธิวาสนั้นก็คือ “ต้นจัน” เป็นต้นไม้เก่าแก่
อายุราว 200 กว่าปี ต้นจันต้นดังกล่าวปลูกอยู่บริเวณด้านหลังกุฏิราย คณะเหนือ ซึ่งเป็นเขตสังฆาวาสของวัดราชาฯ
ผู้ดูแลวัดซึ่งอาศัยอยู่แถบวัดราชาตั้งแต่เด็กๆ เล่าให้ฟังว่า เห็นต้นไม้ต้นนี้เติบโตมาตั้งแต่เด็ก ตอนเด็กๆ ก็ได้มาวิ่งเล่น
เก็บลูกจันแถวนี้อยู่บ่อยๆ แต่คนจะไม่ค่อยรู้จักต้นจันต้นนี้มากนักเพราะตั้งอยู่ในวงล้อมของกุฏิพระ
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วัดราชาธิวาส
แม้จะไม่มีเรื่องลึกลับเกี่ยวกับต้นจันต้นนี้ แต่ต้องยอมรับว่ารูปทรงของต้นจันโบราณนี้งดงามได้สัดส่วน มองแล้วรู้สึกได้
ถึงความขรึมขลังและความสงบร่มเย็นขึ้นมาทันที และนอกจากต้นจันแล้ว ที่วัดราชาธิวาสยังมีต้นไม้เก่าแก่อย่าง “ต้นพระศรีมหาโพธิ์”
ปลูกในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นโพธิ์จากประเทศศรีลังกา ปลูกเป็นคู่กันทั้งสองด้านของพระอุโบสถ เรียกว่า “โพธิ์ลังกา” ซึ่งมีอายุราว
200 ปีเช่นกัน ในวันที่ 13 เมษายนของทุกปี จะมีพระราชวงศ์ผู้ใหญ่นำน้ำหอมไปประพรมที่ต้นโพธิ์ทุกปีเสมอมาถึงปัจจุบัน
ต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์ 200 ปี วัดชนะสงคราม
มาปิดท้ายกันที่ “วัดชนะสงคราม” ในย่านบางลำพู ก็มีต้นไม้เก่าแก่อย่าง “ต้นโพธิ์” ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังวัดติดกับทางออก
สู่ถนนรามบุตรี ที่ผู้คนในแถบนี้รวมถึงนักท่องเที่ยวใช้เป็นทางเดินเท้าสัญจรเชื่อมระหว่างถนนพระอาทิตย์และถนนจักรพงษ์
ต้นโพธิ์ต้นนี้มีป้ายปักไว้ว่า “ต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์อายุ 200 ปี” จากการสอบถามผู้ที่ค้าขายอยู่ใกล้กับบริเวณต้นโพธิ์ทำให้ทราบว่า
ต้นโพธิ์ต้นนี้อยู่คู่วัดมาเป็นเวลานานแล้ว ผู้ค้าเมื่อมาตั้งร้านค้าขายก็จะไหว้ต้นโพธิ์ก่อนเป็นประจำ นอกจากนั้น คนทั่วไปก็ยัง
แวะเวียนมากราบไหว้ต้นโพธิ์มิได้ขาด และแน่นอนว่ามีคนมาขอเลขขอหวยด้วยเช่นกัน บางคนก็เอาแป้งมาโรยที่ต้นบ้าง
มาขูดขอหวยบ้าง แต่ส่วนมากแล้วก็จะมาไหว้ขอพรกันเสียมากกว่า หากขอพรได้สมดังใจก็จะนำพวงมาลัยดอกไม้หรือผ้า 3 สี
มาพันรอบต้นโพธิ์บ้าง และที่น่าสนใจก็คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินผ่านไปมาต่างให้ความสนใจกับต้นโพธิ์ต้นนี้ บ้างก็ยก
กล้องถ่ายรูปขึ้นถ่าย บ้างก็ชี้ชวนกันดูศาลเล็กๆ ที่อยู่ใกล้กับต้นโพธิ์ หรือผ้าแพรหลากสีสันที่ผูกไว้ที่โคนต้นกันอย่างสนอกสนใจ
ยังมีต้นไม้เก่าแก่ในกรุงเทพฯ อีกมากมายที่ใช้เวลาเติบโตนับร้อยปี ไม่ว่าจะเป็น “ต้นตะเคียน” บริเวณหน้าวัดราชบพิธ
ซึ่งเป็นต้นไม้ที่รัชกาลที่ 1 ทรงปลูกไว้ "ต้นกร่าง" หน้าคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร วังท่าพระ ที่มีขนาดใหญ่ถึง 8 คนโอบ
"ต้นไทรทอง" ที่โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี เขตบางพลัด ที่มีเส้นรอบวงของลำต้นยาวถึง 16.50 ม. "ต้นโพธิ์" วัดมหาธาตุฯ
เขตพระนคร ก็เก่าแก่ไม่แพ้ที่ไหน ส่วน "ต้นยางนา" ในวัดน้อยใน (ร.ร.ทีปังกรวิทยาพัฒน์) ก็มีความสูงมากถึง 33.24 ม.
เลยทีเดียว ต้นไม้เหล่านี้ต้องดูแลให้ดีเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะเป็นต้นไม้เก่าแก่มีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ยังมีคุณค่า
ทางจิตใจของคนในชุมชน และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งอีกด้วย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
นำมาจาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000110832

