น่าอัศจรรย์! จับภาพแสงแดงผี "สไปร์ท" เหนือเมฆฝนได้
ภาพแสงสไปร์ทเหนือพายุฝนฟ้าคะนอง
น่าอัศจรรย์! จับภาพแสงผี "สไปร์ท" ปรากฏการณ์ฟ้าผ่าลึกลับที่เกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาทีได้ทั้งภาพนิ่งและคลิปวิดีโอ
ซึ่งจะช่วยนักวิทยาศาสตร์เข้าใจการก่อตัวของการประทุทางไฟฟ้าที่เป็นปริศนาดังกล่าวได้


แสงผีแดง "สไปร์ท" (Sprites) ปรากฏอยู่ด้านบนสุดของเมฆพายุฝนในเวลาไม่ถึงวินาที ซึ่งสเปซด็อทคอมรายงานว่า
ผู้ได้เห็นภาพส่วนใหญ่จินตนาการว่าเหมือนแมงกะพรุน ท่มีลูกบอลสีแดงและหนวดรุงรังพุ่งเข้าสู่ก้อนเมฆ แต่แสงลึกลับดังกล่าว
ก็มีได้หลายรูปทรง ตั้งแต่รูงมงกุฏไปจนถึงแครอท และนักวิจัยก็ไม่เข้าใจว่าทำไม


เนื่องจากมีแสงผีไม่กี่ครั้งที่เห็นได้จากภาคพื้นเพราะสภาพอากาศที่อึมครึม นักวิทยาศาสตร์จึงต้องตามล่าสไปร์ทจากบนฟ้า
เช่นเดียวกับ เจสัน อาห์นส (Jason Ahrns) นักศึกษาปริญญาโทที่จับภาพแสงสไปร์ทได้ขณะขับเครื่องบินอยู่หลายเที่ยวเหนือ
เขตมิดเวสต์ของสหรัฐฯ


อาห์นสจับภาพดังกล่าวได้ระหว่างขับเครื่องบินวิจัยวีกัล์ฟสตรีม (Gulfstream V) ของศูนย์วิจัยบรรยากาศสหรัฐฯ
(National Center for Atmospheric Research) โดยเขาเป็นส่วนหนึ่งทีมล่าสไปร์ทที่มีสมาชิกจากมหาวิทยาลัยอลาสกา
(University of Alaska) ในแฟร์แบงก์ส สหรัฐฯ กองทัพอากาศสหรัฐ และวิทยาลัยป้องกันประเทศลูอิส (Fort Lewis College)
ในดูรังโก สหรัฐฯ

>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000106013

ภาพแสงสไปร์ทเหนือพายุฝนฟ้าคะนอง
น่าอัศจรรย์! จับภาพแสงผี "สไปร์ท" ปรากฏการณ์ฟ้าผ่าลึกลับที่เกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาทีได้ทั้งภาพนิ่งและคลิปวิดีโอ
ซึ่งจะช่วยนักวิทยาศาสตร์เข้าใจการก่อตัวของการประทุทางไฟฟ้าที่เป็นปริศนาดังกล่าวได้


แสงผีแดง "สไปร์ท" (Sprites) ปรากฏอยู่ด้านบนสุดของเมฆพายุฝนในเวลาไม่ถึงวินาที ซึ่งสเปซด็อทคอมรายงานว่า
ผู้ได้เห็นภาพส่วนใหญ่จินตนาการว่าเหมือนแมงกะพรุน ท่มีลูกบอลสีแดงและหนวดรุงรังพุ่งเข้าสู่ก้อนเมฆ แต่แสงลึกลับดังกล่าว
ก็มีได้หลายรูปทรง ตั้งแต่รูงมงกุฏไปจนถึงแครอท และนักวิจัยก็ไม่เข้าใจว่าทำไม


เนื่องจากมีแสงผีไม่กี่ครั้งที่เห็นได้จากภาคพื้นเพราะสภาพอากาศที่อึมครึม นักวิทยาศาสตร์จึงต้องตามล่าสไปร์ทจากบนฟ้า
เช่นเดียวกับ เจสัน อาห์นส (Jason Ahrns) นักศึกษาปริญญาโทที่จับภาพแสงสไปร์ทได้ขณะขับเครื่องบินอยู่หลายเที่ยวเหนือ
เขตมิดเวสต์ของสหรัฐฯ


อาห์นสจับภาพดังกล่าวได้ระหว่างขับเครื่องบินวิจัยวีกัล์ฟสตรีม (Gulfstream V) ของศูนย์วิจัยบรรยากาศสหรัฐฯ
(National Center for Atmospheric Research) โดยเขาเป็นส่วนหนึ่งทีมล่าสไปร์ทที่มีสมาชิกจากมหาวิทยาลัยอลาสกา
(University of Alaska) ในแฟร์แบงก์ส สหรัฐฯ กองทัพอากาศสหรัฐ และวิทยาลัยป้องกันประเทศลูอิส (Fort Lewis College)
ในดูรังโก สหรัฐฯ

>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000106013