สัพเพเหระ > ความเป็นมาเป็นไปของเครื่องดนตรี
โปงลาง
ตู่ ลำพูน:
http://www.swfcabin.com/swf-files/1376838284.swf
กดฟังเสียงนะครับ(เครดิต-The ongkhaphayop)
(ภาพจากโรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
โปงลาง มีลักษณะวิธีการบรรเลงคล้ายกับระนาดเอก คือนำท่อนไม้ หรือกระบอกไม้มาร้อยติดกันเป็นผืน และใช้ไม้ตีเป็นทำนองเพลง แขวนตี กับเสาบ้าง ขึงบนรางบ้าง หรือบางทีก็ผูกติดกับตัวผู้บรรเลง เครื่องดนตรีชนิดนี้พบทั่วไปในหลายประเทศ สำหรับในประเทศไทยพบในแถบภาคอีสาน และเรียกเครื่องดนตรีนี้หลายชื่อด้วยกัน เช่นเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือหมากโปงลาง เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่า หมากขอลอ เพราะเวลาเคาะแต่ละลูกมีเสียงดังกังวานคล้าย ขอลอ (หมายถึง เกราะ ในภาษาอีสาน)
ส่วนคำว่า โปงลาง นั้น เดิมเป็นคำที่ใช้เรียก กระดึงสำริด ที่ใช้แขวนคอวัวในสมัยโบราณที่เรียกกระดึงนี้ว่าโปงลางคงเรียกตามเสียงที่ได้ยิน ต่อมามีผู้นำชื่อนี้ไปตั้งเป็นชื่อ ลายแคน (การบรรเลงแคน) ที่เป่าเลียนเสียงโปงลางที่ผูกคอวัวเรียกว่า ลายโปงลาง และที่เรียกว่าหมากกลิ้งกล่อมก็เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะ สามารถกล่อมให้ผู้ฟังมีความเคลิบเคลิ้มเพลิดเพลิน
โปงลาง นิยมทำจากไม้มะหาด หรือไม้หมากเหลื้อม เพราะเป็นไม้ที่มีความอยู่ตัวมากกว่าไม้อื่นๆ วิธีการทำเอาไม้มาถากเหลาให้ได้ขนาดลดหลั่นกันตามเสียง ที่ต้องการในระบบ 5 เสียง โปงลาง 1 ชุดจะมีจำนวนประมาณ 12 ลูก ใช้เชือกร้อยรวมกันเป็นผืน เวลาตีต้องนำปลายเชือกด้านหนึ่งไปผูกแขวนไว้กับเสาในลักษณะห้อยลงมา ส่วนปลายเชือกด้านล่างจะผูกไว้กับขา หรือเอวของผู้ตี วิธีการเทียบเสียง โปงลาง ทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาด และเสียงตามต้องการ ยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใดเสียงก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระนาดในปัจจุบัน ที่มีเจ็ดเสียง
และมีการปรับแต่งเทียบเสียงด้วยการใช้ ตะกั่วผสมขี้ผึ้ง ถ่วงใต้ผืนระนาด เพื่อให้ได้ระดับเสียง และคุณภาพเสียงที่ต้องการ การบรรเลงหมากกลิ้งกล่อม หรือโปงลาง นิยมใช้ผู้บรรเลงสองคนต่อเครื่องดนตรีหนึ่งชิ้น แต่ละคนใช้ไม้ตี ๒ อัน การเรียกชื่อเพลงที่บรรเลงด้วยโปงลางมักจะเรียกตามลักษณะและลีลาของเพลงโดยการสังเกตจากสภาพของธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น เพลง "ลายนกไซบินข้ามทุ่ง" หรือเพลง "ลายกาเต้นก้อน" เป็นต้น
(ข้อมูลจากIsangate.com)
คนนนท์:
สงสัยที่มาของชื่่อเครื่องดนตรีชนิดนี้นานแล้ว เพิ่งได้รับความกระจ่างวันนี้ ไม่ยักกะเกี่ยวอะไรกับ "ราง" เลยเนาะ ขอบคุณครับ
เปิ้ล สุดารัตน์:
น่าเล่นจัง
หมู โคราช:
*โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะหรือเครื่องตี มีลักษณะคล้ายระนาดแต่แขวนในแนวดิ่ง เป็นที่นิยมในภาคอีสาน บางท้องถิ่นอาจเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือ เกราะลอ(ผู้เฒ่าผู้แก่ในถิ่นดงมูลอำเภอหนองกุงศรีเรียก "หมากเต๋อเติ่น") เป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
*นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ. 2529 ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ทำการพัฒนาโปงลางจนมีลักษณะเช่นในปัจจุบัน โดยได้พัฒนาโปงลางขึ้นจากเกราะลอ ซึ่งใช้เคาะส่งสัญญาณในท้องนา
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
chattanon:
เมื่อปี สองห้าสองสอง ผมไปจังหวัดยโสธร นำต้นไม้ไปป่าไม้จังหวัด ดูเหมือนยโสธร เพิ่งแยกเป็นจังหวัดใหม่
ทางป่าไม้เขาสั่งไม้ต่างๆ มาแจกให้ประชาชนปลูก เขาสั่งต้นไม้จากสถานีพืชสวนบางกอกน้อย พ่อเพื่อนทำงาน
ที่นี่ เขาขึงบังคับลูกชายให้ไปช่วยขนลง ผมเลยมีโอกาสมาที่นี่เป็นครั้งแรก หลังจากขนต้นไม้เสร็จ ก็มาเดินหา
่ของกิน ง่ายที่สุดคือก่๋วยเตี๋ยว กินเสร็จ เดินตามหมู่บ้าน ได้ยินดนตรีดัง ฟังเสียงแล้วนึกชอบขึ้นมาในทันใด
ยินฟัง ยินดูอย่างตั้งใจ เรียกไม่ถูก แต่พอจะเคยเห็นจากโทรทัศน์ ถามคนเล่น เขาบอกว่า ดนตรีชื้นนี้คือโปงลาง
เมื่อผมมาทำงาน มีเยาวชน อยู่อิสาน เอาโปงลาง มาเล่น เลยชวนตั้งวงเสียเลย ชอบมาก เคยฝึกเหมือนกันแต่
ไม่ค่อยได้เล่นบ่อย ขอบคุณคุณตู่ ลำพูนครับ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version