ต้นคะเคียนทองวัดเส้นรอบลำต้นเกือบ 5 เมตร
ข้อมูลจากสํานักงานสวนสาธารณะ สํานักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ในปี 2553 บอกไว้ว่า
เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่สีเขียวกับจำนวนประชากรในกรุงเทพฯ ขณะนั้นแล้วพบว่าอัตราส่วนพื้นที่สีเขียว
ต่อจํานวนประชากรในกรุงเทพฯ เท่ากับ 4.09 ตร.ม./คน ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) เสนอเกณฑ์
ด้านพื้นที่สีเขียวว่าไม่ควรตํ่ากว่า 9 ตร.ม./คน นั่นหมายถึงว่า คนกรุงเทพฯ ต้องการพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น
อีกมากกว่าเท่าตัวเลยทีเดียว นอกจากจะต้องเร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ที่สำคัญก็ยังต้องรักษาต้นไม้ที่มีอยู่
ในตอนนี้ไว้อีกด้วย เพราะถึงแม้จะมีพื้นที่สีเขียวน้อยนิด แต่ในกรุงเทพฯ ก็ยังมีต้นไม้ใหญ่หลายต้นที่เก่าแก่
อายุนับร้อยๆ ปี ที่หากเป็นคนก็ผ่านร้อนผ่านหนาวจนต้องเรียกว่าเป็น "ปู่ทวด" ต้นไม้เหล่านี้ยืนต้นผ่านวัน
เวลาและเรื่องราวต่างๆ มากมาย และบางต้นก็เติบโตมาพร้อมความ “เฮี้ยน” อีกด้วย แต่จะมีต้นไหนที่ใหญ่
และเฮี้ยนด้วย ต้องไปชมพร้อมๆ กัน

ต้นตะเคียนทองที่วัดสุวรรณคีรี
มาเริ่มกันที่ต้นไม้ใหญ่และเก่าแก่อย่าง “ต้นตะเคียนทอง” ต้นไม้ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยนมาทุกยุคทุกสมัย
ต้นตะเคียนต้นนี้อยู่ภายในวัดสุวรรณคีรี ในซอยโรงพยาบาลเจ้าพระยา เขตบางกอกน้อย ต้นตะเคียนสูงใหญ่ต้นนี้
ขึ้นอยู่ในบริเวณที่จอดรถริมคลองบางกอกน้อย ข้อมูลระบุว่า มีอายุประมาณ 250 ปี เส้นรอบวงของลำต้น 4.7 เมตร
และสูงถึง 35 เมตร แต่เดิมเป็นต้นตะเคียนคู่ เพราะขึ้นอยู่คู่กัน 2 ต้น แต่หลังจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 อีกต้นหนึ่ง
จึงตายลง ทางวัดได้โค่นลงและนำไม้บางส่วนไปสร้างกุฏิพระ อีกส่วนหนึ่งนำมาแกะเป็นรูปเจ้าแม่ตะเคียนทองและ
นำมาไว้ในศาลซึ่งสร้างไว้ใต้ต้นตะเคียนต้นที่เหลือให้ผู้ที่ศรัทธาได้กราบไหว้ขอพรจากเจ้าแม่ตะเคียนกัน

ศาลเจ้าแม่สายทอง เจ้าแม่ตะเคียน
ศาลเจ้าแม่ตะเคียนที่สร้างไว้บริเวณโคนต้นตะเคียนนั้นชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าแม่สายทอง” มีผู้คนนำพวงมาลัย
ดอกไม้มากราบไหว้เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงบายศรีดอกไม้ และมีชุดไทยที่มีผู้นำมาถวายเจ้าแม่สายทองด้วยเช่นกัน
จากการสอบถามชาวบ้านใกล้เคียงต่างบอกว่ามีผู้คนมากราบไหว้กันเป็นประจำเพราะมีความศักดิ์สิทธิ์มาก และมีเรื่อง
เล่าชวนขนหัวลุกของผู้ที่นำกิ่งต้นตะเคียนที่หักตกอยู่บนพื้นไปแกะเป็นรูปผู้หญิง และหลังจากนั้นก็เกิดเรื่องประหลาด
ขึ้นเมื่อมีผู้พบเห็นผู้หญิงลึกลับในชุดไทยปรากฏตัวขึ้นกลางดึกบ่อยๆ

ต้นกร่างบริเวณชุมชนศรีสุริโยทัย
มาที่ย่านเจริญกรุงกันบ้าง ที่ชุมชนศรีสุริโยทัยซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ในซอยเจริญกรุง 57
มี “ต้นกร่าง” ขนาดใหญ่ ใหญ่ขนาดที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทต้นไม้ใหญ่ที่สุด ในโครงการประกวด
ต้นไม้ใหญ่ใน กทม. ปี 2554 โดยมีเส้นรอบวงของลำต้นยาวถึง 15.67 ม. ต้นกร่างต้นนี้คล้ายมี 2 ต้น ต้นหนึ่งที่มี
ขนาดใหญ่กว่านั้นเป็นต้นแม่ที่เติบโตมาก่อน มีอายุราว 200 ปีแล้ว ส่วนอีกต้นหนึ่งที่ขนาดลำต้นเล็กกว่าเป็นต้นลูก
ที่เกิดจากรากของต้นแม่ที่ขยายออกมา แต่กิ่งก้านสาขาของทั้ง 2 ต้น แผ่ขยายให้ความร่มรื่นแก่คนในชุมชนและคน
ที่สัญจรไปมา

ภายในศาลเสด็จพ่อเทพาดำทุ่ง
ที่บริเวณโคนต้นกร่างมี “ศาลเสด็จพ่อเทพาดำทุ่ง” ศาลเล็กๆ แต่เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในชุมชนมา
โดยตลอด จากการสอบถามคนในชุมชนที่นั่งเล่นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นกร่างเล่าให้ฟังว่า คนในละแวกนี้ให้ความเคารพปู่
หรือเสด็จพ่อเทพาดำทุ่งกันทุกคน โดยจะช่วยกันดูแลทำความสะอาด จุดธูปเทียนบูชาและถวายดอกไม้เป็นประจำ
และจะมีงานไหว้ปู่กันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ส่วนเรื่องการบนบานหรือขอพรนั้นส่วนมากก็จะมาขอกันเรื่อง
การงานการเรียน ขอให้ทำการงานสำเร็จ หรือขอให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ของถวายก็เป็นดอกไม้ พวงมาลัย
หรือผ้าสามสี แต่จะไม่ถวายเนื้อหมูเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าปู่เป็นอิสลาม ในเรื่องของความเฮี้ยนนั้น เล่าสืบต่อกันมาว่า
ถ้าใครคิดจะตัดหรือทำลายต้นไม้ก็จะมีอันเป็นไปหรือเจออุปสรรคมากมาย เช่น ตอนที่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยจะสร้างรั้ว
และรั้วนั้นตามแนวเส้นตรงจะสร้างมาชนกับต้นกร่าง ในครั้งนั้นคนงานก่อสร้างเสียชีวิตไปหลายคน จนสุดท้ายทางโรงเรียน
จึงต้องสร้างรั้วหลบต้นไม้ ปล่อยให้ต้นไม้อยู่นอกกำแพงรั้ว ไม่มีใครกล้าตัดเพราะกลัวอาถรรพ์จากต้นกร่างนี้

ต้นจันบริเวณกุฏิราย วัดราชาธิวาส
ส่วนที่ “วัดราชาธิวาส” ในซอยสามเสน 9 เขตดุสิต ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อวัด “สมอราย” ตามหลักฐานปรากฏว่า
ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการบูรณะอีก
ครั้งหนึ่ง ซึ่งที่วัดแห่งนี้ได้ถือเป็นจุดกำเนิดของคณะธรรมยุติกนิกาย ที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎทรงริเริ่มขึ้น จนในสมัยรัชกาลที่ 4
ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร” สำหรับต้นไม้เก่าแก่ที่วัดราชาธิวาสนั้นก็คือ “ต้นจัน” เป็นต้นไม้เก่าแก่
อายุราว 200 กว่าปี ต้นจันต้นดังกล่าวปลูกอยู่บริเวณด้านหลังกุฏิราย คณะเหนือ ซึ่งเป็นเขตสังฆาวาสของวัดราชาฯ
ผู้ดูแลวัดซึ่งอาศัยอยู่แถบวัดราชาตั้งแต่เด็กๆ เล่าให้ฟังว่า เห็นต้นไม้ต้นนี้เติบโตมาตั้งแต่เด็ก ตอนเด็กๆ ก็ได้มาวิ่งเล่น
เก็บลูกจันแถวนี้อยู่บ่อยๆ แต่คนจะไม่ค่อยรู้จักต้นจันต้นนี้มากนักเพราะตั้งอยู่ในวงล้อมของกุฏิพระ

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วัดราชาธิวาส
แม้จะไม่มีเรื่องลึกลับเกี่ยวกับต้นจันต้นนี้ แต่ต้องยอมรับว่ารูปทรงของต้นจันโบราณนี้งดงามได้สัดส่วน มองแล้วรู้สึกได้
ถึงความขรึมขลังและความสงบร่มเย็นขึ้นมาทันที และนอกจากต้นจันแล้ว ที่วัดราชาธิวาสยังมีต้นไม้เก่าแก่อย่าง “ต้นพระศรีมหาโพธิ์”
ปลูกในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นโพธิ์จากประเทศศรีลังกา ปลูกเป็นคู่กันทั้งสองด้านของพระอุโบสถ เรียกว่า “โพธิ์ลังกา” ซึ่งมีอายุราว
200 ปีเช่นกัน ในวันที่ 13 เมษายนของทุกปี จะมีพระราชวงศ์ผู้ใหญ่นำน้ำหอมไปประพรมที่ต้นโพธิ์ทุกปีเสมอมาถึงปัจจุบัน

ต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์ 200 ปี วัดชนะสงคราม
มาปิดท้ายกันที่ “วัดชนะสงคราม” ในย่านบางลำพู ก็มีต้นไม้เก่าแก่อย่าง “ต้นโพธิ์” ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังวัดติดกับทางออก
สู่ถนนรามบุตรี ที่ผู้คนในแถบนี้รวมถึงนักท่องเที่ยวใช้เป็นทางเดินเท้าสัญจรเชื่อมระหว่างถนนพระอาทิตย์และถนนจักรพงษ์
ต้นโพธิ์ต้นนี้มีป้ายปักไว้ว่า “ต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์อายุ 200 ปี” จากการสอบถามผู้ที่ค้าขายอยู่ใกล้กับบริเวณต้นโพธิ์ทำให้ทราบว่า
ต้นโพธิ์ต้นนี้อยู่คู่วัดมาเป็นเวลานานแล้ว ผู้ค้าเมื่อมาตั้งร้านค้าขายก็จะไหว้ต้นโพธิ์ก่อนเป็นประจำ นอกจากนั้น คนทั่วไปก็ยัง
แวะเวียนมากราบไหว้ต้นโพธิ์มิได้ขาด และแน่นอนว่ามีคนมาขอเลขขอหวยด้วยเช่นกัน บางคนก็เอาแป้งมาโรยที่ต้นบ้าง
มาขูดขอหวยบ้าง แต่ส่วนมากแล้วก็จะมาไหว้ขอพรกันเสียมากกว่า หากขอพรได้สมดังใจก็จะนำพวงมาลัยดอกไม้หรือผ้า 3 สี
มาพันรอบต้นโพธิ์บ้าง และที่น่าสนใจก็คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินผ่านไปมาต่างให้ความสนใจกับต้นโพธิ์ต้นนี้ บ้างก็ยก
กล้องถ่ายรูปขึ้นถ่าย บ้างก็ชี้ชวนกันดูศาลเล็กๆ ที่อยู่ใกล้กับต้นโพธิ์ หรือผ้าแพรหลากสีสันที่ผูกไว้ที่โคนต้นกันอย่างสนอกสนใจ
ยังมีต้นไม้เก่าแก่ในกรุงเทพฯ อีกมากมายที่ใช้เวลาเติบโตนับร้อยปี ไม่ว่าจะเป็น “ต้นตะเคียน” บริเวณหน้าวัดราชบพิธ
ซึ่งเป็นต้นไม้ที่รัชกาลที่ 1 ทรงปลูกไว้ "ต้นกร่าง" หน้าคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร วังท่าพระ ที่มีขนาดใหญ่ถึง 8 คนโอบ
"ต้นไทรทอง" ที่โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี เขตบางพลัด ที่มีเส้นรอบวงของลำต้นยาวถึง 16.50 ม. "ต้นโพธิ์" วัดมหาธาตุฯ
เขตพระนคร ก็เก่าแก่ไม่แพ้ที่ไหน ส่วน "ต้นยางนา" ในวัดน้อยใน (ร.ร.ทีปังกรวิทยาพัฒน์) ก็มีความสูงมากถึง 33.24 ม.
เลยทีเดียว ต้นไม้เหล่านี้ต้องดูแลให้ดีเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะเป็นต้นไม้เก่าแก่มีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ยังมีคุณค่า
ทางจิตใจของคนในชุมชน และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งอีกด้วย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
นำมาจาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000110832